Print

จากใจ บ.ก. ใกล้ตัว - ฉบับที่ ๓๔๒

dungtrin_editor_cover

dungtrin_new2

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เหตุแห่งการมีทรัพย์พินาศ

 

editor342

 

ทรัพย์พินาศที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้

มีหลายแบบ กล่าวโดยย่นย่อ คือ

ผลาญทรัพย์ให้พินาศ

เป็นความผิดของตน

นับเป็นกรรมในปัจจุบัน

ทรัพย์ถูกทำให้พินาศ

ไม่ใช่ความผิดของตน

นับเป็นผลกรรมจากการทำคนอื่นไว้ในอดีต

สมดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า

ผลของการยักยอกทรัพย์ผู้อื่นไว้มาก

โทษสถานเบาที่จะได้รับในโลกนี้

คือ การมีทรัพย์พินาศ

(สัพพลหุสสูตร)

 

เหตุต่างกัน ผลต่างกัน

หากเคยปล้นเอาดื้อๆด้วยกิริยาแห่งโจร

เมื่อถึงเวลาที่กรรมเผล็ดผลให้ทรัพย์พินาศ

ทรัพย์ก็อาจพินาศด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งที่ป้องกันไม่ได้

เช่น หายไปเฉยๆด้วยมือโจร

แตกพังไปด้วยแผ่นดินไหว ไฟป่า น้ำท่วม หรือพายุ

 

แต่หากเคยฉ้อฉลด้วยเล่ห์กลแบบสิบแปดมงกุฎ

เมื่อถึงเวลาที่กรรมเผล็ดผลให้ทรัพย์พินาศ

ทรัพย์ก็อาจพินาศด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง

ที่เหมือนน่าจะป้องกันได้ แต่ในที่สุดก็เอาไว้ไม่อยู่

เช่น เขามาหลอกลวงในช่วงหูเบา เชื่อคนง่าย

เขามาขอหยิบขอยืม แล้วทนสงสารไม่ได้

เขามาใช้ช่องกฎหมายถือสิทธิ์ แล้วรู้ไม่ทัน เป็นต้น

หมายความว่า การให้ผลของกรรม

ไม่ได้แค่ส่งพวกนักต้มตุ๋นมาหา

แต่ยังบีบจิตให้มีกำลังอ่อน ตกหลุมพรางง่าย

ต้านทานการหลอกลวงได้ยากด้วย

 

ถ้ากรรมที่เคยทำไว้

เอาคนอื่นเขาน้อย

เมื่อกรรมเผล็ดผล

ก็จะโดนหลอกเพียงเล็กน้อย ไม่เดือดร้อนนัก

แต่ถ้ากรรมที่เคยทำไว้

เอาคนอื่นเขามาก

ชนิดไม่คิดสงสาร ไม่เกรงใจว่าจะลำบากขนาดไหน

หรือถึงขั้นทำให้เขาหมดตัวจริงๆ

เมื่อกรรมเผล็ดผล

ก็จะโดนหลอกเข้าขั้นมหกรรมใหญ่

มีเท่าไรให้เขาหมด

แถมคนหลอกยังกระหยิ่ม

นอกจากไม่สงสาร ยังสมน้ำหน้าซ้ำอีกด้วย

ซึ่งถ้าออกแนวนั้น ก็ส่อว่าเคยอาฆาตกันไว้ก่อน

เมื่อทำสำเร็จในชาตินี้ แม้จำไม่ได้ถึงเวรที่ผูกกันมา

ก็เกิดความสะใจ รู้สึกราวกับได้ทำภารกิจใหญ่ลุล่วงฉะนั้น!

 

ดังตฤณ

ธันวาคม ๖๒