Print

ดังตฤณวิสัชนา ฉบับเปิดกรุ - ฉบับที่ ๓๔๓

dungtrin_cover

dungtrin_gru2a

 ดังตฤณวิสัชชา ฉบับเปิดกรุ ฉบับที่ ๓๔๓

ธันวาคม ๒๕๖๒  

 


ทำอย่างไรจึงจะรู้ลมหายใจได้อย่างถูกต้อง

ถาม – การเห็นลมหายใจที่ถูกต้อง คือเห็นหรือรู้อย่างไรคะ

รู้ตามจริง
เวลาที่คนเราเนี่ยอยู่ในชีวิตประจำวันจะไม่ค่อยรู้ลมหายใจ
นั่นเรียกว่าเป็นการที่เราไม่ได้ตั้งใจดูลมหายใจนะ
ซึ่งก็ยังไม่ถือว่าขาดสตินะ
เพราะขึ้นอยู่กับว่าเรากำลังทำงานอะไร
หรือตั้งใจจะเอาอะไรจากตรงนั้น

บางทีเนี่ยอาจจะพิจารณาธรรมะโดยไม่อาศัยลมหายใจช่วยยังได้
แต่ถ้าหากว่าเราตั้งใจที่จะดูลมหายใจขึ้นมาเนี่ยนะ
นี่ตัวนี้มันมักจะมาพร้อมกับความอยากเห็นลมหายใจ
ถ้าอยากเห็นลมหายใจนั่นน่ะ
ก็คือไม่ได้เห็นลมหายใจแล้ว
มันมีแต่ความอยากที่มันพุ่งเข้าไปจับลมหายใจ

แต่ถ้าหากว่ารู้ลมหายใจ ไม่ใช่อยากจะเอาลมหายใจนะ
มันวัดได้ง่ายๆ เลย
คือถ้าร่างกายเนี่ยมันยังไม่ถึงเวลาต้องเรียกลมหายใจเข้า
ก็จะไม่มีอาการเร่งให้เกิดลมหายใจเข้า
ถ้าหากว่าร่างกายยังไม่ได้ต้องการผ่อนคลาย
ผ่อนคลายคืนลมหายใจออกเนี่ยนะ
มันก็จะไม่มีอาการเร่ง ไม่มีอาการรีบหายใจออกครืดคราดนะ

ตรงนี้แหละที่มันเป็นจุดนะ
ถ้าจิตของเรา ใจของเรามีความสบายใจการดูลมหายใจ
นั่นน่ะให้สันนิษฐานว่า
เรากำลังรู้ลมหายใจตามจังหวะที่ถูกต้องของธรรมชาติทางกายนะ

ถ้าธรรมชาติทางกายอยากได้ลมหายใจตอนนี้ แล้วสูดเข้า
นี่อย่างนี้ใจมันจะรู้สึกปลอดโปร่ง ใจมันจะรู้สึกว่าไม่มีอาการเร่ง
ใจมันจะรู้สึกว่าไม่มีอาการผิดธรรมชาติใดๆ เกิดขึ้น

ไม่มีความกดดัน ไม่มีความหนักใดๆ เกิดขึ้นเลย

แต่ถ้าหากว่ายังไม่ถึงเวลาต้องหายใจ
แล้วเราไปพรวดพราดรีบเร่งหลายๆ ครั้งเข้า

มันเกิดความรู้สึกอึดอัด เกิดความรู้สึกหนักทางกาย
เกิดความรู้สึกเกร็งตามกล้ามเนื้อขึ้นมา
หรือว่าจิตน่ะเกิดความทึบ เกิดความรู้สึกที่มันแคบ
เกิดความรู้สึกว่ามันเป็นอกุศลนะ
นี่ก็คือเครื่องวัดว่าเรารู้ผิด

สรุปง่ายๆ ถ้ารู้ลมหายใจอย่างถูกต้องนะครับ
คือรู้แล้วใจมันสบาย ใจมันเบา
ใจมันมีความตื่น ใจมันมีความรู้ตรงตามจริง

แต่ถ้าหากว่ารู้ผิด ก็ดูที่จิตนะว่ามันมีความหนัก มันมีความทึบ
มันไม่เห็นอะไรเลยนอกจากความรู้สึกอยากของตัวเอง
ที่มันบดบังอยู่เป็นกำแพงขวางข้างหน้า