Print

ดังตฤณวิสัชนา ฉบับเปิดกรุ - ฉบับที่ ๑๐๙

ถาม - มีคนที่รู้จักที่พยายามทำบุญทุกอย่าง ไม่ว่าใครจะบอกบุญหรือทำเองอย่างเต็มที่ บางครั้งดิฉันรู้สึกเหมือนเขาหลงในการทำบุญ ในขณะที่มองภายนอก เขาเหมือนคนมีทุกข์ ในใจตลอดเวลา อยากรบกวนช่วยอธิบายให้กระจ่างด้วยค่ะ

dungtrin_gru2

ก่อนอื่นต้องมองว่าความหลงใหลในการทำบุญนั้น
ดีกว่าความหลงใหลในการทำบาปและการหมกมุ่นกับอบายมุข
และเหตุผลของการทำบุญของแต่ละคนก็แตกต่างกัน
บางคนอยากพ้นทุกข์ อยากให้อะไรๆในชีวิตดีขึ้น
แล้วเชื่อว่าการทำบุญมากๆเป็นหนทางแก้ไข
บางคนก็เชื่อมั่นว่าชาติหน้ามีจริง
ทำบุญมากๆแล้วชาติหน้าจะได้ดีขึ้น
โดยหมดอาลัยตายอยาก ไม่หวังให้ชาตินี้ดีกว่าที่เป็นอยู่อีกแล้ว

ความจริงคือ ถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้องเป็นพื้นฐาน
การทำบุญจะนำไปสู่ความสุขทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ก่อนอื่นต้องรื้อความเข้าใจกันใหม่ ว่าการทำบุญนั้นมีถึง ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
) บุญอันเกิดจากการสละให้
เพ่งเอาการกำจัดความตระหนี่และความพยาบาท
ซึ่งเป็นด่านกักกันไม่ให้ความสุขภายนอกเข้า และไม่ให้ทุกข์ภายในออก
ถ้าเห็นให้ได้จริงๆว่าโทษของความตระหนี่คือความหวงผิดๆ
และโทษของพยาบาทคือความดิ้นรนเสียแรงเปล่า
ให้กับการก่อเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจ

เราจะยินดีให้ทรัพย์ส่วนเกิน ให้แรง ให้กำลังสติปัญญา เท่าที่จะเห็นใครควรช่วย
ไม่ใช่เพ่งเล็งแต่เฉพาะการทำบุญถวายสังฆทานหรือใส่เงินเข้าซองผ้าป่าซองกฐิน
นอกจากนั้นจะเต็มใจให้อภัย ไม่ใช่เพื่อสร้างภาพเป็นพ่อพระแม่พระ
แต่เพื่อกำจัดเชื้อสายผู้ก่อการร้ายออกจากจิตวิญญาณตนเอง

) บุญอันเกิดจากการรักษาศีล
เพ่งเอาการกำจัดความสกปรกและต้นเหตุความเดือดร้อนในชีวิต
หากไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ผิดลูกเมียใคร ไม่โกหก และไม่กินเหล้าเมายาอี
ก็เท่ากับไม่หลงลอยไปตามกระแสบาปที่วิบากเก่าส่งเหยื่อมาล่อ
การปฏิเสธเรื่องยั่วให้ผิดศีลธรรมนั้น
คือการถอนตัวขึ้นจากหล่มวิบากชั่วทีละน้อย
แล้วพัฒนาขึ้นสู่ที่สูง ที่สะอาด ที่สว่าง ที่สงบ
วิบากชั่วเดิมๆก็ถอยกำลังลง
วิบากดีเป็นของเดิมและเป็นของใหม่ก็ได้ช่องให้ผล
อาจค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อย หรืออาจพรวดพราดทันตา
ขึ้นอยู่กับปัจจัยบวกในอดีตและปัจจุบันเข้มข้นเพียงใด

) บุญอันเกิดจากการเจริญสติปัญญาเห็นตามจริง
เล็งเข้ามาที่ใจเป็นหลัก ใจเห็นไหมว่าความคิดมาก
ความหมกมุ่นคาราคาซังกับปัญหา
ความน้อยใจชะตาชีวิต
ความมีใจใส่กับเรื่องของคนอื่นเกินจำเป็น ฯลฯ
ล้วนแล้วแต่เป็นต้นเหตุทุกข์
หากหางานใหม่ที่ไม่เป็นโทษให้กับใจ
สนุกกับการรู้ สนุกกับการดูความไม่เที่ยงของใจในอารมณ์ต่างๆ
ก็จะปล่อยวางกันที่สิ่งเกาะใจทั้งหลายอันเป็นต้นเหตุทุกข์
เมื่อใจไม่มีต้นเหตุทุกข์ก็ย่อมเบาสบาย ไม่เป็นทุกข์เป็นธรรมดา

เมื่อทำความเข้าใจว่าบุญมี ประเภทใหญ่ๆอย่างนี้
ก็คงพอตอบคำถามที่ว่าทำไมบางคนทำบุญมากถึงยังเป็นทุกข์
คำตอบคือเขายังขาดความใจที่ครบถ้วน
หรือยังทำบุญไม่ครบวงจร
หากทำบุญครบวงจรตามหลักของพุทธศาสนาแล้ว
จะไม่มีเงื่อนไขไหน สถานการณ์เลวร้ายอันใด
รบกวนจิตใจให้เป็นทุกข์ได้เลย

อย่างไรก็ตาม ขอให้เห็นใจกันมากๆด้วยนะครับ
เพราะบางคนยังไม่พร้อมจะทำบุญให้ครบวงจร
โดยเฉพาะบุญข้อ กับข้อ นั้น
ยุคนี้อาจทำกันยากหน่อย
เมื่อเห็นใครทำบุญมากๆจนเหมือนหลงบุญ
ก็อย่าเพิ่งไปว่าเขา ขอให้มองว่าเขายังอยู่ในระหว่างเริ่มต้นเตาะแตะ
หรือเขาอาจจะพยายามทำบุญข้อ กับข้อ อยู่
เพียงแต่กำลังยังไม่พอ และยังต้องเดินทางอีกหน่อยครับ

http://www.dungtrin.net/newsletter/viewtopic.php?t=70&postdays=0&postorder=asc&start=45