Print

แสงส่องใจ - ฉบับที่ ๓๘๗

 sungaracha

 sangharaja-section

๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า

 เทศนานิพนธ์

ใน

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก

 

ธรรมะประดับใจ

 

 

๑๔. การให้

 

                   การให้มีคุณ ผู้ให้สบายใจกว่าผู้รับ แม้คนโลภจะอยากได้นั่นได้นี่ของคนนั้นคนนี้อยู่เสมอ เวลาได้ไปก็ยินดีพอใจ แล้วก็อยากได้ต่อไป ความสบายใจของคนโลภ หรือผู้รับ ย่อมไม่มีอยู่นาน ประเดี๋ยวเดียวที่สบายใจในการได้ แล้วก็จะร้อนใจต่อไปอีก เพราะความอยากได้อย่างอื่นต่อไปอีก ความอยากได้ของผู้รับที่ไม่มีเวลาหยุดนั่นเองที่ทำให้ผู้รับไม่เป็นสุขเหมือนผู้ใหญ่ ผู้ให้โดยเฉพาะผู้ที่ให้ด้วยความเต็มใจ ยินดีที่จะอนุเคราะห์สงเคราะห์ย่อมมีความสบายใจที่ได้ทำสิ่งที่ปรารถนา

 

                        ผู้ให้นั้นยิ่งมีความสบายใจ ย่อมมีความสุขที่ได้เป็นผู้ให้ผู้ไม่เคยเป็นผู้ให้ย่อมไม่เคยรู้รสของการเป็นผู้ให้ อันนี้ไม่ได้หมายเพียงการให้ทรัพย์สินเงินทองสิ่งของเท่านั้น การให้อภัยทานก็รวมอยู่ด้วยทั้งการให้อภัยทานยังให้ความสุขแก่จิตใจเป็นพิเศษอีกด้วย คนโกรธมีความร้อน คนไม่โกรธไม่มีความร้อน นึกดูเพียงเท่านี้ก็พอจะเข้าใจว่าอภัยทานมีคุณเพียงไร อภัยทานคือการทำใจให้หายโกรธ ผู้ใดทำให้โกรธ ถ้าให้อภัยเสียก็หายโกรธ เขาจะรู้หรือไม่รู้ เราผู้โกรธแล้วให้อภัยจนหายโกรธนั่นแหละเป็นผู้รู้ว่าจิตใจของเราขณะเมื่อยังไม่ได้ให้อภัยกับเมื่อให้อภัยแล้วแตกต่างกันมาก ร้อนเย็นผิดกันมาก ขุ่นมัวแจ่มใสผิดกันมาก

 

                        วิธีที่จะทำให้หายโกรธที่ได้ผลแน่นอนก็คือให้ทำใจให้สงบเป็นขั้นแรก เมื่อใจสงบ ซึ่งจะต้องอาศัยวิธีให้ใจถอนจากเรื่องที่ทำ ให้โกรธอยู่กับเรื่องอื่น ผู้ปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนาใช้วิธีท่อง พุทโธ หรือธัมโม สังโฆ จนใจสงบ เมื่อใจอยู่กับพุทโธหรือธัมโม สังโฆ ถอนจากเรื่องที่เป็นเหตุให้โกรธ ความไม่คิดถึงเรื่องที่ทำให้โกรธก็จะเกิดขึ้นในขณะนั้น แม้เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งก็ยังดี เมื่อใจสงบเช่นนั้นแล้วให้คิดเปรียบเทียบดูว่าเวลาที่กำลังโกรธกับเวลาที่หยุดโกรธแม้เพียงชั่วครู่ชั่วยาม มีความเย็นใจในเวลาไหน เวลาโกรธหรือเวลาหายโกรธ ย่อมจะได้คำตอบที่ถูกต้องแน่นอน และถ้าไม่ดื้อจนเกินไปก็คงจะพยายามรักษาความเย็นใจไว้ อาจจะท่องพุทโธต่อไปให้นานเท่าที่มีเวลาจะทำได้ก็ได้ หรืออาจจะพยายามคิดว่าความโกรธไม่เป็นคุณอย่างใดเลย เป็นโทษเท่านั้น และความโกรธจะหายไปไม่ได้ถ้าไม่อภัยให้ผู้เป็นเหตุแห่งความโกรธเสีย

 

                        ที่ว่าความโกรธจะหายไปไม่ได้นั้น หมายความว่าความโกรธที่จะต้องดับไปแน่นอนตามธรรมดาของสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เมื่อมีเกิดต้องมีดับ แต่การที่ความโกรธดับไปเองตามหลักธรรมดาจะไม่หมดไปจากใจ จักฝังอยู่เป็นความมัวหมองของใจ แม้จะสังเกตเห็นไม่ได้ในขณะที่ดับ แต่เมื่อถึงเวลาเกิดขึ้นอีก จะเพิ่มมากขึ้น คนที่อะไรนิดอะไรหน่อยก็โกรธนั้นเป็นผู้ที่มีความโกรธฝังสะสมอยู่ในใจแล้วเป็นอันมาก ความโกรธนั้นเกิดขึ้นทีหนึ่ง แม้ดับไปแล้วก็จะไม่หายไปไหน แต่จะฝังอยู่ในใจเป็นพื้นแห่งความเศร้าหมองไม่บริสุทธิ์ผ่องใส แต่ถ้าหาเหตุผลให้เกิดความรู้สึกไม่ถือโกรธ คือให้อภัยเสียได้ในทันที ไม่ปล่อยให้ดับไปเองตามหลักรรมดา นั่นแหละจึงจะทำให้ความโกรธในเรื่องนั้น ๆ ไม่ฝังลงเป็นพื้นใจต่อไป แต่จะหมดสิ้นไปได้เลย เหมือนสีที่หยดลงพื้น ถ้าใช้น้ำมันเช็ดเสียให้สะอาดหมดจดทันทีก็จะไม่ฝังลงในเนื้อ แต่ถ้าไม่เช็ดให้หมดจดทิ้งไว้แม้จะแห้งไม่ติดมือติดเท้า แต่ก็จะเป็นรอยมลทินติดอยู่อย่างแน่นอน แม้จะขูดขัดในภายหลังก็ยากที่จะสะอาดได้จริง สู้ทำความสะอาดเสียทันท่วงทีไม่ได้ อภัยทานเปรียบเหมือนการทำความสะอาดในทันทีนั่นเอง.

การให้มีคุณ ผู้ให้สบายใจกว่าผู้รับ แม้คนโลภจะอยากได้นั่นได้นี่ของคนนั้นคนนี้อยู่เสมอ เวลาได้ไปก็ยินดีพอใจ แล้วก็อยากได้ต่อไป ความสบายใจของคนโลภ หรือผู้รับ ย่อมไม่มีอยู่นาน ประเดี๋ยวเดียวที่สบายใจในการได้ แล้วก็จะร้อนใจต่อไปอีก เพราะความอยากได้อย่างอื่นต่อไปอีก ความอยากได้ของผู้รับที่ไม่มีเวลาหยุดนั่นเองที่ทำให้ผู้รับไม่เป็นสุขเหมือนผู้ใหญ่ ผู้ให้โดยเฉพาะผู้ที่ให้ด้วยความเต็มใจ ยินดีที่จะอนุเคราะห์สงเคราะห์ย่อมมีความสบายใจที่ได้ทำสิ่งที่ปรารถนา

                        ผู้ให้นั้นยิ่งมีความสบายใจ ย่อมมีความสุขที่ได้เป็นผู้ให้ผู้ไม่เคยเป็นผู้ให้ย่อมไม่เคยรู้รสของการเป็นผู้ให้ อันนี้ไม่ได้หมายเพียงการให้ทรัพย์สินเงินทองสิ่งของเท่านั้น การให้อภัยทานก็รวมอยู่ด้วยทั้งการให้อภัยทานยังให้ความสุขแก่จิตใจเป็นพิเศษอีกด้วย คนโกรธมีความร้อน คนไม่โกรธไม่มีความร้อน นึกดูเพียงเท่านี้ก็พอจะเข้าใจว่าอภัยทานมีคุณเพียงไร อภัยทานคือการทำใจให้หายโกรธ ผู้ใดทำให้โกรธ ถ้าให้อภัยเสียก็หายโกรธ เขาจะรู้หรือไม่รู้ เราผู้โกรธแล้วให้อภัยจนหายโกรธนั่นแหละเป็นผู้รู้ว่าจิตใจของเราขณะเมื่อยังไม่ได้ให้อภัยกับเมื่อให้อภัยแล้วแตกต่างกันมาก ร้อนเย็นผิดกันมาก ขุ่นมัวแจ่มใสผิดกันมาก

                        วิธีที่จะทำให้หายโกรธที่ได้ผลแน่นอนก็คือให้ทำใจให้สงบเป็นขั้นแรก เมื่อใจสงบ ซึ่งจะต้องอาศัยวิธีให้ใจถอนจากเรื่องที่ทำ ให้โกรธอยู่กับเรื่องอื่น ผู้ปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนาใช้วิธีท่อง พุทโธ หรือธัมโม สังโฆ จนใจสงบ เมื่อใจอยู่กับพุทโธหรือธัมโม สังโฆ ถอนจากเรื่องที่เป็นเหตุให้โกรธ ความไม่คิดถึงเรื่องที่ทำให้โกรธก็จะเกิดขึ้นในขณะนั้น แม้เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งก็ยังดี เมื่อใจสงบเช่นนั้นแล้วให้คิดเปรียบเทียบดูว่าเวลาที่กำลังโกรธกับเวลาที่หยุดโกรธแม้เพียงชั่วครู่ชั่วยาม มีความเย็นใจในเวลาไหน เวลาโกรธหรือเวลาหายโกรธ ย่อมจะได้คำตอบที่ถูกต้องแน่นอน และถ้าไม่ดื้อจนเกินไปก็คงจะพยายามรักษาความเย็นใจไว้ อาจจะท่องพุทโธต่อไปให้นานเท่าที่มีเวลาจะทำได้ก็ได้ หรืออาจจะพยายามคิดว่าความโกรธไม่เป็นคุณอย่างใดเลย เป็นโทษเท่านั้น และความโกรธจะหายไปไม่ได้ถ้าไม่อภัยให้ผู้เป็นเหตุแห่งความโกรธเสีย

                        ที่ว่าความโกรธจะหายไปไม่ได้นั้น หมายความว่าความโกรธที่จะต้องดับไปแน่นอนตามธรรมดาของสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เมื่อมีเกิดต้องมีดับ แต่การที่ความโกรธดับไปเองตามหลักธรรมดาจะไม่หมดไปจากใจ จักฝังอยู่เป็นความมัวหมองของใจ แม้จะสังเกตเห็นไม่ได้ในขณะที่ดับ แต่เมื่อถึงเวลาเกิดขึ้นอีก จะเพิ่มมากขึ้น คนที่อะไรนิดอะไรหน่อยก็โกรธนั้นเป็นผู้ที่มีความโกรธฝังสะสมอยู่ในใจแล้วเป็นอันมาก ความโกรธนั้นเกิดขึ้นทีหนึ่ง แม้ดับไปแล้วก็จะไม่หายไปไหน แต่จะฝังอยู่ในใจเป็นพื้นแห่งความเศร้าหมองไม่บริสุทธิ์ผ่องใส แต่ถ้าหาเหตุผลให้เกิดความรู้สึกไม่ถือโกรธ คือให้อภัยเสียได้ในทันที ไม่ปล่อยให้ดับไปเองตามหลักรรมดา นั่นแหละจึงจะทำให้ความโกรธในเรื่องนั้น ๆ ไม่ฝังลงเป็นพื้นใจต่อไป แต่จะหมดสิ้นไปได้เลย เหมือนสีที่หยดลงพื้น ถ้าใช้น้ำมันเช็ดเสียให้สะอาดหมดจดทันทีก็จะไม่ฝังลงในเนื้อ แต่ถ้าไม่เช็ดให้หมดจดทิ้งไว้แม้จะแห้งไม่ติดมือติดเท้า แต่ก็จะเป็นรอยมลทินติดอยู่อย่างแน่นอน แม้จะขูดขัดในภายหลังก็ยากที่จะสะอาดได้จริง สู้ทำความสะอาดเสียทันท่วงทีไม่ได้ อภัยทานเปรียบเหมือนการทำความสะอาดในทันทีนั่นเอง.