Print

สัพเพเหระธรรม - ฉบับที่ ๙๘

แผนสอง
(inochi no poka-yoke)

malimalimalimali

 

 

อ่านย้อนหลังได้ที่นี่

ตอนที่ ๑
ตอนที่ ๒
ตอนที่ ๔
ตอนที่ ๕

etc98_01

 

ตอนที่ ๖ ช่วงที่ ๑
แผนปฏิบัติ ขั้นที่ ๑
ฝึกให้ เห็นเรา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ไชโย้!!!
เราเจอเป้าหมายตัวเอ้ของแผนนี้แล้ว!!!

นั่นคือ การมีเรา นี่เอง!

เป้าหมายที่ตรงจุด สำคัญขนาดไหน?
ก็สำคัญที่ถ้ากำหนดเป้าหมายพลาดไปแม้แต่น้อย
มันก็คือ ยิงไม่ถูก
ไม่มีคำว่ายิงถูกมากหรือถูกน้อย มีแต่ยิงถูกหรือไม่ถูกเท่านั้น

การเจอเป้าหมายของแผนที่ถูกต้อง
จึงเป็นสิ่งที่น่าไชโยเป็นยิ่งนัก!

etc98_02

 

 

แต่...พอเจอเป้าหมายแล้ว
ก็ไม่ใช่ว่าจบข่าวแต่เพียงเท่านี้
แผนสอง ยังต้องมีรายละเอียดต่อไป

สมมติว่า ถ้าเราอยากให้ปัญหาๆหนึ่งหมดไป
สิ่งแรกที่เราต้องทำคือ ค้นพบต้นเหตุของปัญหา
จากนั้น เราต้องแก้ปัญหาด้วย
ไม่ใช่เจอแล้วจบข่าวสักหน่อย


เช่นเดียวกัน
มันไม่ใช่ว่า พอเรารู้ว่า “การมีเรา” คือต้นเหตุ
แล้วก็จบข่าว มีชีวิตอย่างมีความสุขตลอดไป
ไม่ใช่แล้ว!


เราอยู่กับ “การมีเรา” มาตั้งแต่ไหนแต่ไร
การที่เห็นปุ๊บ “การมีเรา”จะสงบเสงี่ยมเจียมตัวปั๊บ
จึงไม่ใช่เรื่องที่จะเป็นไปได้ง่ายๆ



นอกจากจะไม่ได้เป็นไปอย่างง่ายๆแล้ว
ในครั้งแรกๆที่เราได้ยินว่า
“การมีเรา” มันคือต้นเหตุที่ ส.ค.ส.(ส่งความสุข) ให้เรา
และคือต้นเหตุที่ ส.ค.ท.(ส่งความทุกข์) ให้เราน่ะ



ลองถามใจจริงๆของตัวเองดูก่อนว่า

 

เชื่อหรือเปล่า?


อะ...ลองถามดู...




โอเคนะ...มาว่ากันต่อ...




ตั้งแต่อ่านมาตั้งแต่แรกจนถึงตอนนี้
ถึงจะมีเหตุผลที่เราเห็นตามว่า “การมีเรา” ทำให้เรามีความทุกข์
แต่จากประสบการณ์ของเราๆ
ที่เคยมีความสุขกับการที่มีคนเข้าใจ มีคนรัก มีทรัพย์สิน
ได้กินอาหารอร่อยๆ มีบ้านหลังงาม มีลูกที่น่ารัก
มีการงานที่ดี มีผลงานที่ภูมิใจ มีชื่อเสียงในสังคมของตัว
มันก็ทำให้เราเห็นว่า “การมีเรา” ในสถานการณ์ดีๆแบบนี้
มันก็ออกจะสุข สุ๊ก สุข

จริงเหรอ ที่เราต้องเข้าไปจัดการแก้ไข “การมีเรา”
ในเมื่อการมีเรา มันก็ให้สุขกับเรา
มันเป็นเรื่องจริงเหรอ ที่เมื่อกำจัดมันทิ้ง เราจะหายจากทุกข์
แล้วสุขที่เราเคยมีล่ะ? มันยังอยู่ไหม?



ก็ขอตอบว่า
เปล่า... ไม่ได้บอกให้เอา “การมีเรา” ไปทิ้งซะหน่อย
การจัดการกับ “การมีเรา” ไม่ใช่การเอาไปทิ้งเฉยๆแต่เป็นการจัดการกับ “การมีเรา”
เพื่อไม่ให้มันมาทำให้เราทุกข์ซ้ำแล้วซ้ำอีกต่างหาก

เหมือนยุงน่ะ ยังไงก็มีอยู่บนโลก แต่จะทำยังไงไม่ให้มันมากัดเราบ่อยไปนัก

 



และการที่เราจะจัดการได้ เราก็ต้องมีแผนการจัดการ ใช่ไหม?

ถึงแม้แผนสองจะไม่ใช่แผนการรบ
แต่ก็ไม่ต่างอะไรกันในแง่ที่ว่า
ถ้ากำหนดแต่เป้าหมายในการรบ แต่ไม่วางแผนใดๆ
กะมวยวัดท่าเดียว
ก็มีหวัง...

มีกองร้อย ก็ตายทั้งกองร้อย
มีกองพัน ก็ตายทั้งกองพัน
ชีวิตมีให้เดิมพันเท่าไหร่ ก็อาจจะเสียหมด

etc98_03

etc98_04


แผนปฏิบัติขั้นตอนแรก
:
ฝึกให้เห็น เรา


การที่จะตระหนักในการมี
เรา ได้
ขั้นตอนแรกก็ต้องฝึกให้เห็นเป้าหมายก่อน
ต้องแน่ใจว่าเจอเป้าหมายแล้ว และเป้าหมายอยู่ที่ไหน ใช่หรือเปล่า?

ได้ยินเสียงประท้วงว่า
อ้าววว ก็เพิ่งบอกมาว่า รู้เป้าหมายชัดแล้ว
แล้วยังต้องมานั่งตระหนักเห็นอะไรกันอีก?
จะทุบดินกันไปถึงหนายยย?


ก็ขอตอบว่า
อ้าวก็ที่ชัดนั่นน่ะ มันในแผนไง
พอลงสนามจริงแล้ว ก็ต้องมาดูกันอีกทีใช่ไหมว่าเห็นหรือยัง
เหมือนเรารู้ว่าเราจะไปล่ากวาง
แต่พอเข้าป่าไป ยังไม่เห็นกวาง แล้วเราจะยิงอะไร จริงไหมจ๊ะ?
เราก็ต้องมาฝึกสังเกตเห็นกวางในป่าจริงกันอีกที โอเค้?





อืม

มันก็เหมือนจะมีเหตุผลดีนะ

อย่างนั้น...แปลว่า
ความมี เรา นี่ มันไม่ได้อยู่ให้ยิงตลอดเวลาหรอกเหรอ?

 



ปิ๊ง...ป่อง...




แม่นแล้ว
!

ความมี เรา มันไม่ได้มีอยู่ตลอดเวลา!

ก็เหมือนกับความรู้สึกนึกคิดทั่วไปแหละ
ที่เดี๋ยวก็รู้สึกอย่างนี้ อีกสักพักก็รู้สึกอย่างนั้น คิดอย่างนู้น
เราจะจัดการกับมันได้ ยิงมันได้ เตะมันได้ เมื่อตอนที่มีมันเกิดขึ้น
ซึ่งการที่จะจัดการได้
ขั้นตอนแรก ก็คือ ต้องเห็นมันก่อน รู้ว่าอยู่ที่ไหน นั่นเอง!

อย่าเพิ่งร้อง ว้ายยย งง นะจ๊ะ กำลังจะอธิบายต่อ










มาฝึกสังเกตเห็น
เรา กันเต๊อะ

การเห็น
เรา จะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย
(แหม ชักชวนให้มาฝึก แล้วก็ยังจะลีลา)

เอาตรงยากก่อน
มันยากตรงที่ ตลอดมา เราไม่ค่อยคิดจะใส่ใจมองมัน
เพราะมัวแต่ฟังคำบัญชาของมันอยู่
สั่งให้ไปหานั่นนี่มาใส่ ตัวเรา
สั่งให้กำจัดโน้นนี้ออกจาก ตัวเรา
เราจะเคยชินกับการไปสนใจกับการทำตามคำสั่งมากกว่าสิ่งที่สั่ง
ได้คำสั่งทีก็ปรื๊ดดด... วิ่งไปทำแล้ว


แม้แต่คนที่ว่า
รักตัวเอง หรือ เห็นแก่ตัว ก็ไม่พ้นเข้าข่ายเดียวกัน
มิหนำซ้ำยังอาการหนักด้วย
ยิ่งเห็นแก่ตัว ก็ยิ่งจะมีภารกิจที่จะต้องทำสนองบัญชาของ ตัวเรา มากขึ้น
ยิ่งรักตัวเอง ก็ยิ่งวิ่งรอกทำตามคำสั่งที่ได้รับจาก ตัวเรา มากขึ้น
ไม่ทันได้ฉุกคิดตรวจสอบใน เรา
ไม่ต่างอะไรกับคนอื่นๆ


อีกมุมหนึ่ง ที่การเห็น
เรา เป็นเรื่องง่าย
มันเป็นเรื่องง่ายก็เพราะว่า
เรา ปรากฏขึ้นถี่เหลือเกิน บ่อยเหลือเกิน
มันมาควบคู่กับสารพัดสิ่งในทุกด้านของชีวิต


เหมือนเห็นขนมเค้ก คัสตาร์ด สังขยา ฝอยทอง ไข่ดาว ลูกไก่
ก็รู้ว่ามันมี ไข่ เป็นวัตถุดิบตั้งต้น


ความเป็น
เรา ซึ่งแม้ว่าตัวมันเป็นนามธรรม
แต่ก็สามารถสังเกตเห็นได้ทั้งจากทางที่มองเห็นจับต้องได้
และทางที่มองไม่เห็นด้วยตา จับต้องไม่ได้นอกจากทางใจ


etc98_05


การฝึกสังเกตเห็น เรา
มีให้เลือกทำตามความถนัด ๔ ทาง ได้แก่


แบบที่มองเห็น จับต้องได้
ทางร่างกาย


แบบที่มองไม่เห็นด้วยตา จับต้องไม่ได้นอกจากทางใจ
ทางความรู้สึก
ทางลักษณะของใจ
ทางพื้นเพดั้งเดิมของใจ




คราวหน้าเราจะมาดูในรายละเอียดแต่ละทางกันนะ