Print

แสงส่องใจ - ฉบับที่ ๓๑๕

 sungaracha

 

 sangharaja-section

 

๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า

 เทศนานิพนธ์
ใน
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก

เล่ม ๓
(พรรษาที่ ๘ – พรรษาที่ ๙)

  ผู้อดทนคือผู้ฝึกตนดีแล้ว

          วันหนึ่ง พระนางมาคันทิยาซึ่งได้ผูกอาฆาตในพระพุทธเจ้าไว้ ได้ขึ้นไปยังตำหนักของพระนาง
สามาวดี ได้เห็นช่องที่เจาะไว้ที่ฝาก็ได้ซักถาม จึงได้ทราบว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จมายังนครนี้ ก็หวนคิดถึงเวรที่ได้ผูกไว้ ก็คิดจะจัดการให้พระพุทธเจ้าเสด็จออกไปจากนครโกสัมพี จึงได้ไปเฝ้าพระเจ้า
อุเทน ทูลฟ้องว่า พระนางสามาวดีมีพระหฤทัยออกห่าง เพราะได้เจาะช่องฝาเพื่อจะคอยดูพระพุทธเจ้าและพระสาวก พระเจ้าอุเทนก็ได้เสด็จไปบนตำหนักของพระนางสามาวดี เมื่อได้ทรงเห็นช่องฝาที่ได้เจาะไว้นั้นก็ไม่ตรัสว่าอย่างไร กลับตรัสให้ทำช่องหน้าต่างหรือช่องบานพระแกลไว้เพื่อให้ใช้เปิดเป็นหน้าต่างต่อไป

 พระนางมาคันทิยาเห็นว่าไม่เป็นไปตามที่ต้องการ จึงได้จัดการจ้างพวกชาวเมืองซึ่งเป็นผู้ไม่ เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ให้คอยตามด่าพระพุทธเจ้า พวกที่ไม่เลื่อมใสเหล่านั้นก็ได้คอยติดตามพระพุทธเจ้า และด่าด้วยถ้อยคำที่ยกขึ้นด่าอย่างหยาบคายที่กล่าวไว้ว่ามี ๑๐ ประการ คือด่าว่าเจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นพาล เจ้าเป็นคนบ้า เจ้าเป็นอูฐ เจ้าเป็นโค เจ้าเป็นลา เจ้าเป็นสัตว์นรก เจ้าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน สุคติของเจ้าไม่มี เจ้าหวังทุคติได้เท่านั้น

 ท่านพระอานนท์ซึ่งได้ติดตามมากับพระพุทธเจ้า ได้กราบทูลขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จหลีกออกไปจากเมืองนั้น พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า จะให้ไปที่ไหนพระอานนท์ทูลว่า จะไปเมืองอื่น พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสถามว่า ก็เมื่อมนุษย์ในเมืองนั้นด่าอีก จะไปที่ไหนอีก พระอานนท์ก็ทูลว่า ไปเมืองอื่นอีกจากเมืองนั้น พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า เมื่อถูกด่าในเมืองนั้นอีก จะไปที่ไหนอีก พระอานนท์ทูลว่า จะไปเมืองอื่นๆ ต่อไป พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า จะทำอย่างนั้นไม่สมควร อธิกรณ์นั้นเกิดขึ้นในที่ใด เมื่ออธิกรณ์นั้นสงบไปแล้วในที่นั้น จึงควรที่จะไปในที่อื่น และตรัสถามว่า พวกที่ด่านั้นเป็นใคร พระอานนท์ก็ทูลให้ทรงทราบ จึงตรัสว่า การอดทนเป็นภาระของพระองค์ พวกเหล่านั้นก็จะด่าอยู่ได้เพียง ๗ วันเท่านั้น เพราะว่าอธิกรณ์คือเรื่องที่เกิดขึ้นแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ไปเกินกว่า ๗ วัน ได้ทรงเปล่งพระพุทธอุทานขึ้นโดยความว่า เราจักอดทนคำล่วงเกิน เหมือนอย่างช้างศึกอดทนศรที่ตกจากแล่งในสงครามเพราะว่าชนเป็นอันมากเป็นผู้ทุศีล ชนทั้งหลายย่อมนำพาหนะที่ฝึกแล้วสู่ที่ประชุม พระราชาย่อมประทับพาหนะที่ฝึกแล้ว บุคคลใดเป็นผู้ที่อดทนได้ต่อคำล่วงเกิน บุคคลนั้นชื่อว่า เป็นผู้ฝึกแล้ว เป็นผู้ประเสริฐสุดล้ำ มนุษย์ทั้งหลาย ม้าอัสดรที่ฝึกแล้ว ม้าสินธพอาชาไนยที่ฝึกแล้ว มหานาคกุญชรคือช้างใหญ่ที่ฝึกแล้ว เป็นสัตว์ที่ประเสริฐ แต่ว่าบุคคลผู้ฝึกตนได้แล้ว ประเสริฐกว่าสัตว์เหล่านั้น

พระนางมาคันทิยาเมื่อไม่สามารถจะทำให้พระพุทธเจ้าเสด็จออกไปจากเมืองโกสัมพีนั้นได้ ก็คิดอุบายต่อไป คือได้สั่งไปถึงมาคันทิยะผู้เป็นลุงให้ส่งไก่ตายมาให้ตัวหนึ่ง ไก่เป็นอีกตัวหนึ่ง ในชั้นแรกก็ให้นำไก่เป็นมาถวายพระเจ้าอุเทนก่อน และเมื่อเขานำไก่เป็นมาถวาย ก็แนะนำพระเจ้าอุเทนให้ส่งไปให้คณะพระนางสามาวดีปรุงเครื่อง เมื่อเขาส่งไก่เป็นนั้นไป คณะพระนางสามาวดีก็ปฏิเสธเพราะเป็นผู้ไม่ฆ่าสัตว์ พระนางมาคันทิยาก็ทูลยุแหย่ว่าให้ลองดูต่อไป ให้ลองส่งไก่นั้นไปอีก และสั่งให้จัดการทำ ภัตตาหารถวายพระพุทธเจ้า พระเจ้าอุเทนก็รับสั่งไปอย่างนั้น แต่คราวนี้พระนางมาคันทิยา ก็ได้ลอบสั่งให้ส่งไก่ตายไป พระนางสามาวดีเมื่อได้รับคำสั่งดังนั้น ก็จัดการปรุงภัตตาหารถวายพระพุทธเจ้า พระนางมาคันทิยาทูลยุแหย่ว่าเป็นหลักฐานที่เพียงพอว่า พระนางสามาวดีเอาใจออกห่าง พระเจ้าอุเทนก็ทรงนิ่ง

พระนางมาคันทิยา เมื่อไม่ได้รับความสำเร็จสมประสงค์ ก็คิดการต่อไป ได้สั่งให้มาคันทิยะผู้เป็นลุงจัดหางูพิษส่งมา แต่ว่าให้ถอนเขี้ยวออกเสียเมื่อได้รับมาแล้วก็จัดการใส่เข้าไปในพิณสำหรับดีดเรียกช้างของพระเจ้าอุเทนที่โปรดนำติดพระองค์ไปด้วยเสมอ เมื่อถึงวาระที่พระเจ้าอุเทนเสด็จไปบนตำหนักของพระนางสามาวดี พระนางมาคันทิยาก็ทูลคัดค้านทำนองว่าจะเกิดเหตุร้าย พระเจ้าอุเทนก็ไม่ทรง
เชื่อฟัง ได้ทรงถือพิณคันโปรดปรานนั้นนำติดพระองค์ไปยังตำหนักของพระนางสามาวดีด้วย พระนาง
มาคันทิยาก็ไปด้วย และเมื่อได้เสด็จขึ้นไปบนพระตำหนักนั้นแล้ว พระนางมาคันทิยาก็ลอบเปิดช่องที่พิณ งูก็เลื้อยออก พระนางมาคันทิยาก็ร้องเอะอะขึ้นทูลพระเจ้าอุเทนให้ทรงทราบ พระเจ้าอุเทนเมื่อได้เห็นเรื่องเป็นไปได้ถึงเพียงนั้น ก็กริ้วพระนางสามาวดี รับสั่งให้เรียกเอาธนูและแล่ง ทรงธนูเพื่อจะยิงพระนางสามาวดี แต่พระนางสามาวดีก็แผ่เมตตาจิตไปยังพระเจ้าอุเทนและพระนางมาคันทิยา กับสั่งบริวารให้แผ่เมตตาจิตไปด้วยกัน พระเจ้าอุเทนก็ได้ทรงกลับพระหฤทัย ที่กล่าวว่า เป็นไปด้วยอำนาจของเมตตาจิต และเพราะได้ทรงงุนงงในพระหฤทัย ก็ได้ทรงขอให้พระนางสามาวดีเป็นที่พึ่งต้านทานพระนางสามาวดีขอให้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าและถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง พระเจ้าอุเทนทรงรับและได้รับสั่งประทานพรแก่พระนางสามาวดี ต่อจากนั้นก็ได้เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าและนับถือพระพุทธศาสนา นับถือพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ

เมื่อเสด็จกลับมาแล้ว ก็รับสั่งให้พระนางสามาวดีขอพรที่พระราชทานไว้พระนางสามาวดีก็ทูลว่า ไม่ต้องการพรอย่างอื่น ประสงค์ว่าจักทูลขออนุญาตนิมนต์พระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์มาถวายภัตตาหารในพระราชฐาน และทูลขออนุญาตเพื่อจะฟังธรรม พระเจ้าอุเทนทรงอนุญาตแก่พระนาง
สามาวดี พระนางสามาวดีก็นิมนต์พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์มาถวายภัตตาหารที่ตำหนัก และทูลขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จมาเนืองนิตย์ ในการเลี้ยงพระนี้ พระเจ้าอุเทนก็ได้เสด็จมาทรงร่วมด้วย และได้กราบทูลพระพุทธเจ้าเชิญเสด็จมาประจำเหมือนอย่างนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า ธรรมดาว่าพระพุทธะทั้งหลายจะเสด็จไปในที่แห่งเดียวกันนั้นไม่สมควร เพราะว่าชนเป็นอันมากก็ย่อมมุ่งหวัง พระเจ้าอุเทนก็ขอให้ทรงมอบหมายแก่ภิกษุสักรูปหนึ่ง พระพุทธเจ้าได้ทรงมอบหมายให้เป็นภาระของพระอานนทเถระ ตั้งแต่นั้นพระอานนทเถระได้ไปฉันในราชตระกูล ได้แสดงธรรมแก่คณะพระนางสามาวดีอยู่เป็นประจำ

ฝ่ายพระนางมาคันทิยาเห็นว่า เรื่องที่คิดไว้ไม่สำเร็จทุกครั้ง ก็คิดการที่โหดร้ายยิ่งขึ้น จึงได้ให้ไปตามลุงที่ชื่อว่ามาคันทิยะเข้ามา และได้ร่วมคิดการที่โหดร้ายไว้ ในวันหนึ่ง เมื่อพระเจ้าอุเทนเสด็จออกไปนอกพระนคร มาคันทิยะผู้เป็นลุงของพระนางมาคันทิยา ก็ตรงไปยังตำหนักพระนางสามาวดีได้เปิดคลังผ้า นำเอาผ้าต่างๆ ออกมาพันเสาตำหนักและบริเวณตำหนักของพระนางสามาวดี เอาน้ำมันราด ได้อ้างรับสั่งของพระเจ้าอุเทนว่าให้ปฏิบัติเช่นนั้น และให้คณะของพระนางสามาวดีเข้าไปรวมอยู่ในตำหนักทั้งหมด เสร็จแล้วก็จุดไฟเผาตำหนัก พระนางสามาวดีกับบริวารได้ถูกไฟคลอกสิ้นชีวิตด้วยกันทั้งหมด

ฝ่ายพระเจ้าอุเทน เมื่อได้ทรงทราบข่าวว่าตำหนักพระนางสามาวดีถูกไฟไหม้ก็ได้รีบเสด็จกลับ แต่กลับมาไม่ทัน ต่อมาก็ได้ทรงสอบสวนทราบบุคคลผู้เป็นต้นเหตุและบุคคลผู้ร่วมคิดกระทำการอันนี้ ก็ได้โปรดให้จัดการลงโทษจนถึงตายด้วยวิธีการอันร้ายแรงทั้งหมด

ในขณะที่เกิดเรื่องไฟไหม้ตำหนักคลอกพระนางสามาวดีกับบริวารสิ้นชีวิตนั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงทราบ ได้ทรงเปล่งพระพุทธอุทานขึ้นโดยความว่า  โลกมีโมหะเป็นเครื่องผูกพัน ย่อมปรากฏเหมือนมีรูปที่สมควร คนพาลมีอุปธิคือกิเลสเป็นเครื่องผูกพัน ถูกความมืดแวดล้อม ย่อมปรากฏเหมือนอย่างเป็นผู้ที่มีความเที่ยงอยู่ กิเลสเป็นเครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ที่เห็นอยู่ตามความเป็นจริง

เรื่องตอนพระนางสามาวดีถูกไฟคลอกนี้ ท่านเล่าไว้ในอรรถกถาธรรมบทด้วยว่า เมื่อจะสิ้นชีวิต พระนางสามาวดีได้สอนให้บริวารเจริญเวทนาปริคคหกัมมัฏฐาน คือกัมมัฏฐานที่กำหนดเวทนาเป็นอารมณ์



จากหนังสือ ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า
เล่ม ๓ หน้า ๔๙ - ๕๓

 

<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-align: center;" align="center">&nbsp;<img src="/mag/images/stories/author/sungaracha.png" alt="sungaracha" width="180" height="223" />
</p>
<p>&nbsp;</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-align: center;" align="center">&nbsp;<img src="/mag/images/stories/misc/sangharaja-section.gif" alt="sangharaja-section" style="font-family: Arial, Helvetica, sans-serif; font-size: 1em; font-weight: bold;" width="455" height="50" />
</p>
<p>&nbsp;</p>
<p style="text-align: center;" align="center"><b><span style="font-size: 18pt; line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif; color: black;">๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า</span></b><b><span style="font-size: 18pt; line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif; color: black;"></span></b>
</p>
<p style="text-align: center;" align="center">&nbsp;<b><span style="font-size: 16pt; line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif;">เทศนานิพนธ์</span></b><b><span style="line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif;"><br /> ใน<br /> </span></b><b><span style="font-size: 14pt; font-family: 'Tahoma','sans-serif';">สมเด็จพระญาณสังวร<br /> สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก</span></b><span style="line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif; color: black;"></span>
</p>
<p style="text-align: center;" align="center"><b><span style="font-size: 14pt; font-family: 'Tahoma', 'sans-serif';"></span></b><span style="font-size: 14pt; font-family: 'Tahoma', 'sans-serif';"><b><span style="font-family: 'Tahoma', 'sans-serif';"><span style="line-height: 115%; font-family: 'Tahoma', 'sans-serif';">เล่ม ๓<br />(พรรษาที่ ๘ – พรรษาที่ ๙)</span></span> </b> </span>
</p>
<p style="text-align: center;" align="center">&nbsp;</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">ได้เล่าพระราชประวัติของพระเจ้าอุเทน พระราชาแห่งวังสรัฐมาแล้ว จะเล่าถึงพระมเหสี ๓ พระองค์ของพระเจ้าอุเทน เพราะมีเรื่องที่เกี่ยวพันอยู่กับประวัติพระพุทธศาสนาด้วย</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พระมเหสีองค์ที่ ๑ พระนามว่า <b>สามาวดี </b>เป็นธิดาบุญธรรมของโฆสกเศรษฐี พระนางสามาวดีองค์นี้เป็นธิดาของเศรษฐีในเมืองภัททวตี แต่ภายหลังเศรษฐีตระกูลนี้ถึงวิบัติ ในตอนสุดท้ายก็วิบัติด้วยโรค ซึ่งเรียกในคัมภีร์ว่าอหิวาตกโรค โรคอย่างนี้เมื่อเกิดขึ้นกล่าวว่า พวกแมลงวันแมลงต่างๆ และหนูตายก่อน จนถึงพวกไก่ สุกร และสัตว์ใหญ่ๆ ที่เป็นสัตว์เลี้ยงและสัตว์ในบ้านจนถึงคน ผู้ที่ต้องการจะรอดพ้นก็จะต้องทิ้งบ้านเรือนหนีไปที่อื่น</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">เมื่อโรคเกิดขึ้น เศรษฐีในเมืองภัททวตีนั้นพร้อมกับภริยาและธิดา ก็หนีไปกรุงโกสัมพี เพื่อจะไปอาศัยโฆสกเศรษฐี ซึ่งเป็นสหายที่ไม่เคยเห็นกัน คือต่างได้ยินชื่อเสียงของกันก็ส่งบรรณาการไปให้แก่กัน นับถือกัน แต่เศรษฐีกับภริยาได้ถึงแก่กรรมที่ศาลาพักคนที่กรุงโกสัมพี จึงเหลือแต่ธิดา ธิดาของภัททวตีเศรษฐีได้ไปขออาหารที่โรงทานของโฆสกเศรษฐี ได้พบกับผู้จัดการโรงทานชื่อว่า <b>มิตตกุฎุมพี </b>เมื่อผู้จัดการโรงทานได้ถามทราบเรื่อง ก็รับเอาธิดาของภัททวตีเศรษฐีไปเลี้ยงเป็นบุตรีบุญธรรม</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">โรงทานของโฆสกเศรษฐีนั้น โดยปกติมีเสียงอื้ออึงเพราะคนแย่งกันเข้าแย่งกันออก ธิดาของภัททวตีเศรษฐีจึงได้แนะนำให้ทำรั้วกั้นและทำประตู ๒ ประตู สำหรับคนเข้าประตู ๑ สำหรับคนออกประตู ๑ เมื่อได้จัดดั่งนี้การแย่งกันเข้าออกก็หายไป เสียงอื้ออึงจึงได้สงบ เพราะฉะนั้น นางจึงได้ชื่อว่า สามาวตี เดิมชื่อว่า สามา เมื่อมาแนะให้สร้างรั้วขึ้น ก็มีคำว่า วตี เพิ่มเข้าต่อท้ายชื่อเก่า เพราะวตีแปลว่ารั้ว เรียกรวมกันว่า <b>สามาวตี </b>หรือ<b> สามาวดี</b></span><b><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span></b>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">ฝ่ายโฆสกเศรษฐีเคยได้ยินเสียงอื้ออึง เมื่อไม่ได้ยินเสียงก็สอบถามว่ายังให้ทานอยู่หรือ ทำไมเสียงจึงเงียบไป เมื่อผู้จัดการโรงทานได้เรียนให้ทราบพร้อมทั้งได้เรียนให้ทราบถึงเรื่องนางสามาวดีซึ่งเป็นต้นคิดให้สร้างรั้ว โฆสกเศรษฐีจึงได้ขอรับเอานางสามาวดีไปอุปการะเป็นบุตรีบุญธรรมเพราะเป็นธิดาของเพื่อน ต่อมา เมื่อถึงวันมหรสพที่เป็นธรรมเนียมว่า กุลธิดาที่โดยปกติไม่ออกไปข้างไหนก็จะออกไปยังแม่น้ำและอาบน้ำเล่นน้ำเป็นการเล่นมหรสพ พระเจ้าอุเทนได้ทอดพระเนตรเห็น ก็ทรงเกิดความสิเนหา ทรงขอเข้าไปตั้งไว้เป็นพระมเหสี</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พระมเหสีองค์ที่ ๒ พระนามว่า <b>วาสุลทัตตา </b>เป็นพระราชธิดาของ<b> พระเจ้าปัชโชต </b>กรุงอุชเชนี เรื่องที่พระเจ้าอุเทนจะได้พระนางวาสุลทัตตานี้มีว่า พระเจ้าปัชโชตได้ทรงคิดจะยกกองทัพไปตีกรุงโกสัมพี ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ มีสมบัติมาก แต่พวกเสนาบดีทั้งหลายได้ทูลคัดค้านว่า พระเจ้าอุเทนทรงมีมนต์ที่เรียกช้างได้ และมีพาหนะแข็งแรง มีกำลังมั่นคง การยกกองทัพไปตีจะไม่สำเร็จ และก็ได้ทูลแนะอุบายให้ว่า พระเจ้าอุเทนทรงโปรดช้าง เพราะฉะนั้น ก็ให้สร้างช้างยนต์ให้ใหญ่และให้มีคนอยู่ในท้องได้ แล้วชักช้างยนต์นั้นให้เดินไปเดินมา กับวางกำลังพลซุ่มไว้ พระเจ้าปัชโชตก็ทรงปฏิบัติตาม</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พรานป่าได้เห็นช้างยนต์นั้น ก็มาทูลพระเจ้าอุเทน พระเจ้าอุเทนก็ทรงยกกองทหารออกไปเพื่อจะจับช้าง เมื่อไปพบช้างยนต์แต่ไกล ก็ทรงร่ายมนต์เรียกช้าง แต่ว่าช้างยนต์นั้นก็ไม่ฟังมนต์ เดินหนีไป พระเจ้าอุเทนก็ทรงม้าวิ่งตามช้างไปแต่พระองค์เดียว จนเข้าไปในที่มีกำลังพลของฝ่ายกรุงอุชเชนีซุ่มอยู่ พระเจ้าอุเทนก็ถูกทหารของกรุงอุชเชนีล้อมจับไปได้ แล้วก็นำไปถวายพระเจ้าปัชโชต พระเจ้าปัชโชตก็โปรดให้ขังไว้ และก็ฉลองชัยชนะด้วยการทรงดื่มสุราบาน</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พระเจ้าอุเทนเมื่อถูกขังอยู่หลายวัน ก็รับสั่งขึ้นว่า จับข้าศึกมาได้แล้วก็ควรจะปล่อยหรือควรประหารเสีย ทำไมจึงทิ้งไว้อย่างนี้ คนก็ไปทูลพระเจ้าปัชโชต พระเจ้าปัชโชตก็เสด็จมาที่คุมขัง และได้รับสั่งว่าจะปล่อย แต่ให้พระเจ้าอุเทนบอกมนต์ให้ พระเจ้าอุเทนก็ทูลว่าจะบอกถวายได้ แต่ว่าพระเจ้าปัชโชตต้องทรงไหว้ครูเสียก่อน พระเจ้าปัชโชตก็ไม่ทรงยอมที่จะทรงไหว้พระเจ้าอุเทน พระเจ้าอุเทนก็ไม่ทรงยอมบอกมนต์ให้ พระเจ้าปัชโชตก็ตรัสว่าถ้าไม่บอกก็จะฆ่า พระเจ้าอุเทนก็ทูลตอบว่า ฆ่าก็ฆ่า เพราะพระเจ้าปัชโชตนั้นในบัดนี้ก็ทรงเป็นใหญ่แห่งสรีรกาย แต่ว่าก็ไม่ทรงเป็นใหญ่แห่งจิต พระเจ้าปัชโชตจึงได้ทรงคิดว่า ทำอย่างไรจึงจะให้พระเจ้าอุเทนทรงบอกมนต์ได้ ทรงนึกถึงพระราชธิดาก็รับสั่งขึ้นว่า ในพระราชวังนี้ได้มีผู้หญิงหลังค่อมอยู่คนหนึ่ง จะให้หญิงหลังค่อมนี้มาเรียนมนต์และก็จะให้ไหว้ แต่ว่าก็จะต้องกั้นม่านไว้ ให้เรียนกันอยู่ภายในม่าน พระเจ้าอุเทนก็ทรงยินยอม พระเจ้าปัชโชตก็เสด็จไปหาพระราชธิดา และได้ตรัสบอกว่า ได้มีบุรุษง่อยเปลี้ยจนถึงกับต้องเดินถัดไปเหมือนอย่างหอยสังข์เดินอยู่คนหนึ่ง รู้มนต์จับช้าง จะให้พระราชธิดาไปเรียนมนต์นั้นแล้วให้มาบอกแก่พระองค์ เมื่อจะเริ่มเรียนต้องไหว้ครู แต่ต้องไหว้อยู่ภายในม่าน พระราชธิดาก็ทรงยินยอม ได้มีการจัดให้มีการเรียนมนต์โดยกั้นม่านไว้ พระราชธิดาก็เรียนอยู่ภายในม่าน พระเจ้าอุเทนก็ทรงบอกอยู่ภายนอกม่าน วันหนึ่ง พระราชธิดาทรงเรียนมนต์ก็ไม่อาจที่จะจำได้ พระเจ้าอุเทนกริ้ว ก็รับสั่งขึ้นว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">“<span>ปากของเจ้าหนานัก จะท่องบ่นมนต์เท่านี้ก็ไม่ได้ เจ้านางค่อม</span>”</span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พระราชธิดาก็กริ้ว เพราะถูกเรียกว่าค่อม ก็รับสั่งขึ้นมาว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">“<span>เจ้าคนโรคเรื้อน ทำไมจึงมากล่าวขึ้นเช่นนี้</span>”</span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">เมื่อต่างกริ้วซึ่งกันและกันดังนี้แล้ว ก็เลิกม่านขึ้น และเมื่อต่างทรงเห็นซึ่งกันและกันก็เลยเกิดเรื่องอื่นขึ้นแทน เรื่องการเรียนมนต์ก็เป็นอันยุติลงเพียงแค่นี้</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">มนต์จับใจช้างนั้น ไม่เหมือนอย่างมนต์ที่จับใจคน เรื่องนี้ได้มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้ว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"> “<span>ยังไม่ทรงเห็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่จะครอบงำจิตบุรุษได้ยิ่งไปกว่ารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะของหญิง</span>” <span>และในทางตรงกันข้าม ก็มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้อีกว่า</span> “<span>ยังไม่ทรงเห็น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอื่นที่ครอบงำจิตของหญิงได้ยิ่งไปกว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะของบุรุษ</span>”</span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">เมื่อเรื่องเป็นเช่นนี้ พระเจ้าอุเทนกับพระนางวาสุลทัตตาก็คิดอ่านที่จะพากันหนี เมื่อพระราชบิดารับสั่งถามว่าเรียนมนต์ไปได้แค่ไหน พระราชธิดาก็ทูลว่าเรียนไปได้เท่านั้นเท่านี้ และเมื่อจะจบมนต์ จำจะต้องไปเก็บโอสถตามสัญญาของดาวฤกษ์ เพราะฉะนั้น ก็ขอพระราชทานพาหนะช้างฝีเท้าเร็ว กับขอพระราชทานอนุญาตที่จะออกไปนอกเมืองได้ทุกเวลา พระราชบิดาก็ทรงอนุญาต ต่อมาวันหนึ่งพระเจ้าปัชโชตเสด็จออกไปประพาสภายนอกเมือง พระเจ้าอุเทนกับพระนางวาสุลทัตตาก็ขึ้นพาหนะช้างพากันหนีไป และได้บรรจุเงินบรรจุทองใส่กระสอบขึ้นช้างไปด้วย เมื่อพระเจ้าปัชโชตทรงทราบ ทรงสั่งให้ทหารติดตาม พระเจ้าอุเทนก็ทรงเทกระสอบเงิน และต่อมาก็ทรงเทกระสอบทองลง พวกผู้คนก็พากันแย่งเงินแย่งทอง พระเจ้าอุเทนก็หนีออกไปได้จนเข้าถึงเขตเมืองโกสัมพี แล้วก็ได้ทรงตั้งพระนางวาสุลทัตตาเป็นพระมเหสีอีกองค์หนึ่ง</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">องค์ที่ ๓ ชื่อว่า <b>มาคันทิยา </b>องค์นี้มีเรื่องเกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนามาก เป็นธิดาของพราหมณ์ในรัฐกุรุอยู่ใกล้กันนั้น และท่านแสดงว่านางมาคันทิยานี้มีรูปร่างงดงามมาก บิดาไม่ปรารถนาจะยกให้แก่ใคร ต้องการจะยกให้บุคคลผู้ที่มีลักษณะเป็นมหาบุรุษ ต่อมาบิดาได้พบพระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จไปยังแคว้นกุรุนั้น ได้เพ่งพิศพระลักษณะ เห็นว่าประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ก็มีความเลื่อมใสและปรารถนาที่จะยกลูกสาวของตนถวาย จึงได้ทูลให้ทรงทราบความประสงค์ของตน พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ตรัสว่าอย่างไร</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">ฝ่ายพราหมณ์ก็รีบไปชวนนางพราหมณีผู้ภริยากับธิดา มายังที่ที่ได้พบพระพุทธเจ้านั้น แต่ว่าไม่ได้พบพระองค์ทรงยืนอยู่ ณ ที่นั้น พบแต่รอยพระบาท พราหมณ์ก็บอกแก่นางพราหมณีผู้ภริยาว่า นี้แหละเป็นรอยเท้าของบุรุษผู้นั้น นางพราหมณีได้พิจารณาดูรอยเท้าก็เห็นว่า รอยเท้านี้ไม่ใช่รอยเท้าของบุคคลผู้บริโภคกาม จึงได้บอกแก่พราหมณ์ผู้สามี พร้อมทั้งได้แสดงลักษณะของรอยเท้าไว้โดยความว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">รอยเท้าของคนที่ยังมีราคะเป็นรอยเท้ากระโหย่ง รอยเท้าของคนที่มีโทสะเป็นรอยเท้าที่มีลักษณะส้นบีบ รอยเท้าของคนหลงมีลักษณะที่กดลง ส่วนรอยเท้าเช่นนี้เป็นรอยเท้าของคนที่มีหลังคาเปิด หมายความว่าเป็นคนสิ้นกิเลสแล้ว</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">แต่ว่าพราหมณ์ไม่เชื่อ จึงได้พยายามเดินตามหา ก็ได้พบพระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับอยู่ในที่อีกแห่งหนึ่งที่ใกล้กัน ก็ได้กราบทูลว่า ได้นำธิดามาถวาย พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสที่ท่านแสดงไว้โดยปุคคลาธิษฐานว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"> “<span>ได้ทรงเห็นนางตัณหา นางอรดี นางราคา ซึ่งเป็นธิดามารผู้งดงามอย่างยิ่ง ก็ยังไม่ทรงพอพระหฤทัย ไฉนจะมาทรงพอพระหฤทัยกับนางธิดาของพราหมณ์นี้ ซึ่งเต็มไปด้วยมูตรแลกรีส</span>”</span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">นางมาคันทิยาซึ่งเป็นธิดาของพราหมณ์ได้ฟังดั่งนี้ก็มีความโกรธ และผูกอาฆาตในพระพุทธเจ้าตั้งแต่บัดนั้น ด้วยคิดว่าถ้าพระองค์ไม่ทรงประสงค์นาง ก็บอกว่าไม่ต้องการ ไฉนจึงจะมารับสั่งว่าเต็มไปด้วยมูตรและกรีส</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">ฝ่ายพราหมณ์และพราหมณี ซึ่งเป็นบิดามารดาของนางได้มีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ก็ได้ขอบวชเป็นภิกษุและภิกษุณี แต่ก่อนที่จะบวชก็ได้ฝากนางมาคันทิยาไว้กับลุงชื่อว่ามาคันทิยะ ต่อมามาคันทิยะผู้เป็นลุงก็ได้นำนางมาคันทิยาไปถวายพระเจ้าอุเทน พระเจ้าอุเทนก็ทรงรับไว้เป็นพระมเหสีอีกองค์หนึ่ง<br /><br /><br /> </span><span></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"><br />จากหนังสือ ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า<br />เล่ม ๓ หน้า ๓๕ – ๔๐</span>
</p>