Print

แสงส่องใจ - ฉบับที่ ๓๘๔

 sungaracha

 sangharaja-section

๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า

 เทศนานิพนธ์

ใน

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก

 

ธรรมะประดับใจ

 

๑๑. บุญ - กุศล

 

                     มีคำอยู่สองคำที่พูดถึงกันอยู่เนือง ๆ โดยเฉพาะผู้นับถือพระพุทธศาสนาจะพูดคำทั้งสองนี้กันเป็นประจำแทบทุกคน คำทั้งสองนี้ก็คือคำว่า “บุญ” กับคำว่า “กุศล” และปกติก็พูดคู่กันไปว่าบุญกุศล เช่นทำบุญทำกุศล แต่ก็คงจะมีไม่น้อยที่ไม่เข้าใจคำว่าบุญและกุศลนี้ถูกต้องเพียงพอ วันนี้จะขออธิบายให้ฟังพอสังเขป เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง

                    ทำบุญเป็นเรื่องของกาย เช่นให้ทาน เป็นเรื่องของวัตถุที่หยิบยกให้กันได้ แต่ทำกุศลเป็นเรื่องของใจเป็นการอบรมใจให้งดงามผ่องใสห่างไกลจากกิเลสโดยควร บุญกุศลเป็นของคู่กัน ไม่ควรแยกจากกัน คือไม่ควรเลือกทำแต่บุญ หรือไม่ควรเลือกทำแต่กุศล ควรต้องทำทั้งบุญและกุศลควบคู่กันไป จึงจะสมบูรณ์ เหมือนกินข้าวแล้วก็ต้องกินน้ำ ไม่เช่นนั้นจะไม่รู้สึกว่าเพียงพอแล้ว กินแต่ข้าวไม่กินน้ำเรียกว่าบริโภคอาหารอิ่มเรียบร้อย ต้องกินทั้งสองอย่างเรียบร้อยจึงจะเรียกว่าบริโภคอาหารมื้อนั้นเสร็จเรียบร้อย ทำบุญจึงต้องทำกุศลด้วย

                    ทำบุญจึงต้องทำกุศลด้วยก็คือเมื่อให้ทานทั้งหลาย รวมทั้งการถวายอาหารพระ ให้อาหารเป็นทานแก่ผู้ต้องการหรือให้เงินทองแก่ผู้ขาดแคลน เหล่านี้เป็นต้น เมื่อให้ทานดังกล่าวแล้วควรต้องทำกุศลด้วย คืออบรมใจตนเองให้มีกุศล กุศลหมายถึงความฉลาด อบรมใจให้มีกุศลก็คืออบรมใจให้ฉลาด ให้มีปัญญาสามารถพาตนให้พ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อนทางใจให้ได้ การอบรมใจให้ฉลาดนี้แหละคือการทำกุศล

                    อย่างไรก็ตาม บางทีบุญและกุศลก็เกี่ยวพันกันอยู่อย่างแยกกันไม่ออก เช่นการทำทาน บางครั้งก็เป็นเรื่องของบุญ แต่บางครั้งก็เป็นเรื่องของกุศล เช่นอภัยทาน อภัยทานนี้เป็นเรื่องของกุศลได้ เป็นเรื่องของบุญก็ได้ ถ้าผู้ใดมีโทษต่อตน เช่นทำให้ตนโกรธแค้นขัดเคือง แม้ว่าจะอภัยโทษให้อย่างเสียไม่ได้ นั่นก็เรียกว่าเป็นบุญได้ แต่ไม่เรียกว่าเป็นกุศล แต่ถ้าใจมีเหตุผล มีเมตตา แล้วอภัยโทษให้ เป็นการอภัยโทษด้วยความเต็มใจด้วยใจที่ประกอบด้วยเหตุผลอันใคร่ครวญแล้ว นั่นเป็นกุศล เป็นการทำกุศล ทั้ง ๆ ที่เป็นการอภัยโทษหรือเป็นอภัยทานด้วยกัน แต่ก็แยกจากกันได้ในเรื่องเป็นบุญหรือเป็นกุศล จึงเห็นได้ชัดว่าเรื่องของกุศล ถ้าใจสว่างขึ้น มีปัญญาขึ้น นั่นเป็นกุศล ถ้าใจไม่เกิดผลเป็นความใสความสว่างความมีปัญญาอย่างใดเลย นั่นก็เป็นเรื่องของบุญเท่านั้น

            ที่ประณีตยิ่งกว่านั้นก็คือ แม้ว่าจะไม่สามารถให้อภัยทานที่เป็นบุญได้ แต่ถ้าใจไม่ถือโทษเพราะสว่างแล้วด้วยปัญญา ด้วยเหตุผล ด้วยเมตตา นั้นก็เป็นอภัยทาน นั้นก็เป็นกุศล บุญกับกุศล ไหนมีความสำคัญกว่ากัน ยกข้อนี้ขึ้นพิจารณาก็น่าจะเห็นได้ว่ากุศลสำคัญกว่า กุศลเปรียบเทียบเหมือนข้าว บุญเปรียบเหมือนน้ำ อิ่มข้าวแล้วไม่ได้กินน้ำ แม้จะรู้สึกไม่อิ่มสมบูรณ์แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้กินข้าวเลย กินแต่น้ำเท่านั้น อิ่มแบบกินแต่ข้าว กับอิ่มแบบกินแต่น้ำ แตกต่างกันอย่างไรเข้าใจความนี้แล้วก็จะเข้าใจได้ด้วยว่าทำแต่กุศลกับทำแต่บุญ แตกต่างกันอย่างไร ดังนั้นแม้เมื่อเป็นไปได้แล้ว ทุกคนจึงควรทำทั้งบุญและกุศลไปพร้อมกัน แต่ถ้าจะต้องเลือกระหว่างทำบุญกับทำกุศล คือไม่ทำทั้งสองอย่างได้พร้อมกันก็ต้องเลือกทำกุศล กุศลเป็นสิ่งที่ทำได้เสมอเพราะเป็นเรื่องเฉพาะตัวของทุกคน ไม่เกี่ยวกับผู้อื่น อุปสรรคอื่นไม่อาจห้ามการทำกุศลของใครได้เลยโดยเด็ดขาด ตัวเองเท่านั้นที่จะทำให้ตัวเองไม่ได้ทำกุศล ฉะนั้นจึงควรพิจารณาในเรื่องนี้ให้รอบคอบ และอย่าปล่อยให้ตัวเองเป็นอุปสรรคกีดขวางตนเองไม่ให้ทำกุศล คือการอบรมใจให้สว่างสะอาด ฉลาด พร้อมด้วยสติ ปัญญา เมตตา กรุณา เป็นต้น.

มีคำอยู่สองคำที่พูดถึงกันอยู่เนือง ๆ โดยเฉพาะผู้นับถือพระพุทธศาสนาจะพูดคำทั้งสองนี้กันเป็นประจำแทบทุกคน คำทั้งสองนี้ก็คือคำว่า “บุญ” กับคำว่า “กุศล” และปกติก็พูดคู่กัน

ไปว่าบุญกุศล เช่นทำบุญทำกุศล แต่ก็คงจะมีไม่น้อยที่ไม่เข้าใจคำว่าบุญและกุศลนี้ถูกต้องเพียงพอ วันนี้จะขออธิบายให้ฟังพอสังเขป เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง

                   ทำบุญเป็นเรื่องของกาย เช่นให้ทาน เป็นเรื่องของวัตถุที่หยิบยกให้กันได้ แต่ทำกุศลเป็นเรื่องของใจเป็นการอบรมใจให้งดงามผ่องใสห่างไกลจากกิเลสโดยควร บุญกุศลเป็นของคู่กัน ไม่ควรแยกจากกัน คือไม่ควรเลือกทำแต่บุญ หรือไม่ควรเลือกทำแต่กุศล ควรต้องทำทั้งบุญและกุศลควบคู่กันไป จึงจะสมบูรณ์ เหมือนกินข้าวแล้วก็ต้องกินน้ำ ไม่เช่นนั้นจะไม่รู้สึกว่าเพียงพอแล้ว กินแต่ข้าวไม่กินน้ำเรียกว่าบริโภคอาหารอิ่มเรียบร้อย ต้องกินทั้งสองอย่างเรียบร้อยจึงจะเรียกว่าบริโภคอาหารมื้อนั้นเสร็จเรียบร้อย ทำบุญจึงต้องทำกุศลด้วย

                   ทำบุญจึงต้องทำกุศลด้วยก็คือเมื่อให้ทานทั้งหลาย รวมทั้งการถวายอาหารพระ ให้อาหารเป็นทานแก่ผู้ต้องการหรือให้เงินทองแก่ผู้ขาดแคลน เหล่านี้เป็นต้น เมื่อให้ทานดังกล่าวแล้วควรต้องทำกุศลด้วย คืออบรมใจตนเองให้มีกุศล กุศลหมายถึงความฉลาด อบรมใจให้มีกุศลก็คืออบรมใจให้ฉลาด ให้มีปัญญาสามารถพาตนให้พ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อนทางใจให้ได้ การอบรมใจให้ฉลาดนี้แหละคือการทำกุศล

                   อย่างไรก็ตาม บางทีบุญและกุศลก็เกี่ยวพันกันอยู่อย่างแยกกันไม่ออก เช่นการทำทาน บางครั้งก็เป็นเรื่องของบุญ แต่บางครั้งก็เป็นเรื่องของกุศล เช่นอภัยทาน อภัยทานนี้เป็นเรื่อง

ของกุศลได้ เป็นเรื่องของบุญก็ได้ ถ้าผู้ใดมีโทษต่อตน เช่นทำให้ตนโกรธแค้นขัดเคือง แม้ว่าจะอภัยโทษให้อย่างเสียไม่ได้ นั่นก็เรียกว่าเป็นบุญได้ แต่ไม่เรียกว่าเป็นกุศล แต่ถ้าใจมีเหตุผล มีเมตตา แล้วอภัยโทษให้ เป็นการอภัยโทษด้วยความเต็มใจด้วยใจที่ประกอบด้วยเหตุผลอันใคร่ครวญแล้ว นั่นเป็นกุศล เป็นการทำกุศล ทั้ง ๆ ที่เป็นการอภัยโทษหรือเป็นอภัยทานด้วยกัน แต่ก็แยกจากกันได้ในเรื่องเป็นบุญหรือเป็นกุศล จึงเห็นได้ชัดว่าเรื่องของกุศล ถ้าใจสว่างขึ้น มีปัญญาขึ้น นั่นเป็นกุศล ถ้าใจไม่เกิดผลเป็นความใสความสว่างความมีปัญญาอย่างใดเลย นั่นก็เป็นเรื่องของบุญเท่านั้น

                   ที่ประณีตยิ่งกว่านั้นก็คือ แม้ว่าจะไม่สามารถให้อภัยทานที่เป็นบุญได้ แต่ถ้าใจไม่ถือโทษเพราะสว่างแล้วด้วยปัญญา ด้วยเหตุผล ด้วยเมตตา นั้นก็เป็นอภัยทาน นั้นก็เป็นกุศล บุญกับกุศล ไหนมีความสำคัญกว่ากัน ยกข้อนี้ขึ้นพิจารณาก็น่าจะเห็นได้ว่ากุศลสำคัญกว่า กุศลเปรียบเทียบเหมือนข้าว บุญเปรียบเหมือนน้ำ อิ่มข้าวแล้วไม่ได้กินน้ำ แม้จะรู้สึกไม่อิ่มสมบูรณ์แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้กินข้าวเลย กินแต่น้ำเท่านั้น อิ่มแบบกินแต่ข้าว กับอิ่มแบบกินแต่น้ำ แตกต่างกันอย่างไรเข้าใจความนี้แล้วก็จะเข้าใจได้ด้วยว่าทำแต่กุศลกับทำแต่บุญ แตกต่างกันอย่างไร ดังนั้นแม้เมื่อเป็นไปได้แล้ว ทุกคนจึงควรทำทั้งบุญและกุศลไปพร้อมกัน แต่ถ้าจะต้องเลือกระหว่างทำบุญกับทำกุศล คือไม่ทำทั้งสองอย่างได้พร้อมกันก็ต้องเลือกทำกุศล กุศลเป็นสิ่งที่ทำได้เสมอเพราะเป็นเรื่องเฉพาะตัวของทุกคน ไม่เกี่ยวกับผู้อื่น อุปสรรคอื่นไม่อาจห้ามการทำกุศลของใครได้เลยโดยเด็ดขาด ตัวเองเท่านั้นที่จะทำให้ตัวเองไม่ได้ทำกุศล ฉะนั้นจึงควรพิจารณาในเรื่องนี้ให้รอบคอบ และอย่าปล่อยให้ตัวเองเป็นอุปสรรคกีดขวางตนเองไม่ให้ทำกุศล คือการอบรมใจให้สว่างสะอาด ฉลาด พร้อมด้วยสติ ปัญญา เมตตา กรุณา เป็นต้น.