Print

จากใจ บ.ก.ใกล้ตัว - ฉบับที่ ๔๕๓

dungtrin_editor_cover

dungtrin_new2

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สมาธิที่ถูกแบบพุทธ 

 

editor453

 

 

 

ทั้งจิตรวม

และจิตแช่แข็ง

เป็นชื่อเรียกให้รู้ว่า

เกิดอาการอย่างไร

ไม่ใช่ศัพท์เฉพาะที่เป็นสากล

ถ้าเข้าใจถูก ก็เรียกถูก

ถ้าเข้าใจผิด ก็เรียกผิด

 

จิตรวม

ในความหมายเชิงประสบการณ์สมาธิ

หมายถึงจิตที่ทรงตัวนิ่ง ไม่ไหวติง

กระทั่งเกิดการรวมกระแสรู้

มาลงที่เดียวที่ใจกลางความว่าง

เป็นความว่างอย่างพร้อมรู้ภาวะภายใน

ขอบเขตรัศมีจิตแผ่ออกกว้าง

ไม่ใช่อุดอู้ อัดอั้น คับแคบ ทึบอก ทึบหัว

 

จิตแช่แข็ง

ในความรู้สึกของคนที่ประสบ

หมายถึงจิตที่แข็งค้าง

กระทั่งเกิดอาการไม่ขยับ

ไม่รับรู้ความเปลี่ยนแปลงใดๆ

ขอบเขตของจิตจำกัดคับแคบอยู่กับตัว

ดูเผินๆเหมือนนิ่งสงบ

แต่ดูดีๆเหมือนไม่รับรู้ลมหายใจให้สบาย

(ลมหายใจยังไม่ดับ แต่ไม่รับรู้เอง)

 

เมื่อยังขาดประสบการณ์เปรียบเทียบ

ก็จะไม่มีใครรู้ว่าความแน่นิ่งที่เกิดขึ้น

เป็นภาวะจิตรวมหรือจิตแช่แข็ง

และต่อให้ทำสมาธิมานาน

ถ้าจิตขาดกำลัง

เราก็ไม่อาจกะเกณฑ์ว่า

จงมีจิตรวม หรือจงอย่าได้มีจิตแช่แข็ง

 

ทางเดียวที่จะผ่านพ้น

ไม่หลงติดอยู่กับจิตแช่แข็ง

คือ จับจุดสังเกตให้ถูก

ทั้งขณะที่กำลังนิ่งในสมาธิ

และหลังออกจากสมาธิแล้ว

 

หากเป็นจิตรวม จะรู้สึกว่างตรงกลาง

มีขอบเขตกว้างเกินกาย

มีความตื่นรู้ มีสติคมชัด

มีอัตโนมัติเห็นความเปลี่ยนแปลง

ทั้งภายในและภายนอก

การรับรู้จะเป็นสามมิติ

มีกว้าง ยาว ลึก ตามจริง

 

หากเป็นจิตแช่แข็ง จะรู้สึกแข็งทื่อ

มีขอบเขตเฉพาะเจาะจงที่จุดใดจุดหนึ่งในกาย

บางทีไม่อยากรับรู้อะไรๆ

บางทีรู้สึกเหมือนสมองช้า

และที่สำคัญ คือ พอลงนั่งทำสมาธิทีไร

จะพยายามเข้าให้ถึงความนิ่งค้างที่ติดใจทุกที

ไม่รับรู้กายใจ

ไม่รับรู้ความเปลี่ยนแปลงใดๆ

ซึ่งนั่นไม่ใช่จุดประสงค์ของสมาธิที่ถูกแบบพุทธ!

 

ดังตฤณ

เมษายน ๖๗