Print

ดังตฤณวิสัชนา ฉบับเปิดกรุ - ฉบับที่ ๑๖๓

dungtrin_cover

ถาม - ขออภัยหากคำถามไม่สุภาพนะครับแต่ผมสงสัยจริงๆว่ามีเทวดาและสัตว์ที่รักเพศเดียวกันบ้างไหมครับ

dungtrin_gru2aแนวโน้มลักษณะความชอบใจอุปนิสัยต่างๆ
ถ้าสืบไปตั้งแต่แรกเกิดจะพบความไม่บังเอิญอยู่
เคยมีการวิจัยจริงจังเกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้
ว่าเด็กมีตัวแปรกำหนดพฤติกรรมหรือนิสัยความชอบใจฯลฯ
โดยหลักมุ่งประเด็นไปที่ครอบครัวผู้ปกครอง (ซึ่งอาจไม่ใช่พ่อแม่)
บางทีก็มุ่งประเด็นพันธุกรรม
บางทีก็มุ่งประเด็นสิ่งแวดล้อมโรงเรียนเพื่อนฝูงข้าวปลาอาหารฯลฯ
ซึ่งผลสรุปนั้นบอกได้เพียงว่ามี "อะไรอย่างหนึ่ง" ที่กำหนดแนวโน้มทางใจไว้ก่อน
ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับวิถีทางเจริญเติบโตขึ้นมา
ซึ่งหากจะว่าเป็น "พันธุกรรม" ก็จะพบว่าไม่ง่ายไม่พื้นแบบที่คิดๆกัน
เช่นพ่อแม่เป็นอย่างไรลูกก็ต้องเป็นอย่างนั้น
ตัวอย่างเช่นเด็กที่เกิดมาฉลาดจัดบางรายสืบไปกี่รุ่นๆก็ไม่พบความฉลาดระดับเดียวกัน
ไม่ว่าจะจากพ่อแม่ปู่ย่าตายายหรือทวด

พฤติกรรมเบี่ยงเบนจัดว่ามีที่มาซับซ้อนมาก
เพราะตัวกำหนดยิ่งซับซ้อนกว่าเรื่องความฉลาด
(อันอาจเชื่อว่าลักษณะสมองเป็นตัวแปรสำคัญ)
ถ้าหากเอาความเชื่อแบบพุทธว่ามนุษยภูมิเป็นของกลาง
เป็นสนามรบกับกิเลส (แพ้เสียมาก) เป็นสนามรับกรรมวิบาก (ทุกข์เสียเยอะ)
เป็นแหล่งกำหนดเลือกที่ไปใหม่ๆ (แย่เสียเป็นส่วนใหญ่)
ส่วนเทวโลกเป็นของสูงเป็นสถานรับวิบากกรรมฝ่ายดีเป็นหลัก
ก็จะเกิดความรู้สึกขึ้นมาอย่างหนึ่งว่าโลกมนุษย์เป็นแดนสลับซับซ้อน
เลือกเชื่ออย่างไรก็เหมือนมีความจริงตามนั้นคอยรองรับอยู่
บางทีกรรมวิบากก็มาในรูปของการทำให้เกิดความทุกข์ความขัดแย้งทางใจ
ที่ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกับร่างกาย
ส่วนสวรรค์นั้นจะเรียบง่ายได้ดีด้วยอาการอย่างไรก็เข้าล็อกฝ่ายดีตามนั้น
ไม่มีเรื่องความขัดแย้งทางกายใจอย่างมนุษย์เท่าไหร่
แต่สังสารวัฏนั้นพิสดารนักเพราะกรรมที่ทำนั้นไม่มีขีดจำกัด
สิ่งใดไม่มีในหลักฐานคือพระไตรปิฎกก็ใช่ว่าจะไม่มี
เพราะพระไตรปิฎกมีลักษณะของการรวบรวมคำสอนมากกว่าที่จะรวบรวมความจริงทั้งหมด

ที่มา http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/001985.htm