Print

ยารักษาใจ - ฉบับที่ ๑๖๙

ตู้ยาถวายพระ ภาค แกะกล่องยาตำราหลวง

wilasinee2
โดย วิลาศินี
 

 

ผู้เขียนมีโอกาสไปพักปฏิบัติธรรมที่วัดแห่งหนึ่งเมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
พบเห็นผู้นำยามาถวายวัดและจัดเตรียมได้อย่างเรียบร้อยสวยงามจนนึกอนุโมทนา
พลางนึกขึ้นได้ว่าอีกหลายวัด อีกหลายสถานปฏิบัติธรรม
น่าจะพอมีตู้ยาสามัญประจำบ้านอยู่เช่นกัน แต่ขาดคนไปทบทวนดูแล
จึงได้ลองเก็บภาพกระเป๋ายาตำราหลวง ที่ประกอบด้วยยาสามัญประจำบ้านพื้นฐาน
รวมถึงอุปกรณ์ทำแผล/ อุปกรณ์ช่วยเหลือในยามฉุกเฉิน มาลงไว้เป็นตัวอย่างนะคะ :)

ยาตำราหลวง จะเป็นยาที่ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรม
ภายในประกอบไปด้วยรายการยาสามัญประจำบ้านตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข
(มีจำนวน 50 กว่ารายการ อาทิ ยาเม็ดพาราเซตามอล ยาเม็ดแก้แพ้ ยาแก้ไอน้ำดำ
ยาขับเสมหะ ยาธาตุน้ำแดง เหล้าแอมโมเนีย ยารักษาหิดเหา ยารักษากลากเกลื้อน
ยาแก้ปวดฟัน ยารักษาแผลน้ำร้อนลวก ฯลฯ) ยาที่ได้ชื่อว่ายาตำราหลวงนี้
ตามร้านค้าต่างๆ ได้รับการยกเว้นให้จำหน่ายได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตขายยา
โดยเป็นยาที่มีความปลอดภัย และมีราคาย่อมเยา ประชาชนสามารถหาซื้อได้ง่าย
โดยไม่ต้องลำบากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากนัก

ใครอยากรู้ว่าในกล่องยาตำราหลวงมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันนะคะ :)

เริ่มตั้งแต่กระเป๋ายา ชุดนี้จัดทำโดยสภากาชาดไทย ยาทั้งหมดสามารถบรรจุลงได้ในกระเป๋านะคะ

1

เห็นยาตำราหลวงกล่องเขียว มีคำว่า "ยาตำราหลวง” และข้างใต้ระบุว่า
เป็น “ยาสามัญประจำบ้าน" ตัวหนังสือสีขาวในกรอบสีเขียวบรรทัดรองลงมา
ใช่กล่องนี้แหละค่ะ มาแกะกล่องกันเลย :)

2

ภายในประกอบด้วย

1. ยาเม็ดพาราเซตามอล .................10 เม็ด
2. ผงน้ำตาลเกลือแร่(แก้ท้องร่วง)........1 ซอง
3. ยาเม็ดแก้แพ้ ลดน้ำมูก ................10 เม็ด
4. ยาธาตุน้ำแดง .........................180 ม.ล.
5. ยาทาแผลสด ไอโอดิน .............. 15 ม.ล.
6. พลาสเตอร์ยา ............................2 ชิ้น
7. สำลี.........................................1 ม้วน
8. ยาเม็ดไซเมทิโคน(ขับลม)............1 แผง
9. ไฮโดรเจนเช็ดแผล ....................1 ขวด
10. ผ้าก๊อซ..................................1 แผ่น
11. ยาธาตุน้ำขาวกระต่ายบิน...........1 ขวด
12. ยาหม่อง................................1 ขวด
13. ยาดม....................................1 หลอด

มีกระดาษแผ่นเล็ก ๆ ทำเป็นรายการให้ดูด้วย
ว่ามียาอะไรบ้าง คนดูแลก็ตรวจได้ง่ายขึ้นมากเลยค่ะ

3

ยาเม็ด เอามาตรวจสอบวันหมดอายุ อยู่บนแผง หากเป็นไปได้
เมื่อจะกินยา ให้แกะเม็ดยาออกมาในพื้นที่ว่าง (ที่ไม่ใช่ส่วนบอกวันหมดอายุ)
โดยยาส่วนที่เหลืออยู่ ก็จะเป็นยาในพื้นที่บอกวันหมดอายุบนแผงยา
ไว้สำหรับผู้มาใช้ยาคนต่อไปได้ตรวจทานวันหมดอายุก่อนใช้ จะเป็นการดีมากค่ะ :)

ลักษณะการแจ้งวันหมดอายุบนแผงยา

4

ยาน้ำ และยาภายนอก ตรวจสอบวันหมดอายุกันให้ชัด ๆ

5

หากมีการเก็บยาภายนอก หรืออุปกรณ์ทำแผล อุปกรณ์ช่วยชีวิตต่าง ๆ
มักเก็บไว้ในกระเป๋ายาภายนอก ซึ่งมีสีแดง เป็นสัญลักษณ์ห้ามรับประทานชัดเจน

6

อุปกรณ์ทำแผลภายใน แกะออกมา หน้าตาจะประมาณนี้ค่ะ :)

7

อุปกรณ์เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นปรอท พลาสเตอร์ปิดแผล สำลี
มีอายุยาวไปจนถึงระยะหนึ่ง แต่การระบุวันหมดอายุไม่ค่อยชัดเจน(หรือไม่มีเลย)
ดังนั้น เมื่อมีการนำอุปกรณ์เหล่านี้ถวายพระ ควรจัดทำรายการ และระบุวันที่ถวาย
เพื่อประมาณการณ์ได้ ว่าเก็บ-ใช้อุปกรณ์เหล่านี้มานานเท่าใดแล้ว ยกตัวอย่างดังนี้ค่ะ

8

เหล่านี้ เป็นเพียงยาพื้น ๆ หากแต่หลาย ๆ วัดอยู่ห่างไกลความเจริญทางวัตถุ
เข้า-ออกโรงพยาบาลลำบาก อาจต้องจัดยาเตรียมไว้ให้มาก คงต้องรออ่านต่อฉบับหน้าแล้วค่ะ :)