Print

ดังตฤณวิสัชชนา ฉบับเปิดกรุ - ฉบับที่ ๔๓๙

 

dungtrin_cover

dungtrin_gru2a

 ดังตฤณวิสัชนา ฉบับเปิดกรุ ฉบับที่ ๔๓๙

กันยายน ๒๔๖๖

 

ถ้านั่งสมาธิแล้วจิตเข้าไปติดอยู่ในความนิ่งสงบ ควรทำอย่างไร


ถาม – เคยนั่งสมาธิแล้วจิตเข้าไปติดอยู่ในความนิ่งสงบ จนเกือบออกจากสมาธิไม่ได้
ถ้าเกิดแบบนี้ขึ้นอีก ควรทำอย่างไรคะ

ตอบ - จริงๆ ถ้ามันสงบนิ่งมากๆ นะ
อย่างอันนี้พูดถึงในห้องวิปัสสนานุบาลเราเนี่ย
ตอนใช้มือไกด์ มันก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้จิตไม่แน่นิ่งอยู่กับอาการแช่อิ่ม
หรือว่าอาการที่หมกตัวอยู่กับความนิ่งแบบไม่รู้เรื่องรู้ราว
ด้วยโมหะที่มันหนาๆ อะไรแบบนี้
มันก็เป็นส่วนหนึ่งในการใช้มือช่วยไกด์
ที่จะช่วยยกจิตออกมาจากหล่มของความติดนิ่ง

หรือถ้าหากว่าเรานิ่งสงบ แล้วมันมีอาการเกาะกุมมากๆ เลย
ติดแน่นอยู่กับความสงบนั้น
การที่จะออกมาเนี่ยจริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องยากนะ
แต่ขอให้มีความเข้าใจว่าการเจริญสติการทำสมาธิไม่ใช่มีแต่การมานั่งนิ่งหลับตา
แต่มีการเดินจงกรมต่อยอดด้วย
ถ้าเราหัดรู้เท้ากระทบจนกระทั่งมีความเหมือนกับใจเนี่ย
มีสปีด (
speed) ของเท้ากระทบอยู่ข้างใน
มีวิตักกะอันเกิดจากเท้ากระทบ สปีดของเท้ากระทบช้าเร็ว
หรือมีความเป็นหนึ่งเดียวกับความรู้สึกเท้ากระทบๆ กระทบๆ
มีตัวเหมือนกับตุ๊กตา เดินให้ดูอยู่
มีจิตว่างๆ ใสๆ ตื่นอยู่

เนี่ยเวลาที่ลงมานั่งสมาธิจะเห็นได้ชัดเลยว่า
ความสงบหรือความนิ่งเนี่ยมันไม่เกาะตัวแบบแน่นหนา
แต่มันจะมีความเบาความว่างความใส
คาแรกเตอร์ (
character) ของจิตเนี่ย สังเกตง่ายๆ
ถ้าหากว่ามันร้อยรัดอยู่กับความดิ่งเข้ามาข้างใน
มันจะรู้สึกเหมือนกับว่าถูกกักขังไว้กับความนิ่ง
แต่ถ้าหากว่ามันมีความเบาความใสความกระจ่าง
จิตขยายกว้างออกไป มันจะไม่มีอาการติด
มันจะไม่มีอาการเกาะกุถมอยู่กับกระจุกของจิตที่มันนิ่งข้างใน
มันจะแผ่ผายออกภายนอก

อันนี้ที่เป็นพอยต์ (point) ว่าทำไมพระพุทธเจ้าถึงตรัสว่า
ควรให้จิตอยู่ในสภาพที่มันแผ่กว้างออกไป เหมือนแผ่เมตตา
แล้วก็ไม่มีอะไรห่อหุ้ม ไม่มีความฟุ้งซ่านห่อหุ้ม ไม่มีอาการจงใจบังคับ
หรือว่าปั้นแต่งให้จิตมันมีหน้าตาอย่างไรขึ้นมา แต่ว่าให้มันเปิด
แล้วอันนี้ที่ผมจะพูดบ่อยๆ
ให้รู้สึกว่าถ้าใจไปถึงจุดที่มีความใส มีความสว่าง มีความกระจ่างแล้ว
ถ้าหากว่าใจที่ใสนั้นรู้สึกว่ามันมีความเสมอกับอากาศธาตุ อากาศรอบด้านได้
ก็ให้กำหนดขอบเขตว่ามันกว้างออกไปได้แค่ไหนประมาณไหน
เรานั่งอยู่ในห้องเนี่ยเรารู้สึกได้ไหมว่ามีพื้นที่ว่างรอบด้านประมาณไหน
อันนี้มันก็คือการแผ่จิตออกไปนั่นเอง

แต่พอพูดเรื่องการแผ่จิต คนจะไม่เข้าใจ
ส่วนใหญ่ ๙๐ เปอร์เซ็นต์จะนึกไม่ออก
ว่ามันหมายถึงอาการเบ่งจิตออกไปหรือเปล่า
มันจะไปกระทำเอาทางกายแทน
เหมือนกับว่ากายจะต้องมีอาการลุ้น มีอาการที่มันเบ่งตัวออกไป
แต่ถ้าเราพูดกันว่ามันเป็นความรู้สึกว่าใจมันใสๆ
แล้วมันมีความเสมอกับอากาศธาตุรอบด้าน
อันนั้นน่ะที่มันแผ่ออกไปได้โดยไม่รู้สึกว่าต้องเกร็งเนื้อเกร็งตัวอะไรเพิ่ม
การแผ่จิตบ่อยๆ การทำให้จิตอยู่ในสภาพแผ่บ่อยๆ
มันก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เวลานิ่ง มันนิ่งแบบที่มีความเป็นอิสระ
นิ่งแบบที่พร้อมจะตื่น พร้อมจะลืมตาด้วยอาการที่เป็นปกติ
ไม่ใช่ไปมีความรู้สึกเหมือนหลบเข้าข้างใน