Print

แสงส่องใจ - ฉบับที่ ๓๑๗

 sungaracha

 

 sangharaja-section

 

๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า

 เทศนานิพนธ์
ใน
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก

เล่ม ๓
(พรรษาที่ ๘ – พรรษาที่ ๙)

สาราณิยธรรมสูตร

 

เรื่องในพรรษาที่ ๙ ของพระพุทธเจ้าที่แสดงมาแล้วนั้น เกี่ยวแก่ฝ่ายอาณาจักร ส่วนที่เกี่ยวแก่ฝ่ายพุทธจักร ก็มีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับความแบ่งแยกของคณะสงฆ์ แต่จะยังไม่เล่าเรื่องเหล่านั้น จะนำมาแสดงเฉพาะ สาราณิยธรรมสูตร ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ในขณะที่ประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี ฉะนั้น จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โกสัมพิยสูตร โดยความก็คือ สาราณิยธรรมสูตร นั่นเอง

ใจความในพระสูตรนั้นว่า ภิกษุทั้งหลายจะอยู่ด้วยกัน ควบคุมกันอยู่เป็นอันดี ไม่วิวาทกัน มีสามัคคีพร้อมเพรียงกัน มีเอกภาพคือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ก็เนื่องมาจากต่างมีความรักเคารพกันและกัน จะมีความรักเคารพกันและกัน ก็จะต้องปฏิบัติในธรรมที่ยังกันและกันให้ระลึกถึงกันด้วยความรักเคารพ ๖ ประการ อันเรียกว่า สาราณิยธรรม คือ

. ตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตา

. ตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา

. ตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา

. แบ่งปันลาภที่ได้มาโดยชอบธรรมให้เป็นสาธารณบริโภค คือบริโภคร่วมกัน

. มีศีลคือความประพฤติเสมอกัน

. มีทิฏฐิคือความเห็นที่นำออกจากทุกข์สม่ำเสมอกัน

ธรรมทั้ง ๖ ประการนี้จะอธิบายเฉพาะ ๒ ข้อหลัง

 

สีลสามัญญตา

ข้อว่ามีศีลคือความประพฤติเสมอกันนั้น ท่านแสดงลักษณะไว้ว่า ศีลที่ไม่เป็นท่อน ไม่เป็นช่อง ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ  ไม่ต้องลูบคลำ เป็นไปเพื่อสมาธิ

ศีลที่ไม่เป็นท่อน นั้น หมายถึงว่าไม่ขาด เหมือนอย่างแผ่นผ้าที่เป็นผืนเดียวกัน ผ้านั้นจะเป็นท่อนๆ ก็เพราะขาดออกจากกัน ศีลก็เหมือนกันที่ชื่อว่าเป็นท่อน ก็หมายถึงว่าศีลขาด เพราะได้ประพฤติล่วงครบองค์ ยกตัวอย่างปาณาติบาต การฆ่าสัตว์ ทั่วไปนั้น มีองค์ ๕ คือ

. สัตว์มีชีวิต

. รู้ว่าสัตว์มีชีวิต

. จิตคิดจะฆ่า

. ทำความเพียรเพื่อจะฆ่า

. สัตว์ตายด้วยความเพียรนั้น

เมื่อได้ล่วงครบองค์ทั้ง ๕ ประการนี้จนถึงสัตว์ตายลงไป เรียกว่าศีลขาด ศีลเป็นท่อน

 

ศีลเป็นช่อง นั้น คือไม่ถึงขาด แต่ว่าโหว่เต็มที เหมือนอย่างผ้าที่เป็นช่องโหว่ ยกตัวอย่างดั่งปาณาติบาตนั้น ได้ล่วงจนถึงทำความเพียรเพื่อจะฆ่า แต่ว่าสัตว์ไม่ตาย หลุดพ้นไปได้ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง นี่ชื่อว่า เป็นช่อง

ศีลด่าง นั้น ก็เหมือนอย่างผ้าด่างที่เป็นรอยใหญ่ๆ แต่ว่าไม่ถึงกับขาดเป็นช่อง ได้แก่มีเจตนาคิดจะล่วง แต่ก็ยังไม่ทันได้ลงมือพยายาม ชื่อว่าศีลด่าง

ศีลพร้อย นั้น ก็คือเหมือนอย่างผ้าที่เป็นรอยพร้อย ได้แก่ เมื่อรักษาศีล แม้ไม่ถึงเจตนาจะล่วง แต่จิตก็ไม่บริสุทธิ์ ไม่เป็นปกติ เช่นว่าเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง แต่ก็ยังพอใจดูเขาฆ่า ดูเขาทรมานสัตว์ เรียกว่าพร้อย

ศีลที่จะเป็นศีลบริสุทธิ์นั้น ต้องไม่เป็นท่อน ไม่เป็นช่อง ไม่ด่าง ไม่พร้อย

อนึ่ง ศีลที่เป็นไท หมายว่าไม่เป็นทาสของตัณหา การรักษาศีลนั้นถ้ารักษาด้วยตัณหา คือมุ่งจะได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นค่าตอบแทน เหมือนอย่างรับจ้างเขาทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อค่าจ้าง นี่ชื่อว่าเป็นทาสตัณหา อีกอย่างหนึ่ง ตัณหาในใจคอยบีบคั้นอยู่ ทำให้ดิ้นรนที่จะออกไปจากศีล ไม่เป็นสุข ไม่ได้ความสงบ เหมือนอย่างถูกบังคับให้จำต้องอยู่ในศีล รักษาจิตให้สงบไม่ได้ ต้องเดือดร้อนกระวนกระวาย ดั่งนี้ก็ชื่อว่าเป็นทาสตัณหาเหมือนกันศีลที่บริสุทธิ์นั้นต้องเป็นไท คือไม่เป็นทาสตัณหาดั่งกล่าว

วิญญูชนสรรเสริญ ก็คือผู้รู้สรรเสริญ ผู้รู้นั้นหมายถึงตนเอง ซึ่งเป็นผู้รู้ก็ได้ ผู้อื่นซึ่งเป็นผู้รู้ก็ได้ ตนเองซึ่งเป็นผู้รู้นั้น ก็คือเมื่อตนเองพิจารณาดูตนเองแล้ว ติเตียนตนโดยศีลไม่ได้ ถ้าตนเองพิจารณาดูตนเองแล้ว ติเตียนตนเองได้ว่า เราไปลอบทำนั่น เราไปลอบทำนี่ ซึ่งเป็นการผิดศีลหรือว่าทำศีลให้ด่างพร้อย นี่เรียกว่า ตนเองติตนเอง บางทีเมื่อไปทำอะไรที่ไม่ดีมากๆ เข้า ไม่อยากนึกถึงตัวเองก็มี พอนึกเข้าแล้วเกลียดตัวเอง นี่เรียกว่า ตนเองซึ่งเป็นผู้รู้ติเตียนตนเอง ผู้อื่นซึ่งเป็นผู้รู้นั้นก็คือบุคคลอื่นซึ่งได้อยู่ร่วมกัน และได้เห็นความประพฤติของกันและกัน ใคร่ครวญ รู้ผิด รู้ถูก ศีลที่จะบริสุทธิ์นั้นต้องเป็นศีลที่วิญญูชนสรรเสริญ ตำหนิไม่ได้

อนึ่ง ศีลที่ยังมีตัณหาเป็นนายครอบงำจิตใจอยู่ ต้องเป็นศีลที่ต้องคอยระมัดระวังอยู่เสมอ ตนเองเผลอตัวเมื่อใด ก็ประพฤติล่วงศีลเมื่อนั้นประพฤติบกพร่องเมื่อนั้น นี้ก็เพราะตัณหาความดิ้นรนในใจ คอยชักตนออกไปจากศีล ตัณหาคอยขยี้ขยำศีลอยู่เสมอ และตนเองก็ต้องคอยระมัดระวังศีลอยู่เสมอ ปล่อยไม่ได้ บางทีคนอื่นก็ต้องไปช่วยระมัดระวัง คือต้องไปคอยช่วยดูแล ความหมายของคำว่า อุปัชฌายะ ก็คือผู้ดูแล อาจารย์ ก็คือผู้ประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ โดยความก็คอยช่วยดูแลเหมือนกัน แม้สหธรรมิกผู้ประพฤติธรรมด้วยกัน โดยฐานเป็นภิกษุด้วยกันก็ปวารณาคืออนุญาตให้ตักเตือนซึ่งกันและกัน นี่ก็เพื่อจะได้คอยดูแลกันและกัน ศีลที่บริสุทธิ์นั้นจะต้องเป็นศีลที่ไม่ถูกตัณหาคอยบีบคั้นคอยลูบคลำ และตนเองก็ไม่ต้องคอยรักษาคุ้มครอง คนอื่นก็ไม่ต้องคอยรักษาคุ้มครอง เป็นศีลที่เป็นปกติขึ้นในตัวเอง ดั่งมีคำเรียกว่า ศีลรักษา แต่เรียกศีลที่ยังต้องถูกลูบคลำว่า รักษาศีลคือต้องคอยเฝ้ารักษา

ศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ คือเป็นบาทที่จะให้เกิดสมาธิจิต คือจิตที่ตั้งมั่นได้ แต่ไม่ใช่เป็นชนิดที่ทำให้จิตใจฟุ้งซ่านกระสับกระส่าย ศีลที่จะเป็นบาทของสมาธิ ก็จะต้องประกอบด้วยลักษณะดั่งที่กล่าวมาข้างต้นการปฏิบัติให้เป็นผู้ที่มีศีลสม่ำเสมอกับด้วยเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายดังที่กล่าวมา เรียกว่า สีลสามัญญตา ความมีศีลเสมอกัน

 

ทิฏฐิสามัญญตา

ส่วนข้อ ๖ มี ทิฏฐิ คือความเห็นที่ออกจากทุกข์เสมอกัน หมายความว่าทำทิฏฐิความเห็นของตนให้เป็นความเห็นที่ดี อันเรียกว่า อริยะ ประเสริฐ หรืออารยะ ให้เป็นความเห็นที่นำออกจากทุกข์ คือว่าทำให้ถึงความสิ้นทุกข์ได้โดยชอบ ความเห็นดั่งกล่าวมานี้จะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องอาศัยการที่ตั้งใจคอยรับปรุง ทำความเห็นของตนให้ตรงต่อพระธรรมและพระวินัยอยู่เสมอ ถ้าจะมีความเห็นที่แตกแยกออกไปจากร่องรอยที่ถูกที่ชอบ ก็ต้องคอยเกียดกันความเห็นเช่นนั้นออกไป ประคับประคองความเห็นของตนให้อยู่ในร่องรอยที่ถูกที่ตรง ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ในพระสูตรนี้ได้ชี้ลักษณะแห่งความเห็นดังกล่าวไว้ ๗ ประการ คือ

. อบรมทำทิฏฐิคือความเห็นที่ปราศจากนิวรณ์กลุ้มรุมจิต และไม่ให้คิดวุ่นวายอยู่กับเรื่องของความคิดในโลกนี้ เรื่องของความคิดในโลกหน้าที่ไร้ประโยชน์ ไม่ให้เห็นกลุ้มกลัดอยู่ในเรื่องที่จะก่อการทะเลาะวิวาท

. อบรมทำความเห็นที่จะให้เกิดความสงบ จะให้เกิดความดับกิเลสที่เกิดขึ้นในใจ

. อบรมทำความเห็นที่จะไม่ออกไปนอกทางแห่งพระธรรมวินัย

. อบรมทำความเห็นที่จะให้มีความสังวรในศีล เมื่อต้องอาบัติก็ต้องรีบออกจากอาบัตินั้นด้วยการรีบแสดง ไม่ปกปิดไว้ เหมือนอย่างเด็กอ่อนเอามือเท้าไปถูกถ่านเพลิงเข้า ก็ต้องรีบชักมือเท้าออก

. อบรมทำความเห็นที่จะให้ขวนขวายศึกษาในอธิศีล ในอธิจิต ในอธิปัญญา แม้จะช่วยทำกิจการของหมู่ของคณะของเพื่อนสพรหมจารีอะไรก็ตาม แต่ก็ไม่ละทิ้งการศึกษาของตน เหมือนอย่างแม่โคลูกอ่อนไม่ทิ้งลูก

. อบรมทำทิฏฐิคือความเห็นที่จะให้เกิดกำลังในอันที่จะฟังธรรมได้

. อบรมทำทิฏฐิคือความเห็นที่จะให้เกิดกำลังที่จะได้ความรู้ในเนื้อความความรู้ในหัวข้อธรรม ทั้งที่จะให้เกิดปีติปราโมทย์ประกอบด้วยธรรม

โดยเฉพาะข้อ ๖ อบรมทำความเห็นที่จะให้เกิดกำลังฟังธรรมได้นั้นดูเผินๆ ก็คล้ายไม่มีความหมาย แต่ว่าถ้านึกดูก็จะรู้สึกว่า การฟังธรรมนั้นไม่ง่ายนัก เพราะโดยมากธรรมเป็นเรื่องไม่สนุก เมื่อฟังธรรมก็มักจะหมดฉันทะ หมดความพากเพียรที่จะฟัง การที่จะฟังธรรมได้นั้น จึงต้องมีกำลังใจที่จะฟังได้ กล่าวคือจะต้องมีฉันทะ จะต้องมีความพากเพียร เป็นต้น ถ้าขาดข้อนี้เสียแล้วก็ไม่สามารถจะฟังธรรมได้ โดยเฉพาะก็จะต้องมี

. เงี่ยโสตลง

. ประมวลใจทั้งหมด

. ทำธรรมที่ฟังไว้ในใจ

. ทำให้เป็นประโยชน์หรือทำให้มีประโยชน์

ข้อ ๔ นี้ก็หมายความว่า พยายามหาประโยชน์จากธรรมที่ฟังให้จงได้ไม่มากก็น้อย เพราะเมื่อฟังแล้วก็ควรที่จะให้ได้ประโยชน์บ้าง ถ้าไม่ได้ประโยชน์เลยก็เสียเวลา การที่จะทำให้เป็นประโยชน์ได้บ้างนั้น ก็ต้องอาศัยการที่จะรู้จักเลือกถือเอาโดยที่ไม่ไปตั้งความชอบหรือตั้งความชังไว้เป็นเบื้องหน้า แต่ว่ามุ่งที่จะหยิบเอาธรรมอันเหมาะแก่ตนมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ไม่ได้มากสักนิดหนึ่งก็ยังดีกว่า เพราะฉะนั้น ลักษณะข้อ ๔ คือการทำให้เป็นประโยชน์นี้จึงเป็นข้อสำคัญ

สาราณิยธรรมทั้ง ๖ ประการนี้ ข้อที่ ๖ ท่านแสดงว่าเป็นข้อยอดของข้ออื่น

จากหนังสือ ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า
เล่ม ๓ หน้า ๕๘ - ๖๓

 

 

<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-align: center;" align="center">&nbsp;<img src="/mag/images/stories/author/sungaracha.png" alt="sungaracha" width="180" height="223" />
</p>
<p>&nbsp;</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-align: center;" align="center">&nbsp;<img src="/mag/images/stories/misc/sangharaja-section.gif" alt="sangharaja-section" style="font-family: Arial, Helvetica, sans-serif; font-size: 1em; font-weight: bold;" width="455" height="50" />
</p>
<p>&nbsp;</p>
<p style="text-align: center;" align="center"><b><span style="font-size: 18pt; line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif; color: black;">๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า</span></b><b><span style="font-size: 18pt; line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif; color: black;"></span></b>
</p>
<p style="text-align: center;" align="center">&nbsp;<b><span style="font-size: 16pt; line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif;">เทศนานิพนธ์</span></b><b><span style="line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif;"><br /> ใน<br /> </span></b><b><span style="font-size: 14pt; font-family: 'Tahoma','sans-serif';">สมเด็จพระญาณสังวร<br /> สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก</span></b><span style="line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif; color: black;"></span>
</p>
<p style="text-align: center;" align="center"><b><span style="font-size: 14pt; font-family: 'Tahoma', 'sans-serif';"></span></b><span style="font-size: 14pt; font-family: 'Tahoma', 'sans-serif';"><b><span style="font-family: 'Tahoma', 'sans-serif';"><span style="line-height: 115%; font-family: 'Tahoma', 'sans-serif';">เล่ม ๓<br />(พรรษาที่ ๘ – พรรษาที่ ๙)</span></span> </b> </span>
</p>
<p style="text-align: center;" align="center">&nbsp;</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">ได้เล่าพระราชประวัติของพระเจ้าอุเทน พระราชาแห่งวังสรัฐมาแล้ว จะเล่าถึงพระมเหสี ๓ พระองค์ของพระเจ้าอุเทน เพราะมีเรื่องที่เกี่ยวพันอยู่กับประวัติพระพุทธศาสนาด้วย</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พระมเหสีองค์ที่ ๑ พระนามว่า <b>สามาวดี </b>เป็นธิดาบุญธรรมของโฆสกเศรษฐี พระนางสามาวดีองค์นี้เป็นธิดาของเศรษฐีในเมืองภัททวตี แต่ภายหลังเศรษฐีตระกูลนี้ถึงวิบัติ ในตอนสุดท้ายก็วิบัติด้วยโรค ซึ่งเรียกในคัมภีร์ว่าอหิวาตกโรค โรคอย่างนี้เมื่อเกิดขึ้นกล่าวว่า พวกแมลงวันแมลงต่างๆ และหนูตายก่อน จนถึงพวกไก่ สุกร และสัตว์ใหญ่ๆ ที่เป็นสัตว์เลี้ยงและสัตว์ในบ้านจนถึงคน ผู้ที่ต้องการจะรอดพ้นก็จะต้องทิ้งบ้านเรือนหนีไปที่อื่น</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">เมื่อโรคเกิดขึ้น เศรษฐีในเมืองภัททวตีนั้นพร้อมกับภริยาและธิดา ก็หนีไปกรุงโกสัมพี เพื่อจะไปอาศัยโฆสกเศรษฐี ซึ่งเป็นสหายที่ไม่เคยเห็นกัน คือต่างได้ยินชื่อเสียงของกันก็ส่งบรรณาการไปให้แก่กัน นับถือกัน แต่เศรษฐีกับภริยาได้ถึงแก่กรรมที่ศาลาพักคนที่กรุงโกสัมพี จึงเหลือแต่ธิดา ธิดาของภัททวตีเศรษฐีได้ไปขออาหารที่โรงทานของโฆสกเศรษฐี ได้พบกับผู้จัดการโรงทานชื่อว่า <b>มิตตกุฎุมพี </b>เมื่อผู้จัดการโรงทานได้ถามทราบเรื่อง ก็รับเอาธิดาของภัททวตีเศรษฐีไปเลี้ยงเป็นบุตรีบุญธรรม</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">โรงทานของโฆสกเศรษฐีนั้น โดยปกติมีเสียงอื้ออึงเพราะคนแย่งกันเข้าแย่งกันออก ธิดาของภัททวตีเศรษฐีจึงได้แนะนำให้ทำรั้วกั้นและทำประตู ๒ ประตู สำหรับคนเข้าประตู ๑ สำหรับคนออกประตู ๑ เมื่อได้จัดดั่งนี้การแย่งกันเข้าออกก็หายไป เสียงอื้ออึงจึงได้สงบ เพราะฉะนั้น นางจึงได้ชื่อว่า สามาวตี เดิมชื่อว่า สามา เมื่อมาแนะให้สร้างรั้วขึ้น ก็มีคำว่า วตี เพิ่มเข้าต่อท้ายชื่อเก่า เพราะวตีแปลว่ารั้ว เรียกรวมกันว่า <b>สามาวตี </b>หรือ<b> สามาวดี</b></span><b><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span></b>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">ฝ่ายโฆสกเศรษฐีเคยได้ยินเสียงอื้ออึง เมื่อไม่ได้ยินเสียงก็สอบถามว่ายังให้ทานอยู่หรือ ทำไมเสียงจึงเงียบไป เมื่อผู้จัดการโรงทานได้เรียนให้ทราบพร้อมทั้งได้เรียนให้ทราบถึงเรื่องนางสามาวดีซึ่งเป็นต้นคิดให้สร้างรั้ว โฆสกเศรษฐีจึงได้ขอรับเอานางสามาวดีไปอุปการะเป็นบุตรีบุญธรรมเพราะเป็นธิดาของเพื่อน ต่อมา เมื่อถึงวันมหรสพที่เป็นธรรมเนียมว่า กุลธิดาที่โดยปกติไม่ออกไปข้างไหนก็จะออกไปยังแม่น้ำและอาบน้ำเล่นน้ำเป็นการเล่นมหรสพ พระเจ้าอุเทนได้ทอดพระเนตรเห็น ก็ทรงเกิดความสิเนหา ทรงขอเข้าไปตั้งไว้เป็นพระมเหสี</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พระมเหสีองค์ที่ ๒ พระนามว่า <b>วาสุลทัตตา </b>เป็นพระราชธิดาของ<b> พระเจ้าปัชโชต </b>กรุงอุชเชนี เรื่องที่พระเจ้าอุเทนจะได้พระนางวาสุลทัตตานี้มีว่า พระเจ้าปัชโชตได้ทรงคิดจะยกกองทัพไปตีกรุงโกสัมพี ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ มีสมบัติมาก แต่พวกเสนาบดีทั้งหลายได้ทูลคัดค้านว่า พระเจ้าอุเทนทรงมีมนต์ที่เรียกช้างได้ และมีพาหนะแข็งแรง มีกำลังมั่นคง การยกกองทัพไปตีจะไม่สำเร็จ และก็ได้ทูลแนะอุบายให้ว่า พระเจ้าอุเทนทรงโปรดช้าง เพราะฉะนั้น ก็ให้สร้างช้างยนต์ให้ใหญ่และให้มีคนอยู่ในท้องได้ แล้วชักช้างยนต์นั้นให้เดินไปเดินมา กับวางกำลังพลซุ่มไว้ พระเจ้าปัชโชตก็ทรงปฏิบัติตาม</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พรานป่าได้เห็นช้างยนต์นั้น ก็มาทูลพระเจ้าอุเทน พระเจ้าอุเทนก็ทรงยกกองทหารออกไปเพื่อจะจับช้าง เมื่อไปพบช้างยนต์แต่ไกล ก็ทรงร่ายมนต์เรียกช้าง แต่ว่าช้างยนต์นั้นก็ไม่ฟังมนต์ เดินหนีไป พระเจ้าอุเทนก็ทรงม้าวิ่งตามช้างไปแต่พระองค์เดียว จนเข้าไปในที่มีกำลังพลของฝ่ายกรุงอุชเชนีซุ่มอยู่ พระเจ้าอุเทนก็ถูกทหารของกรุงอุชเชนีล้อมจับไปได้ แล้วก็นำไปถวายพระเจ้าปัชโชต พระเจ้าปัชโชตก็โปรดให้ขังไว้ และก็ฉลองชัยชนะด้วยการทรงดื่มสุราบาน</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พระเจ้าอุเทนเมื่อถูกขังอยู่หลายวัน ก็รับสั่งขึ้นว่า จับข้าศึกมาได้แล้วก็ควรจะปล่อยหรือควรประหารเสีย ทำไมจึงทิ้งไว้อย่างนี้ คนก็ไปทูลพระเจ้าปัชโชต พระเจ้าปัชโชตก็เสด็จมาที่คุมขัง และได้รับสั่งว่าจะปล่อย แต่ให้พระเจ้าอุเทนบอกมนต์ให้ พระเจ้าอุเทนก็ทูลว่าจะบอกถวายได้ แต่ว่าพระเจ้าปัชโชตต้องทรงไหว้ครูเสียก่อน พระเจ้าปัชโชตก็ไม่ทรงยอมที่จะทรงไหว้พระเจ้าอุเทน พระเจ้าอุเทนก็ไม่ทรงยอมบอกมนต์ให้ พระเจ้าปัชโชตก็ตรัสว่าถ้าไม่บอกก็จะฆ่า พระเจ้าอุเทนก็ทูลตอบว่า ฆ่าก็ฆ่า เพราะพระเจ้าปัชโชตนั้นในบัดนี้ก็ทรงเป็นใหญ่แห่งสรีรกาย แต่ว่าก็ไม่ทรงเป็นใหญ่แห่งจิต พระเจ้าปัชโชตจึงได้ทรงคิดว่า ทำอย่างไรจึงจะให้พระเจ้าอุเทนทรงบอกมนต์ได้ ทรงนึกถึงพระราชธิดาก็รับสั่งขึ้นว่า ในพระราชวังนี้ได้มีผู้หญิงหลังค่อมอยู่คนหนึ่ง จะให้หญิงหลังค่อมนี้มาเรียนมนต์และก็จะให้ไหว้ แต่ว่าก็จะต้องกั้นม่านไว้ ให้เรียนกันอยู่ภายในม่าน พระเจ้าอุเทนก็ทรงยินยอม พระเจ้าปัชโชตก็เสด็จไปหาพระราชธิดา และได้ตรัสบอกว่า ได้มีบุรุษง่อยเปลี้ยจนถึงกับต้องเดินถัดไปเหมือนอย่างหอยสังข์เดินอยู่คนหนึ่ง รู้มนต์จับช้าง จะให้พระราชธิดาไปเรียนมนต์นั้นแล้วให้มาบอกแก่พระองค์ เมื่อจะเริ่มเรียนต้องไหว้ครู แต่ต้องไหว้อยู่ภายในม่าน พระราชธิดาก็ทรงยินยอม ได้มีการจัดให้มีการเรียนมนต์โดยกั้นม่านไว้ พระราชธิดาก็เรียนอยู่ภายในม่าน พระเจ้าอุเทนก็ทรงบอกอยู่ภายนอกม่าน วันหนึ่ง พระราชธิดาทรงเรียนมนต์ก็ไม่อาจที่จะจำได้ พระเจ้าอุเทนกริ้ว ก็รับสั่งขึ้นว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">“<span>ปากของเจ้าหนานัก จะท่องบ่นมนต์เท่านี้ก็ไม่ได้ เจ้านางค่อม</span>”</span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พระราชธิดาก็กริ้ว เพราะถูกเรียกว่าค่อม ก็รับสั่งขึ้นมาว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">“<span>เจ้าคนโรคเรื้อน ทำไมจึงมากล่าวขึ้นเช่นนี้</span>”</span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">เมื่อต่างกริ้วซึ่งกันและกันดังนี้แล้ว ก็เลิกม่านขึ้น และเมื่อต่างทรงเห็นซึ่งกันและกันก็เลยเกิดเรื่องอื่นขึ้นแทน เรื่องการเรียนมนต์ก็เป็นอันยุติลงเพียงแค่นี้</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">มนต์จับใจช้างนั้น ไม่เหมือนอย่างมนต์ที่จับใจคน เรื่องนี้ได้มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้ว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"> “<span>ยังไม่ทรงเห็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่จะครอบงำจิตบุรุษได้ยิ่งไปกว่ารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะของหญิง</span>” <span>และในทางตรงกันข้าม ก็มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้อีกว่า</span> “<span>ยังไม่ทรงเห็น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอื่นที่ครอบงำจิตของหญิงได้ยิ่งไปกว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะของบุรุษ</span>”</span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">เมื่อเรื่องเป็นเช่นนี้ พระเจ้าอุเทนกับพระนางวาสุลทัตตาก็คิดอ่านที่จะพากันหนี เมื่อพระราชบิดารับสั่งถามว่าเรียนมนต์ไปได้แค่ไหน พระราชธิดาก็ทูลว่าเรียนไปได้เท่านั้นเท่านี้ และเมื่อจะจบมนต์ จำจะต้องไปเก็บโอสถตามสัญญาของดาวฤกษ์ เพราะฉะนั้น ก็ขอพระราชทานพาหนะช้างฝีเท้าเร็ว กับขอพระราชทานอนุญาตที่จะออกไปนอกเมืองได้ทุกเวลา พระราชบิดาก็ทรงอนุญาต ต่อมาวันหนึ่งพระเจ้าปัชโชตเสด็จออกไปประพาสภายนอกเมือง พระเจ้าอุเทนกับพระนางวาสุลทัตตาก็ขึ้นพาหนะช้างพากันหนีไป และได้บรรจุเงินบรรจุทองใส่กระสอบขึ้นช้างไปด้วย เมื่อพระเจ้าปัชโชตทรงทราบ ทรงสั่งให้ทหารติดตาม พระเจ้าอุเทนก็ทรงเทกระสอบเงิน และต่อมาก็ทรงเทกระสอบทองลง พวกผู้คนก็พากันแย่งเงินแย่งทอง พระเจ้าอุเทนก็หนีออกไปได้จนเข้าถึงเขตเมืองโกสัมพี แล้วก็ได้ทรงตั้งพระนางวาสุลทัตตาเป็นพระมเหสีอีกองค์หนึ่ง</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">องค์ที่ ๓ ชื่อว่า <b>มาคันทิยา </b>องค์นี้มีเรื่องเกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนามาก เป็นธิดาของพราหมณ์ในรัฐกุรุอยู่ใกล้กันนั้น และท่านแสดงว่านางมาคันทิยานี้มีรูปร่างงดงามมาก บิดาไม่ปรารถนาจะยกให้แก่ใคร ต้องการจะยกให้บุคคลผู้ที่มีลักษณะเป็นมหาบุรุษ ต่อมาบิดาได้พบพระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จไปยังแคว้นกุรุนั้น ได้เพ่งพิศพระลักษณะ เห็นว่าประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ก็มีความเลื่อมใสและปรารถนาที่จะยกลูกสาวของตนถวาย จึงได้ทูลให้ทรงทราบความประสงค์ของตน พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ตรัสว่าอย่างไร</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">ฝ่ายพราหมณ์ก็รีบไปชวนนางพราหมณีผู้ภริยากับธิดา มายังที่ที่ได้พบพระพุทธเจ้านั้น แต่ว่าไม่ได้พบพระองค์ทรงยืนอยู่ ณ ที่นั้น พบแต่รอยพระบาท พราหมณ์ก็บอกแก่นางพราหมณีผู้ภริยาว่า นี้แหละเป็นรอยเท้าของบุรุษผู้นั้น นางพราหมณีได้พิจารณาดูรอยเท้าก็เห็นว่า รอยเท้านี้ไม่ใช่รอยเท้าของบุคคลผู้บริโภคกาม จึงได้บอกแก่พราหมณ์ผู้สามี พร้อมทั้งได้แสดงลักษณะของรอยเท้าไว้โดยความว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">รอยเท้าของคนที่ยังมีราคะเป็นรอยเท้ากระโหย่ง รอยเท้าของคนที่มีโทสะเป็นรอยเท้าที่มีลักษณะส้นบีบ รอยเท้าของคนหลงมีลักษณะที่กดลง ส่วนรอยเท้าเช่นนี้เป็นรอยเท้าของคนที่มีหลังคาเปิด หมายความว่าเป็นคนสิ้นกิเลสแล้ว</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">แต่ว่าพราหมณ์ไม่เชื่อ จึงได้พยายามเดินตามหา ก็ได้พบพระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับอยู่ในที่อีกแห่งหนึ่งที่ใกล้กัน ก็ได้กราบทูลว่า ได้นำธิดามาถวาย พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสที่ท่านแสดงไว้โดยปุคคลาธิษฐานว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"> “<span>ได้ทรงเห็นนางตัณหา นางอรดี นางราคา ซึ่งเป็นธิดามารผู้งดงามอย่างยิ่ง ก็ยังไม่ทรงพอพระหฤทัย ไฉนจะมาทรงพอพระหฤทัยกับนางธิดาของพราหมณ์นี้ ซึ่งเต็มไปด้วยมูตรแลกรีส</span>”</span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">นางมาคันทิยาซึ่งเป็นธิดาของพราหมณ์ได้ฟังดั่งนี้ก็มีความโกรธ และผูกอาฆาตในพระพุทธเจ้าตั้งแต่บัดนั้น ด้วยคิดว่าถ้าพระองค์ไม่ทรงประสงค์นาง ก็บอกว่าไม่ต้องการ ไฉนจึงจะมารับสั่งว่าเต็มไปด้วยมูตรและกรีส</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">ฝ่ายพราหมณ์และพราหมณี ซึ่งเป็นบิดามารดาของนางได้มีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ก็ได้ขอบวชเป็นภิกษุและภิกษุณี แต่ก่อนที่จะบวชก็ได้ฝากนางมาคันทิยาไว้กับลุงชื่อว่ามาคันทิยะ ต่อมามาคันทิยะผู้เป็นลุงก็ได้นำนางมาคันทิยาไปถวายพระเจ้าอุเทน พระเจ้าอุเทนก็ทรงรับไว้เป็นพระมเหสีอีกองค์หนึ่ง<br /><br /><br /> </span><span></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"><br />จากหนังสือ ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า<br />เล่ม ๓ หน้า ๓๕ – ๔๐</span>
</p>