Print

แสงส่องใจ - ฉบับที่ ๓๑๘

 sungaracha

 

 sangharaja-section

 

๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า

 เทศนานิพนธ์
ใน
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก

เล่ม ๓
(พรรษาที่ ๘ – พรรษาที่ ๙)

 

ภิกษุชาวโกสัมพี สังฆเภท

ในขณะที่เสด็จอยู่ที่กรุงโกสัมพีนี้ ได้มีเรื่องบังเกิดขึ้นเกี่ยวแก่ภิกษุสงฆ์มีเล่าไว้ในคัมภีร์วินัยปิฎก โกสัมพิกขันธกะ ซึ่งมีความย่อว่า ในขณะที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าได้ประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ในกรุงโกสัมพี มีภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติ และก็เห็นว่าเป็นอาบัติ แต่ภิกษุอื่นเห็นว่าข้อนั้นไม่เป็นอาบัติ ต่อมาภิกษุนั้นก็พลอยเห็นตามไปว่าไม่เป็นอาบัติ แต่ว่าภิกษุอื่นที่เคยเห็นว่าไม่เป็นอาบัตินั้นก็กลับเห็นใหม่ว่าเป็นอาบัติ คราวนี้จึงได้พากันไปบอกภิกษุที่ต้องอาบัติว่า ท่านต้องอาบัติ ท่านเห็นอาบัตินั้นไหม ท่านรูปนั้นก็ตอบว่า ผมไม่มีอาบัติตามที่ผมเห็น ฝ่ายภิกษุที่ยืนยันว่าเป็นอาบัติต่อมาก็ชักชวนกัน ได้ความพร้อมเพรียงกัน ทำการยกวัตรภิกษุที่ต้องอาบัตินั้น ที่เรียกว่า ยกวัตร นั้น บาลีว่า อุกเขปนียกรรม กรรมคือการยกวัตร หมายความว่า ถ้ามีภิกษุรูปใดรูปหนึ่งต้องอาบัติแล้วไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ภิกษุอื่นว่ากล่าวตักเตือนก็ไม่ยอมฟัง สงฆ์ก็มีอำนาจประกาศกันและกัน ยกภิกษุรูปนั้นออกจากความมีสิทธิเสมอกัน คืองดไม่ทำอุโบสถด้วยกัน ไม่ทำปวารณาด้วยกันไม่ทำสังฆกรรมด้วยกัน ไม่อยู่ร่วมกัน ไม่ไหว้กราบกัน แปลว่างดการที่จะปฏิบัติวินัยกรรมทุกอย่าง งดที่จะแสดงความเคารพนับถือทุกอย่าง เหมือนอย่างคัดออกไปเป็นบุคคลภายนอก ปฏิบัติอย่างนี้เรียกว่ายกวัตร ภิกษุที่ถูกยกวัตรนั้น ถ้าต่อมาได้เห็นโทษและมาแสดงความเห็นโทษแก่สงฆ์ สงฆ์ก็อาจจะประกาศยกเลิกการยกวัตรนั้น และรับเข้าหมู่ มีสิทธิในวินัยกรรมเป็นต้นเสมอกันเหมือนดังเดิม

เรื่องการยกวัตรนี้ไม่ได้มีทำกันบ่อยนัก แต่ตามเรื่องที่เล่าในเรื่องนี้ ภิกษุที่ยืนยันว่าภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติแน่ ก็พร้อมกันประชุมสงฆ์และประกาศยกวัตรเลย คือว่าตัดจากความอยู่ร่วมกันดังที่กล่าวแล้วนั้น แต่ว่าภิกษุรูปที่สงฆ์ยกวัตรนั้นเป็นพหูสูต คือเป็นผู้ได้เล่าเรียนศึกษามามาก เป็นผู้ทรงธรรมทรงวินัย เป็นผู้ฉลาด และเป็นลัชชี คือเป็นผู้ที่ละอายบาปกลัวบาปรังเกียจสงสัยใคร่การศึกษา หมายความว่าเป็นพระภิกษุที่เคร่งครัดรูปหนึ่ง แต่ว่าท่านไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ เพราะฉะนั้น เมื่อท่านถูกยกวัตร ท่านจึงไปหาพระภิกษุที่เป็นเพื่อนสหายกัน และก็เล่าความให้ฟังว่าท่านไม่ได้เป็นอาบัติ แต่ว่าถูกยกวัตรด้วยกรรมที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งใช้ไม่ได้ เรียกว่าเป็นกรรมที่กำเริบไม่ควรแก่สถานะ และก็ชักชวนให้บรรดาพระเหล่านั้นเข้าเป็นพวก ฝ่ายภิกษุที่เป็นเพื่อนสหายก็เห็นด้วย และก็เข้าพวกกับท่าน และก็ยังพากันส่งข่าวไปถึงพระที่อยู่ยังชนบทที่เป็นฝ่ายเดียวกันชักชวนกันมาเข้าพวก เมื่อเป็นเช่นนี้พระก็เลยเป็น ๒ พวก คือเป็นพวกที่ประกอบพิธียกวัตรพวกหนึ่ง และก็เป็นพวกที่ถูกยกวัตรอีกพวกหนึ่ง ฝ่ายภิกษุที่เป็นพวกท่านที่ถูกยกวัตรก็ได้เข้าไปหาภิกษุที่เป็นฝ่ายยกวัตร และก็ได้กล่าวหาว่า ภิกษุรูปนั้นไม่เป็นอาบัติแต่ก็ถูกสงฆ์ยกวัตรโดยไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นการกระทำที่ใช้ไม่ได้ แต่ฝ่ายภิกษุที่เป็นผู้ยกวัตรก็ยังยืนยันว่าภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติจริงๆ จึงถูกยกวัตรด้วยกรรมที่เป็นธรรมไม่ใช่ว่าไม่เป็นธรรม ก็เป็นอันว่าทั้ง ๒ ฝ่ายนั้นก็คงยืนยันในความเห็นในความปฏิบัติของตน

คราวนั้นก็ได้มีภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และก็ได้กราบทูลเล่าเรื่องให้พระองค์ทรงทราบโดยตลอด พระพุทธเจ้าก็ได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า ภิกษุสงฆ์แตกกันแล้ว ก็ได้เข้าไปพบกับภิกษุฝ่ายที่เป็นผู้ยกวัตร และก็ได้ตรัสโอวาทโดยความว่า ท่านทั้งหลายอย่าสำคัญว่า ภิกษุควรจะถูกยกวัตรเพราะเหตุข้อใดข้อหนึ่ง ด้วยความคิดที่บังเกิดขึ้นโดยฉับพลัน ถ้าภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ต้องอาบัติจริง แต่ว่าเธอเห็นว่าไม่เป็นอาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเห็นว่าเป็นอาบัติ ถ้าภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่าท่านองค์นี้เป็นพหูสูตผู้ทรงธรรมทรงวินัย เป็นผู้ที่เคร่งครัด ใคร่การศึกษา ถ้าเราจะยกวัตรท่าน คือไม่ทำอุโบสถกับท่าน ไม่ทำปวารณากับท่าน ไม่นั่งร่วมอาสนะกับท่าน ไม่ทำสังฆกรรมอื่นๆ กับท่าน ไม่ติดต่ออะไรกับท่านทั้งหมด ก็จะเกิดความทะเลาะวิวาทแก่งแย่งตลอดจนถึงจะเกิดความแตกแยกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุเหล่านั้นซึ่งเป็นผู้หนักใจในการที่จะเกิดแตกแยกกัน ก็ยังไม่ควรที่จะยกวัตรเธอ เพราะข้อที่ไม่เห็นอาบัตินั้นทันที คราวนี้ส่วนภิกษุที่ต้องอาบัติแล้วก็ไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ แต่ว่าภิกษุอื่นๆ เห็นว่าเป็น และภิกษุเหล่านั้นก็พากันไปบอกกล่าวว่าเป็นอาบัติ เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอก็ไม่ควรที่จะดื้อดึงไปทีเดียว แม้จะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ แต่เมื่อส่วนมากเขาเห็นว่าเป็นก็ควรจะเชื่อเขาบ้าง แล้วก็แสดงอาบัตินั้นเสีย เมื่อปฏิบัติดังนี้ ก็จะไม่เกิดการแตกแยก แต่ว่าถ้ายังยืนยันอยู่ ก็จะเกิดความแตกแยกกันดังที่กล่าวมาแล้ว ฉะนั้น เธอเมื่อหนักใจอยู่ว่าจะแตกแยกกัน และประสงค์ที่จะมีความกลมเกลียวกัน ก็ควรที่จะแสดงอาบัตินั้นด้วยศรัทธาคือด้วยความเชื่อต่อภิกษุเหล่าอื่น แม้ว่าตนจะเห็นว่าไม่เป็นอาบัติก็ตาม พระพุทธเจ้าได้ประทานพระโอวาทแก่ภิกษุทั้งสองพวกนั้นแล้วก็ได้เสด็จกลับ

ก็ปรากฏว่า ภิกษุทั้ง ๒ พวกนั้นก็ยังไม่ยอมที่จะปรองดองกัน ยังตกลงกันไม่ได้ จนถึงแยกทำ อุโบสถกัน คือว่าภิกษุที่เป็นฝ่ายท่านที่ถูกยกวัตรทำอุโบสถทำสังฆกรรมภายในสีมา แต่ว่าภิกษุฝ่ายที่เป็นผู้ยกวัตรออกไปทำอุโบสถทำสังฆกรรมภายนอกสีมา เมื่อแยกกันทำอุโบสถดังนี้ ก็เป็นอันว่าภิกษุสงฆ์ได้เกิดแตกแยกกันขึ้น ที่เรียกว่าเป็น สังฆเภท ความแตกแห่งสงฆ์สังฆเภทความแตกแห่งสงฆ์นั้น เมื่อทำอุโบสถแยกกันดั่งนี้ จึงจะเรียกว่าเป็นสังฆเภทขึ้น

 

นานาสังวาสกะ สมานสังวาสกะ

ภิกษุเหล่านั้นก็ได้ไปกราบทูลพระพุทธเจ้าถึงเรื่องที่ตนได้ปฏิบัติกันนั้น พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสว่า ภิกษุที่เป็นฝ่ายท่านที่ถูกยกวัตรทำอุโบสถสังฆกรรมภายในสีมา ก็ใช้ญัตติและอนุสาวนาตามที่พระองค์ได้ทรงบัญญัติไว้ กรรมของเธอก็เป็นธรรมไม่กำเริบ ควรฐานะคือว่าใช้ได้ คราวนี้ส่วนภิกษุอีกพวกหนึ่งที่ไปทำอุโบสถสังฆกรรมภายนอกสีมา ใช้ญัตติและอนุสาวนาตามที่ทรงบัญญัติไว้เช่นเดียวกัน กรรมก็คงเป็นธรรมใช้ได้เช่นเดียวกัน เพราะว่าภิกษุทั้ง ๒ ฝ่ายนั้นต่างเป็นนานาสังวาสกะของกันและกัน ต่อจากนี้ก็ได้ตรัสว่า ภูมิของภิกษุที่เป็นนานาสังวาสกะนั้นมี ๒ อย่าง คือว่า ๑. ตนทำตนเองให้เป็นนานาสังวาสกะ ๒. สงฆ์พร้อมเพรียงกันยกวัตรภิกษุนั้นเพราะไม่เห็นไม่กระทำคืนหรือว่าไม่สละคืนอาบัติ ส่วนภูมิของภิกษุผู้เป็นสมานสังวาสกะ คือมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วมเสมอกัน ก็มี ๒ เหมือนกัน คือว่าตนกระทำตนให้เป็นสมานสังวาสกะ และสงฆ์พร้อมเพรียงกัน ได้เรียกภิกษุนั้นที่ถูกยกวัตรแล้วนั้น ในเพราะไม่เห็น ไม่กระทำคืน หรือไม่แสดงคืนอาบัติ เข้าหมู่

ตามพระบาลีในที่นี้มีอยู่ ๒ คำ คือ นานาสังวาสกะ กับ สมานสังวาสกะ นานาสังวาสกะ แปลว่าภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วมต่างกัน สมานสังวาสกะแปลว่าภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วมเสมอกัน ภิกษุ ๒ ฝ่ายตามเรื่องนี้ เมื่อเกิดแตกความเห็นกันขึ้น จนถึงไม่ลงโบสถ์กันก็เรียกว่า เป็นนานาสังวาสกะของกันและกัน และเหตุที่จะทำให้เป็นนานาสังวาสกะนั้นก็มี ๒ อย่าง คือว่าตนเองกระทำตนเองอย่างหนึ่ง แล้วก็สงฆ์ยกวัตรอีกอย่างหนึ่ง ตามเรื่องที่เล่ามานี้ ภิกษุที่ถูกยกวัตรที่เป็นต้นเรื่องนั้น สงฆ์ยกวัตรไม่ลงโบสถ์ด้วย แต่ว่าพรรคพวกที่สนับสนุนนั่นทำตนเองให้เป็นนานาสังวาสกะ เพราะเมื่อไปเข้ากับท่านสนับสนุนท่าน แยกออกไปอีกพวกหนึ่ง และก็ไม่ลงโบสถ์กับอีกพวกหนึ่งซึ่งเป็นฝ่ายยกวัตร ภิกษุทั้ง ๒ ฝ่ายนี้ที่เป็นนานาสังวาสกะของกันและกัน ต่างก็เป็นภิกษุที่ได้อุปสมบทมาโดยถูกต้องมาในพระธรรมวินัยนี้ และก็ปรากฏว่าเป็นผู้ที่เคร่งครัดใคร่การศึกษาอยู่ด้วยกัน แต่ว่าเกิดมีความเห็นแตกต่างกันขึ้น จนถึงเป็นเหตุให้แยกเป็น ๒ ฝ่าย และเมื่อแยกแล้วก็เลยแยกกัน จนถึงแยกกันทำอุโบสถสังฆกรรมเป็นต้น จึงได้เกิดเป็นนานาสังวาสกะกันขึ้น ส่วนภิกษุเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจะกลับเป็นสมานสังวาสกะ คือมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วมเสมอกัน ก็มีได้ด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ ตนเองทำตนเองให้เป็นสมานสังวาสกะ กับสงฆ์ระงับการยกวัตร เรียกภิกษุนั้นเข้าหมู่เหมือนอย่างเดิม ดังที่จะบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้ง ๒ ฝ่ายนี้ในภายหลัง

เมื่อภิกษุสงฆ์ได้เกิดแตกขึ้นเป็น ๒ ฝ่าย พระพุทธเจ้าได้ประทานโอวาทเพื่อระงับ แต่ทั้ง ๒ ฝ่ายนั้นก็ยังไม่ปรองดองกัน และก็มีกระทบกระทั่งกันด้วยวาจาอยู่บ่อยๆ ก็เนื่องมาจากฝ่ายหนึ่งก็กล่าวหาว่าอีกฝ่ายหนึ่งต้องอาบัติแล้วไม่เห็นอาบัติ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งก็กล่าวหาอีกฝ่ายหนึ่งว่ายกวัตรโดยไม่เป็นธรรม เพราะว่ารูปที่ถูกยกวัตรนั้นไม่เป็นอาบัติอะไร สมุฏฐานก็เนื่องมาจากพระพุทธบัญญัติที่ทั้ง ๒ ฝ่ายก็นับถือปฏิบัติกันอยู่ พระพุทธเจ้าเองก็ไม่ทรงบังคับ แต่ก็ทรงชี้ทางเพื่อปฏิบัติดังที่ได้เล่ามาแล้ว ในฐานะที่ทรงเป็นพระศาสดา ถ้าจะทรงบังคับก็น่าจะได้ แต่ก็ไม่ทรงบังคับ เพราะเกี่ยวแก่ทั้ง ๒ ฝ่ายนั้นก็มีศรัทธาอยู่ในพระพุทธบัญญัติ เคร่งครัดอยู่ในพระวินัยด้วยกัน และเมื่อได้ลงความเห็นลงไปแล้วอย่างนั้น ถ้ายังไม่ถอนความเห็นนั้นถึงใครจะบังคับ ก็อาจจะบังคับได้แต่ในภายนอก ส่วนความเห็นนั้นก็ยังมีอยู่ก็จะเป็นมูลที่จะแตกร้าวกันต่อไป เพราะฉะนั้น เรื่องการแตกความเห็นกันนี้เป็นเรื่องสำคัญ แม้จะบวชมาในพระธรรมวินัยเดียวกันและนับถือปฏิบัติในพระธรรมวินัยเดียวกัน และถึงจะเคร่งครัดอยู่ด้วยกัน แต่ลงได้แตกความเห็นกันในปัญหาพระวินัยและในการปฏิบัติพระวินัยแล้ว ก็เป็นทางให้แตกแยกกันได้ ดังที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงเหตุที่เป็นนานาสังวาสกะ ว่าตนเองกระทำตนเองหรือว่าสงฆ์ยกวัตร ในเรื่องที่เล่ามานี้ก็มีทั้งสอง ภิกษุที่ถูกสงฆ์ยกวัตรนั้นมีรูปเดียว คือที่เป็นต้นเรื่องเท่านั้น นอกจากนั้นนับเข้าในเหตุว่าตนเองทำตนเอง คือฝ่ายหนึ่งก็สนับสนุนภิกษุที่ถูกสงฆ์ยกวัตร อีกฝ่ายหนึ่งก็เป็นฝ่ายที่ยกวัตร สนับสนุนในฝ่ายนั้น และความเป็นนานาสังวาสกะกันนี้ คือว่าไม่ลงโบสถ์กันนี้ จะสงบไปได้ก็ต่อเมื่อตนทำตนเองให้เป็นสมานสังวาสกะกัน ถ้าภิกษุถูกสงฆ์ยกวัตร ก็สงฆ์นั้นเองเป็นผู้ที่ระงับการยกวัตรนั้นแล้วก็กลับเข้าหมู่ตามเดิม

พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติพระวินัยบางข้อสำหรับปฏิบัติเกี่ยวแก่ภิกษุในขณะที่เป็นนานาสังวาสกะกัน เพื่อป้องกันการวิวาท เป็นต้นว่า ทรงบัญญัติให้ภิกษุนั่งในอาสนะที่มีอาสนะอื่นคั่นอยู่ในระหว่าง ก็เพื่อว่าเมื่อวิวาทกันก็ไม่ต้องการให้นั่งใกล้กัน ให้มีภิกษุอื่นมานั่งคั่นเสียในระหว่างๆ แต่ว่าถึงกระนั้น ความแตกร้าวกันนั้นก็ยังดำเนินไปอยู่ จนถึงภิกษุรูปหนึ่งได้ไปกราบทูลขอให้พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปทรงระงับเรื่องราวนั้น พระพุทธเจ้าจึงได้เสด็จไปอีก และก็ได้ประทานโอวาทสั่งสอนไม่ให้ทะเลาะวิวาทกัน ก็มีภิกษุที่เป็นอธรรมวาทีคือเรียกว่าพูดไม่เป็นธรรมรูปหนึ่ง ก็ได้กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า ขอให้พระพุทธเจ้าซึ่งทรงเป็นพระธรรมสามีทรงรออยู่ก่อน พวกภิกษุเหล่านี้จักยังไม่ปรองดองกันต่อไป ขอให้พระพุทธเจ้าได้ทรงมีความขวนขวายน้อย ทรงประกอบการอยู่เป็นสุขในปัจจุบันสำหรับพระองค์ พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานพระโอวาทห้ามเป็นครั้งที่ ๒ ที่ ๓ แต่ก็ได้มีภิกษุกราบทูลเหมือนอย่างนั้นเป็นครั้งที่ ๒ ที่ ๓ พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงเล่าเรื่องที่เป็นไปแล้วมาเป็นตัวอย่างประทานพระโอวาท ซึ่งพระอาจารย์ได้รจนาไว้มีความว่า


จากหนังสือ ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า
เล่ม ๓ หน้า ๖๔ - ๗๐

 

 

<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-align: center;" align="center">&nbsp;<img src="/mag/images/stories/author/sungaracha.png" alt="sungaracha" width="180" height="223" />
</p>
<p>&nbsp;</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-align: center;" align="center">&nbsp;<img src="/mag/images/stories/misc/sangharaja-section.gif" alt="sangharaja-section" style="font-family: Arial, Helvetica, sans-serif; font-size: 1em; font-weight: bold;" width="455" height="50" />
</p>
<p>&nbsp;</p>
<p style="text-align: center;" align="center"><b><span style="font-size: 18pt; line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif; color: black;">๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า</span></b><b><span style="font-size: 18pt; line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif; color: black;"></span></b>
</p>
<p style="text-align: center;" align="center">&nbsp;<b><span style="font-size: 16pt; line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif;">เทศนานิพนธ์</span></b><b><span style="line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif;"><br /> ใน<br /> </span></b><b><span style="font-size: 14pt; font-family: 'Tahoma','sans-serif';">สมเด็จพระญาณสังวร<br /> สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก</span></b><span style="line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif; color: black;"></span>
</p>
<p style="text-align: center;" align="center"><b><span style="font-size: 14pt; font-family: 'Tahoma', 'sans-serif';"></span></b><span style="font-size: 14pt; font-family: 'Tahoma', 'sans-serif';"><b><span style="font-family: 'Tahoma', 'sans-serif';"><span style="line-height: 115%; font-family: 'Tahoma', 'sans-serif';">เล่ม ๓<br />(พรรษาที่ ๘ – พรรษาที่ ๙)</span></span> </b> </span>
</p>
<p style="text-align: center;" align="center">&nbsp;</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">ได้เล่าพระราชประวัติของพระเจ้าอุเทน พระราชาแห่งวังสรัฐมาแล้ว จะเล่าถึงพระมเหสี ๓ พระองค์ของพระเจ้าอุเทน เพราะมีเรื่องที่เกี่ยวพันอยู่กับประวัติพระพุทธศาสนาด้วย</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พระมเหสีองค์ที่ ๑ พระนามว่า <b>สามาวดี </b>เป็นธิดาบุญธรรมของโฆสกเศรษฐี พระนางสามาวดีองค์นี้เป็นธิดาของเศรษฐีในเมืองภัททวตี แต่ภายหลังเศรษฐีตระกูลนี้ถึงวิบัติ ในตอนสุดท้ายก็วิบัติด้วยโรค ซึ่งเรียกในคัมภีร์ว่าอหิวาตกโรค โรคอย่างนี้เมื่อเกิดขึ้นกล่าวว่า พวกแมลงวันแมลงต่างๆ และหนูตายก่อน จนถึงพวกไก่ สุกร และสัตว์ใหญ่ๆ ที่เป็นสัตว์เลี้ยงและสัตว์ในบ้านจนถึงคน ผู้ที่ต้องการจะรอดพ้นก็จะต้องทิ้งบ้านเรือนหนีไปที่อื่น</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">เมื่อโรคเกิดขึ้น เศรษฐีในเมืองภัททวตีนั้นพร้อมกับภริยาและธิดา ก็หนีไปกรุงโกสัมพี เพื่อจะไปอาศัยโฆสกเศรษฐี ซึ่งเป็นสหายที่ไม่เคยเห็นกัน คือต่างได้ยินชื่อเสียงของกันก็ส่งบรรณาการไปให้แก่กัน นับถือกัน แต่เศรษฐีกับภริยาได้ถึงแก่กรรมที่ศาลาพักคนที่กรุงโกสัมพี จึงเหลือแต่ธิดา ธิดาของภัททวตีเศรษฐีได้ไปขออาหารที่โรงทานของโฆสกเศรษฐี ได้พบกับผู้จัดการโรงทานชื่อว่า <b>มิตตกุฎุมพี </b>เมื่อผู้จัดการโรงทานได้ถามทราบเรื่อง ก็รับเอาธิดาของภัททวตีเศรษฐีไปเลี้ยงเป็นบุตรีบุญธรรม</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">โรงทานของโฆสกเศรษฐีนั้น โดยปกติมีเสียงอื้ออึงเพราะคนแย่งกันเข้าแย่งกันออก ธิดาของภัททวตีเศรษฐีจึงได้แนะนำให้ทำรั้วกั้นและทำประตู ๒ ประตู สำหรับคนเข้าประตู ๑ สำหรับคนออกประตู ๑ เมื่อได้จัดดั่งนี้การแย่งกันเข้าออกก็หายไป เสียงอื้ออึงจึงได้สงบ เพราะฉะนั้น นางจึงได้ชื่อว่า สามาวตี เดิมชื่อว่า สามา เมื่อมาแนะให้สร้างรั้วขึ้น ก็มีคำว่า วตี เพิ่มเข้าต่อท้ายชื่อเก่า เพราะวตีแปลว่ารั้ว เรียกรวมกันว่า <b>สามาวตี </b>หรือ<b> สามาวดี</b></span><b><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span></b>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">ฝ่ายโฆสกเศรษฐีเคยได้ยินเสียงอื้ออึง เมื่อไม่ได้ยินเสียงก็สอบถามว่ายังให้ทานอยู่หรือ ทำไมเสียงจึงเงียบไป เมื่อผู้จัดการโรงทานได้เรียนให้ทราบพร้อมทั้งได้เรียนให้ทราบถึงเรื่องนางสามาวดีซึ่งเป็นต้นคิดให้สร้างรั้ว โฆสกเศรษฐีจึงได้ขอรับเอานางสามาวดีไปอุปการะเป็นบุตรีบุญธรรมเพราะเป็นธิดาของเพื่อน ต่อมา เมื่อถึงวันมหรสพที่เป็นธรรมเนียมว่า กุลธิดาที่โดยปกติไม่ออกไปข้างไหนก็จะออกไปยังแม่น้ำและอาบน้ำเล่นน้ำเป็นการเล่นมหรสพ พระเจ้าอุเทนได้ทอดพระเนตรเห็น ก็ทรงเกิดความสิเนหา ทรงขอเข้าไปตั้งไว้เป็นพระมเหสี</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พระมเหสีองค์ที่ ๒ พระนามว่า <b>วาสุลทัตตา </b>เป็นพระราชธิดาของ<b> พระเจ้าปัชโชต </b>กรุงอุชเชนี เรื่องที่พระเจ้าอุเทนจะได้พระนางวาสุลทัตตานี้มีว่า พระเจ้าปัชโชตได้ทรงคิดจะยกกองทัพไปตีกรุงโกสัมพี ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ มีสมบัติมาก แต่พวกเสนาบดีทั้งหลายได้ทูลคัดค้านว่า พระเจ้าอุเทนทรงมีมนต์ที่เรียกช้างได้ และมีพาหนะแข็งแรง มีกำลังมั่นคง การยกกองทัพไปตีจะไม่สำเร็จ และก็ได้ทูลแนะอุบายให้ว่า พระเจ้าอุเทนทรงโปรดช้าง เพราะฉะนั้น ก็ให้สร้างช้างยนต์ให้ใหญ่และให้มีคนอยู่ในท้องได้ แล้วชักช้างยนต์นั้นให้เดินไปเดินมา กับวางกำลังพลซุ่มไว้ พระเจ้าปัชโชตก็ทรงปฏิบัติตาม</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พรานป่าได้เห็นช้างยนต์นั้น ก็มาทูลพระเจ้าอุเทน พระเจ้าอุเทนก็ทรงยกกองทหารออกไปเพื่อจะจับช้าง เมื่อไปพบช้างยนต์แต่ไกล ก็ทรงร่ายมนต์เรียกช้าง แต่ว่าช้างยนต์นั้นก็ไม่ฟังมนต์ เดินหนีไป พระเจ้าอุเทนก็ทรงม้าวิ่งตามช้างไปแต่พระองค์เดียว จนเข้าไปในที่มีกำลังพลของฝ่ายกรุงอุชเชนีซุ่มอยู่ พระเจ้าอุเทนก็ถูกทหารของกรุงอุชเชนีล้อมจับไปได้ แล้วก็นำไปถวายพระเจ้าปัชโชต พระเจ้าปัชโชตก็โปรดให้ขังไว้ และก็ฉลองชัยชนะด้วยการทรงดื่มสุราบาน</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พระเจ้าอุเทนเมื่อถูกขังอยู่หลายวัน ก็รับสั่งขึ้นว่า จับข้าศึกมาได้แล้วก็ควรจะปล่อยหรือควรประหารเสีย ทำไมจึงทิ้งไว้อย่างนี้ คนก็ไปทูลพระเจ้าปัชโชต พระเจ้าปัชโชตก็เสด็จมาที่คุมขัง และได้รับสั่งว่าจะปล่อย แต่ให้พระเจ้าอุเทนบอกมนต์ให้ พระเจ้าอุเทนก็ทูลว่าจะบอกถวายได้ แต่ว่าพระเจ้าปัชโชตต้องทรงไหว้ครูเสียก่อน พระเจ้าปัชโชตก็ไม่ทรงยอมที่จะทรงไหว้พระเจ้าอุเทน พระเจ้าอุเทนก็ไม่ทรงยอมบอกมนต์ให้ พระเจ้าปัชโชตก็ตรัสว่าถ้าไม่บอกก็จะฆ่า พระเจ้าอุเทนก็ทูลตอบว่า ฆ่าก็ฆ่า เพราะพระเจ้าปัชโชตนั้นในบัดนี้ก็ทรงเป็นใหญ่แห่งสรีรกาย แต่ว่าก็ไม่ทรงเป็นใหญ่แห่งจิต พระเจ้าปัชโชตจึงได้ทรงคิดว่า ทำอย่างไรจึงจะให้พระเจ้าอุเทนทรงบอกมนต์ได้ ทรงนึกถึงพระราชธิดาก็รับสั่งขึ้นว่า ในพระราชวังนี้ได้มีผู้หญิงหลังค่อมอยู่คนหนึ่ง จะให้หญิงหลังค่อมนี้มาเรียนมนต์และก็จะให้ไหว้ แต่ว่าก็จะต้องกั้นม่านไว้ ให้เรียนกันอยู่ภายในม่าน พระเจ้าอุเทนก็ทรงยินยอม พระเจ้าปัชโชตก็เสด็จไปหาพระราชธิดา และได้ตรัสบอกว่า ได้มีบุรุษง่อยเปลี้ยจนถึงกับต้องเดินถัดไปเหมือนอย่างหอยสังข์เดินอยู่คนหนึ่ง รู้มนต์จับช้าง จะให้พระราชธิดาไปเรียนมนต์นั้นแล้วให้มาบอกแก่พระองค์ เมื่อจะเริ่มเรียนต้องไหว้ครู แต่ต้องไหว้อยู่ภายในม่าน พระราชธิดาก็ทรงยินยอม ได้มีการจัดให้มีการเรียนมนต์โดยกั้นม่านไว้ พระราชธิดาก็เรียนอยู่ภายในม่าน พระเจ้าอุเทนก็ทรงบอกอยู่ภายนอกม่าน วันหนึ่ง พระราชธิดาทรงเรียนมนต์ก็ไม่อาจที่จะจำได้ พระเจ้าอุเทนกริ้ว ก็รับสั่งขึ้นว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">“<span>ปากของเจ้าหนานัก จะท่องบ่นมนต์เท่านี้ก็ไม่ได้ เจ้านางค่อม</span>”</span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พระราชธิดาก็กริ้ว เพราะถูกเรียกว่าค่อม ก็รับสั่งขึ้นมาว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">“<span>เจ้าคนโรคเรื้อน ทำไมจึงมากล่าวขึ้นเช่นนี้</span>”</span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">เมื่อต่างกริ้วซึ่งกันและกันดังนี้แล้ว ก็เลิกม่านขึ้น และเมื่อต่างทรงเห็นซึ่งกันและกันก็เลยเกิดเรื่องอื่นขึ้นแทน เรื่องการเรียนมนต์ก็เป็นอันยุติลงเพียงแค่นี้</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">มนต์จับใจช้างนั้น ไม่เหมือนอย่างมนต์ที่จับใจคน เรื่องนี้ได้มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้ว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"> “<span>ยังไม่ทรงเห็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่จะครอบงำจิตบุรุษได้ยิ่งไปกว่ารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะของหญิง</span>” <span>และในทางตรงกันข้าม ก็มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้อีกว่า</span> “<span>ยังไม่ทรงเห็น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอื่นที่ครอบงำจิตของหญิงได้ยิ่งไปกว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะของบุรุษ</span>”</span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">เมื่อเรื่องเป็นเช่นนี้ พระเจ้าอุเทนกับพระนางวาสุลทัตตาก็คิดอ่านที่จะพากันหนี เมื่อพระราชบิดารับสั่งถามว่าเรียนมนต์ไปได้แค่ไหน พระราชธิดาก็ทูลว่าเรียนไปได้เท่านั้นเท่านี้ และเมื่อจะจบมนต์ จำจะต้องไปเก็บโอสถตามสัญญาของดาวฤกษ์ เพราะฉะนั้น ก็ขอพระราชทานพาหนะช้างฝีเท้าเร็ว กับขอพระราชทานอนุญาตที่จะออกไปนอกเมืองได้ทุกเวลา พระราชบิดาก็ทรงอนุญาต ต่อมาวันหนึ่งพระเจ้าปัชโชตเสด็จออกไปประพาสภายนอกเมือง พระเจ้าอุเทนกับพระนางวาสุลทัตตาก็ขึ้นพาหนะช้างพากันหนีไป และได้บรรจุเงินบรรจุทองใส่กระสอบขึ้นช้างไปด้วย เมื่อพระเจ้าปัชโชตทรงทราบ ทรงสั่งให้ทหารติดตาม พระเจ้าอุเทนก็ทรงเทกระสอบเงิน และต่อมาก็ทรงเทกระสอบทองลง พวกผู้คนก็พากันแย่งเงินแย่งทอง พระเจ้าอุเทนก็หนีออกไปได้จนเข้าถึงเขตเมืองโกสัมพี แล้วก็ได้ทรงตั้งพระนางวาสุลทัตตาเป็นพระมเหสีอีกองค์หนึ่ง</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">องค์ที่ ๓ ชื่อว่า <b>มาคันทิยา </b>องค์นี้มีเรื่องเกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนามาก เป็นธิดาของพราหมณ์ในรัฐกุรุอยู่ใกล้กันนั้น และท่านแสดงว่านางมาคันทิยานี้มีรูปร่างงดงามมาก บิดาไม่ปรารถนาจะยกให้แก่ใคร ต้องการจะยกให้บุคคลผู้ที่มีลักษณะเป็นมหาบุรุษ ต่อมาบิดาได้พบพระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จไปยังแคว้นกุรุนั้น ได้เพ่งพิศพระลักษณะ เห็นว่าประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ก็มีความเลื่อมใสและปรารถนาที่จะยกลูกสาวของตนถวาย จึงได้ทูลให้ทรงทราบความประสงค์ของตน พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ตรัสว่าอย่างไร</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">ฝ่ายพราหมณ์ก็รีบไปชวนนางพราหมณีผู้ภริยากับธิดา มายังที่ที่ได้พบพระพุทธเจ้านั้น แต่ว่าไม่ได้พบพระองค์ทรงยืนอยู่ ณ ที่นั้น พบแต่รอยพระบาท พราหมณ์ก็บอกแก่นางพราหมณีผู้ภริยาว่า นี้แหละเป็นรอยเท้าของบุรุษผู้นั้น นางพราหมณีได้พิจารณาดูรอยเท้าก็เห็นว่า รอยเท้านี้ไม่ใช่รอยเท้าของบุคคลผู้บริโภคกาม จึงได้บอกแก่พราหมณ์ผู้สามี พร้อมทั้งได้แสดงลักษณะของรอยเท้าไว้โดยความว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">รอยเท้าของคนที่ยังมีราคะเป็นรอยเท้ากระโหย่ง รอยเท้าของคนที่มีโทสะเป็นรอยเท้าที่มีลักษณะส้นบีบ รอยเท้าของคนหลงมีลักษณะที่กดลง ส่วนรอยเท้าเช่นนี้เป็นรอยเท้าของคนที่มีหลังคาเปิด หมายความว่าเป็นคนสิ้นกิเลสแล้ว</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">แต่ว่าพราหมณ์ไม่เชื่อ จึงได้พยายามเดินตามหา ก็ได้พบพระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับอยู่ในที่อีกแห่งหนึ่งที่ใกล้กัน ก็ได้กราบทูลว่า ได้นำธิดามาถวาย พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสที่ท่านแสดงไว้โดยปุคคลาธิษฐานว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"> “<span>ได้ทรงเห็นนางตัณหา นางอรดี นางราคา ซึ่งเป็นธิดามารผู้งดงามอย่างยิ่ง ก็ยังไม่ทรงพอพระหฤทัย ไฉนจะมาทรงพอพระหฤทัยกับนางธิดาของพราหมณ์นี้ ซึ่งเต็มไปด้วยมูตรแลกรีส</span>”</span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">นางมาคันทิยาซึ่งเป็นธิดาของพราหมณ์ได้ฟังดั่งนี้ก็มีความโกรธ และผูกอาฆาตในพระพุทธเจ้าตั้งแต่บัดนั้น ด้วยคิดว่าถ้าพระองค์ไม่ทรงประสงค์นาง ก็บอกว่าไม่ต้องการ ไฉนจึงจะมารับสั่งว่าเต็มไปด้วยมูตรและกรีส</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">ฝ่ายพราหมณ์และพราหมณี ซึ่งเป็นบิดามารดาของนางได้มีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ก็ได้ขอบวชเป็นภิกษุและภิกษุณี แต่ก่อนที่จะบวชก็ได้ฝากนางมาคันทิยาไว้กับลุงชื่อว่ามาคันทิยะ ต่อมามาคันทิยะผู้เป็นลุงก็ได้นำนางมาคันทิยาไปถวายพระเจ้าอุเทน พระเจ้าอุเทนก็ทรงรับไว้เป็นพระมเหสีอีกองค์หนึ่ง<br /><br /><br /> </span><span></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"><br />จากหนังสือ ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า<br />เล่ม ๓ หน้า ๓๕ – ๔๐</span>
</p>