Print

สัพเพเหระธรรม - ฉบับที่ ๑๐๐

แผนสอง
(inochi no poka-yoke)

malimalimalimali



อ่านย้อนหลังได้ที่นี่

ตอนที่ ๑
ตอนที่ ๒
ตอนที่ ๔
ตอนที่ ๕
ตอนที่ ๖
ตอนที่ ๖ ช่วงที่ ๒
ตอนที่ ๖ ช่วงที่ ๓ (กำลังอ่านอยู่ตอนนี้)
ตอนที่ ๗ (ติดตามได้ในตอนต่อต่อไป)
ตอนที่ ๘ (ติดตามได้ในตอนต่อต่อไป)

chap06-00

 

ตอนที่ ๖ ช่วงที่ ๓
แผนปฏิบัติ ขั้นที่ ๑
ฝึกให้เห็นเรา


ประโยชน์ที่ได้จากการสังเกตเห็น เรา


ได้ฉุกคิด ก่อนที่จะไหลไปตามอารมณ์
ทำให้การคิดก่อนทำมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ยั้งคิดได้ว่า เอ๊ะ ที่สั่งมาเนี่ย มันเข้าท่าหรือเปล่า?


ได้เห็นว่า จริงๆก็ไม่เห็นต้องทำตามคำสั่งตลอด
ไม่ใช่โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ไม่ต้องทำตามที่โดนผลักให้ทำนู่นทำนี่ไปซะทุกอย่างก็ได้นี่นา!


ได้เห็นว่า จริงๆอารมณ์หรือความคิดที่เกิดขึ้น
มันไม่ได้เป็นเรื่องเดียวกับ เรา นี่นา
เข้าใจผิดมาตั้งนาน โถ่!


ได้เห็นว่า แค่เริ่มทำตามแผนสอง ขั้นที่ ๑ นี้ไปสักระยะ
ก็เหมือนเราอยู่กับความขึ้นๆลงๆกับเรื่องราวต่างๆที่ผ่านเข้ามา
ได้มากขึ้นอย่างน่าประหลาดเหมือนกันแฮะ!

chap06-11

 


เคล็ดไม่ลับในการฝึกสังเกตเห็น
เราให้เก่งขึ้น

ฝึกระลึกดูบ่อยๆ
เริ่มฝึกด้วยการให้สังเกตว่า เรามักจะเห็น เรา ตอนไหน ที่ไหนง่ายสุด
ก็ให้พยายามหาโอกาสแบบนั้นเพื่อจะได้จุดสตาร์ทติดเร็วขึ้น
แต่ก็ไม่ใช่รอแต่เวลานั้นเผื่อฝึกนะ ก็ฝึกได้ตลอดนั่นแหละ
ฝึกดูทั้งตอนที่ มีเรา และ ไม่มีเรา

chap06-12


เพิ่มกำลังในการรู้ทัน
ถ้าเป็นคนสมาธิสั้น
หรือเป็นคนเมืองที่เคยชินกับการมีอะไรจุกจิก วุ่นวายรอบตัว
ก็มักเป็นคนที่กำลังในการรู้ทันอ่อน เพราะสิ่งรบกวนเยอะแยะมากมาย
จะว่าดีก็ดีเพราะจะได้ฝึกดู เรา ในหลายๆแบบ
แต่ในตอนที่เพิ่งเริ่มเข้าเนอสเซอรี่ อนุบาล
ไปเจอสนามประลองระดับโอลิมปิก ก็อาจจะโหดเกินไป
ให้หาเวลาและสถานที่ที่มีความวุ่นวายน้อย
เช่น ในห้องตัวเองก่อนนอน หรือตอนตื่นเช้า
แล้วฝึกสมาธิตามแบบที่ถนัด เช่น จดจ่อกับลมหายใจ นั่งสมาธิ เดินจงกรม
หรือจะทำกิจกรรมอื่นๆเพื่อฝึกให้ใจตั้งมั่นไม่วอกแวกง่ายตามไลฟ์สไตล์

chap06-13


ไม่ต้องเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อจะให้เห็น เรา
การตั้งใจดักดู เรา มากไป ทำให้เราไม่เห็น เรา ที่แท้จริง
ไม่ต่างอะไรกับการยืนในสระว่ายน้ำแล้วมองเท้าตัวเอง
ซึ่งก็ได้เห็นแต่ภาพเท้าที่บิดเบี้ยวไปมา แถมระยะห่างก็เพี้ยนไปอีก
การ ดักดู ไม่เหมือนกับการ ตามดู
ตรงที่ ดักดูเหมือนจะพยายามคาดเดาไปก่อนว่าจะเกิดอะไรขึ้น
สมมติว่า เราเลี้ยงเด็ก แล้วเราจ้องตลอดเวลา
เพราะกลัวเด็กจะล้ม จะเอานิ้วจิ้มขี้หมา จะฉี่ราดแพมเพิร์ส
สรุปว่า เด็กต้องอยู่เฉยๆ กระดิกไม่ได้เลย ซึ่งไม่ใช่ธรรมชาติของเด็ก
แต่ตามดู จะปล่อยเด็กให้วิ่งเล่นตามอิสระ
แต่ป้องกันเหตุร้ายไม่ให้เกิด เช่น ตักขี้หมาออกก่อน พาไปฉี่ก่อน แค่นั้น
และไม่ต้องคาดหวังว่าจะเห็น เรา ในทุกครั้งที่ดู
ดูแล้ว มีเรา ก็รู้ ไม่มีเรา ก็รู้ไป

chap06-14


การฝึกเห็นเรา ทำได้บ่อยเท่าวันเวลาเปิดบริการของเซเว่น
เห็นเราบ่อยๆ ก็ยิ่งชำนาญ อีกหน่อยพออะไรเกิดขึ้นปั๊บ ก็เห็นปุ๊บ
ไม่ต้องรอเลิกงาน กลับบ้าน อาบน้ำ ประแป้ง เปิดแอร์ก่อน แล้วค่อยฝึก
ตอนไหนก็ฝึกได้ทั้งนั้น ยกเว้นตอนกำลังใช้สมาธิทำงาน
เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน
ทำงานผิดพลาดขึ้นมา เดี๋ยวจะพาลเอาหนังสือปาใส่หัวหมา
เดือดร้อนหมาอีก

chap06-15



เห็น
เรา ทางไหนก่อนก็ได้
แขนมีสองข้าง ข้างซ้ายกับข้างขวา เรายังถนัดเพียงข้างใดข้างหนึ่ง
ทางที่จะฝึกเห็น เรา ก็เช่นกัน เราก็ไม่ได้ถนัดฝึกเท่ากันทุกทาง
โดยทั่วไปแล้ว การฝึกเห็นเรา ทางร่างกาย จะเป็นอะไรที่ง่ายสุด
เพราะเราเห็นร่างกาย การขยับของร่างกายอยู่แล้วตลอดเวลา
ถ้าทำบ่อยๆ เราก็มักจะฉุกคิดขึ้นมาดูร่างกายแทบจะอัตโนมัติ
แต่ถ้าถนัดเห็นความรู้สึกมากกว่า ก็ฝึกทางนั้นให้บ่อยๆ และทำให้มาก
ไม่จำเป็นต้องทำให้หมดทุกทางเท่าๆกัน
ก็นำพาไปให้เห็น เรา เหมือนกันได้
ที่สำคัญคือ ถ้า มีเรา ก็ให้รู้ว่าตอนนั้น มีเรา
ถ้าดูแล้ว ไม่มีเรา ก็ให้รู้ว่า ตอนนั้น ไม่มีเรา

chap06-16



เมื่ออยู่ๆก็ไม่รู้จะเห็น
เรา ทางไหนดี
ก่อนอื่นให้รู้ก่อนว่าตอนนี้ ไม่รู้ หรือ สงสัย ว่าจะเห็นเราทางไหนดี
ถ้าตามรู้ตรงนี้ทัน ความรู้สึก สงสัย ก็จะหายไป
จากนั้นก็กลับมาที่จุดเริ่มต้นของแต่ละคน
กรุงเทพมีจุดเริ่มต้นกิโลเมตรที่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิฉันใด
การฝึกดูใจ ก็มีจุดเริ่มต้นเช่นกัน ซึ่งอยู่ที่สิ่งที่เราถนัดดูที่สุด
บางคนถนัดดูลมหายใจ ก็กลับมาตั้งต้นที่ลมหายใจ
บางคนถนัดดูโพสนั่ง ก็ดูร่างกายโพสนั่งไป
บางคนถนัดดูความรู้สึก ก็ดูความรู้สึกไป
พอเริ่มตั้งตัวจากจุดเริ่มต้นได้แล้ว
ทีนี้อะไรที่เด่นแปร๋นขึ้นมา ไม่ว่าจะทางร่ายกาย ความรู้สึก ลักษณะใจ
ก็รู้มันไป จะ มีเรา หรือ ไม่มีเรา ก็ดูกันไป

chap06-17