Print

แสงส่องใจ - ฉบับที่ ๓๑๖

 sungaracha

 

 sangharaja-section

 

๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า

 เทศนานิพนธ์
ใน
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก

เล่ม ๓
(พรรษาที่ ๘ – พรรษาที่ ๙)


 

เรื่องในกรุงโกสัมพีที่เล่ามานี้ เล่าตามพระอรรถกถาจารย์ที่เล่าไว้ในอรรถกถาธรรมบท ซึ่งได้แต่งเมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปประมาณพันปี มีเค้าที่ปรากฏในคัมภีร์พระบาลีอยู่บ้าง เช่น โฆสการาม บ่งว่าเป็นอารามของบุคคลผู้ที่ชื่อว่าโฆสกะสร้างถวายเป็นต้น แต่ว่าเรื่องของโฆสกะเป็นอย่างไรนั้น ยังไม่พบความพิสดารในชั้นบาลี พบแต่ในชั้นอรรถกถาที่เล่ามานั้น บางแห่งก็ส่องความเป็นเรื่องที่ผูกขึ้นในครั้งหลัง เช่น เรื่องที่เศรษฐีกรุงโกสัมพีเขียนหนังสือสั่งให้ฆ่าโฆสกะ ผูกที่ชายผ้าของโฆสกะไป ในครั้งพุทธกาลนั้น ยังไม่พบเรื่องการเขียนหนังสือ ฉะนั้น เมื่อมาแต่งว่าเขียนหนังสือดั่งนั้น ก็ส่องว่ารายละเอียดในตอนนั้นก็น่าจะผูกขึ้นในตอนหลัง แต่ว่าเค้าความก็น่าจะมีอยู่ เรื่องพระนางสามาวดีถูกไฟคลอกมีในหลักฐานชั้นบาลี คือตอนที่พระพุทธเจ้าทรงเปล่งพระพุทธอุทานดั่งคำแปลนั้น ก็ได้เล่าเรื่องว่าทำไมพระพุทธเจ้าจึงเปล่งพระพุทธอุทานนั้นไว้ด้วย

เรื่องที่เกิดขึ้นดั่งที่เล่านี้เป็นเครื่องแสดงว่า บุคคลทุกๆ คนแม้จะได้มีโอกาสเกิดทันพระพุทธเจ้า ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้บรรลุธรรมตั้งแต่ชั้นต้นจนถึงชั้นสูง แต่ก็ต้องเป็นไปตามกรรมที่ตนได้ทำไว้ พระพุทธเจ้าจะทรงช่วยให้บุคคลพ้นจากผลของกรรมชั่วที่ตนได้ทำไว้นั้นหาได้ไม่ ทรงช่วยได้แต่ในด้านทรงแสดงธรรมเพื่อให้บุคคลเว้นจากบาป บำเพ็ญกุศลและชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้วจนถึงทำจิตของตนให้หลุดพ้น พระพุทธเจ้าทรงช่วยได้อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงปรากฏว่าหลายครั้งที่ได้ทรงทราบว่า ผู้นั้นผู้นี้จะได้รับผลของกรรมจนถึงสิ้นชีวิต ก็ได้รีบเสด็จไปทรงแสดงธรรมโปรดให้ได้ศรัทธาในพระรัตนตรัย หรือว่าได้ดวงตาเห็นธรรมก่อน และเมื่อเป็นเช่นนี้ บุคคลผู้นั้นก็ได้ชื่อว่ามีที่พึ่งของจิตใจเป็นอย่างดี ถึงจะต้องได้รับผลของกรรมอย่างร้ายแรงจนถึงสิ้นชีวิตก็ดี แต่ก็เป็นผู้ที่มีคติคือที่ไปในทางดี พระพุทธเจ้าย่อมทรงช่วยได้โดยประการนี้

และในเรื่องของพระนางสามาวดีนี้ท่านได้เล่าไว้ว่า เพราะพระนางกับบริวารได้ประกอบบาปกรรมไว้ในอดีตชาติ คือได้จุดไฟเผาพระปัจเจกพุทธเจ้าที่กำลังเข้านิโรธสมาบัติ ในชั้นแรกท่านนั่งเข้านิโรธสมาบัติอยู่ที่กอหญ้าไม่เห็นท่าน คิดแต่เพียงจะจุดไฟเผากอหญ้าเท่านั้น เมื่อจุดไฟเผากอหญ้าแล้วจึงได้เห็นท่าน คิดกันว่าเมื่อเรื่องเกิดขึ้นถึงเพียงนี้แล้วก็เผาเสียเลยจึงได้เอาฟืนมาสุมเข้าแล้วก็จุดเผา แต่ท่านแสดงว่าพระอรหันต์เข้านิโรธสมาบัตินั้นไม่เป็นอันตรายเพราะไฟหรือเพราะเหตุใดเหตุหนึ่ง เพราะฉะนั้นท่านจึงมิได้เป็นอันตราย แต่บาปกรรมที่ทำไว้นั้นก็ส่งผลให้พระนางสามาวดีกับคณะได้ถูกไฟเผาในชาติต่อๆ มา

ส่วนโฆสกเศรษฐีนั้น ท่านก็เล่าบุรพกรรมไว้โดยความว่า ครั้งหนึ่งได้เกิดทุพภิกขภัยขึ้นในอัลลกัปปรัฐ บางพวกก็กล่าวว่าเกิดอหิวาตกโรคขึ้นคนเข็ญใจผู้หนึ่งชื่อว่า โกตุหลิกะ พาภริยาซึ่งมีบุตรอ่อนหนีออกไป มุ่งจะไปกรุงโกสัมพี เมื่อเดินทางไปนั้น เสบียงทางก็หมด เมื่อเกิดความหิวโหยอ่อนกำลังลง นายโกตุหลิกะก็คิดจะทิ้งบุตร ภริยาก็คอยห้ามไว้ไม่ยอมให้ทิ้งแต่ก็ได้ลอบทิ้ง ภริยาเมื่อทราบเข้าก็เก็บเอาไป บุตรจึงต้องถูกทิ้งแล้วก็ถูกเก็บเอาไปหลายครั้ง จนในที่สุดก็ถึงแก่ความตายในระหว่างทาง เมื่อเดินทางมาถึงหมู่บ้านหนึ่ง นายโคบาลผู้หนึ่งกำลังประกอบพิธีมงคลเกี่ยวกับโคนม เมื่อได้เห็นคนเดินทางทั้งคู่นั้นมีความทุกข์ยากลำบากหิวโหย เกิดความสงสารก็ต้อนรับเลี้ยงดู เมื่อเลี้ยงดูคนเดินทางทั้ง ๒ นั้นเสร็จแล้ว นายโคบาลจึงได้บริโภคอาหารด้วยตนเอง ได้ปั้นข้าวปายาสให้แก่นางสุนัขซึ่งอยู่ในที่ใกล้นายโกตุหลิกะเห็นนางสุนัขได้รับเลี้ยงดูด้วยอาหารวิเศษเช่นนั้น ก็คิดว่านางสุนัขนี้มีบุญ ได้กินอาหารดีๆ เช่นนี้เสมอ ในคืนวันนั้น นายโกตุหลิกะได้บริโภคอาหารเกินส่วน เพราะได้อดอยากมาเป็นเวลาหลายวันก็ถึงแก่กรรม ท่านว่าเข้าไปเกิดในท้องสุนัข นางสุนัขคลอดลูกออกมาเป็นสุนัขตัวผู้ นายโคบาลก็เลี้ยงดูไว้เป็นอันดี และให้คอยไปรับไปส่งพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ลูกสุนัขนั้นก็ไปรับไปส่ง และได้เห่าหอนพระปัจเจกพุทธเจ้าในการรับและการส่ง จนมีจิตคุ้นเคยสนิทสนมกับพระปัจเจกพุทธเจ้า ในตอนนี้ท่านได้แสดงว่าธรรมดาว่า สัตว์ดิรัจฉานนั้น โดยปกติเป็นสัตว์ที่ซื่อตรง คือว่าโกงไม่เป็น แต่ว่ามนุษย์ทั้งหลายนั้น โดยมากคิดอย่างหนึ่งพูดอีกอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่าสิ่งที่มีชั้นเชิงมากก็คือมนุษย์ สิ่งที่ตื้นก็คือสัตว์เลี้ยงเมื่อสุนัขนั้นตาย ท่านกล่าวว่าไปเกิดเป็นเทพบุตร แต่ว่าบริโภคกามคุณเกินขนาด จึงได้จุติลงมา ไปเกิดในท้องของหญิงนครโสเภณีในกรุงโกสัมพีดั่งที่เล่ามานั้น และท่านกล่าวว่า เทพดาที่จุตินั้นด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ

 ๑. สิ้นอายุ หมายความว่าทำบุญไว้มาก ก็อยู่ในเทวโลกจนถึงกำหนดอายุและก็เกิดในชั้นสูงๆ ขึ้นไป

. สิ้นบุญ คือว่าทำบุญไว้น้อย เมื่อสิ้นบุญนั้นแล้วก็ต้องจุติในระหว่าง

. สิ้นอาหาร หมายความว่า ตื่นในกามคุณ หรือว่าตื่นสวรรค์ หรือว่าบริโภคกามคุณอย่างหนัก จนลืมบริโภคอาหาร ก็ต้องจุติเหมือนกัน

. โกรธ หมายความว่า ริษยาในสมบัติของผู้อื่น ไม่อดทนสมบัติของผู้อื่น เมื่อเกิดความโกรธริษยาขึ้น ดั่งนี้ก็ต้องจุติ

เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องประกอบ ส่วนพระเจ้าอุเทนนั้นมีเรื่องเล่าว่า ได้เคยพบกับ พระปิณโฑลภารทวาชะ ได้ตั้งปัญหาถามท่าน ท่านก็ตอบจนพระเจ้าอุเทนทรงเลื่อมใส มีเรื่องแสดงไว้ในคัมภีร์ชั้นพระบาลีว่า เมื่อท่านพระปิณโฑลภารทวาชะได้อยู่ที่โฆสิตารามในกรุงโกสัมพี พระเจ้าอุเทนได้เสด็จเข้าไปหาท่าน ได้รับสั่งตั้งปัญหาถามท่านว่าอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุหนุ่มๆ เหล่านี้ ซึ่งยังมีผมดำสนิท อยู่ในวัยเจริญคือปฐมวัย ไม่เริงสนุกในกามทั้งหลาย ยอมประพฤติพรหมจรรย์อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ตลอดชีวิต

ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะก็ทูลตอบว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า เธอทั้งหลายจงตั้งจิตว่าเป็นแม่ในหญิงทั้งหลายปูนแม่ เธอจงตั้งจิตว่าเป็นพี่น้องหญิงในหญิงทั้งหลายปูนพี่น้องหญิง เธอจงตั้งจิตว่าเป็นธิดาในหญิงทั้งหลายที่เป็นปูนธิดา นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุหนุ่มๆ เหล่านี้ยอมประพฤติพรหมจรรย์อยู่ตลอดชีวิต

 

พระเจ้าอุเทนก็รับสั่งถามต่อไปว่าจิตเป็นธรรมชาติที่โลเลเหลวไหลบางคราวก็เกิดโลภธรรมขึ้นในหญิงทั้งหลายปูนแม่ บางคราวก็เกิดโลภธรรมขึ้นในหญิงทั้งหลายปูนพี่น้องหญิง บางคราวก็เกิดโลภธรรมขึ้นในหญิงทั้งหลายปูนธิดา ฉะนั้น จะมีเหตุมีปัจจัยอะไรอื่นอีก

ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะก็ทูลตอบว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่าพวกเธอจงมาพิจารณากายนี้ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา เบื้องล่างแต่ปลายผมลงไป มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ มีอยู่ในกายนี้ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุหนุ่มทั้งหลายเหล่านี้ ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้ตลอดชีวิต

พระเจ้าอุเทนก็รับสั่งซักต่อไปว่าพวกภิกษุที่อบรมกาย อบรมศีลอบรมจิต อบรมปัญญาแล้วนั้นก็กระทำได้ไม่ยาก แต่ว่าพวกภิกษุผู้มิได้อบรมกาย มิได้อบรมศีล มิอบรมจิต มิได้อบรมปัญญา ข้อนั้นก็กระทำได้ยาก ในบางคราวคิดว่าจะพิจารณาให้เห็นว่าเป็นอสุภะ แต่ก็กลับเห็นเป็นสุภะไปเสีย ฉะนั้น จะมีเหตุมีปัจจัยอะไรอื่นอีก

ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะก็ทูลว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า พวกเธอจงมามีสติคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย คือเห็นรูปด้วยจักษุ ได้ยินเสียงด้วยโสตะ สูดกลิ่นด้วยฆานะ ลิ้มรสด้วยชิวหา ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้เรื่องด้วยใจ ก็อย่าถือเอาโดยนิมิตคือว่ารวบถือ อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ คือว่าแยกถือ จงปฏิบัติเพื่อความสำรวมอินทรีย์เหล่านั้น ที่จะมิให้บาปอกุศลธรรมมีความยินดียินร้ายเป็นต้นครอบงำได้ จงรักษาอินทรีย์เหล่านั้นจงถึงความสำรวมในอินทรีย์เหล่านั้น นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัย

พระเจ้าอุเทนก็รับสั่งรับรองถ้อยคำของท่านพระปิณโฑลภารทาชะว่า เมื่อปฏิบัติมีความสำรวมอินทรีย์อยู่ดั่งนั้น ก็สามารถที่จะไม่เริงกีฬาในกามทั้งหลาย อยู่ประพฤติพรหมจรรย์บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตและได้รับสั่งถึงพระองค์เองว่าแม้พระองค์เอง ในสมัยที่มิได้ทรงรักษากาย มิได้ทรงรักษาวาจา มิได้ทรงรักษาจิต มิได้ทรงตั้งพระสติ มิได้ทรงสำรวมอินทรีย์ เวลาเสด็จเข้าไปภายในบุรี ก็ยังเกิดโลภธรรมครอบงำอย่างเหลือเกิน แต่ในสมัยที่มีการรักษากายเป็นต้น ตั้งสติสำรวมอินทรีย์เข้าไปภายในพระนคร โลภธรรมทั้งหลายก็ไม่สามารถจะครอบงำพระองค์ได้ได้ทรงประกาศความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา แสดงพระองค์ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะ แสดงพระองค์เป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิตจำเดิมแต่วันนั้น

เรื่องที่เล่าไว้ในคัมภีร์ชั้นพระบาลีนี้ จะเกิดขึ้นก่อนหรือทีหลังเรื่องพระนางสามาวดีทราบไม่ได้ แต่เรื่องพระนางสามาวดี ตอนที่เล่าถึงพระนางสามาวดีทูลให้พระเจ้าอุเทนถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะนั้นมีในชั้นอรรถกถา ยังไม่พบในชั้นพระบาลี เพราะฉะนั้น จึงได้มีบางท่านแสดงว่า พระเจ้าอุเทนได้ทรงพบกับพระปิณโฑลภารทวาชะ และได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก่อนแล้ว

 

จากหนังสือ ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า
เล่ม ๓ หน้า ๕๓ - ๕๘

 

 

<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-align: center;" align="center">&nbsp;<img src="/mag/images/stories/author/sungaracha.png" alt="sungaracha" width="180" height="223" />
</p>
<p>&nbsp;</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-align: center;" align="center">&nbsp;<img src="/mag/images/stories/misc/sangharaja-section.gif" alt="sangharaja-section" style="font-family: Arial, Helvetica, sans-serif; font-size: 1em; font-weight: bold;" width="455" height="50" />
</p>
<p>&nbsp;</p>
<p style="text-align: center;" align="center"><b><span style="font-size: 18pt; line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif; color: black;">๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า</span></b><b><span style="font-size: 18pt; line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif; color: black;"></span></b>
</p>
<p style="text-align: center;" align="center">&nbsp;<b><span style="font-size: 16pt; line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif;">เทศนานิพนธ์</span></b><b><span style="line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif;"><br /> ใน<br /> </span></b><b><span style="font-size: 14pt; font-family: 'Tahoma','sans-serif';">สมเด็จพระญาณสังวร<br /> สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก</span></b><span style="line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif; color: black;"></span>
</p>
<p style="text-align: center;" align="center"><b><span style="font-size: 14pt; font-family: 'Tahoma', 'sans-serif';"></span></b><span style="font-size: 14pt; font-family: 'Tahoma', 'sans-serif';"><b><span style="font-family: 'Tahoma', 'sans-serif';"><span style="line-height: 115%; font-family: 'Tahoma', 'sans-serif';">เล่ม ๓<br />(พรรษาที่ ๘ – พรรษาที่ ๙)</span></span> </b> </span>
</p>
<p style="text-align: center;" align="center">&nbsp;</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">ได้เล่าพระราชประวัติของพระเจ้าอุเทน พระราชาแห่งวังสรัฐมาแล้ว จะเล่าถึงพระมเหสี ๓ พระองค์ของพระเจ้าอุเทน เพราะมีเรื่องที่เกี่ยวพันอยู่กับประวัติพระพุทธศาสนาด้วย</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พระมเหสีองค์ที่ ๑ พระนามว่า <b>สามาวดี </b>เป็นธิดาบุญธรรมของโฆสกเศรษฐี พระนางสามาวดีองค์นี้เป็นธิดาของเศรษฐีในเมืองภัททวตี แต่ภายหลังเศรษฐีตระกูลนี้ถึงวิบัติ ในตอนสุดท้ายก็วิบัติด้วยโรค ซึ่งเรียกในคัมภีร์ว่าอหิวาตกโรค โรคอย่างนี้เมื่อเกิดขึ้นกล่าวว่า พวกแมลงวันแมลงต่างๆ และหนูตายก่อน จนถึงพวกไก่ สุกร และสัตว์ใหญ่ๆ ที่เป็นสัตว์เลี้ยงและสัตว์ในบ้านจนถึงคน ผู้ที่ต้องการจะรอดพ้นก็จะต้องทิ้งบ้านเรือนหนีไปที่อื่น</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">เมื่อโรคเกิดขึ้น เศรษฐีในเมืองภัททวตีนั้นพร้อมกับภริยาและธิดา ก็หนีไปกรุงโกสัมพี เพื่อจะไปอาศัยโฆสกเศรษฐี ซึ่งเป็นสหายที่ไม่เคยเห็นกัน คือต่างได้ยินชื่อเสียงของกันก็ส่งบรรณาการไปให้แก่กัน นับถือกัน แต่เศรษฐีกับภริยาได้ถึงแก่กรรมที่ศาลาพักคนที่กรุงโกสัมพี จึงเหลือแต่ธิดา ธิดาของภัททวตีเศรษฐีได้ไปขออาหารที่โรงทานของโฆสกเศรษฐี ได้พบกับผู้จัดการโรงทานชื่อว่า <b>มิตตกุฎุมพี </b>เมื่อผู้จัดการโรงทานได้ถามทราบเรื่อง ก็รับเอาธิดาของภัททวตีเศรษฐีไปเลี้ยงเป็นบุตรีบุญธรรม</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">โรงทานของโฆสกเศรษฐีนั้น โดยปกติมีเสียงอื้ออึงเพราะคนแย่งกันเข้าแย่งกันออก ธิดาของภัททวตีเศรษฐีจึงได้แนะนำให้ทำรั้วกั้นและทำประตู ๒ ประตู สำหรับคนเข้าประตู ๑ สำหรับคนออกประตู ๑ เมื่อได้จัดดั่งนี้การแย่งกันเข้าออกก็หายไป เสียงอื้ออึงจึงได้สงบ เพราะฉะนั้น นางจึงได้ชื่อว่า สามาวตี เดิมชื่อว่า สามา เมื่อมาแนะให้สร้างรั้วขึ้น ก็มีคำว่า วตี เพิ่มเข้าต่อท้ายชื่อเก่า เพราะวตีแปลว่ารั้ว เรียกรวมกันว่า <b>สามาวตี </b>หรือ<b> สามาวดี</b></span><b><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span></b>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">ฝ่ายโฆสกเศรษฐีเคยได้ยินเสียงอื้ออึง เมื่อไม่ได้ยินเสียงก็สอบถามว่ายังให้ทานอยู่หรือ ทำไมเสียงจึงเงียบไป เมื่อผู้จัดการโรงทานได้เรียนให้ทราบพร้อมทั้งได้เรียนให้ทราบถึงเรื่องนางสามาวดีซึ่งเป็นต้นคิดให้สร้างรั้ว โฆสกเศรษฐีจึงได้ขอรับเอานางสามาวดีไปอุปการะเป็นบุตรีบุญธรรมเพราะเป็นธิดาของเพื่อน ต่อมา เมื่อถึงวันมหรสพที่เป็นธรรมเนียมว่า กุลธิดาที่โดยปกติไม่ออกไปข้างไหนก็จะออกไปยังแม่น้ำและอาบน้ำเล่นน้ำเป็นการเล่นมหรสพ พระเจ้าอุเทนได้ทอดพระเนตรเห็น ก็ทรงเกิดความสิเนหา ทรงขอเข้าไปตั้งไว้เป็นพระมเหสี</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พระมเหสีองค์ที่ ๒ พระนามว่า <b>วาสุลทัตตา </b>เป็นพระราชธิดาของ<b> พระเจ้าปัชโชต </b>กรุงอุชเชนี เรื่องที่พระเจ้าอุเทนจะได้พระนางวาสุลทัตตานี้มีว่า พระเจ้าปัชโชตได้ทรงคิดจะยกกองทัพไปตีกรุงโกสัมพี ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ มีสมบัติมาก แต่พวกเสนาบดีทั้งหลายได้ทูลคัดค้านว่า พระเจ้าอุเทนทรงมีมนต์ที่เรียกช้างได้ และมีพาหนะแข็งแรง มีกำลังมั่นคง การยกกองทัพไปตีจะไม่สำเร็จ และก็ได้ทูลแนะอุบายให้ว่า พระเจ้าอุเทนทรงโปรดช้าง เพราะฉะนั้น ก็ให้สร้างช้างยนต์ให้ใหญ่และให้มีคนอยู่ในท้องได้ แล้วชักช้างยนต์นั้นให้เดินไปเดินมา กับวางกำลังพลซุ่มไว้ พระเจ้าปัชโชตก็ทรงปฏิบัติตาม</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พรานป่าได้เห็นช้างยนต์นั้น ก็มาทูลพระเจ้าอุเทน พระเจ้าอุเทนก็ทรงยกกองทหารออกไปเพื่อจะจับช้าง เมื่อไปพบช้างยนต์แต่ไกล ก็ทรงร่ายมนต์เรียกช้าง แต่ว่าช้างยนต์นั้นก็ไม่ฟังมนต์ เดินหนีไป พระเจ้าอุเทนก็ทรงม้าวิ่งตามช้างไปแต่พระองค์เดียว จนเข้าไปในที่มีกำลังพลของฝ่ายกรุงอุชเชนีซุ่มอยู่ พระเจ้าอุเทนก็ถูกทหารของกรุงอุชเชนีล้อมจับไปได้ แล้วก็นำไปถวายพระเจ้าปัชโชต พระเจ้าปัชโชตก็โปรดให้ขังไว้ และก็ฉลองชัยชนะด้วยการทรงดื่มสุราบาน</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พระเจ้าอุเทนเมื่อถูกขังอยู่หลายวัน ก็รับสั่งขึ้นว่า จับข้าศึกมาได้แล้วก็ควรจะปล่อยหรือควรประหารเสีย ทำไมจึงทิ้งไว้อย่างนี้ คนก็ไปทูลพระเจ้าปัชโชต พระเจ้าปัชโชตก็เสด็จมาที่คุมขัง และได้รับสั่งว่าจะปล่อย แต่ให้พระเจ้าอุเทนบอกมนต์ให้ พระเจ้าอุเทนก็ทูลว่าจะบอกถวายได้ แต่ว่าพระเจ้าปัชโชตต้องทรงไหว้ครูเสียก่อน พระเจ้าปัชโชตก็ไม่ทรงยอมที่จะทรงไหว้พระเจ้าอุเทน พระเจ้าอุเทนก็ไม่ทรงยอมบอกมนต์ให้ พระเจ้าปัชโชตก็ตรัสว่าถ้าไม่บอกก็จะฆ่า พระเจ้าอุเทนก็ทูลตอบว่า ฆ่าก็ฆ่า เพราะพระเจ้าปัชโชตนั้นในบัดนี้ก็ทรงเป็นใหญ่แห่งสรีรกาย แต่ว่าก็ไม่ทรงเป็นใหญ่แห่งจิต พระเจ้าปัชโชตจึงได้ทรงคิดว่า ทำอย่างไรจึงจะให้พระเจ้าอุเทนทรงบอกมนต์ได้ ทรงนึกถึงพระราชธิดาก็รับสั่งขึ้นว่า ในพระราชวังนี้ได้มีผู้หญิงหลังค่อมอยู่คนหนึ่ง จะให้หญิงหลังค่อมนี้มาเรียนมนต์และก็จะให้ไหว้ แต่ว่าก็จะต้องกั้นม่านไว้ ให้เรียนกันอยู่ภายในม่าน พระเจ้าอุเทนก็ทรงยินยอม พระเจ้าปัชโชตก็เสด็จไปหาพระราชธิดา และได้ตรัสบอกว่า ได้มีบุรุษง่อยเปลี้ยจนถึงกับต้องเดินถัดไปเหมือนอย่างหอยสังข์เดินอยู่คนหนึ่ง รู้มนต์จับช้าง จะให้พระราชธิดาไปเรียนมนต์นั้นแล้วให้มาบอกแก่พระองค์ เมื่อจะเริ่มเรียนต้องไหว้ครู แต่ต้องไหว้อยู่ภายในม่าน พระราชธิดาก็ทรงยินยอม ได้มีการจัดให้มีการเรียนมนต์โดยกั้นม่านไว้ พระราชธิดาก็เรียนอยู่ภายในม่าน พระเจ้าอุเทนก็ทรงบอกอยู่ภายนอกม่าน วันหนึ่ง พระราชธิดาทรงเรียนมนต์ก็ไม่อาจที่จะจำได้ พระเจ้าอุเทนกริ้ว ก็รับสั่งขึ้นว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">“<span>ปากของเจ้าหนานัก จะท่องบ่นมนต์เท่านี้ก็ไม่ได้ เจ้านางค่อม</span>”</span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พระราชธิดาก็กริ้ว เพราะถูกเรียกว่าค่อม ก็รับสั่งขึ้นมาว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">“<span>เจ้าคนโรคเรื้อน ทำไมจึงมากล่าวขึ้นเช่นนี้</span>”</span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">เมื่อต่างกริ้วซึ่งกันและกันดังนี้แล้ว ก็เลิกม่านขึ้น และเมื่อต่างทรงเห็นซึ่งกันและกันก็เลยเกิดเรื่องอื่นขึ้นแทน เรื่องการเรียนมนต์ก็เป็นอันยุติลงเพียงแค่นี้</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">มนต์จับใจช้างนั้น ไม่เหมือนอย่างมนต์ที่จับใจคน เรื่องนี้ได้มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้ว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"> “<span>ยังไม่ทรงเห็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่จะครอบงำจิตบุรุษได้ยิ่งไปกว่ารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะของหญิง</span>” <span>และในทางตรงกันข้าม ก็มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้อีกว่า</span> “<span>ยังไม่ทรงเห็น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอื่นที่ครอบงำจิตของหญิงได้ยิ่งไปกว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะของบุรุษ</span>”</span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">เมื่อเรื่องเป็นเช่นนี้ พระเจ้าอุเทนกับพระนางวาสุลทัตตาก็คิดอ่านที่จะพากันหนี เมื่อพระราชบิดารับสั่งถามว่าเรียนมนต์ไปได้แค่ไหน พระราชธิดาก็ทูลว่าเรียนไปได้เท่านั้นเท่านี้ และเมื่อจะจบมนต์ จำจะต้องไปเก็บโอสถตามสัญญาของดาวฤกษ์ เพราะฉะนั้น ก็ขอพระราชทานพาหนะช้างฝีเท้าเร็ว กับขอพระราชทานอนุญาตที่จะออกไปนอกเมืองได้ทุกเวลา พระราชบิดาก็ทรงอนุญาต ต่อมาวันหนึ่งพระเจ้าปัชโชตเสด็จออกไปประพาสภายนอกเมือง พระเจ้าอุเทนกับพระนางวาสุลทัตตาก็ขึ้นพาหนะช้างพากันหนีไป และได้บรรจุเงินบรรจุทองใส่กระสอบขึ้นช้างไปด้วย เมื่อพระเจ้าปัชโชตทรงทราบ ทรงสั่งให้ทหารติดตาม พระเจ้าอุเทนก็ทรงเทกระสอบเงิน และต่อมาก็ทรงเทกระสอบทองลง พวกผู้คนก็พากันแย่งเงินแย่งทอง พระเจ้าอุเทนก็หนีออกไปได้จนเข้าถึงเขตเมืองโกสัมพี แล้วก็ได้ทรงตั้งพระนางวาสุลทัตตาเป็นพระมเหสีอีกองค์หนึ่ง</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">องค์ที่ ๓ ชื่อว่า <b>มาคันทิยา </b>องค์นี้มีเรื่องเกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนามาก เป็นธิดาของพราหมณ์ในรัฐกุรุอยู่ใกล้กันนั้น และท่านแสดงว่านางมาคันทิยานี้มีรูปร่างงดงามมาก บิดาไม่ปรารถนาจะยกให้แก่ใคร ต้องการจะยกให้บุคคลผู้ที่มีลักษณะเป็นมหาบุรุษ ต่อมาบิดาได้พบพระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จไปยังแคว้นกุรุนั้น ได้เพ่งพิศพระลักษณะ เห็นว่าประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ก็มีความเลื่อมใสและปรารถนาที่จะยกลูกสาวของตนถวาย จึงได้ทูลให้ทรงทราบความประสงค์ของตน พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ตรัสว่าอย่างไร</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">ฝ่ายพราหมณ์ก็รีบไปชวนนางพราหมณีผู้ภริยากับธิดา มายังที่ที่ได้พบพระพุทธเจ้านั้น แต่ว่าไม่ได้พบพระองค์ทรงยืนอยู่ ณ ที่นั้น พบแต่รอยพระบาท พราหมณ์ก็บอกแก่นางพราหมณีผู้ภริยาว่า นี้แหละเป็นรอยเท้าของบุรุษผู้นั้น นางพราหมณีได้พิจารณาดูรอยเท้าก็เห็นว่า รอยเท้านี้ไม่ใช่รอยเท้าของบุคคลผู้บริโภคกาม จึงได้บอกแก่พราหมณ์ผู้สามี พร้อมทั้งได้แสดงลักษณะของรอยเท้าไว้โดยความว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">รอยเท้าของคนที่ยังมีราคะเป็นรอยเท้ากระโหย่ง รอยเท้าของคนที่มีโทสะเป็นรอยเท้าที่มีลักษณะส้นบีบ รอยเท้าของคนหลงมีลักษณะที่กดลง ส่วนรอยเท้าเช่นนี้เป็นรอยเท้าของคนที่มีหลังคาเปิด หมายความว่าเป็นคนสิ้นกิเลสแล้ว</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">แต่ว่าพราหมณ์ไม่เชื่อ จึงได้พยายามเดินตามหา ก็ได้พบพระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับอยู่ในที่อีกแห่งหนึ่งที่ใกล้กัน ก็ได้กราบทูลว่า ได้นำธิดามาถวาย พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสที่ท่านแสดงไว้โดยปุคคลาธิษฐานว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"> “<span>ได้ทรงเห็นนางตัณหา นางอรดี นางราคา ซึ่งเป็นธิดามารผู้งดงามอย่างยิ่ง ก็ยังไม่ทรงพอพระหฤทัย ไฉนจะมาทรงพอพระหฤทัยกับนางธิดาของพราหมณ์นี้ ซึ่งเต็มไปด้วยมูตรแลกรีส</span>”</span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">นางมาคันทิยาซึ่งเป็นธิดาของพราหมณ์ได้ฟังดั่งนี้ก็มีความโกรธ และผูกอาฆาตในพระพุทธเจ้าตั้งแต่บัดนั้น ด้วยคิดว่าถ้าพระองค์ไม่ทรงประสงค์นาง ก็บอกว่าไม่ต้องการ ไฉนจึงจะมารับสั่งว่าเต็มไปด้วยมูตรและกรีส</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">ฝ่ายพราหมณ์และพราหมณี ซึ่งเป็นบิดามารดาของนางได้มีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ก็ได้ขอบวชเป็นภิกษุและภิกษุณี แต่ก่อนที่จะบวชก็ได้ฝากนางมาคันทิยาไว้กับลุงชื่อว่ามาคันทิยะ ต่อมามาคันทิยะผู้เป็นลุงก็ได้นำนางมาคันทิยาไปถวายพระเจ้าอุเทน พระเจ้าอุเทนก็ทรงรับไว้เป็นพระมเหสีอีกองค์หนึ่ง<br /><br /><br /> </span><span></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"><br />จากหนังสือ ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า<br />เล่ม ๓ หน้า ๓๕ – ๔๐</span>
</p>