Print

แสงส่องใจ ฉบับที่ ๔๔๐

 sungaracha

 sangharaja-section

 เทศนานิพนธ์

ใน

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก

 

bornunderstand
ความเข้าใจเรื่องชีวิต (๙)

 

พึ่งผิดที่ ชีวิตย่อมมีภัย

                   ภัยของชีวิตโดยตรงคือกิเลส กล่าวอย่างสามัญ คือ โลภะ ความอยากได้ โทสะ ความขัดเคือง โมหะ ความหลง เรียกกัน สั้น ๆ ว่า โลภ โกรธ หลง สำหรับภูมิคฤหัสถ์ หมายถึงที่เป็นมูลให้ประพฤติชั่ว เรียกว่า กิเลสภัย ๑ อกุศล ทุจริตบาปกรรม เรียกว่า ทุจริตภัย ๑ ทางดำเนินที่ชั่วประกอบด้วยทุกข์เดือดร้อน เรียกว่า ทุคติภัย ๑ ทั้งสามนี้เป็นเหตุผลเนื่องกัน คือ กิเลสเป็นเหตุให้ประกอบทุจริต ทุจริตก็ส่งไปสู่ทุคติ ภัยเหล่านี้บุคคลนั่นเองก่อขึ้นแก่ตน คือ ก่อกิเลสขึ้นก่อน แล้วก็ก่อกรรมก่อทุกข์เดือดร้อน ทั้งนี้เพราะระลึกแล่นไปผิด จะกล่าวว่าถึงสรณะผิดก็ได้ คือถึงกิเลสเป็นสรณะ ได้แก่ ระลึกแล่นไปถึงสิ่งที่เป็นเครื่องก่อโลภโกรธหลง เช่น แก้ว แหวน เงินทอง ลาภ ยศ เป็นต้น ที่ไม่ควรได้ควรถึงแก่ตน จะกล่าวว่าถึงลาภยศเช่นนั้นเป็นสรณะก็ได้ ด้วยจำแนกออกเป็นสิ่ง ๆ และระลึกแล่นไปถึงบุคคล ผู้มีโลภโกรธหลงว่า ผู้นั้นเป็นอย่างนั้นผู้นี้เป็นอย่างนี้และถือเอาเป็นตัวอย่าง ถึงกรรมที่เป็นทุจริตเป็นสรณะ คือ ระลึกแล่นไปเพื่อฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เพื่อลักขโมยฉ้อโกง เพื่อประพฤติผิดในทางกาม เพื่อพูดเท็จ เพื่อดื่มน้ำเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท หรือระลึกแล่นไปในทางอบายมุขต่าง ๆ เมื่อจิตระลึกแล่นไปเช่นนี้ ก็เป็นผู้เข้านั่งใกล้กิเลสทุจริตนั้น ๆ ด้วยจิตก่อน แล้วก็เข้านั่งใกล้ด้วยกาย ด้วยประพฤติทุจริตนั้น ๆ ทางกายวาจาใจ ทางดำเนินของตนจึงเป็นทุคติตั้งแต่เข้านั่งใกล้กิเลสทุจริตในปัจจุบันนี้ทีเดียว คนเป็นผู้ก่อภัยขึ้นแก่ตนด้วยตนเอง เพราะถึงสรณะที่ผิดฉะนี้ และเพราะมีกิเลสกำบังปัญญาอยู่ จึงไม่รู้ว่าเป็นภัย ส่วนผู้ที่ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะที่ระลึกแล่นไปของจิต ตลอดถึงนำกายเข้านั่งใกล้เป็นอุบาสก อุบาสิกาของพระพุทธเจ้า ย่อมเป็นผู้ไม่ก่อภัยเหล่านี้ เพราะพระรัตนตรัยเป็นที่ระลึกที่ไม่ก่อภัยทุกอย่าง จึงเป็นผู้ละภัยได้

                   อนึ่ง ผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะเข้านั่งใกล้พระรัตนตรัย ย่อมเป็นผู้ใคร่ปรารถนาธรรม ที่เรียกว่าธรรมกามบุคคล จึงเป็นผู้พอใจขวนขวายและตั้งใจสดับฟังธรรมจึงได้ปัญญารู้ธรรมยิ่งขึ้นโดยลำดับ ความรู้ธรรมนั้น กล่าวโดยตรง ก็คือรู้สัจจะ สภาพที่จริง กล่าวอย่างสามัญ ได้แก่ รู้ว่าอะไรดีมีคุณประโยชน์ เป็นบุญเป็นกุศล เป็นทางเจริญ อะไรชั่วเป็นโทษไร้ประโยชน์ เป็นบาปเป็นอกุศล เป็นทางเสื่อมเสีย อะไรเป็นวิธีที่จะละหลีกทางเสื่อมเสียนั้น ๆ ด