Print

จากใจบก.ใกล้ตัว - ฉบับที่ ๒๖๐

dungtrin_editor_cover

dungtrin_new2

 

 

 

 

 

 


 

มารยาททำไมน้อยลง? 


editor260

 

แม้ไม่ตั้งข้อสังเกต
คุณก็จะรู้สึกได้ว่า
คนยุคเรามีมารยาทน้อยลงเรื่อยๆ
จะเอาเข้าตัวข้างเดียว
นัดแล้วไม่เป็นนัด
ทิ้งงานกลางคัน
ทำผิดไม่รู้สึกผิด ไม่ขอโทษ
เห็นการทำหน้าทำตาหยิ่งยโสเป็นเรื่องเท่
พูดหยาบคาย ทำท่าทีดูถูก ทั้งที่เพิ่งเจอกัน
กล้าขอความช่วยเหลือจากคนแปลกหน้า
แต่ไม่คิดให้ความช่วยเหลือแม้กับคนสนิท ฯลฯ

อันที่จริงคนส่วนใหญ่ยังดีๆกันอยู่
แต่คุณก็ได้เห็นเรื่องน่าแปลกใจบ่อยขึ้นเรื่อยๆ
ตามท้องถนน ในร้านอาหาร ในที่ทำงาน
ทั้งจากคนรุ่นใหม่และคนรุ่นเก่า
ที่แสดงความเห็นแก่ตัวอย่างเหลือเชื่อ
ชนิดไม่ลังเลกับการเผยความไร้มารยาทซึ่งๆหน้า
บางทีก็ในระดับที่คุณอยากเอามาบ่นให้เพื่อนฟังขำๆ
แต่บางทีก็ในระดับที่คุณอยากมีเรื่องเดี๋ยวนั้น

อาจจะเพราะเราอยู่ในยุคของความด่วนได้
คือได้อะไรด่วนๆกันจนเคยชิน
อยากได้คำตอบ ก็หยิบมือถือขึ้นมาเสิร์ชกูเกิล
ไม่ได้คำตอบจากกูเกิล ก็ตั้งกระทู้ถาม
ขอความเห็นใจ
อ้างว่าเรื่องใหญ่ เรื่องร้อน สำคัญมาก
ต้องได้คำตอบเดี๋ยวนี้เลย
ใครไม่ตอบคือใจร้าย ดูดาย น่าประณาม ประมาณนั้น

ความรู้สึกรอไม่ได้
ทนคอยอะไรนานๆไม่ไหว
คิดเรียกร้องขอความช่วยเหลือก่อนช่วยตัวเอง
นำไปสู่ความเร่งร้อนไร้มารยาท
อาจเพราะเคยชินกับการได้อะไรทันใจมาแต่เด็ก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่โตมากับความทันใจของมือถือ
มือถือจึงไม่ใช่แค่เครื่องมือสื่อสารอีกต่อไป
แต่เป็นอุปกรณ์สนองความอยากส่วนตัว
เทรนสมองให้สนใจเฉพาะเรื่องของตัวเอง
ได้อย่างใจตัวเอง และที่สำคัญคือทันใจตัวเอง

เมื่อถึงยุคที่คนไร้มารยาทท่วมเมือง
ใครอยากได้อะไร กวักมือใส่หน้าคนอื่นทันที
ไม่พอใจใคร ก็โพล่งด่าทันใดกันไปหมด
โลกคงเหมือนเข้าสู่กลียุคที่น่ากลัว
แต่วันนี้ยังไม่ขนาดนั้น
และคุณก็มีสิทธิ์ทำใจเลือกได้สองสามอย่าง เช่น

หนึ่ง ทนๆไปจนกว่าจะชิน
กับการเห็นเด็กรุ่นใหม่มารยาทแย่ลงเรื่อยๆ
ส่วนตัวรอเกิดใหม่ในยุคที่ไม่มีมือถือ
ไม่มีเครื่องกระตุ้นความด่วนได้เหมือนยุคนี้
คาดหวังว่าถึงยุคนั้น
คนจะกลับไปมีมารยาทกันมากกว่านี้

สอง อยู่กับความมีมารยาทของตัวเอง
แล้วถ่ายทอดมารยาทไปสู่ลูก
เริ่มจากการป้องกันไม่ให้เขาสนใจตัวเอง
จนตัดขาดจากความสนใจคนอื่นและโลกภายนอก
เช่น เทรนลูกให้ชินกับการไหว้ผู้ใหญ่
เทรนให้ลูกพูดมีหางเสียง มีคำลงท้ายคะขา ครับผม
ตลอดจนเทรนให้ลูกรอจังหวะเป็น
ไม่ใช่นึกอยากพูดก็โพล่งทันที
ไม่สนใจว่าใครกำลังทำอะไรอยู่

นอกจากนั้น คุณยังต้องสร้างวินัย
แบบที่ไม่มีพ่อแม่ยุคไหนเคยต้องทำมาก่อน
นั่นคือ มีวินัยในการจำกัดเวลาเล่นมือถือของลูก
ไม่ปล่อยให้เล่นพร่ำเพรื่อตามใจชอบ
สัญญาณบอกว่า เขาจะโตขึ้นเป็นคนไร้มารยาท
คือการใส่ใจแต่มือถือ ไม่สนใจโลกภายนอก
ขอให้มองว่า การใส่ใจแต่มือถือจนลืมโลกนั้น
แท้จริงคือการ ‘เอาแต่ใจตัวเอง’
ยิ่งเอาแต่ใจหนักข้อขึ้นเท่าไร
สามัญสำนึกเพื่อคนอื่นยิ่งต่ำเตี้ยลงเท่านั้น

ระหว่างเขาสั่งสมความมืด
จากการเอาแต่ใจตัวเพิ่มขึ้นๆทีละน้อย
คุณจะยังไม่ค่อยรู้สึก เลยไม่ให้ความสำคัญ
วันที่พอแก้ไขได้ ก็คิดว่าไม่เป็นไร ขี้เกียจเหนื่อย
แต่เมื่อไรเขาเอาแต่ใจตัวจนมืดบอด
ไม่เหลือสามัญสำนึกปกติอยู่เลย
เห็นมารยาทคือการดัดจริตโลกสวย
คุณจะรู้สึกเสียใจรุนแรง
เวลานั้นแม้อยากให้ความสำคัญ
แม้อยากแก้ไข แม้ตระหนักแล้วว่าเป็นเรื่องร้ายแรง
พร้อมจะยอมเหนื่อย
พร้อมจะยอมออกแรงงัดข้อกับความมืดในใจลูก
ก็จะได้พบว่าสายไป ทำอย่างไรก็เอาชนะไม่ไหว

คำว่า ‘สายเกินแก้’ ที่น่าเสียใจที่สุด
ก็คือการที่ลูกโตขึ้น
กลายเป็นคนไร้มารยาท
แม้แต่กับพ่อแม่ตัวเองนั่นแหละ!



ดังตฤณ
ตุลาคม ๕๙

 

แม้ไม่ตั้งข้อสังเกต

คุณก็จะรู้สึกได้ว่า

คนยุคเรามีมารยาทน้อยลงเรื่อยๆ

จะเอาเข้าตัวข้างเดียว

นัดแล้วไม่เป็นนัด

ทิ้งงานกลางคัน

ทำผิดไม่รู้สึกผิด ไม่ขอโทษ

เห็นการทำหน้าทำตาหยิ่งยโสเป็นเรื่องเท่

พูดหยาบคาย ทำท่าทีดูถูก ทั้งที่เพิ่งเจอกัน

กล้าขอความช่วยเหลือจากคนแปลกหน้า

แต่ไม่คิดให้ความช่วยเหลือแม้กับคนสนิท ฯลฯ

 

อันที่จริงคนส่วนใหญ่ยังดีๆกันอยู่

แต่คุณก็ได้เห็นเรื่องน่าแปลกใจบ่อยขึ้นเรื่อยๆ

ตามท้องถนน ในร้านอาหาร ในที่ทำงาน

ทั้งจากคนรุ่นใหม่และคนรุ่นเก่า

ที่แสดงความเห็นแก่ตัวอย่างเหลือเชื่อ

ชนิดไม่ลังเลกับการเผยความไร้มารยาทซึ่งๆหน้า

บางทีก็ในระดับที่คุณอยากเอามาบ่นให้เพื่อนฟังขำๆ

แต่บางทีก็ในระดับที่คุณอยากมีเรื่องเดี๋ยวนั้น

 

อาจจะเพราะเราอยู่ในยุคของความด่วนได้

คือได้อะไรด่วนๆกันจนเคยชิน

อยากได้คำตอบ ก็หยิบมือถือขึ้นมาเสิร์ชกูเกิล

ไม่ได้คำตอบจากกูเกิล ก็ตั้งกระทู้ถาม

ขอความเห็นใจ

อ้างว่าเรื่องใหญ่ เรื่องร้อน สำคัญมาก

ต้องได้คำตอบเดี๋ยวนี้เลย

ใครไม่ตอบคือใจร้าย ดูดาย น่าประณาม ประมาณนั้น

 

ความรู้สึกรอไม่ได้

ทนคอยอะไรนานๆไม่ไหว

คิดเรียกร้องขอความช่วยเหลือก่อนช่วยตัวเอง

นำไปสู่ความเร่งร้อนไร้มารยาท

อาจเพราะเคยชินกับการได้อะไรทันใจมาแต่เด็ก

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่โตมากับความทันใจของมือถือ

มือถือจึงไม่ใช่แค่เครื่องมือสื่อสารอีกต่อไป

แต่เป็นอุปกรณ์สนองความอยากส่วนตัว

เทรนสมองให้สนใจเฉพาะเรื่องของตัวเอง

ได้อย่างใจตัวเอง และที่สำคัญคือทันใจตัวเอง

 

เมื่อถึงยุคที่คนไร้มารยาทท่วมเมือง

ใครอยากได้อะไร กวักมือใส่หน้าคนอื่นทันที

ไม่พอใจใคร ก็โพล่งด่าทันใดกันไปหมด

โลกคงเหมือนเข้าสู่กลียุคที่น่ากลัว

แต่วันนี้ยังไม่ขนาดนั้น

และคุณก็มีสิทธิ์ทำใจเลือกได้สองสามอย่าง เช่น

 

หนึ่ง ทนๆไปจนกว่าจะชิน

กับการเห็นเด็กรุ่นใหม่มารยาทแย่ลงเรื่อยๆ

ส่วนตัวรอเกิดใหม่ในยุคที่ไม่มีมือถือ

ไม่มีเครื่องกระตุ้นความด่วนได้เหมือนยุคนี้

คาดหวังว่าถึงยุคนั้น

คนจะกลับไปมีมารยาทกันมากกว่านี้

 

สอง อยู่กับความมีมารยาทของตัวเอง

แล้วถ่ายทอดมารยาทไปสู่ลูก

เริ่มจากการป้องกันไม่ให้เขาสนใจตัวเอง

จนตัดขาดจากความสนใจคนอื่นและโลกภายนอก

เช่น เทรนลูกให้ชินกับการไหว้ผู้ใหญ่

เทรนให้ลูกพูดมีหางเสียง มีคำลงท้ายคะขา ครับผม

ตลอดจนเทรนให้ลูกรอจังหวะเป็น

ไม่ใช่นึกอยากพูดก็โพล่งทันที

ไม่สนใจว่าใครกำลังทำอะไรอยู่

 

นอกจากนั้น คุณยังต้องสร้างวินัย

แบบที่ไม่มีพ่อแม่ยุคไหนเคยต้องทำมาก่อน

นั่นคือ มีวินัยในการจำกัดเวลาเล่นมือถือของลูก

ไม่ปล่อยให้เล่นพร่ำเพรื่อตามใจชอบ

สัญญาณบอกว่า เขาจะโตขึ้นเป็นคนไร้มารยาท

คือการใส่ใจแต่มือถือ ไม่สนใจโลกภายนอก

ขอให้มองว่า การใส่ใจแต่มือถือจนลืมโลกนั้น

แท้จริงคือการ เอาแต่ใจตัวเอง

ยิ่งเอาแต่ใจหนักข้อขึ้นเท่าไร

สามัญสำนึกเพื่อคนอื่นยิ่งต่ำเตี้ยลงเท่านั้น

 

ระหว่างเขาสั่งสมความมืด

จากการเอาแต่ใจตัวเพิ่มขึ้นๆทีละน้อย

คุณจะยังไม่ค่อยรู้สึก เลยไม่ให้ความสำคัญ

วันที่พอแก้ไขได้ ก็คิดว่าไม่เป็นไร ขี้เกียจเหนื่อย

แต่เมื่อไรเขาเอาแต่ใจตัวจนมืดบอด

ไม่เหลือสามัญสำนึกปกติอยู่เลย

เห็นมารยาทคือการดัดจริตโลกสวย

คุณจะรู้สึกเสียใจรุนแรง

เวลานั้นแม้อยากให้ความสำคัญ

แม้อยากแก้ไข แม้ตระหนักแล้วว่าเป็นเรื่องร้ายแรง

พร้อมจะยอมเหนื่อย

พร้อมจะยอมออกแรงงัดข้อกับความมืดในใจลูก

ก็จะได้พบว่าสายไป ทำอย่างไรก็เอาชนะไม่ไหว

 

คำว่า สายเกินแก้ที่น่าเสียใจที่สุด

ก็คือการที่ลูกโตขึ้น

กลายเป็นคนไร้มารยาท

แม้แต่กับพ่อแม่ตัวเองนั่นแหละ!

 

 

 

ดังตฤณ

ตุลาคม ๕๙