Print

ยารักษาใจ - ฉบับที่ ๑๖๖

SHUTTER (กด-เปิด-ใจ)

wilasinee2โดย วิลาศินี


 

0 

       ๏ พิการทางสายตา..................ใช่อุราจะมืดมิด
เชิญเถิดมาพินิจ..............................ด้วยดวงจิตกรุณาฯ

       ๏ พิการเพียงแต่ชั้น ..................ดวงตา
โปรดเถิดใช่อุรา ..............................เปล่าเรื้อ
ชวนผองเพื่อนเชิญมา........................สัมผัส
ดวงจิตคิดโอบเอื้อ.............................เปี่ยมด้วย กรุณาฯ

อ่านต่อ : http://www.dharmamag.com/index.php?option=com_content&view=article&id=638&Itemid=64

กาพย์ห่อโคลง พี่กอดน้อง (นิราศพระมหาไถ่) ที่เขียนไว้ในปีที่แล้วค่อนข้างรวบรัด
แม้อ่านผ่าน ๆ จะดูเหมือนยาวเหยียด แต่ที่จริงคือพาอ้อมไปไกลด้วยเชิงชั้นวรรณศิลป์
แต่จะให้เอาเนื้อหามาปฏิบัติจริงกลับค่อนข้างเป็นไปได้ยาก

พอมาปีนี้ เราจะจัดกิจกรรมกันอีกครั้ง และอาสาสมัครที่ยังขาด
ก็คือคนไปช่วยทำอาหารในช่วงเช้า และไปสอนน้องถ่ายรูปในช่วงบ่าย
ซึ่งขั้นตอนทำอาหารตอนนี้ต้องการเพียงแค่ลูกกมือไปช่วยทำครัว(แม่ครัวมีแล้ว)
แต่คนที่จะมาสอนถ่ายรูปควรจะเป็นคนที่มีความพร้อมพอสมควรทีเดียวค่ะ
หรือหากเป็นคนผ่านไปมา อยากรู้ว่าเขาจัดกิจกรรมแบบนี้กันอย่างไร

ก็ขอส่งมอบประสบการณ์ผ่านภาพและตัวอักษรทิ้งไว้ให้อ่านกันนะคะ ^___^

...
...
...

+ + + +

ที่ต่างประเทศ (เกาหลี) เขาก็จัดกิจกรรมนี้กันค่ะ

ข้างล่างนี้เป็นโฆษณากล้องของเกาหลี ที่บอกเล่าเรื่องราวการพาน้อง ๆ
ผู้พิการทางสายตาไปถ่ายรูปนอกสถานที่ที่เกาะเจจู คอนเซปท์ของเขาคือ

"การมองเห็นด้วยตาไม่ใช่หนทางเดียวที่จะมองเห็นทุกอย่าง
และกล้องไม่ได้มีไว้สำหรับคนที่มองเห็นเท่านั้น
แต่มีไว้สำหรับคนที่ปรารถนาที่จะเก็บความทรงจำนั้นไว้-เปิดใจมองโลก"

...

...
...

ลองดู
mv กันก่อนก็ได้นะคะ :)

http://www.youtube.com/watch?v=dKg5kfRXS94

เห็น mv เขาแล้วอยากจัดบ้าง ที่บ้านเราต้องจัดกันนานข้ามเดือนขนาดนั้นไหม
หากมีเวลาไม่มากนัก ครึ่งวันก็เพียงพอค่ะ :)

วิธีการคือเตรียมกล้องมา ให้น้อง ๆ จับ เขาจะถือเบา ๆ เราจะคอยจับนิ้วเขา

แล้วบอกว่า ปุ่มไหน อยู่ตรงไหนของลำตัวกล้อง เช่น

- ตรงหน้าเลนส์อย่าไปจับนะ (บอกขอบเขตที่จับได้)
- ปุ่มกดอยู่ตรงนี้ (ให้น้องจิ้มปุ่มโดยไม่ต้องเล็งดูก่อนเลย)

จากนั้นปล่อยให้เขาได้มีสมาธิ ได้จับเอง ได้ทำความคุ้นเคยกับกล้องเองสักพักหนึ่ง

11


กล้องหนักอาจต้องช่วยน้องพยุง

22 

กล้องไม่หนัก แต่เป็นห่วงน้องจะทำร่วง ลุ้นอยู่ห่าง ๆ ก็ได้ ^^

33


บางคนหลบไปเอาใจช่วยอยู่ข้างหลัง

44 

บางคนชวนน้องมาเป็นนายแบบ

55 

ทีนี้มาวิธีการ ถ้าถ่ายระยะใกล้ เราจะให้น้องจับสิ่งของสิ่งนั้นเลยค่ะ
อยากถ่ายท่าไหนมุมไหน ปรับ จับ ถอย ออกมาถ่ายเองได้เลย

เช่น การถ่ายตุ๊กตา

66

ส่วนการถ่ายระยะไกล เช่น ถ่ายเพื่อนด้วยกัน
คนที่เป็นนายแบบหรือนางแบบ ต้องส่งเสียงบอกว่า ตัวเองอยู่ทางทิศไหน
และอยู่ไกลแค่ไหน อยากได้ครึ่งตัวหรือเต็มตัว ก็กะระยะใกล้ไกลจากเสียงที่ได้ยินเลย

 77


พร้อมแล้ว ก็ให้น้องกดชัตเตอร์เลยค่ะ :)

88 

เกือบสุดท้าย ประมวลรูปที่น้องถ่ายให้ค่ะ :)

99


เหล่านี้เป็นความทรงจำเล็ก ๆ ความสุขน้อย ๆ ที่พวกเราทำให้น้อง ๆ ได้ค่ะ การที่เขามองไม่เห็น ทำให้บางคนมีความคิดว่า ตนเองทำแบบคนอื่น ๆ ไม่ได้ ไม่เหมือนคนปรกติ แต่การที่เราให้เขาจับกล้อง ให้เขาลองถ่ายภาพออกมา ทำให้เราได้เห็นรอยยิ้มของเขา ทำให้ใจของเราฟูฟ่อง สุดท้ายคล้ายมีบางอย่างต่างเติมเต็มให้กัน

ขออนุญาตเล่าปิดท้ายให้อ่านกัน ถึงน้องคนหนึ่ง ที่พอสอนและถ่ายรูปด้วยกันไปพักใหญ่ ผู้เขียนช่วยยืนยันว่าเขาถ่ายรูปได้ ถ่ายออกมาสวยด้วย เขายิ้มอาย ๆ และเล่าให้ฟังว่า

"บางทีกลับบ้าน ก็อยากไปถ่ายรูปให้พี่สาวครับ พี่สาวเคยให้ผมลองถ่ายด้วย”

“อื้อ แล้วถ่ายออกมาใช้ได้ไหม”

“ใช้ได้ครับ พี่สาวผมก็ชม”

“แล้วเรารู้สึกยังไง”

“รู้สึกดีใจครับ ถึงผมมองไม่เห็น แต่ผมก็ดีใจ ที่ได้ช่วยถ่ายรูป ช่วยเก็บภาพประสบการณ์ให้เขาได้"


น้องเขาพูดไปยิ้มไป โดยไม่รู้หรอกว่า คนนั่งฟังอยู่ข้าง ๆ กำลังน้ำตาซึมได้ที่ บอกเขาว่าถ้าอย่างนั้นซ้อมมาก ๆ จะได้ไปถ่ายให้พี่สวย ๆ เขาก็ตอบกลับมาว่า

"ไม่เป็นไรครับ ผมพอจะถ่ายเป็นแล้ว พี่ช่วยสอนเพื่อน ๆ คนอื่นด้วยนะครับ"

 

ฟังแล้วอึ้ง ซึ้งในน้ำใจน้องจนต้องตบบ่า 1 ที

น้องหล่อมากค่ะ :)

 

จบเท่านี้ก่อนนะคะ เจอกันใหม่อีกที ปีนี้ เสาร์ที่ 23 มีนา 2556
ที่โรงเรียนสอนคนตาบอดพระมหาไถ่ พัทยา รายละเอียดโครงการเชิญที่

http://www.facebook.com/events/136239766538380/

มีใครอยากไปด้วยกันไหมคะ :)

 

หมายเหตุ ขอขอบคุณภาพบรรยากาศสวย ๆ จากน้อง  CoLagraphy Coke Kantamet อีกครั้งค่ะ :)