Print

ดังตฤณวิสัชนา ฉบับเปิดกรุ - ฉบับที่ ๓๕๐

dungtrin_cover

dungtrin_gru2a

 ดังตฤณวิสัชนา ฉบับเปิดกรุ ฉบับที่ ๓๕๐

เมษายน ๒๕๖๓ 

 

ในการทำอาหารถวายพระ เราสามารถชิมรสชาติได้ไหม

ถาม (๑) – ในการทำอาหารถวายพระ
เราสามารถชิมรสชาติเพื่อปรุงรสให้ดีขึ้นได้ไหมคะ

ตอบ – ไม่บาปนะ คือเราไม่ได้เจตนาที่เอาของพระมาใช้
แต่ว่าเจตนาจะใช้อุปกรณ์การปรุงรส ซึ่งก็คือร่างกายของเราเองเนี่ย
มาเป็นตัวช่วยทำให้อาหารเนี่ยมีรสชาติดีนะครับ
จริงๆ แล้วพระเนี่ยตามวินัยแล้วท่านไม่สามารถที่จะมาวิพากษ์วิจารณ์
หรือว่าเอาอร่อยเอาไม่อร่อยอะไรได้นะ

แต่ว่าคือพระพุทธเจ้าก็ตรัสแนะสำหรับฆราวาสนะ
ถวายของประณีต ถวายของที่เลิศรสนะ ถือว่าเป็นบุญทั้งนั้น

ทีนี้คือก็เป็นหน้าที่ของท่านว่าท่านจะต้องไปพิจารณา
ว่ารสชาติหรือว่าความเอร็ดอร่อยของอาหารเนี่ยนะ
มันเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน

พระพุทธเจ้าเคยตรัสแนะไว้ให้คิดว่าเหมือนกินเนื้อศพลูก
ที่เดินทางข้ามทะเลทรายมาด้วยกันแล้วยังไม่พ้นเนี่ย
พอลูกตายก็ต้องเอาเนื้อของลูกเนี่ยมากิน
ท่านให้พิจารณาอย่างนั้นเลยนะสำหรับในแง่ของพระ
แต่ในแง่ของเราเนี่ย ถ้าอยากจะถวายของที่ประณีตของที่ดีเนี่ย
แล้วการชิมบ้างนิดๆ หน่อยๆ

ไม่ถือว่าเป็นการขโมยของพระมา เอามากินของเราเองนะครับ
จิตเจตนาของเราคือใช้ลิ้่นของตัวเองเป็นส่วนประกอบในการปรุงรสอาหารนะ

 

............................................................

ถาม (๒) – ผมเคยนั่งสมาธิแล้วเกิดปีติจนน้ำตาไหล รู้สึกมีความสุขมาก
แต่ในครั้งต่อๆ มาเมื่อพยายามจะเข้าถึงจุดนี้อีก ทำไมเข้าไม่ได้เลยครับ

ตอบ – ก็เพราะว่าคุณไม่ได้ทำเหตุให้เข้าถึงสมาธิ
คุณสร้างเหตุด้วยการเอาความอยากเป็นตัวตั้ง
แล้วก็เอาของเก่ามาพยายามก๊อปปี้ (
copy)
อันนั้นไม่ใช่เหตุของสมาธิ

เหตุของสมาธิตอนนั้นน่ะถ้าคุณนึกได้นะ
ใจคุณจะว่างๆ ใจคุณจะสบายๆ นะ
ปล่อยตามเหตุปัจจัยนะครับ แล้วก็รู้ มีสติ รู้ ดูไป
จนกระทั่งมันเข้าสู่จุดที่มันจะรวมกันได้ แล้วก็มีปีติขึ้นมาได้

อันนี้ถ้าทบทวนดูเหตุในของเก่านะ
ไม่เอาผลในของเก่าเนี่ยมาพยายามก๊อปปี้
ในที่สุดคุณก็จะได้สมาธิแบบเดิมอีกนะครับ