Print

แสงส่องใจ - ฉบับที่ ๓๐๒

 sungaracha

 

 sangharaja-section

 

๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า

 เทศนานิพนธ์
ใน
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก


เจตสิก

 

ได้กล่าวถึงเรื่องจิตโดยหลักเกณฑ์ต่างๆ และข้อเบ็ดเตล็ดต่างๆ แล้ว จะกล่าวถึง เจตสิก ซึ่งเป็นหัวข้อที่ ๒ ต่อไป

คำว่า เจตสิก แปลว่า ธรรมที่มีในเจตะคือใจ ลำพังจิตนั้นย่อมมีลักษณะเป็นอันเดียว แต่จิตเป็นต่างๆ ดังที่จำแนกไว้ถึง ๘๙ ดวง ก็เพราะจิตประกอบด้วยเจตสิก ฉะนั้น จึงควรจะทราบว่าเจตสิกนั้นมีอะไรบ้าง

ท่านแสดงว่า เจตสิกทั้งหมดนั้นมี ๕๒ แบ่งออกโดยหัวข้อดังต่อไปนี้

หมวดที่ ๑ เจตสิกที่สาธารณะ คือทั่วไปแก่จิตทั้งหมด เรียกว่า สัพพจิตตสาธารณะ มีอยู่ ๗ ได้แก่ . ผัสสะ การกระทบ คืออายตนะภายนอกหนึ่ง อายตนะภายในหนึ่ง วิญญาณหนึ่ง ประจวบกันเรียกว่า ผัสสะ . เวทนา ๓. สัญญา ทั้ง ๒ นี้ก็ได้แก่เวทนาสัญญาในขันธ์ ๕ . เจตนา ความจงใจ. เอกัคคตา ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง . ชีวิตินทรีย์ อินทรีย์คือชีวิต . มนสิการ การกระทำไว้ในใจ จิตของบุคคลทุกๆ คนจะปรากฏขึ้นในทางกุศล อกุศล หรือในทางเป็นกลางๆ ก็จะต้องมีเจตสิกทั้ง ๗ นี้ประกอบอยู่ด้วยเสมอ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าเป็นเจตสิกที่สาธารณะคือทั่วไปแก่จิตทั้งหมด

อนึ่ง เจตสิกที่เป็นเบ็ดเตล็ดอีก ๖ ได้แก่. วิตก ความตรึก . วิจาร ความตรอง . อธิโมกข์ ความตัดสินใจเชื่อลง . วิริยะ ความเพียร . ปีติ ความอิ่มใจ . ฉันทะ ความพอใจ เหล่านี้มีแก่จิตบางดวง ทั้งกุศล อกุศล และอัพยากฤต รวมเป็น ๑๓ เจตสิก ๑๓ นี้ เรียกว่า อัญญสมานาเจตสิก แปลว่าเจตสิกที่มีเสมอกันแก่จิตอื่น คือเมื่อมีแก่จิตดวงหนึ่งก็มีแก่จิตอื่นจากดวงนั้นด้วย และเมื่อมีแก่จิตอื่นๆ ไปทุกๆ ดวง โดยความก็คือว่ามีแก่จิตทั้งหมดได้ ฉะนั้น จึงมีคำบัญญัติเรียกว่า อัญญสมานาเจตสิก หมวดนี้เป็นเจตสิกที่เป็นสาธารณะ มีแก่จิตทั่วไปทุกฝ่าย

หมวดที่ ๒ เจตสิกที่เป็นฝ่ายอกุศล เรียกว่า อกุศลเจตสิก ได้แก่. โมหะ ความหลง . อหิริกะ ความไม่มีหิริละอายแก่ใจต่อความชั่ว. อโนตตัปปะ ความไม่มีโอตตัปปะเกรงกลัวต่อความชั่ว . อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน . โลภะ ความโลภ . ทิฏฐิ ความเห็นผิด . มานะ ความถือตัวเป็นไปในทางหมิ่นผู้อื่น . โทสะ ความโกรธประทุษร้ายใจ . อิสสา ความริษยา ๑๐. มัจฉริยะ ความตระหนี่ ๑๑. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ๑๒. ถีนะ ความง่วงงุน ๑๓. มิทธะ ความเคลิบเคลิ้ม ๑๔. วิจิกิจฉา ความเคลือบแคลงสงสัย รวมเป็น ๑๔ จิตที่เป็นอกุศลทุกประการก็เพราะประกอบด้วยเจตสิกฝ่ายอกุศลนี้

หมวดที่ ๓ เจตสิกที่เป็นฝ่ายกุศล เรียกว่า กุศลเจตสิก ได้แก่. ศรัทธา ความเชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ . สติ ความระลึกได้ . หิริ ๔. โอตตัปปะ ๕. อโลภะ ความไม่โลภ . อโทสะ ความไม่โกรธประทุษร้ายใจ . ตัตรมัชฌัตตตา ความที่เป็นมัธยัสถ์คือเป็นกลางในเรื่องนั้นๆ . กายปัสสัทธิ ความสงบในนามกาย . จิตตปัสสัทธิ ความสงบจิต ๑๐. กายลหุตา ความเบานามกาย ๑๑. จิตตลหุตา ความเบาจิต ๑๒. กายมุทุตา ความอ่อนแห่งนามกาย ๑๓. จิตตมุทุตา ความอ่อนแห่งจิต ๑๔. กายกัมมัญญตา ความควรแก่การงานแห่งนามกาย ๑๕. จิตตกัมมัญญตา ความควรแก่การงานแห่งจิต ๑๖. กายปาคุญญตา ความคล่องแคล่วแห่งนามกาย ๑๗. จิตตปาคุญญตา ความคล่องแคล่วแห่งจิต ๑๘. กายุชุกตา ความตรงแห่งนามกาย ๑๙. จิตตุชุกตา ความตรงแห่งจิต รวมเป็น ๑๙ กับ วิรัติ ความงดเว้น ๓ ได้แก่ สัมมาวาจา เจรจาชอบ โดยความว่างดเว้นจากวาจาที่ผิด สัมมากัมมันตะ การงานชอบ โดยความว่างดเว้นจากการงานที่ผิด สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ โดยความว่างดเว้นจากอาชีวะที่ผิด และ อัปปมัญญา การแผ่จิตออกไปโดยไม่มีประมาณ ๒ ข้อ คือ กรุณากับมุทิตา และปัญญินทรีย์ อินทรีย์คือปัญญาอีกข้อหนึ่ง ก็รวมเป็น โสภณเจตสิก คือเจตสิกที่งดงาม หรือ กุศลเจตสิก คือเจตสิกฝ่ายกุศล เป็น ๒๕

เพราะฉะนั้น เมื่อรวมเจตสิกทั้ง ๓ หมวด คืออัญญสมานาเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิกหรืออโสภณเจตสิก ๑๔ กับโสภณเจตสิกหรือกุศลเจตสิก ๒๕ ก็เป็น ๕๒ เจตสิกทั้ง ๕๒ นี้ เมื่อรวมเข้ากับจิตอย่างย่นย่อ ก็เป็น ๕๓ คือจิตทั้งหมดนับเป็น ๑ เท่านั้น กับเจตสิก ๕๒ ก็รวมเป็น ๕๓ ทำไมจิตจึงนับเป็น ๑ เท่านั้น ก็โดยเหตุดังที่กล่าวมาแล้ว

 

อธิบายวิญญาณ มโน และจิตใน ๒ ปิฎก

เมื่อจะจัดเข้าในขันธ์ ๕ หรือว่าจัดขันธ์ ๕ เข้าในหมวดเจตสิก วิญญาณ จัดเข้าในหมวดจิต เวทนา สัญญา สังขาร ๓ นี้เป็น เจตสิก เจตสิกทั้งปวงนี้เมื่อย่นย่อลงแล้วก็ย่นย่อลงในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหมด และตามนัยในอภิธรรมนี้ วิญญาณในขันธ์ ๕ มนะในอายตนะภายใน และจิต ที่กล่าวถึงในที่ทั้งปวง จัดเข้าในหมวดจิตทั้งหมด เพราะฉะนั้น หลักของการจัดหมวดจิตในอภิธรรมจึงต่างจากหลักของการแสดงจิต มโนและวิญญาณในสุตตันตะหรือในพระสูตร

ในพระสูตรนั้น จิตมีความหมายอย่าง ๑ วิญญาณมีความหมายอย่าง ๑ มโนมีความหมายอย่าง ๑ ดังที่แสดงแล้วในอนัตตลักขณสูตร และใน อาทิตตยปริยายสูตร กล่าวโดยย่อ ใน อนัตตลักขณสูตร วิญญาณนั้นเป็นขันธ์ ๕ ข้อ ๑ ซึ่งตกในลักษณะของไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ดังที่ในพระสูตรนั้นสอนให้รู้ว่าวิญญาณเป็นอนัตตา ใน อาทิตตปริยายสูตร มนะเป็นอายตนะภายในข้อ ๑ ที่ท่านสอนให้พิจารณาว่าเป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟคือ ราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น

คราวนี้ ใครเป็นผู้พิจารณาวิญญาณว่าเป็นอนัตตา พิจารณามนะว่าเป็นของร้อน ต้องมีผู้พิจารณาอีกผู้หนึ่ง ไม่ใช่วิญญาณพิจารณาวิญญาณเอง หรือมนะพิจารณามนะเอง ในตอนท้ายของพระสูตรทั้ง ๒ นี้ก็แสดงว่าจิตพ้นจากอาสวะกิเลส แต่ว่าไม่ได้แสดงว่าวิญญาณพ้นหรือมนะพ้น จะแสดงอย่างนั้นก็ย่อมไม่ได้ เพราะเมื่อวิญญาณเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้พ้นกิเลส และมนะก็เป็นของร้อนเพราะไฟกิเลส ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้พ้น

นักอภิธรรมบางท่านได้กล่าวหาผู้ที่แสดงอย่างนี้ว่า แสดงขันธ์ ๖ คือแสดงจิตเพิ่มขึ้นอีก ๑ ขันธ์ เพราะว่าตามอภิธรรมนั้น จิต มนะ วิญญาณ อยู่ในหมวดจิตอันเดียวกัน

คราวนี้ถ้าพิจารณาดูให้รู้อธิบายของท่าน และเมื่อต้องการจะพูดถึงธรรมในปิฎกไหน ก็เอาอธิบายของปิฎกนั้นมาอธิบาย ก็ไม่ยุ่ง คือว่าเมื่อจะอธิบายถึงอภิธรรม ก็อธิบายว่าทั้ง ๓ นี้เหมือนกัน แต่ว่าเมื่อจะอธิบายพระสูตร ก็อธิบายตามหลักฐานในพระสูตรดังกล่าวมาแล้ว

แต่อภิธรรมนี้ได้เป็นที่นิยมนับถือมาเป็นเวลาช้านาน พระอาจารย์ผู้อธิบายพระสูตรเมื่อจะอธิบายถึงจิต ถึงมโน ถึงวิญญาณ ก็คัดเอาคำอธิบายในอภิธรรมมาใส่ไว้ในพระสูตรด้วย เพราะฉะนั้น จึงเกิดความสับสนกันขึ้น ดั่งเช่นบาลีพระสูตรกล่าวถึงจิต พระอาจารย์ผู้อธิบายก็คัดเอามาจากอภิธรรมว่า จิตฺตนฺติ วิญฺญาณํ วิญญาณชื่อว่าจิต เป็นอย่างนี้เป็นพื้นตั้งแต่ชั้นอรรถกถาลงมา อันนี้แหละเป็นเหตุให้สับสนกัน ถ้าหากว่าแยกเสียดั่งที่กล่าวมาแล้วก็จะไม่สับสน

พิจารณาดูในคัมภีร์อภิธรรมนั้น ท่านต้องการแสดงเพียงขันธ์ ๕ เท่านั้น คือจำแนกขันธ์ ๕ ออกไปอย่างวิจิตรพิสดาร วิญญาณก็จำแนกออกไปเป็นจิตต่างๆ อย่างวิจิตรพิสดาร และเวทนา สัญญา สังขาร ก็จำแนกออกไปเป็นเจตสิกถึง ๕๒ จาก ๓ ไปเป็น ๕๒ แล้วรูปก็ยังจำแนกวิจิตรพิสดารออกไปอีกมากมาย เพราะฉะนั้น เมื่อจับได้ว่าท่านต้องการจะอธิบายธรรมแค่ขันธ์ ๕ ให้พิสดาร ท่านจะเรียกว่าจิต ว่ามนะ หรืออะไรๆ ก็ตาม เราก็เข้าใจไปตามที่ท่านประสงค์ ก็เป็นการไม่ยุ่ง แต่ก็ไม่ควรจะไปอธิบายให้ปะปนกัน และที่ท่านจำแนกจิตไว้ถึง ๘๙ ดวงนั้น ก็ด้วยยกเอาเจตสิกขึ้นมาเพียง ๓ ข้อเท่านั้น คือ เวทนา ญาณะ ความรู้ ๑ สังขาร คือปรุงขึ้นเอง หรือว่าต้องกระตุ้นเตือน ๑ เจตสิกมีถึง ๕๒ ยกขึ้นมาเพียง ๓ ข้อ ยังแจกออกไปตั้ง ๘๙ คราวนี้ถ้ายกทั้ง ๕๒ ก็จะได้จิตนับหาถ้วนไม่ เพราะฉะนั้น จิตที่แจกไว้นั้น ก็หมายความว่ายกขึ้นมาไว้เป็นตัวอย่างเท่านั้น จิตของคนก็เป็นอย่างนั้น เพียงในระยะครู่หนึ่งก็มีความคิดไปต่างๆ มากมาย

 

จากหนังสือ ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า
เล่ม ๒ หน้า ๒๖๔ - ๒๖๘