Print

แสงส่องใจ - ฉบับที่ ๓๑๙

 sungaracha

 

 sangharaja-section

 

๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า

 เทศนานิพนธ์
ใน
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก

เล่ม ๓
(พรรษาที่ ๘ – พรรษาที่ ๙)

 

ทีฆาวุกุมาร

เรื่องที่เคยมีมาแล้ว พระราชาแห่ง แคว้นกาสี ซึ่งครองราชสมบัติอยู่ในราชธานีซึ่งมีนามว่า พาราณสี พระองค์ทรงพระนามว่า พรหมทัต ได้ทรงมีกำลังทรัพย์กำลังคนพาหนะมากมาย ส่วนแคว้นที่ถัดไปชื่อว่า แคว้นโกศล พระราชาของแคว้นนั้นทรงพระนามว่า ทีฆีติ มีกำลังทรัพย์กำลังคนพาหนะน้อย พระเจ้าพรหมทัตแห่งแคว้นกาสีก็ได้ทรงยกพยุหเสนาไปตีพระเจ้าโกศลซึ่งทรงพระนามว่าทีฆีติ พระเจ้าทีฆีติแห่งแคว้นโกศลทรงได้สดับข่าวการศึก ก็ทรงดำริว่า แคว้นนี้มีกำลังทรัพย์กำลังคนพาหนะน้อย ไม่สามารถที่จะต่อสู้ได้ จึงได้ทรงพาพระมเหสีหนีออกจากนคร พระเจ้าพรหมทัตแห่งแคว้นกาสีก็ได้ทรงครอบครองแคว้นโกศลนั้นโดยไม่ต้องมีการต่อสู้

ฝ่ายพระเจ้าทีฆีติแห่งแคว้นโกศลก็ได้พาพระมเหสีหนีไปอยู่ในเมืองพาราณสีซึ่งเป็นราชธานีของราชศัตรูนั้นเอง แต่ว่าได้ทรงไปอาศัยอยู่ในนิเวศน์ของนายช่างหม้อ ในโอกาส (สถานที่) ที่อยู่ชานเมือง ทรงปลอมพระองค์เป็นปริพาชก คือเป็นนักบวชที่นุ่งผ้าขาว เมื่อประทับอยู่มาพระมเหสีก็ประชวรพระครรภ์ ก็เกิดความปรารถนาที่จะได้ทรงเห็นเสนาอันประกอบด้วยองค์ ๔ ในเวลาอาทิตย์อุทัย และทรงปรารถนาที่จะได้ดื่มน้ำล้างพระขรรค์ ก็ได้ทูลแก่พระราชสวามี พระราชสวามีก็ตรัสว่า ในขณะที่ขัดสนจนยากอย่างนี้ จะไปเอาเสนาที่มีองค์ ๔ กับน้ำล้างพระขรรค์มาจากไหน พระมเหสีก็ทูลบอกว่า ถ้าไม่ได้เห็นไม่ได้ดื่มก็จักตาย พระเจ้าทีฆีติได้ทรงสดับดังนั้น ก็ทรงเสด็จไปหาพราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเป็นสหายกันมาและทรงได้เล่าความให้ฟัง พราหมณ์ปุโรหิตนั้นก็ทูลตอบว่า จะขอไปเฝ้าพระมเหสีก่อนแล้วก็ได้ไปเฝ้าพระมเหสีของพระเจ้าทีฆีติ ในขณะที่ได้เห็นพระนางเสด็จดำเนินมาก็ประคองอัญชลีแล้วก็เปล่งอุทานขึ้นว่า ราชาแห่งแคว้นโกศลอยู่ในพระครรภ์ ขอพระเทวีอย่าได้เสียพระทัย จะได้ทอดพระเนตรเห็นเสนาที่มีองค์ ๔ และจะได้ทรงดื่มน้ำล้างพระขรรค์

ครั้นแล้วพราหมณ์ปุโรหิตนั้นก็ได้ไปเฝ้าพระเจ้าพรหมทัต แล้วได้กราบทูลว่าได้ปรากฏนิมิตขึ้น ซึ่งในวันพรุ่งนี้เวลาอาทิตย์อุทัยขอให้เสนาที่มีองค์ ๔ ซึ่งได้ผูกสอดครบเครื่องออกสนามแล้ว จงยกออกไปตั้งอยู่ในภูมิอันดีและก็ขอให้ชำระล้างพระขรรค์ พระเจ้าพรหมทัตก็ได้โปรดอำนวยให้ปฏิบัติเหมือนดังที่พราหมณ์ปุโรหิตทูลแนะนำพระมเหสีของพระเจ้าทีฆีติก็จึงได้ทอดพระเนตรเห็นเสนาที่มีองค์ ๔ ในเวลาอาทิตย์อุทัยและได้ทรงดื่มน้ำล้างพระขรรค์

ต่อมาพระมเหสีของพระเจ้าทีฆีติก็ประสูติพระโอรส ก็ได้ประทานพระนามว่า ทีฆาวุ เมื่อทีฆาวุกุมารเจริญวัยขึ้น พระราชบิดาก็ทรงดำริว่า ถ้าจะให้อยู่ด้วยกัน เมื่อพระเจ้าพรหมทัตทรงทราบ ก็จะจับไปกระทำอันตรายเสียทั้งหมด เพราะฉะนั้น จึงได้ทรงแยกให้ทีฆาวุกุมารไปอยู่เสียอีกส่วนหนึ่งและก็ทรงให้เล่าเรียนศึกษาศิลปวิทยา พระราชกุมารนั้นก็ได้ทรงศึกษาศิลปวิทยาอยู่ในภายนอกพระนคร

ต่อมาช่างกัลบกเก่าของพระเจ้าทีฆีติแห่งแคว้นโกศล เมื่อแคว้นนั้นได้ตกอยู่ในครอบครองของพระเจ้าพรหมทัตแล้ว ก็ได้มารับราชการอยู่ในราชสำนักของพระเจ้าพรหมทัต วันหนึ่ง ได้ไปเห็นพระเจ้าทีฆีติ ซึ่งเป็นเจ้านายเก่าของตนเข้าพร้อมกับพระมเหสี ก็จำได้ จึงได้มากราบทูลพระเจ้าพรหมทัต พระเจ้าพรหมทัตจึงโปรดให้ไปนำเอาพระเจ้าทีฆีติกับพระมเหสีมาและโปรดให้จองจำด้วยเครื่องพันธนาการ และก็ให้ประทับอยู่ในรถและให้พาตระเวนไปตามถนน ๔ แพร่ง ๓ แพร่งในพระนคร และก็ได้สั่งว่า เมื่อได้ตระเวนไปทั่วแล้ว ก็ให้นำออกไปภายนอกพระนคร แล้วก็ให้ตัดออกเป็น ๔ ท่อนเสียบประจานไว้

ในขณะที่เขาได้นำทั้ง ๒ พระองค์ตระเวนไปในพระนครนั้น ก็พอดีทีฆาวุกุมารมีความคิดถึงพระราชบิดาและพระราชมารดา ก็ได้เข้ามาเพื่อจะเยี่ยมครั้นมาเห็นเขากำลังตระเวนพระองค์อยู่ ก็ตามไปดู พอดีทั้ง ๒ พระองค์นั้นได้ทรงเห็นพระราชโอรส พระเจ้าทีฆีติก็ได้ตรัสขึ้นลอยๆ ว่า ดูก่อน ทีฆาวุ จงอย่าเห็นแก่ยาวอย่าเห็นแก่สั้น เวรย่อมไม่ระงับด้วยเวร แต่ว่าเวรระงับด้วยความไม่มีเวร พวกมนุษย์ก็พากันกล่าวว่า พระเจ้าทีฆีติทรงเสียสติ ใครเป็นทีฆาวุ ได้ตรัสดังนี้แก่ใคร แต่พระเจ้าทีฆีติก็ทรงตรัสอยู่อย่างนั้น ๒-๓ ครั้ง และก็ตรัสว่า พระองค์มิได้ทรงเสียสติ วิญญูชนก็จะรู้ได้ ทีฆาวุกุมารก็คงไม่กล้าที่จะแสดงพระองค์ว่าเป็นพระราชโอรส ก็ได้ปะปนอยู่กับหมู่ชน ฝ่ายพวกเจ้าหน้าที่ เมื่อได้นำทั้ง ๒ พระองค์ตระเวนไปทั่วแล้วก็ได้นำออกนอกเมือง แล้วก็ได้ปฏิบัติตามพระราชบัญชา แล้วก็ตั้งกองเฝ้าพระศพที่ถูกเสียบไว้นั้น

พระราชกุมารก็ได้ทรงหาสุรามามอมพวกนั้นจนเมา แล้วก็เก็บพระศพมาถวายพระเพลิง แล้วก็รีบเสด็จหนีออกไปจากเมือง และต่อมาก็ได้เข้ามาในพระนครนั้น และได้เข้าไปฝากตัวทำงานอยู่กับนายหัตถาจารย์คืออาจารย์ฝึกช้างของพระเจ้าแผ่นดิน นายหัตถาจารย์ก็ได้รับไว้ให้ศึกษาในวิชาเกี่ยวแก่ช้าง

ในตอนเช้า พระราชกุมารก็ลุกขึ้นแต่เช้า ก็ได้ดีดพิณกับขับร้องประสานเสียงพิณ พระเจ้าพรหมทัตตื่นบรรทมขึ้นตอนเช้า ทรงได้สดับเสียงนั้น ก็ได้ตรัสถาม เขาก็ทูลให้ทรงทราบว่า เป็นเสียงพิณและเสียงขับของมาณพคนหนึ่งซึ่งเป็นศิษย์ของหัตถาจารย์ จึงได้ตรัสให้นำเอามาณพนั้นเข้าเฝ้าเจ้าหน้าที่ก็ได้นำทีฆาวุกุมารเข้าเฝ้า พระเจ้าพรหมทัตได้เห็นทีฆาวุกุมาร เกิดโปรดปรานและก็ได้ทรงรับไว้ให้เป็นมหาดเล็กใกล้ชิด ทีฆาวุกุมารก็ตั้งใจรับราชการปฏิบัติพระเจ้าพรหมทัตเป็นอย่างดี เป็นต้นว่า เป็นผู้ที่ตื่นก่อนนอนทีหลัง คอยรับสนองพระราชบัญชาในกิจการต่างๆ ประพฤติสิ่งที่เป็นที่ต้องพระราชอัธยาศัย และเพ็ดทูลด้วยถ้อยคำเป็นที่ต้องพระราชหฤทัยพระเจ้าพรหมทัตก็ยิ่งทรงโปรดปราน จนถึงทรงตั้งไว้ในที่ของบุคคลผู้คุ้นเคยในภายใน

ในวันหนึ่ง พระเจ้าพรหมทัตก็โปรดให้ทีฆาวุกุมารเทียมราชรถเพื่อจะเสด็จไปทรงล่าเนื้อ ทีฆาวุกุมารก็ได้ปฏิบัติตามพระราชประสงค์ พระเจ้าแผ่นดินก็ได้ทรงราชรถ มีทีฆาวุกุมารเป็นผู้ขับม้า พระกุมารก็ได้ขับราชรถไปโดยเร็วจนหมู่เสนาตามไม่ทัน และได้เข้าไปในป่าจนถึงต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งก็หยุดรถพระเจ้าพรหมทัตได้โปรดให้พระราชกุมารนั่งลง แล้วพระองค์ก็ทรงบรรทมโดยหนุนพระเศียรอยู่บนตักของทีฆาวุกุมารแล้วก็บรรทมหลับไป

ในขณะนั้น ทีฆาวุกุมารก็ได้ระลึกถึงเวรเก่าว่า บ้านเมืองของเราก็พระเจ้าพรหมทัตนี้ได้ทรงย่ำยี มารดาบิดาของเราก็พระเจ้าพรหมทัตนี้ได้ทรงฆ่าเสีย ถึงเวลาที่จะจัดการชำระเวรกันเสียสักทีหนึ่ง จึงได้ชักพระขรรค์ขึ้นจากฝัก แต่ว่าในขณะเดียวกัน ก็ระลึกถึงพระบรมราโชวาทที่พระราชบิดาได้ให้ไว้ว่า อย่าเห็นแก่ยาวอย่าเห็นแก่สั้น เป็นต้น ก็ระลึกขึ้นได้ว่า ไม่ควรที่จะละเมิดคำของบิดา ก็ได้สอดพระขรรค์เข้าไว้ดังเดิม ครั้งที่ ๒ ก็เกิดระลึกถึงเวรเก่าขึ้นมา เกิดความคิดที่จะจัดการชำระเวรให้สิ้นเหมือนดังนั้น ก็ชักพระขรรค์ออกมาอีก แต่ก็ทรงระลึกถึงพระโอวาทของบิดาขึ้นมา ก็สอดพระขรรค์กลับ ในครั้งที่ ๓ ก็เป็นอย่างนั้น

          ในขณะที่ได้สอดพระขรรถ์กลับในครั้งที่ ๓ นั้น พระเจ้าพรหมทัตก็ตื่นบรรทม เสด็จลุกขึ้นอย่างผลุนผลันแล้วก็ตรัสว่า ได้ทรงฝันเห็นทีฆาวุกุมารซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าทีฆีติประหารพระองค์ด้วยพระขรรค์ จึงได้ตกพระทัยตื่นบรรทมขึ้น ทีฆาวุกุมารก็จับพระเศียรของพระเจ้าพรหมทัตด้วยหัตถ์เบื้องซ้าย แล้วก็ชักพระขรรค์ออกด้วยหัตถ์เบื้องขวา แล้วก็ประกาศตนขึ้นว่าเรานี้เป็นโอรสของพระเจ้าทีฆีติ ซึ่งชื่อว่า ทีฆาวุกุมาร พระองค์ได้ทรงทำความพินาศให้แก่บ้านเมืองให้แก่มารดาบิดาเป็นอันมาก บัดนี้ ถึงเวลาที่จะชำระเวรกันเสียทีหนึ่ง พระเจ้าพรหมทัตยิ่งตกพระทัย ทรงหมอบพระองค์ลงขอชีวิตแก่ทีฆาวุกุมาร ทีฆาวุกุมารก็ทูลตอบว่า ตนอาจจะถวายชีวิตแก่พระองค์ได้อย่างไร ก็ขอให้พระองค์ประทานชีวิตให้แก่ตนด้วย พระเจ้าพรหมทัตก็ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงให้ชีวิตแก่เรา เราก็จะให้ชีวิตแก่เจ้า ก็เป็นอันว่าทั้ง ๒ ฝ่ายต่างได้ให้ชีวิตแก่กันและกัน แล้วก็ได้กระทำการสบถสาบานเพื่อที่จะไม่ประทุษร้ายกันต่อไป พระเจ้าพรหมทัตก็เสด็จขึ้นประทับบนรถ และทีฆาวุกุมารก็ได้ขับรถกลับเข้าสู่พระนคร

          ครั้นเมื่อเสด็จกลับเข้าไปถึงพระนครแล้ว ได้ตรัสให้ประชุมเสนาอำมาตย์แล้วได้ตรัสถามขึ้นในที่ประชุมว่า ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายเห็นทีฆาวุกุมารซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าทีฆีติจะทำอย่างไร พวกอำ มาตย์เหล่านั้นก็ทูลว่า จะตัดมือบ้าง จะตัดเท้าบ้าง จะตัดศีรษะบ้าง เป็นต้น พระเจ้าพรหมทัตก็ตรัสขึ้นว่า นี่แหละเป็นทีฆาวุกุมาร ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้าทีฆีติ แต่ว่ากุมารนี้ใคร ๆ จะทำอะไร ๆ ไม่ได้ทั้งนั้น เพราะกุมารนี้ได้ให้ชีวิตแก่เราและเราก็ได้ให้ชีวิตแก่กุมารนี้ ต่อจากนั้นพระเจ้าพรหมทัตก็ได้ตรัสถามขึ้นว่า ในขณะที่บิดาของเจ้าจะตาย ได้กล่าวไว้เป็นโอวาทแก่เจ้านั้นมีความหมายอย่างไร

          ทีฆาวุกุมารก็ได้ทูลอธิบายว่า ที่ตรัสไว้ว่า อย่าเห็นแก่ยาว ก็คือว่าอย่ากระทำเวรให้ยาว ที่ตรัสไว้ว่า อย่าเห็นแก่สั้น ก็คือว่าอย่าแตกมิตรให้เร็วนักแล้วที่ตรัสว่า เวรย่อมไม่ระงับด้วยเวร นั้น ก็คือว่า ถ้าหากว่าข้าพระองค์จะพึงปลงเทวะจากชีวิต ฝ่ายพวกที่จงรักภักดีต่อเทวะก็จะปลงข้าพระองค์จากชีวิต แล้วก็พวกที่จงรักภักดีต่อข้าพระองค์ก็จะปลงชีวิตพวกนั้นต่อไปอีก ก็เป็นอันว่าเวรไม่ระงับด้วยเวร แต่ว่าเมื่อข้าพระองค์ได้ทรงถวายชีวิตแก่เทวะแล้วเทวะก็ประทานชีวิตแก่ข้าพระองค์เหมือนดังนี้ เวรก็เป็นอันระงับด้วยความไม่มีเวร เพราะฉะนั้น บิดาของข้าพระองค์จึงได้โอวาทไว้ในเวลาที่จะตายว่า เวรย่อมไม่ระงับด้วยเวร แต่ว่าย่อมระงับด้วยความไม่มีเวร

          พระเจ้าพรหมทัตก็ทรงสรรเสริญพระราชกุมาร และได้พระราชทานแคว้นโกศลพร้อมทั้งพลพาหนะสมบัติทั้งหมด ซึ่งเป็นของพระราชบิดาที่พระองค์ทรงยึดมานั้นคืนแก่ทีฆาวุกุมารทุกสิ่งทุกอย่าง และก็ได้พระราชทานพระราชธิดาของพระองค์ด้วย

          ต่อจากนั้น พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสว่า แม้พระเจ้าแผ่นดินเหล่านั้นซึ่งได้มีศาตราอาวุธอยู่ในพระหัตถ์ก็ยังมี ขันติ ความอดทน โสรัจจะ ความสงบเสงี่ยมเหมือนอย่างนั้น และข้อที่ท่านทั้งหลายบวชในธรรมวินัยที่กล่าวดีแล้วอย่างนี้จะพึงเป็นผู้มีขันติโสรัจจะ ก็จะเป็นความงดงามในพระธรรมวินัยนี้ เมื่อพระพุทธเจ้าได้ประทานพระโอวาท ได้ทรงยกเอาเรื่องเก่ามาเล่าเหมือนอย่างนั้นภิกษุเหล่านั้นก็ยังยืนยันที่จะไม่ปรองดองกันต่อไปอีก พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่ายังไม่อาจที่จะกระทำให้ตกลงกันได้โดยง่ายแล้ว ก็ได้เสด็จลุกออกจากอาสนะและเสด็จหลีกไป

          ตามที่เล่ามานี้ เป็นความย่อใน โกสัมพิกขันธกะ ที่ท่านเล่าไว้ เรื่องทีฑาวุกุมารนี้ เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ได้ทรงประพันธ์เป็นฉันท์ไว้ เรียกว่า ทีฆาวุคำฉันท์ นับว่าเป็นเรื่องที่มีคติสอนใจเรื่องหนึ่ง


จากหนังสือ ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า
เล่ม ๓ หน้า ๗๑ - ๗๖

 

 

 

<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-align: center;" align="center">&nbsp;<img src="/mag/images/stories/author/sungaracha.png" alt="sungaracha" width="180" height="223" />
</p>
<p>&nbsp;</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-align: center;" align="center">&nbsp;<img src="/mag/images/stories/misc/sangharaja-section.gif" alt="sangharaja-section" style="font-family: Arial, Helvetica, sans-serif; font-size: 1em; font-weight: bold;" width="455" height="50" />
</p>
<p>&nbsp;</p>
<p style="text-align: center;" align="center"><b><span style="font-size: 18pt; line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif; color: black;">๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า</span></b><b><span style="font-size: 18pt; line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif; color: black;"></span></b>
</p>
<p style="text-align: center;" align="center">&nbsp;<b><span style="font-size: 16pt; line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif;">เทศนานิพนธ์</span></b><b><span style="line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif;"><br /> ใน<br /> </span></b><b><span style="font-size: 14pt; font-family: 'Tahoma','sans-serif';">สมเด็จพระญาณสังวร<br /> สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก</span></b><span style="line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif; color: black;"></span>
</p>
<p style="text-align: center;" align="center"><b><span style="font-size: 14pt; font-family: 'Tahoma', 'sans-serif';"></span></b><span style="font-size: 14pt; font-family: 'Tahoma', 'sans-serif';"><b><span style="font-family: 'Tahoma', 'sans-serif';"><span style="line-height: 115%; font-family: 'Tahoma', 'sans-serif';">เล่ม ๓<br />(พรรษาที่ ๘ – พรรษาที่ ๙)</span></span> </b> </span>
</p>
<p style="text-align: center;" align="center">&nbsp;</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">ได้เล่าพระราชประวัติของพระเจ้าอุเทน พระราชาแห่งวังสรัฐมาแล้ว จะเล่าถึงพระมเหสี ๓ พระองค์ของพระเจ้าอุเทน เพราะมีเรื่องที่เกี่ยวพันอยู่กับประวัติพระพุทธศาสนาด้วย</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พระมเหสีองค์ที่ ๑ พระนามว่า <b>สามาวดี </b>เป็นธิดาบุญธรรมของโฆสกเศรษฐี พระนางสามาวดีองค์นี้เป็นธิดาของเศรษฐีในเมืองภัททวตี แต่ภายหลังเศรษฐีตระกูลนี้ถึงวิบัติ ในตอนสุดท้ายก็วิบัติด้วยโรค ซึ่งเรียกในคัมภีร์ว่าอหิวาตกโรค โรคอย่างนี้เมื่อเกิดขึ้นกล่าวว่า พวกแมลงวันแมลงต่างๆ และหนูตายก่อน จนถึงพวกไก่ สุกร และสัตว์ใหญ่ๆ ที่เป็นสัตว์เลี้ยงและสัตว์ในบ้านจนถึงคน ผู้ที่ต้องการจะรอดพ้นก็จะต้องทิ้งบ้านเรือนหนีไปที่อื่น</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">เมื่อโรคเกิดขึ้น เศรษฐีในเมืองภัททวตีนั้นพร้อมกับภริยาและธิดา ก็หนีไปกรุงโกสัมพี เพื่อจะไปอาศัยโฆสกเศรษฐี ซึ่งเป็นสหายที่ไม่เคยเห็นกัน คือต่างได้ยินชื่อเสียงของกันก็ส่งบรรณาการไปให้แก่กัน นับถือกัน แต่เศรษฐีกับภริยาได้ถึงแก่กรรมที่ศาลาพักคนที่กรุงโกสัมพี จึงเหลือแต่ธิดา ธิดาของภัททวตีเศรษฐีได้ไปขออาหารที่โรงทานของโฆสกเศรษฐี ได้พบกับผู้จัดการโรงทานชื่อว่า <b>มิตตกุฎุมพี </b>เมื่อผู้จัดการโรงทานได้ถามทราบเรื่อง ก็รับเอาธิดาของภัททวตีเศรษฐีไปเลี้ยงเป็นบุตรีบุญธรรม</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">โรงทานของโฆสกเศรษฐีนั้น โดยปกติมีเสียงอื้ออึงเพราะคนแย่งกันเข้าแย่งกันออก ธิดาของภัททวตีเศรษฐีจึงได้แนะนำให้ทำรั้วกั้นและทำประตู ๒ ประตู สำหรับคนเข้าประตู ๑ สำหรับคนออกประตู ๑ เมื่อได้จัดดั่งนี้การแย่งกันเข้าออกก็หายไป เสียงอื้ออึงจึงได้สงบ เพราะฉะนั้น นางจึงได้ชื่อว่า สามาวตี เดิมชื่อว่า สามา เมื่อมาแนะให้สร้างรั้วขึ้น ก็มีคำว่า วตี เพิ่มเข้าต่อท้ายชื่อเก่า เพราะวตีแปลว่ารั้ว เรียกรวมกันว่า <b>สามาวตี </b>หรือ<b> สามาวดี</b></span><b><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span></b>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">ฝ่ายโฆสกเศรษฐีเคยได้ยินเสียงอื้ออึง เมื่อไม่ได้ยินเสียงก็สอบถามว่ายังให้ทานอยู่หรือ ทำไมเสียงจึงเงียบไป เมื่อผู้จัดการโรงทานได้เรียนให้ทราบพร้อมทั้งได้เรียนให้ทราบถึงเรื่องนางสามาวดีซึ่งเป็นต้นคิดให้สร้างรั้ว โฆสกเศรษฐีจึงได้ขอรับเอานางสามาวดีไปอุปการะเป็นบุตรีบุญธรรมเพราะเป็นธิดาของเพื่อน ต่อมา เมื่อถึงวันมหรสพที่เป็นธรรมเนียมว่า กุลธิดาที่โดยปกติไม่ออกไปข้างไหนก็จะออกไปยังแม่น้ำและอาบน้ำเล่นน้ำเป็นการเล่นมหรสพ พระเจ้าอุเทนได้ทอดพระเนตรเห็น ก็ทรงเกิดความสิเนหา ทรงขอเข้าไปตั้งไว้เป็นพระมเหสี</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พระมเหสีองค์ที่ ๒ พระนามว่า <b>วาสุลทัตตา </b>เป็นพระราชธิดาของ<b> พระเจ้าปัชโชต </b>กรุงอุชเชนี เรื่องที่พระเจ้าอุเทนจะได้พระนางวาสุลทัตตานี้มีว่า พระเจ้าปัชโชตได้ทรงคิดจะยกกองทัพไปตีกรุงโกสัมพี ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ มีสมบัติมาก แต่พวกเสนาบดีทั้งหลายได้ทูลคัดค้านว่า พระเจ้าอุเทนทรงมีมนต์ที่เรียกช้างได้ และมีพาหนะแข็งแรง มีกำลังมั่นคง การยกกองทัพไปตีจะไม่สำเร็จ และก็ได้ทูลแนะอุบายให้ว่า พระเจ้าอุเทนทรงโปรดช้าง เพราะฉะนั้น ก็ให้สร้างช้างยนต์ให้ใหญ่และให้มีคนอยู่ในท้องได้ แล้วชักช้างยนต์นั้นให้เดินไปเดินมา กับวางกำลังพลซุ่มไว้ พระเจ้าปัชโชตก็ทรงปฏิบัติตาม</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พรานป่าได้เห็นช้างยนต์นั้น ก็มาทูลพระเจ้าอุเทน พระเจ้าอุเทนก็ทรงยกกองทหารออกไปเพื่อจะจับช้าง เมื่อไปพบช้างยนต์แต่ไกล ก็ทรงร่ายมนต์เรียกช้าง แต่ว่าช้างยนต์นั้นก็ไม่ฟังมนต์ เดินหนีไป พระเจ้าอุเทนก็ทรงม้าวิ่งตามช้างไปแต่พระองค์เดียว จนเข้าไปในที่มีกำลังพลของฝ่ายกรุงอุชเชนีซุ่มอยู่ พระเจ้าอุเทนก็ถูกทหารของกรุงอุชเชนีล้อมจับไปได้ แล้วก็นำไปถวายพระเจ้าปัชโชต พระเจ้าปัชโชตก็โปรดให้ขังไว้ และก็ฉลองชัยชนะด้วยการทรงดื่มสุราบาน</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พระเจ้าอุเทนเมื่อถูกขังอยู่หลายวัน ก็รับสั่งขึ้นว่า จับข้าศึกมาได้แล้วก็ควรจะปล่อยหรือควรประหารเสีย ทำไมจึงทิ้งไว้อย่างนี้ คนก็ไปทูลพระเจ้าปัชโชต พระเจ้าปัชโชตก็เสด็จมาที่คุมขัง และได้รับสั่งว่าจะปล่อย แต่ให้พระเจ้าอุเทนบอกมนต์ให้ พระเจ้าอุเทนก็ทูลว่าจะบอกถวายได้ แต่ว่าพระเจ้าปัชโชตต้องทรงไหว้ครูเสียก่อน พระเจ้าปัชโชตก็ไม่ทรงยอมที่จะทรงไหว้พระเจ้าอุเทน พระเจ้าอุเทนก็ไม่ทรงยอมบอกมนต์ให้ พระเจ้าปัชโชตก็ตรัสว่าถ้าไม่บอกก็จะฆ่า พระเจ้าอุเทนก็ทูลตอบว่า ฆ่าก็ฆ่า เพราะพระเจ้าปัชโชตนั้นในบัดนี้ก็ทรงเป็นใหญ่แห่งสรีรกาย แต่ว่าก็ไม่ทรงเป็นใหญ่แห่งจิต พระเจ้าปัชโชตจึงได้ทรงคิดว่า ทำอย่างไรจึงจะให้พระเจ้าอุเทนทรงบอกมนต์ได้ ทรงนึกถึงพระราชธิดาก็รับสั่งขึ้นว่า ในพระราชวังนี้ได้มีผู้หญิงหลังค่อมอยู่คนหนึ่ง จะให้หญิงหลังค่อมนี้มาเรียนมนต์และก็จะให้ไหว้ แต่ว่าก็จะต้องกั้นม่านไว้ ให้เรียนกันอยู่ภายในม่าน พระเจ้าอุเทนก็ทรงยินยอม พระเจ้าปัชโชตก็เสด็จไปหาพระราชธิดา และได้ตรัสบอกว่า ได้มีบุรุษง่อยเปลี้ยจนถึงกับต้องเดินถัดไปเหมือนอย่างหอยสังข์เดินอยู่คนหนึ่ง รู้มนต์จับช้าง จะให้พระราชธิดาไปเรียนมนต์นั้นแล้วให้มาบอกแก่พระองค์ เมื่อจะเริ่มเรียนต้องไหว้ครู แต่ต้องไหว้อยู่ภายในม่าน พระราชธิดาก็ทรงยินยอม ได้มีการจัดให้มีการเรียนมนต์โดยกั้นม่านไว้ พระราชธิดาก็เรียนอยู่ภายในม่าน พระเจ้าอุเทนก็ทรงบอกอยู่ภายนอกม่าน วันหนึ่ง พระราชธิดาทรงเรียนมนต์ก็ไม่อาจที่จะจำได้ พระเจ้าอุเทนกริ้ว ก็รับสั่งขึ้นว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">“<span>ปากของเจ้าหนานัก จะท่องบ่นมนต์เท่านี้ก็ไม่ได้ เจ้านางค่อม</span>”</span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พระราชธิดาก็กริ้ว เพราะถูกเรียกว่าค่อม ก็รับสั่งขึ้นมาว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">“<span>เจ้าคนโรคเรื้อน ทำไมจึงมากล่าวขึ้นเช่นนี้</span>”</span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">เมื่อต่างกริ้วซึ่งกันและกันดังนี้แล้ว ก็เลิกม่านขึ้น และเมื่อต่างทรงเห็นซึ่งกันและกันก็เลยเกิดเรื่องอื่นขึ้นแทน เรื่องการเรียนมนต์ก็เป็นอันยุติลงเพียงแค่นี้</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">มนต์จับใจช้างนั้น ไม่เหมือนอย่างมนต์ที่จับใจคน เรื่องนี้ได้มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้ว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"> “<span>ยังไม่ทรงเห็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่จะครอบงำจิตบุรุษได้ยิ่งไปกว่ารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะของหญิง</span>” <span>และในทางตรงกันข้าม ก็มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้อีกว่า</span> “<span>ยังไม่ทรงเห็น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอื่นที่ครอบงำจิตของหญิงได้ยิ่งไปกว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะของบุรุษ</span>”</span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">เมื่อเรื่องเป็นเช่นนี้ พระเจ้าอุเทนกับพระนางวาสุลทัตตาก็คิดอ่านที่จะพากันหนี เมื่อพระราชบิดารับสั่งถามว่าเรียนมนต์ไปได้แค่ไหน พระราชธิดาก็ทูลว่าเรียนไปได้เท่านั้นเท่านี้ และเมื่อจะจบมนต์ จำจะต้องไปเก็บโอสถตามสัญญาของดาวฤกษ์ เพราะฉะนั้น ก็ขอพระราชทานพาหนะช้างฝีเท้าเร็ว กับขอพระราชทานอนุญาตที่จะออกไปนอกเมืองได้ทุกเวลา พระราชบิดาก็ทรงอนุญาต ต่อมาวันหนึ่งพระเจ้าปัชโชตเสด็จออกไปประพาสภายนอกเมือง พระเจ้าอุเทนกับพระนางวาสุลทัตตาก็ขึ้นพาหนะช้างพากันหนีไป และได้บรรจุเงินบรรจุทองใส่กระสอบขึ้นช้างไปด้วย เมื่อพระเจ้าปัชโชตทรงทราบ ทรงสั่งให้ทหารติดตาม พระเจ้าอุเทนก็ทรงเทกระสอบเงิน และต่อมาก็ทรงเทกระสอบทองลง พวกผู้คนก็พากันแย่งเงินแย่งทอง พระเจ้าอุเทนก็หนีออกไปได้จนเข้าถึงเขตเมืองโกสัมพี แล้วก็ได้ทรงตั้งพระนางวาสุลทัตตาเป็นพระมเหสีอีกองค์หนึ่ง</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">องค์ที่ ๓ ชื่อว่า <b>มาคันทิยา </b>องค์นี้มีเรื่องเกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนามาก เป็นธิดาของพราหมณ์ในรัฐกุรุอยู่ใกล้กันนั้น และท่านแสดงว่านางมาคันทิยานี้มีรูปร่างงดงามมาก บิดาไม่ปรารถนาจะยกให้แก่ใคร ต้องการจะยกให้บุคคลผู้ที่มีลักษณะเป็นมหาบุรุษ ต่อมาบิดาได้พบพระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จไปยังแคว้นกุรุนั้น ได้เพ่งพิศพระลักษณะ เห็นว่าประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ก็มีความเลื่อมใสและปรารถนาที่จะยกลูกสาวของตนถวาย จึงได้ทูลให้ทรงทราบความประสงค์ของตน พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ตรัสว่าอย่างไร</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">ฝ่ายพราหมณ์ก็รีบไปชวนนางพราหมณีผู้ภริยากับธิดา มายังที่ที่ได้พบพระพุทธเจ้านั้น แต่ว่าไม่ได้พบพระองค์ทรงยืนอยู่ ณ ที่นั้น พบแต่รอยพระบาท พราหมณ์ก็บอกแก่นางพราหมณีผู้ภริยาว่า นี้แหละเป็นรอยเท้าของบุรุษผู้นั้น นางพราหมณีได้พิจารณาดูรอยเท้าก็เห็นว่า รอยเท้านี้ไม่ใช่รอยเท้าของบุคคลผู้บริโภคกาม จึงได้บอกแก่พราหมณ์ผู้สามี พร้อมทั้งได้แสดงลักษณะของรอยเท้าไว้โดยความว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">รอยเท้าของคนที่ยังมีราคะเป็นรอยเท้ากระโหย่ง รอยเท้าของคนที่มีโทสะเป็นรอยเท้าที่มีลักษณะส้นบีบ รอยเท้าของคนหลงมีลักษณะที่กดลง ส่วนรอยเท้าเช่นนี้เป็นรอยเท้าของคนที่มีหลังคาเปิด หมายความว่าเป็นคนสิ้นกิเลสแล้ว</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">แต่ว่าพราหมณ์ไม่เชื่อ จึงได้พยายามเดินตามหา ก็ได้พบพระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับอยู่ในที่อีกแห่งหนึ่งที่ใกล้กัน ก็ได้กราบทูลว่า ได้นำธิดามาถวาย พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสที่ท่านแสดงไว้โดยปุคคลาธิษฐานว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"> “<span>ได้ทรงเห็นนางตัณหา นางอรดี นางราคา ซึ่งเป็นธิดามารผู้งดงามอย่างยิ่ง ก็ยังไม่ทรงพอพระหฤทัย ไฉนจะมาทรงพอพระหฤทัยกับนางธิดาของพราหมณ์นี้ ซึ่งเต็มไปด้วยมูตรแลกรีส</span>”</span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">นางมาคันทิยาซึ่งเป็นธิดาของพราหมณ์ได้ฟังดั่งนี้ก็มีความโกรธ และผูกอาฆาตในพระพุทธเจ้าตั้งแต่บัดนั้น ด้วยคิดว่าถ้าพระองค์ไม่ทรงประสงค์นาง ก็บอกว่าไม่ต้องการ ไฉนจึงจะมารับสั่งว่าเต็มไปด้วยมูตรและกรีส</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">ฝ่ายพราหมณ์และพราหมณี ซึ่งเป็นบิดามารดาของนางได้มีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ก็ได้ขอบวชเป็นภิกษุและภิกษุณี แต่ก่อนที่จะบวชก็ได้ฝากนางมาคันทิยาไว้กับลุงชื่อว่ามาคันทิยะ ต่อมามาคันทิยะผู้เป็นลุงก็ได้นำนางมาคันทิยาไปถวายพระเจ้าอุเทน พระเจ้าอุเทนก็ทรงรับไว้เป็นพระมเหสีอีกองค์หนึ่ง<br /><br /><br /> </span><span></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"><br />จากหนังสือ ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า<br />เล่ม ๓ หน้า ๓๕ – ๔๐</span>
</p>