Print

ดังตฤณวิสัชนา ฉบับเปิดกรุ - ฉบับที่ ๑๖๔

dungtrin_cover

ถาม - ขอความกรุณาช่วยอธิบายความหมายอย่างละเอียดของคำว่าทุกขังอนิจจังอนัตตาด้วยครับ

dungtrin_gru2aอนิจจังคือความไม่เที่ยง
เริ่มต้นพระพุทธองค์ให้ดูความไม่เที่ยงของสรรพสิ่ง
ลงท้ายน้อมเข้ามาที่กายใจ
โดยกำหนด "มุมมอง" ไว้ว่ากายคือส่วนที่เป็นธาตุแข็งธาตุน้ำธาตุไฟธาตุลม
ดูง่ายๆว่าไออุ่นในร่างเราคงที่ไหมดูว่าส่วนที่แข็งจะขืนอยู่ในสภาพเดิมได้ไหม
ส่วนใจนั้นให้กำหนดมุมมองไว้เป็นความสุขทุกข์เฉยไม่เที่ยงเหมือนกัน
หรือกำหนดมุมมองไว้เป็นความหมายรู้หมายจำไม่เที่ยงเหมือนกัน
หรือกำหนดมุมมองไว้เป็นความตั้งใจทำดีทำชั่วทำกิจปกติไม่เที่ยงเหมือนกัน
หรือกำหนดมุมมองไว้เป็นความรู้ชัดทางตาหูจมูกลิ้นกายและใจคิดไม่เที่ยงเหมือนกัน
เรียกว่ามองกายใจโดยความเป็นขันธ์๕รูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ

ทุกขังคือความทนอยู่ในสภาพใดๆถาวรไม่ได้
เมื่อเห็นกายใจโดยความเป็นของไม่เที่ยง
นานเข้าก็ย่อมตระหนักและเกิดความเห็นแจ้งประจักษ์ชัด
ว่ากายใจนี้จะอยู่ในสภาพใดๆก็ตามย่อมทนรักษาสภาพนั้นๆไม่ได้เลย

อนัตตาคือความไม่ใช่ตัวตนไม่มีเจ้าของสักแต่มีองค์ประกอบประชุมกัน
เมื่อเห็นความไม่เที่ยงความเป็นทุกข์ของกายใจ
ย่อมเกิดความรู้ความมีสติที่จะเห็นตามจริงว่ากายใจไม่ใช่ตัวตนไม่มีเจ้าของ
ไม่มีใครบัญชาว่าจงคงสภาพอย่างนี้ตลอดไปจงจำให้ได้อย่างนี้ถาวร
อีกประการหนึ่งพระพุทธองค์ให้กำหนดรู้ความเป็นอนัตตาโดยตรง
ผ่านการเห็นแบบแยกแยะว่าอย่างนี้ตาอย่างนี้รูปที่ตาเห็นอย่างนี้อาการเห็น
เมื่อเห็นได้ยินได้กลิ่นได้ลิ้มได้แตะได้คิดนึก
ก็เหมือนไม้สีกันเกิดไฟไฟไม่เป็นตัวของตัวเองแยกไม้ออกไฟก็ดับ
เหมือนกับสุขทุกข์เฉยย่อมไม่เกิดขึ้นเองลอยๆแต่มีเหตุคือการประชุมกันของอายตนะ
เมื่อเห็นแจ้งก็เบื่อหน่ายคลายความยึดติดเสียได้ว่านั่นเป็นตัวเป็นตน
แต่ทราบชัดว่าสักว่ามีปรากฏการณ์เพราะเหตุปัจจัยประชุมกันเท่านั้น
ผู้เห็นแจ้งคือจิตผู้เป็นอิสระคือจิตผู้หลุดพ้นคือจิต

ที่มา http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/004028.htm