Print

ดังตฤณวิสัชนา ฉบับเปิดกรุ - ฉบับที่ ๔๒๔

 

dungtrin_cover

dungtrin_gru2a

 ดังตฤณวิสัชนา ฉบับเปิดกรุ ฉบับที่ ๔๒๔

มีนาคม ๒๔๖๖

 

 

ถ้าสวดมนต์ในใจโดยไม่ได้เปล่งเสียงออกมา จะได้บุญหรือไม่


ถาม – ผมสวดมนต์ทุกวัน ถ้าอยู่ในห้องพระก็จะเปล่งแก้วเสียงออกมาอย่างชัดเจน
แต่บางครั้งก็ต้องสวดในห้องนอน ซึ่งผมจะสวดในใจ แบบนี้จะได้บุญไหมครับ

ตอบ - เรื่องนี้ถามกันยอะมากนะ เยอะจนผมแปลกใจนะ
แล้วก็เสร็จแล้วคือนึกย้อนไปสมัยก่อนก็สงสัยแบบนี้เหมือนกัน
อย่างผมจะชอบสวดมนต์ พนมมือสวดมนต์ตอนนอน
แล้วตอนนั้นมันไม่มีใครบอกไงว่าอะไรเป็นอะไรนะ
อะไรคือเครื่องหมายสังเกตของบุญ
อะไรคือเครื่องหมายสังเกตของบาป
ก็นึกว่าเรากำลังทำกิริยาอันไม่สมควรหรือเปล่า
เป็นการลบหลู่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่หรือเปล่า
ปกติเขาไม่น่าจะสวดมนต์กันตอนนอน
เขาน่าจะนั่ง มีการสำรวมระวัง
มีการสังวรว่านี่ถ้าคิดอะไรไม่ดีขึ้นมาช่วงนี้มันจะเป็นบาป
อะไรต่อมิอะไรต่างๆ ก็คิดไปเรื่อย


แต่มาได้คำตอบจริงๆ
ก็จากการที่หนึ่งคือได้ฝึกเจริญสติตามแบบพระพุทธเจ้า
แล้วก็ได้เห็นว่าพระพุทธเจ้าท่านสอน
ว่าให้เจริญสติแม้กระทั่งในขณะกำลังนั่งอึหรือว่ายืนฉี่อยู่ ท่านให้เจริญสติด้วย
จิตมันจะได้มีความเป็นกุศล คือมีความรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับเนื้อกับตัว
แล้วก็สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านให้สังเกตตลอด
จุดใหญ่ใจความเนี่ย ความเป็นพุทธที่จะฝึกจิตฝึกใจ
ท่านให้ดูกันตรงนี้เลยว่าทุกขณะที่มันยังมีลมหายใจอยู่ได้
คือทุกขณะที่เป็นโอกาสให้ได้เข้ามาดูว่ามันกำลังเป็นอย่างไรอยู่

มันเหมือนเดิมหรือเปล่า มันใช่ตัวเราจริงๆ หรือเปล่า
ถ้าได้ข้อสรุปว่ามันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ไม่เหมือนเดิมสักท่าเดียวสักอย่างเดียว
อันนี้เป็นกุศลเสมอ เป็นกุศลที่เราจะได้หลุดพ้นออกจากทุกข์ทีเดียว

 

แม้แต่อย่างครูบาอาจารย์อย่างเช่นหลวงปู่มั่นท่านก็บอกนะ
ว่าบางทีท่านสวดมนต์อยู่ในใจ เทวดาเนี่ยก็ได้ยินเลยทีเดียว
แต่จิตของท่านกับจิตแบบฟุ้งๆ แบบเราๆ ท่านๆ เนี่ยมันแตกต่างกัน
คือจิตของท่านสวดในใจก็จริง แต่ว่าเป็นการสวดในใจด้วยจิตที่แรงนะ
แล้วก็จิตที่เป็นหนึ่ง จิตที่ว่างจากความฟุ้งซ่าน มันต่างกันเยอะ

 

ก็สรุปนะว่าจะสวดมนต์อยู่ท่าไหนก็ตาม
ถ้าจิตของเราเป็นกุศล
มีความระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่ตั้ง
แล้วก็มีความสว่างเป็นหลักฐานของการสวดถูกสวดดี
อันนี้เนี่ยมันมีแต่ได้กับได้ เพียงแต่จะได้ต่างกัน
แล้วเราก็สามารถใช้ใจของเราเองเป็นเครื่องวัดได้ว่ามันต่างกันอย่างไร
อย่างเวลาเปล่งแก้วเสียงเนี่ย อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมา
แก้วเสียงนะ เนื้อตัวที่ผ่อนคลาย จิตใจที่สบายที่สว่าง
มันฟ้องเลย มันบอกเลยว่ามีการปรุงแต่งเป็นไปในทางเดียวกัน
ที่ทำให้เกิดความรู้สึกสว่างไสว รู้สึกว่าเอิบอาบ
รู้สึกว่ามีความสบาย มีความเยือกเย็น


แต่ถ้าไม่เปล่งเสียงแล้วเกิดความรู้สึกว่ามันอุดอู้ชอบกล
มันรู้สึกเหมือนงึมงำ มันรู้สึกเหมือนมีความขี้เกียจ
มันมีความรู้สึกเหมือนกับจิตหม่นๆ ชอบกล
ตรงนี้เนี่ยนะ มันคือความแตกต่างที่คุณไม่ต้องไปถามใคร
แต่ถ้าใครบอกว่านี่ผมทำได้เท่ากัน ตอนที่กำลังงึมงำๆ อยู่
ใจมันสว่างไสวเบิกบานได้เท่ากับตอนเปล่งเสียงเต็มที่
อันนี้ก็โอเคเป็นเรื่องเฉพาะตัวที่คุณบอกตัวเองได้
ไม่ต้องหาหลักฐานที่ไหนอื่นนะว่าจิตเป็นกุศลได้เหมือนกันเท่ากัน


ทีนี้ไม่ต้องไปบอกว่าอันไหนดีกว่ากัน
มีโอกาสทำบุญแม้ในช่วงที่กำลังอึกำลังฉี่ อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านสอน
แค่นี้มันก็น่าพอใจแล้ว ไม่ต้องไปเหมือนกับตั้งสเปคไว้ จะเอาบุญแค่ไหน
ขอให้บุญมันเกิดขึ้นเสมอๆ แล้วเป็นการปิดช่องไม่ให้มารเข้าแทรก
ไม่ให้บาปเข้ามาครอบงำจิตครอบงำใจได้ ถือว่าประเสริฐหมดนะครับ