Print

แสงส่องใจ - ฉบับที่ ๓๑๔

 sungaracha

 

 sangharaja-section

 

๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า

 เทศนานิพนธ์
ใน
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก

เล่ม ๓
(พรรษาที่ ๘ – พรรษาที่ ๙)

 

 

ประวัติโฆสกเศรษฐี

 

 อนึ่ง ควรทราบเรื่องของโฆสกเศรษฐีที่เล่าไว้โดยความว่า โฆสกเศรษฐี นั้น ตามประวัติเป็นบุตรของหญิงนครโสเภณีในกรุงโกสัมพี เมื่อคลอดออกมาแล้วก็ได้ถูกให้นำเอาไปทิ้ง เพราะว่าหญิงนครโสเภณีนั้น โดยปกติเลี้ยงแต่ลูกหญิง แต่ถ้าบังเอิญมีลูกเป็นชายก็ไม่เลี้ยง ได้มีผู้ไปพบเด็กถูกทิ้งไว้ มีกาและสุนัขล้อมอยู่เป็นอันมาก ก็ได้เก็บเอาไปเลี้ยงไว้

ในวันนั้น เศรษฐีของกรุงโกสัมพี ได้ไปเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินโดยปกติได้พบกับปุโรหิตได้ถามขึ้นว่า ดูดาวฤกษ์บ้างหรือเปล่าเป็นอย่างไรบ้างปุโรหิตก็บอกว่า ดูเหมือนกัน เศรษฐีก็ถามขึ้นว่า มีเรื่องอะไรบ้าง ปุโรหิตก็บอกว่า เรื่องอะไรอื่นก็ไม่มี แต่ว่าเด็กที่เกิดในวันนี้ จักเป็นเศรษฐีใหญ่ของนคร เศรษฐีได้ฟังดังนั้นก็รีบให้ไปสืบดูว่า ภริยาของตนที่มีครรภ์แก่คลอดหรือยัง ก็ได้รับตอบว่า ยังไม่คลอด จึงได้ใช้ทาสีชื่อว่ากาลีให้ไปเที่ยวค้นหาว่ามีเด็กคนไหนเกิดในวันนี้บ้างหรือไม่ นางกาลีก็เที่ยวค้นไป จึงได้พบเด็กที่มีบุคคลผู้หนึ่งเก็บมาเลี้ยงไว้ดั่งกล่าวนั้น จึงได้ขอซื้อมามอบให้แก่เศรษฐี เศรษฐีเห็นว่าเป็นผู้ชาย จึงตั้งใจไว้ว่า ถ้าลูกของเราคลอดออกมาเป็นผู้หญิง ก็จะตบแต่งให้เป็นภริยาสามีกัน แต่ถ้าลูกของตนเกิดมาเป็นผู้ชายก็จะฆ่าเด็กนี้เสีย

ต่อมาภริยาของเศรษฐีก็คลอดบุตรออกมาเป็นชาย เศรษฐีจึงคิดที่จะฆ่าเด็กที่ซื้อมานั้น ได้ใช้ให้นางกาลีนำ เอาเด็กไปวางที่ประตูคอกโค เพื่อว่าในตอนเช้า เมื่อโคออกจากคอกก็จะได้เหยียบเด็ก แต่ครั้นถึงเวลาโคออกจากคอก โคที่เป็นหัวหน้าฝูงก็ได้ไปยืนคร่อมเด็กไว้ ให้โคตัวอื่น ๆ เดินหลีกไป

เด็กจึงรอดได้ นางกาลีก็ต้องนำเด็กกลับมาเศรษฐีก็ใช้วิธีใหม่ ให้นำเด็กไปวางไว้ที่ทางเกวียนเพื่อจะให้เกวียนที่ออกแต่เช้ามืดบดทับไป แต่เมื่อถึงเวลาที่เกวียนออกในเวลาเช้ามืด โคที่เทียมเกวียนคันหน้า เมื่อไปถึงที่นั่นก็สลัดแอกออก และเมื่อได้ถูกเทียมเข้าใหม่ก็หยุดนิ่งไม่ยอมไป จนเวลาเช้าขึ้น คนขับเกวียนซึ่งเป็นหัวหน้าของหมู่เกวียนนั้นจึงได้เห็นเด็ก แล้วก็เก็บเด็กไป นางกาลีต้องไปตามซื้อเอาเด็กนั้นคืนมาใหม่

คราวนี้เศรษฐีใช้ให้เอาไปทิ้งบนกอไม้ในป่าช้าผีดิบ ต้องการจะให้สัตว์ทั้งหลายมีสุนัขเป็นต้นที่มากินศพทำร้าย แต่เมื่อเอาเด็กไปทิ้งแล้ว ก็ไม่มีสัตว์อะไรทำ ร้าย คนเลี้ยงแพะได้ไปเห็นเข้าก็ได้เก็บเอาเด็กนั้นไปเลี้ยง ฝ่ายนางกาลีได้กลับมาบอกเศรษฐี เศรษฐีก็ให้นางกาลีไปซื้อเอาเด็กนั้นกลับมาอีก

คราวนี้เศรษฐีได้ให้นางกาลีเอาไปโยนภูเขาทิ้ง เมื่อนางกาลีได้นำเด็กไปโยนภูเขาทิ้ง เด็กก็เผอิญไปตกบนกอไม้ที่คลุมอยู่บนกอไผ่ใหญ่ คนตัดไม้ไผ่เพื่อนำไปจักสาน ไปพบเข้าก็เก็บเอาไปเลี้ยงไว้ เศรษฐีได้ทราบก็ให้นางกาลีไปซื้อเอากลับคืนมาอีก ฝ่ายเด็กก็โตขึ้นโดยลำดับ

คราวนี้เศรษฐีได้คิดการให้โหดร้ายยิ่งขึ้น คือได้ไปพบกับนายช่างหม้อบอกว่าได้มีอวชาตบุตรอยู่คนหนึ่ง จะส่งมา เมื่ออวชาตบุตรนั้นมาแล้ว ก็ให้นายช่างหม้อจับฟันเสียให้เป็นท่อนเล็กท่อนใหญ่แล้วใส่ลงไปในตุ่ม แล้วเอาเข้าเผาในเตาเผาหม้อจะให้รางวัลให้คุ้มค่าในภายหลัง นายช่างหม้อก็รับคำ

เศรษฐีจึงได้เรียกเด็กโฆสกะและสั่งให้ไปพบนายช่างหม้อ ให้นำคำไปว่าตามที่สั่งให้ทำ กิจไว้อย่างหนึ่งนั้นจงทำให้สำเร็จ โฆสกะจึงได้เดินไปเพื่อจะไปยังบ้านของนายช่างหม้อ ก็พอดีไปพบเอาบุตรของเศรษฐีเองซึ่งกำลังเล่นขลุบอยู่กับเพื่อน บุตรของเศรษฐีนั้นเล่นแพ้มาเป็นอันมาก จึงขอให้โฆสกะช่วยเล่นแก้ เพราะว่าโฆสกะนั้นเป็นผู้ชำ นาญในการเล่นชนิดนี้ โฆสกะก็อ้างว่าได้รับคำสั่งให้ไปหานายช่างหม้อ บุตรของเศรษฐีก็รับว่าจะไปแทน โฆสกะก็กำชับว่าต้องบอกตามที่พ่อได้สั่งไว้ มิฉะนั้นก็จะเป็นการผิดคำสั่ง เมื่อลูกของเศรษฐีรับคำแข็งแรง จึงยอมอยู่เล่นขลุบแทนลูกของเศรษฐี ลูกของเศรษฐีก็ได้ไปยังบ้านของช่างหม้อ และได้นำคำที่เศรษฐีสั่งไว้บอกแก่นายช่างหม้อ

นายช่างหม้อก็จับเอาลูกของเศรษฐีนั้นทำเหมือนอย่างที่เศรษฐีได้สั่งไว้ในตอนเย็นวันนั้น โฆสกะก็กลับไปบ้าน เศรษฐีถามว่าทำไมจึงไม่ไป โฆสกะก็เล่าให้ฟัง เศรษฐีเมื่อได้ยินดังนั้นก็มีความตกใจเป็นกำลัง ได้รีบไปหานายช่างหม้อ นายช่างหม้อก็รีบออกมารับหน้า บอกว่าได้ปฏิบัติตามที่เศรษฐีสั่งไว้เรียบร้อยแล้ว

เรื่องนี้แสดงว่า การประทุษร้ายแก่บุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายนั้นย่อมมีผลสนอง ดั่งได้มีพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ แปลความว่า

บุคคลผู้ประทุษร้ายในบุคคลผู้มิได้ประทุษร้าย ผู้ไม่มีอาชญาด้วย อาชญา ย่อมบรรลุถึงฐานะทั้ง ๑๐ ฐานะใดฐานะหนึ่งพลันทีเดียว คือ
. เวทนาที่เผ็ดร้อน
. ความเสื่อม
. ความทำ ลายแห่งสรีระ
. อาพาธที่หนัก
. ความฟุ้งซ่านแห่งจิต
. อุปสรรคจากพระเจ้าแผ่นดินหรือบ้านเมือง
. การกล่าวตู่ที่ทารุณ
. ความเสื่อมสิ้นแห่งญาติทั้งหลาย
. ความย่อยยับแห่งโภคะทั้งหลาย
๑๐
. ไฟไหม้บ้าน
และผู้นั้นเมื่อกายแตกทำ ลายตายไปแล้วย่อมเข้าถึงนิรยะ คือภพที่ไร้ความเจริญ

เศรษฐีนั้นแม้จะเสียบุตรไปเพราะการคิดทำลายโฆสกะ ก็ยังไม่ยอมหยุดยั้ง ยังคิดต่อไปอีก จึงได้เขียนหนังสือถึงผู้จัดการเก็บส่วยในหมู่บ้านของเศรษฐีแห่งหนึ่ง สั่งให้ผู้จัดการเก็บส่วยนั้นฆ่าอวชาตบุตรที่ส่งไป แล้วให้ทิ้งไปในหลุมวัจจะให้เป็นการมิดชิด แล้วจะตอบแทนการกระทำนี้ในภายหลัง ได้ผูกหนังสือนี้ไว้ที่ชายผ้าของโฆสกะเอง สั่งให้โฆสกะเดินทางไป โฆสกะนั้นอ่านหนังสือไม่ออกก็ไม่ทราบข้อความว่าเขียนอย่างไร โฆสกะได้ขอเสบียงเดินทาง เศรษฐีก็บอกว่าได้มีเพื่อนเศรษฐีอยู่คนหนึ่งในระหว่างทาง ให้ไปพักที่นั้น ไม่ต้องนำเสบียงไป โฆสกะก็เดินทางไป เมื่อไปถึงบ้านของเศรษฐีผู้สหายของเศรษฐีผู้บิดาเลี้ยง ก็ได้แวะเข้าไปขอพัก

ฝ่ายภริยาของเศรษฐีนั้น เมื่อได้สอบถาม ทราบว่าเป็นโฆสกะซึ่งเป็นบุตรของเศรษฐีในกรุงโกสัมพี ก็ยินดีรับรองและจัดที่ให้พักเป็นที่สุขสบาย ในการจัดรับรองนั้น ก็ได้ใช้ทาสีของธิดาให้เป็นผู้ทำ เมื่อทาสีของธิดาเศรษฐีจัดเสร็จแล้วก็ได้กลับไปทำกิจให้แก่ธิดาเศรษฐี ฝ่ายธิดาเศรษฐีก็ว่ากล่าว เพราะใช้ให้ไปทำกิจอย่างหนึ่งแต่มัวไปชักช้าอยู่ ทาสีก็เล่าความให้ฟังว่าโฆสก ซึ่งเป็นเศรษฐีหนุ่มในกรุงโกสัมพีมาพัก และภริยาของเศรษฐีคือมารดาของธิดาเศรษฐีนั้นเป็นผู้ใช้ให้จัดรับรอง

ธิดาเศรษฐี เมื่อได้ฟังชื่อว่าโฆสกะ ก็เกิดความสนใจและเกิดความพอใจขึ้นทันที ในเรื่องนี้ได้มีพระพุทธภาษิตบทหนึ่งแสดงไว้ว่า

ความรักนั้น ย่อมเกิดด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ ด้วยบุพเพสันนิวาสความเคยอยู่ร่วมกันมาแต่ปางก่อน และด้วยการเกื้อกูลกันในปัจจุบัน เหมือนอย่างดอกอุบลอาศัยน้ำ และเปือกตมเกิดเจริญขึ้นในน้ำ ฉะนั้น

ธิดาเศรษฐีเมื่อเกิดความสนใจโฆสกะแล้ว ก็ได้ลอบลงมายังห้องที่โฆสกะพัก ได้เห็นโฆสกะนอนหลับและเห็นหนังสือที่ผูกอยู่ที่ชายผ้า ก็แก้เอาหนังสือนั้นมาอ่าน เมื่อทราบความในหนังสือนั้นแล้วก็ตกใจว่า ไฉนจึงได้โง่เขลาจนถึงผูกหนังสือที่สั่งให้ฆ่าตัวเองมาดั่งนั้น จึงได้ไปเขียนหนังสือขึ้นใหม่ แก้ข้อความเสียใหม่ว่า ให้ผู้จัดการเก็บส่วยนั้น จัดการสู่ขอและตบแต่งโฆสกะกับธิดาของเศรษฐีในบ้านนั้น ให้จัดการปลูกเรือนหอและจัดทรัพย์สมบัติให้โดยครบถ้วน

วันรุ่งขึ้น โฆสกะก็เดินทางต่อไปถึงบ้านของผู้จัดการเก็บส่วย ก็ได้ยื่นหนังสือนั้นให้ ผู้จัดการเก็บส่วยก็ได้จัดการให้เป็นไปตามหนังสือที่เขียนไว้นั้นทุกประการ

ต่อมา เมื่อเศรษฐีในกรุงโกสัมพีทราบข่าวดั่งนั้นก็ยิ่งมีความเสียใจเพราะที่คิดว่าจะให้ทำ อย่างไรก็ไม่เป็นตามที่คิดสักอย่าง และตนก็ต้องเสียบุตรไปด้วย มีความเสียใจมากขึ้นจนถึงล้มป่วยลง เมื่อป่วยหนัก ก็ส่งคนไปให้ตามโฆสกะมาพบ แต่ว่าผู้ที่มาตามนั้นก็มาพบกับภริยาของโฆสกะก่อน ภริยาของโฆสกะก็รับรองและเก็บความไว้ ยังไม่บอกแก่โฆสกะผู้สามี ต่อมาเมื่อเศรษฐีมีอาการเพียบหนัก ส่งคนมาให้ตามอีก ภริยาของโฆสกะจึงได้บอกแก่โฆสกะแล้วได้พากันไปพบ ในขณะที่ไปพบนั้น ภริยาก็ให้โฆสกะผู้สามียืนอยู่ที่เท้า ส่วนตนเองยืนอยู่ค่อนมาทางศีรษะของเศรษฐี ฝ่ายเศรษฐีปรารถนาที่จะพูดว่า จะไม่ยกสมบัติให้ แต่ก็พูดออกมาได้ยินแต่เพียงว่า ให้ภริยาของโฆสกะก็รีบแสดงอาการเศร้าโศก ซบศีรษะที่อกของเศรษฐีซึ่งกำลังป่วยหนัก เศรษฐีก็สิ้นชีวิตลงในขณะนั้น

เมื่อเศรษฐีสิ้นชีวิตแล้ว พระเจ้าอุเทนทรงทราบก็ได้โปรดให้ทำสรีรกิจของเศรษฐี และได้รับสั่งให้โฆสกะผู้บุตรของเศรษฐีมาเฝ้าเพื่อจะทรงแต่งตั้งให้เป็นเศรษฐี วันนั้นฝนตก น้ำฝนขังนองท้องพระลานหลวง เมื่อโฆสกะเข้าไปเฝ้าก็กระโดดข้ามไป แต่เมื่อเข้าไปเฝ้าและได้รับพระราชกำหนดว่าจักทรงแต่งตั้งเป็นเศรษฐี ก็เดินออกมาโดยเรียบร้อย พระเจ้าอุเทนทอดพระเนตรทางช่องพระแกล ทอดพระเนตรเห็นดั่งนั้นก็ทรงเรียกเข้าไปอีกรับสั่งถามว่า เมื่อขาเข้ามากระโดดโลดเต้นเข้ามา เมื่อขาออกไป เดินออกไปอย่างเรียบร้อย เพราะเหตุไร? โฆสกะก็กราบทูลว่า เมื่อตอนที่เข้ามานั้นยังมิได้รับกำหนดฐานันดร ยังเป็นเด็ก จึงปฏิบัติอาการอย่างเด็กได้ แต่ว่าเมื่อได้รับกำหนดฐานันดรเป็นผู้ใหญ่ขึ้นแล้ว ก็ต้องแสดงอาการของผู้ใหญ่ พระเจ้าอุเทนก็โปรดว่าเป็นผู้มีสติปัญญา ก็ได้โปรดพระราชทานตำแหน่งเศรษฐีในเวลานั้นทีเดียว

เมื่อโฆสกเศรษฐีกลับบ้าน ภริยาได้แย้มสรวล เพราะได้คิดว่า โฆสกะรอดตายมาเพราะความคิดของตน โฆสกะได้เห็นอาการเช่นนั้นก็ได้คาดคั้นถาม ภริยาได้บอกให้ทราบ โฆสกะก็ยังไม่เชื่อ ภริยาก็อ้างทาสีที่ชื่อว่ากาลีเป็นพยาน นางกาลีก็ได้แจ้งให้โฆสกะทราบโดยตลอด โฆสกะเมื่อได้ทราบดั่งนั้นก็มีความสังเวชใจ ได้ตั้งโรงทานบริจาคอาหารเป็นต้นแก่คนกำพร้าและคนเดินทางเป็นต้น คนจัดการโรงทานชื่อว่า มิตตกุฎุมพี และที่โรงทานนี้เองพระนางสามาวดีได้เข้าไปขออาหาร จนถึงโฆสกเศรษฐีได้รับเข้าไปเป็นบุตรีบุญธรรมตามที่เล่ามาแล้ว

จะได้เล่าเรื่องเกี่ยวแก่พระพุทธศาสนาในกรุงโกสัมพีต่อไป เมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จประทับจำพรรษาในกรุงโกสัมพีนั้น เศรษฐีทั้ง ๓ มีโฆสกเศรษฐีเป็นต้น ได้ถวายอุปการะผลัดเปลี่ยนกันโดยตลอด นายช่างดอกไม้ที่เรียกว่านายมาลาการ ชื่อว่า สุมนะ เป็นอุปัฏฐาก คือผู้ช่วยรับทำการงานของเศรษฐีทั้ง ๓ ได้ขออนุญาตนิมนต์พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ไปเสวยและฉันภัตตาหารในวันหนึ่ง และโดยปกติ พระเจ้าอุเทนได้พระราชทานมูลค่าดอกไม้ให้แก่พระมเหสีทั้ง ๓ นั้น สำหรับซื้อดอกไม้เป็นประจำวัน นางทาสีหรือข้าหลวงของพระนางสามาวดี ชื่อว่า ขุชชุชตรา เป็นผู้มาซื้อดอกไม้ของนายสุมนะเป็นประจำ ในวันนั้นเมื่อมาซื้อดอกไม้ นายสุมนะก็ชักชวนให้อยู่ช่วยเลี้ยงพระและฟังธรรมด้วยกันก่อน เมื่อได้ทำการเลี้ยงพระเสร็จแล้วพระพุทธเจ้าก็ได้ทรงอนุโมทนา

ธรรมเนียมอนุโมทนาในสมัยนั้นมีกล่าวไว้ว่า โดยปกติ เมื่อทายกต้องการจะฟังอนุโมทนาจากพระรูปใด ก็รับบาตรของพระรูปนั้นไว้ และพระรูปอื่นก็กลับไปก่อน พระที่อยู่เพื่ออนุโมทนานั้นก็กล่าวอนุโมทนา อนุโมทนานั้นก็คือแสดงธรรมนั่นเอง แต่เป็นแสดงธรรมอย่างย่อๆ ดังบทอนุโมทนาที่ติดมาใช้สวดในบัดนี้ ก็มีหลายบทที่มีเนื้อความเป็นการแสดงธรรม แต่บทอนุโมทนาที่แต่งประกอบในภายหลังที่ลังกา เป็นบทให้พรเป็นส่วนมาก

ในวันนั้น นายสุมนะก็ได้รับบาตรของพระพุทธเจ้าไว้ แสดงว่ามุ่งจะให้พระพุทธเจ้าประทับอยู่อนุโมทนาคือแสดงธรรม พระพุทธเจ้าก็ได้ทรงแสดงธรรมเป็นการอนุโมทนา นางขุชชุชตราได้พลอยฟังด้วย ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม ในวันอื่นๆ นางขุชชุชตราได้ยักเอาค่าดอกไม้ไว้ครึ่งหนึ่ง แต่ในวันนั้นได้ซื้อดอกไม้เต็มราคา ได้นำไปมอบแก่พระนางสามาวดี เมื่อได้ถูกซักถามว่าวันนี้ทำไมดอกไม้จึงมาก นางขุชชุชตราก็รับตามความเป็นจริง และว่า ไม่ทำเหมือนอย่างเก่าก็เพราะได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า พระนางสามาวดีก็ขอให้นางขุชชุชตราแสดงธรรมให้ฟัง นางขุชชุชตราก็ขอให้จัดที่แสดงธรรม และเมื่อได้ชำระกาย แต่งกายสะอาดเรียบร้อยก็ขึ้นที่แสดงธรรม และแสดงธรรมให้พระนางสามาวดีกับบริวารฟัง พระนางสามาวดีเมื่อได้ฟังธรรมของนางขุชชุชตราที่จำมาจากพระพุทธเจ้า ก็ได้ดวงตาเห็นธรรมพร้อมกับบริวารต่อจากนั้น ก็ได้ส่งนางขุชชุชตราไปฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าและมาแสดงต่อให้ฟังอยู่เนืองนิตย์ เพราะว่าไม่สามารถจะออกไปจากพระราชฐานได้ต่อมา พระนางสามาวดีก็ได้เจาะห้องที่ตำหนัก เพื่อจะได้คอยดูพระพุทธเจ้าและพระสาวกเมื่อเสด็จไปยังบ้านของเศรษฐีทั้ง ๓

 


จากหนังสือ ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า
เล่ม ๓ หน้า ๔๑ - ๔๗

 

<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-align: center;" align="center">&nbsp;<img src="/mag/images/stories/author/sungaracha.png" alt="sungaracha" width="180" height="223" />
</p>
<p>&nbsp;</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-align: center;" align="center">&nbsp;<img src="/mag/images/stories/misc/sangharaja-section.gif" alt="sangharaja-section" style="font-family: Arial, Helvetica, sans-serif; font-size: 1em; font-weight: bold;" width="455" height="50" />
</p>
<p>&nbsp;</p>
<p style="text-align: center;" align="center"><b><span style="font-size: 18pt; line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif; color: black;">๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า</span></b><b><span style="font-size: 18pt; line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif; color: black;"></span></b>
</p>
<p style="text-align: center;" align="center">&nbsp;<b><span style="font-size: 16pt; line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif;">เทศนานิพนธ์</span></b><b><span style="line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif;"><br /> ใน<br /> </span></b><b><span style="font-size: 14pt; font-family: 'Tahoma','sans-serif';">สมเด็จพระญาณสังวร<br /> สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก</span></b><span style="line-height: 115%; font-family: 'Tahoma',sans-serif; color: black;"></span>
</p>
<p style="text-align: center;" align="center"><b><span style="font-size: 14pt; font-family: 'Tahoma', 'sans-serif';"></span></b><span style="font-size: 14pt; font-family: 'Tahoma', 'sans-serif';"><b><span style="font-family: 'Tahoma', 'sans-serif';"><span style="line-height: 115%; font-family: 'Tahoma', 'sans-serif';">เล่ม ๓<br />(พรรษาที่ ๘ – พรรษาที่ ๙)</span></span> </b> </span>
</p>
<p style="text-align: center;" align="center">&nbsp;</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">ได้เล่าพระราชประวัติของพระเจ้าอุเทน พระราชาแห่งวังสรัฐมาแล้ว จะเล่าถึงพระมเหสี ๓ พระองค์ของพระเจ้าอุเทน เพราะมีเรื่องที่เกี่ยวพันอยู่กับประวัติพระพุทธศาสนาด้วย</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พระมเหสีองค์ที่ ๑ พระนามว่า <b>สามาวดี </b>เป็นธิดาบุญธรรมของโฆสกเศรษฐี พระนางสามาวดีองค์นี้เป็นธิดาของเศรษฐีในเมืองภัททวตี แต่ภายหลังเศรษฐีตระกูลนี้ถึงวิบัติ ในตอนสุดท้ายก็วิบัติด้วยโรค ซึ่งเรียกในคัมภีร์ว่าอหิวาตกโรค โรคอย่างนี้เมื่อเกิดขึ้นกล่าวว่า พวกแมลงวันแมลงต่างๆ และหนูตายก่อน จนถึงพวกไก่ สุกร และสัตว์ใหญ่ๆ ที่เป็นสัตว์เลี้ยงและสัตว์ในบ้านจนถึงคน ผู้ที่ต้องการจะรอดพ้นก็จะต้องทิ้งบ้านเรือนหนีไปที่อื่น</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">เมื่อโรคเกิดขึ้น เศรษฐีในเมืองภัททวตีนั้นพร้อมกับภริยาและธิดา ก็หนีไปกรุงโกสัมพี เพื่อจะไปอาศัยโฆสกเศรษฐี ซึ่งเป็นสหายที่ไม่เคยเห็นกัน คือต่างได้ยินชื่อเสียงของกันก็ส่งบรรณาการไปให้แก่กัน นับถือกัน แต่เศรษฐีกับภริยาได้ถึงแก่กรรมที่ศาลาพักคนที่กรุงโกสัมพี จึงเหลือแต่ธิดา ธิดาของภัททวตีเศรษฐีได้ไปขออาหารที่โรงทานของโฆสกเศรษฐี ได้พบกับผู้จัดการโรงทานชื่อว่า <b>มิตตกุฎุมพี </b>เมื่อผู้จัดการโรงทานได้ถามทราบเรื่อง ก็รับเอาธิดาของภัททวตีเศรษฐีไปเลี้ยงเป็นบุตรีบุญธรรม</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">โรงทานของโฆสกเศรษฐีนั้น โดยปกติมีเสียงอื้ออึงเพราะคนแย่งกันเข้าแย่งกันออก ธิดาของภัททวตีเศรษฐีจึงได้แนะนำให้ทำรั้วกั้นและทำประตู ๒ ประตู สำหรับคนเข้าประตู ๑ สำหรับคนออกประตู ๑ เมื่อได้จัดดั่งนี้การแย่งกันเข้าออกก็หายไป เสียงอื้ออึงจึงได้สงบ เพราะฉะนั้น นางจึงได้ชื่อว่า สามาวตี เดิมชื่อว่า สามา เมื่อมาแนะให้สร้างรั้วขึ้น ก็มีคำว่า วตี เพิ่มเข้าต่อท้ายชื่อเก่า เพราะวตีแปลว่ารั้ว เรียกรวมกันว่า <b>สามาวตี </b>หรือ<b> สามาวดี</b></span><b><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span></b>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">ฝ่ายโฆสกเศรษฐีเคยได้ยินเสียงอื้ออึง เมื่อไม่ได้ยินเสียงก็สอบถามว่ายังให้ทานอยู่หรือ ทำไมเสียงจึงเงียบไป เมื่อผู้จัดการโรงทานได้เรียนให้ทราบพร้อมทั้งได้เรียนให้ทราบถึงเรื่องนางสามาวดีซึ่งเป็นต้นคิดให้สร้างรั้ว โฆสกเศรษฐีจึงได้ขอรับเอานางสามาวดีไปอุปการะเป็นบุตรีบุญธรรมเพราะเป็นธิดาของเพื่อน ต่อมา เมื่อถึงวันมหรสพที่เป็นธรรมเนียมว่า กุลธิดาที่โดยปกติไม่ออกไปข้างไหนก็จะออกไปยังแม่น้ำและอาบน้ำเล่นน้ำเป็นการเล่นมหรสพ พระเจ้าอุเทนได้ทอดพระเนตรเห็น ก็ทรงเกิดความสิเนหา ทรงขอเข้าไปตั้งไว้เป็นพระมเหสี</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พระมเหสีองค์ที่ ๒ พระนามว่า <b>วาสุลทัตตา </b>เป็นพระราชธิดาของ<b> พระเจ้าปัชโชต </b>กรุงอุชเชนี เรื่องที่พระเจ้าอุเทนจะได้พระนางวาสุลทัตตานี้มีว่า พระเจ้าปัชโชตได้ทรงคิดจะยกกองทัพไปตีกรุงโกสัมพี ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ มีสมบัติมาก แต่พวกเสนาบดีทั้งหลายได้ทูลคัดค้านว่า พระเจ้าอุเทนทรงมีมนต์ที่เรียกช้างได้ และมีพาหนะแข็งแรง มีกำลังมั่นคง การยกกองทัพไปตีจะไม่สำเร็จ และก็ได้ทูลแนะอุบายให้ว่า พระเจ้าอุเทนทรงโปรดช้าง เพราะฉะนั้น ก็ให้สร้างช้างยนต์ให้ใหญ่และให้มีคนอยู่ในท้องได้ แล้วชักช้างยนต์นั้นให้เดินไปเดินมา กับวางกำลังพลซุ่มไว้ พระเจ้าปัชโชตก็ทรงปฏิบัติตาม</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พรานป่าได้เห็นช้างยนต์นั้น ก็มาทูลพระเจ้าอุเทน พระเจ้าอุเทนก็ทรงยกกองทหารออกไปเพื่อจะจับช้าง เมื่อไปพบช้างยนต์แต่ไกล ก็ทรงร่ายมนต์เรียกช้าง แต่ว่าช้างยนต์นั้นก็ไม่ฟังมนต์ เดินหนีไป พระเจ้าอุเทนก็ทรงม้าวิ่งตามช้างไปแต่พระองค์เดียว จนเข้าไปในที่มีกำลังพลของฝ่ายกรุงอุชเชนีซุ่มอยู่ พระเจ้าอุเทนก็ถูกทหารของกรุงอุชเชนีล้อมจับไปได้ แล้วก็นำไปถวายพระเจ้าปัชโชต พระเจ้าปัชโชตก็โปรดให้ขังไว้ และก็ฉลองชัยชนะด้วยการทรงดื่มสุราบาน</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พระเจ้าอุเทนเมื่อถูกขังอยู่หลายวัน ก็รับสั่งขึ้นว่า จับข้าศึกมาได้แล้วก็ควรจะปล่อยหรือควรประหารเสีย ทำไมจึงทิ้งไว้อย่างนี้ คนก็ไปทูลพระเจ้าปัชโชต พระเจ้าปัชโชตก็เสด็จมาที่คุมขัง และได้รับสั่งว่าจะปล่อย แต่ให้พระเจ้าอุเทนบอกมนต์ให้ พระเจ้าอุเทนก็ทูลว่าจะบอกถวายได้ แต่ว่าพระเจ้าปัชโชตต้องทรงไหว้ครูเสียก่อน พระเจ้าปัชโชตก็ไม่ทรงยอมที่จะทรงไหว้พระเจ้าอุเทน พระเจ้าอุเทนก็ไม่ทรงยอมบอกมนต์ให้ พระเจ้าปัชโชตก็ตรัสว่าถ้าไม่บอกก็จะฆ่า พระเจ้าอุเทนก็ทูลตอบว่า ฆ่าก็ฆ่า เพราะพระเจ้าปัชโชตนั้นในบัดนี้ก็ทรงเป็นใหญ่แห่งสรีรกาย แต่ว่าก็ไม่ทรงเป็นใหญ่แห่งจิต พระเจ้าปัชโชตจึงได้ทรงคิดว่า ทำอย่างไรจึงจะให้พระเจ้าอุเทนทรงบอกมนต์ได้ ทรงนึกถึงพระราชธิดาก็รับสั่งขึ้นว่า ในพระราชวังนี้ได้มีผู้หญิงหลังค่อมอยู่คนหนึ่ง จะให้หญิงหลังค่อมนี้มาเรียนมนต์และก็จะให้ไหว้ แต่ว่าก็จะต้องกั้นม่านไว้ ให้เรียนกันอยู่ภายในม่าน พระเจ้าอุเทนก็ทรงยินยอม พระเจ้าปัชโชตก็เสด็จไปหาพระราชธิดา และได้ตรัสบอกว่า ได้มีบุรุษง่อยเปลี้ยจนถึงกับต้องเดินถัดไปเหมือนอย่างหอยสังข์เดินอยู่คนหนึ่ง รู้มนต์จับช้าง จะให้พระราชธิดาไปเรียนมนต์นั้นแล้วให้มาบอกแก่พระองค์ เมื่อจะเริ่มเรียนต้องไหว้ครู แต่ต้องไหว้อยู่ภายในม่าน พระราชธิดาก็ทรงยินยอม ได้มีการจัดให้มีการเรียนมนต์โดยกั้นม่านไว้ พระราชธิดาก็เรียนอยู่ภายในม่าน พระเจ้าอุเทนก็ทรงบอกอยู่ภายนอกม่าน วันหนึ่ง พระราชธิดาทรงเรียนมนต์ก็ไม่อาจที่จะจำได้ พระเจ้าอุเทนกริ้ว ก็รับสั่งขึ้นว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">“<span>ปากของเจ้าหนานัก จะท่องบ่นมนต์เท่านี้ก็ไม่ได้ เจ้านางค่อม</span>”</span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">พระราชธิดาก็กริ้ว เพราะถูกเรียกว่าค่อม ก็รับสั่งขึ้นมาว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">“<span>เจ้าคนโรคเรื้อน ทำไมจึงมากล่าวขึ้นเช่นนี้</span>”</span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">เมื่อต่างกริ้วซึ่งกันและกันดังนี้แล้ว ก็เลิกม่านขึ้น และเมื่อต่างทรงเห็นซึ่งกันและกันก็เลยเกิดเรื่องอื่นขึ้นแทน เรื่องการเรียนมนต์ก็เป็นอันยุติลงเพียงแค่นี้</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">มนต์จับใจช้างนั้น ไม่เหมือนอย่างมนต์ที่จับใจคน เรื่องนี้ได้มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้ว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"> “<span>ยังไม่ทรงเห็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่จะครอบงำจิตบุรุษได้ยิ่งไปกว่ารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะของหญิง</span>” <span>และในทางตรงกันข้าม ก็มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้อีกว่า</span> “<span>ยังไม่ทรงเห็น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอื่นที่ครอบงำจิตของหญิงได้ยิ่งไปกว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะของบุรุษ</span>”</span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">เมื่อเรื่องเป็นเช่นนี้ พระเจ้าอุเทนกับพระนางวาสุลทัตตาก็คิดอ่านที่จะพากันหนี เมื่อพระราชบิดารับสั่งถามว่าเรียนมนต์ไปได้แค่ไหน พระราชธิดาก็ทูลว่าเรียนไปได้เท่านั้นเท่านี้ และเมื่อจะจบมนต์ จำจะต้องไปเก็บโอสถตามสัญญาของดาวฤกษ์ เพราะฉะนั้น ก็ขอพระราชทานพาหนะช้างฝีเท้าเร็ว กับขอพระราชทานอนุญาตที่จะออกไปนอกเมืองได้ทุกเวลา พระราชบิดาก็ทรงอนุญาต ต่อมาวันหนึ่งพระเจ้าปัชโชตเสด็จออกไปประพาสภายนอกเมือง พระเจ้าอุเทนกับพระนางวาสุลทัตตาก็ขึ้นพาหนะช้างพากันหนีไป และได้บรรจุเงินบรรจุทองใส่กระสอบขึ้นช้างไปด้วย เมื่อพระเจ้าปัชโชตทรงทราบ ทรงสั่งให้ทหารติดตาม พระเจ้าอุเทนก็ทรงเทกระสอบเงิน และต่อมาก็ทรงเทกระสอบทองลง พวกผู้คนก็พากันแย่งเงินแย่งทอง พระเจ้าอุเทนก็หนีออกไปได้จนเข้าถึงเขตเมืองโกสัมพี แล้วก็ได้ทรงตั้งพระนางวาสุลทัตตาเป็นพระมเหสีอีกองค์หนึ่ง</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">องค์ที่ ๓ ชื่อว่า <b>มาคันทิยา </b>องค์นี้มีเรื่องเกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนามาก เป็นธิดาของพราหมณ์ในรัฐกุรุอยู่ใกล้กันนั้น และท่านแสดงว่านางมาคันทิยานี้มีรูปร่างงดงามมาก บิดาไม่ปรารถนาจะยกให้แก่ใคร ต้องการจะยกให้บุคคลผู้ที่มีลักษณะเป็นมหาบุรุษ ต่อมาบิดาได้พบพระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จไปยังแคว้นกุรุนั้น ได้เพ่งพิศพระลักษณะ เห็นว่าประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ก็มีความเลื่อมใสและปรารถนาที่จะยกลูกสาวของตนถวาย จึงได้ทูลให้ทรงทราบความประสงค์ของตน พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ตรัสว่าอย่างไร</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">ฝ่ายพราหมณ์ก็รีบไปชวนนางพราหมณีผู้ภริยากับธิดา มายังที่ที่ได้พบพระพุทธเจ้านั้น แต่ว่าไม่ได้พบพระองค์ทรงยืนอยู่ ณ ที่นั้น พบแต่รอยพระบาท พราหมณ์ก็บอกแก่นางพราหมณีผู้ภริยาว่า นี้แหละเป็นรอยเท้าของบุรุษผู้นั้น นางพราหมณีได้พิจารณาดูรอยเท้าก็เห็นว่า รอยเท้านี้ไม่ใช่รอยเท้าของบุคคลผู้บริโภคกาม จึงได้บอกแก่พราหมณ์ผู้สามี พร้อมทั้งได้แสดงลักษณะของรอยเท้าไว้โดยความว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">รอยเท้าของคนที่ยังมีราคะเป็นรอยเท้ากระโหย่ง รอยเท้าของคนที่มีโทสะเป็นรอยเท้าที่มีลักษณะส้นบีบ รอยเท้าของคนหลงมีลักษณะที่กดลง ส่วนรอยเท้าเช่นนี้เป็นรอยเท้าของคนที่มีหลังคาเปิด หมายความว่าเป็นคนสิ้นกิเลสแล้ว</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">แต่ว่าพราหมณ์ไม่เชื่อ จึงได้พยายามเดินตามหา ก็ได้พบพระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับอยู่ในที่อีกแห่งหนึ่งที่ใกล้กัน ก็ได้กราบทูลว่า ได้นำธิดามาถวาย พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสที่ท่านแสดงไว้โดยปุคคลาธิษฐานว่า</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"> “<span>ได้ทรงเห็นนางตัณหา นางอรดี นางราคา ซึ่งเป็นธิดามารผู้งดงามอย่างยิ่ง ก็ยังไม่ทรงพอพระหฤทัย ไฉนจะมาทรงพอพระหฤทัยกับนางธิดาของพราหมณ์นี้ ซึ่งเต็มไปด้วยมูตรแลกรีส</span>”</span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">นางมาคันทิยาซึ่งเป็นธิดาของพราหมณ์ได้ฟังดั่งนี้ก็มีความโกรธ และผูกอาฆาตในพระพุทธเจ้าตั้งแต่บัดนั้น ด้วยคิดว่าถ้าพระองค์ไม่ทรงประสงค์นาง ก็บอกว่าไม่ต้องการ ไฉนจึงจะมารับสั่งว่าเต็มไปด้วยมูตรและกรีส</span><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;">ฝ่ายพราหมณ์และพราหมณี ซึ่งเป็นบิดามารดาของนางได้มีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ก็ได้ขอบวชเป็นภิกษุและภิกษุณี แต่ก่อนที่จะบวชก็ได้ฝากนางมาคันทิยาไว้กับลุงชื่อว่ามาคันทิยะ ต่อมามาคันทิยะผู้เป็นลุงก็ได้นำนางมาคันทิยาไปถวายพระเจ้าอุเทน พระเจ้าอุเทนก็ทรงรับไว้เป็นพระมเหสีอีกองค์หนึ่ง<br /><br /><br /> </span><span></span>
</p>
<p style="margin-bottom: 0.0001pt; text-indent: 36pt; line-height: normal;"><span style="font-family: 'Tahoma', sans-serif;"><br />จากหนังสือ ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า<br />เล่ม ๓ หน้า ๓๕ – ๔๐</span>
</p>