Print

สัพเพเหระธรรม - ฉบับที่ ๗๘

?อย่าคิดมาก??
กล่องไม้

สมัยนี้คนเราเครียดกันเยอะมาก และเยอะขึ้น?
ส่วนใหญ่มาจากเรื่องคิดไม่ตก หาทางออกไม่เจอ?
แถมยิ่งคิดยิ่งเครียดหนักเข้าไปอีก เหมือนพายเรือในอ่าง?
ว่างเมื่อไหร่เรื่องกลุ้มๆเป็นได้ผ่านกลับเข้ามาให้รกสมอง ก่อเกิดเป็นอาการทางใจบ้างทางกายบ้าง?
สั่งสมมากเข้าๆก็กลายเป็นคนที่มีจิตหดหู่ได้ง่ายๆ มองโลกในแง่ร้ายบ่อยๆ บางทีก็อยากคิดสั้นมันซะเลย

เมื่อก่อนฉันเองก็เป็นแบบนี้อยู่บ่อยๆ?
คิดโน่นคิดนี่ คิดมาก คิดเรื่อยเปื่อย คิดไม่หยุด จนกระทั่งนอนไม่หลับเพราะคิดอยู่นั่นแหละ?
หรือแทบจะไม่เคยไม่ฝันเลย เพราะฟุ้งซ่านขนาดหนักนี่เอง?
จนรู้สึกเหนื่อยเหลือเกิน และพยายามหาหนทางที่จะหยุดคิดให้ได้ แต่ก็ไม่เจอหนทาง?
ได้แต่ตะเกียกตะกายตามสติปัญญาอันน้อยนิดที่มีด้วยการบอกตัวเองให้หยุดคิด เลิกคิด?
แต่ก็นั่นแหละ มันก็ไม่หยุดคิดอยู่ดี

แต่เดี๋ยวนี้ฉันเปลี่ยนแปลงเป็นคนใหม่แล้ว?
ฉันคิดน้อยลงกว่าเดิมเยอะ หลังจากที่ฉันได้รู้จักการเจริญสติจากหลวงพ่อปราโมทย์?
เลยไม่ต้องทนทุกข์กับความคิดที่ตัวเองปรุงแต่งขึ้นเอง(ทั้งนั้น)มากเหมือนก่อน?
ตราบเท่าที่จะรู้ตัวได้ และรู้ตัวเป็น

ฉันจะยกตัวอย่างให้ฟังนะคะ?
อย่างเช้าวันหนึ่ง ฉันตื่นขึ้นมาด้วยความรู้สึกหดหู่ เครียดจัด (เดาว่าคงมาจากการสั่งสมนิสัยคิดมากของฉันเอง เลยมีจิตแบบนี้ง่าย)

รู้สึกเป็นทุกข์อยู่พักใหญ่ๆ จนกระทั่งได้ยินใจมันบอกขึ้นมาว่ามันเป็นสภาวะอย่างนึง?
แต่มันเป็นสภาวะที่เราไม่ชอบ ใจก็เลยดิ้นรน เป็นทุกข์ขึ้นมา

ก็เลยดูความรู้สึกหดหู่แย่ๆนั่นไปเฉยๆ สักแต่ว่ารู้ความรู้สึกนั้น

แป๊บเดียว จิตหลุดออกจากความรู้สึกหดหู่ที่ว่านั่น ?
ได้ความรู้ขึ้นมาว่ามันไม่ได้มีความมหัศจรรย์เหนือธรรมชาติ ?
หรือว่าเราเก่งกาจดับความหดหู่ได้?
เพียงแต่มันเป็นหลักวิทยาศาสตร์ง่ายๆที่ว่า?
"เหตุดับ ผลก็ดับ"
พูดง่ายๆก็คือ เราไม่ได้ไปคิดต่อเมื่อเกิดความรู้สึกหดหู่ขึ้นมา?
พอความหดหู่ไม่มีความคิดชวนหดหู่เสริมเติมกำลังให้มันกล้าแข็ง มันก็เลยแป๊กหมดแรงไปเฉยๆ

ทำให้คิดถึงสมัยก่อนที่จะได้รู้จักการเจริญสติ?
ตอนนั้นเป็นคนคิดมาก มากๆเลย เพื่อนก็บอกว่า "อย่าคิดมาก"?
ไอ้เราก็รู้สึกว่าพูดน่ะมันง่าย แต่ทำได้ง่ายๆซะที่ไหน ?
ถ้าห้ามใจไม่ให้คิดมากได้ก็คงไม่ต้องทุกข์ใจแล้วล่ะ

แต่คิดให้ดี ประโยคหลังนี้ก็บ่งบอกอยู่ว่าคนเราทุกข์ใจก็เพราะ "คิดมาก" นั่นเอง?
และอีกอย่างการห้ามใจไม่ให้คิดมากก็เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้จริงๆ?
เพราะใจจะไปคิด มันห้ามไม่ได้?
แถมใจเองก็มีหน้าที่คิดเสียด้วย

แต่เราสามารถ "รู้" สภาวะที่เกิดกับใจได้?
พอรู้ทันก็เกิดการ "ขาดช่วง" ของความคิด

ความคิดขาดช่วง ก็เหมือนไฟขาดเชื้อเพลิงต่อให้ไฟลุกไปช่วงหนึ่ง?
ยิ่งรู้บ่อย ความคิดก็ยิ่งขาดๆๆๆไปเรื่อย ?
เราจะยิ่งเห็นว่าความคิดก็สักแต่ความคิด แล้วไงล่ะ

ที่เราไปทุกข์ก็เพราะความคิดที่เราปรุงมันขึ้นมา?
ให้มันไปเป็นเชื้อเพลิงต่อความทุกข์ที่ใจเข้าไปรับรู้?
ก็ทุกข์ไปเรื่อยๆตราบเท่าที่ไม่เห็นทันว่าใจคิด และใจปรุงแต่งไปเรื่อยๆ?
กระทั่งบางคนคิดไปไกล เตลิดถึงขนาดอยากคิดสั้นให้รู้แล้วรู้รอด?
เพียงเพราะไม่รู้เท่าทันเหตุง่ายๆใกล้ตัว คือ ใจของตัวเองนั่นเอง

เพราะอย่างนี้เองพุทธศาสนาถึงได้สอนให้เรียนรู้กายใจของตัวเอง?
ความทุกข์ไม่ได้เกิดที่อื่น แต่เกิดที่กายใจของเรานี้?
และความทุกข์ก็ดับตรงที่กายที่ใจของเรานี้เองอีก

ตรงที่เราเห็นมันดับ เราถึงได้เห็นธรรมะ?
ว่าที่แท้ "ธรรมะเป็นของใกล้ตัว" ขนาดไหน?
และความสุขอื่นที่เราเคยๆวิ่งไล่หามัน?
มันก็ไม่อาจเทียมเทียบความสุขแห่งความสงบของใจที่ไม่ดิ้นรนได้เลย

ธรรมะ คือ ธรรมดา?
แต่ความธรรมดานั้นก็แฝงความอัศจรรย์อยู่?
ยิ่งเห็นความธรรมดาของกายใจเท่าไหร่?
ก็ยิ่งเห็นทางรอดจากกองทุกข์มากขึ้นเท่านั้น