Print

ดังตฤณวิสัชนา ฉบับเปิดกรุ - ฉบับที่ ๓๒๘

dungtrin_cover

dungtrin_gru2a

 ดังตฤณวิสัชชา ฉบับเปิดกรุ ฉบับที่ ๓๒๘

พฤษภาคม ๒๕๖๒

 

 

หากจิตเกิดอาการเคว้งคว้างในขณะปฏิบัติธรรม ควรทำอย่างไร

ถาม – ถ้าจิตเราคว้าง หาอะไรจับดูไม่ได้ ควรจะไปจับดูที่ไหนครับ 

ตอบ – อันนี้ตรงที่รู้สึกคว้างน่ะ
ก็เพราะว่าเราไม่ได้ถูกเทรน (
train) มาให้รู้อะไรชัดๆ นะ
เราอาจถูกเทรนมาตามใจชอบ ตามอัตโนมัติของตัวเอง
หรือว่าตามคำแนะนำของใครบางคนนะว่าให้รู้ตรงนั้นรู้ตรงนี้
เสร็จแล้วเนี่ย พอไปถึงจุดที่คว้างเนี่ย ไม่รู้แล้วว่าจะรู้อะไรนะ
 

ถ้ามาตามแนวอานาปานสติ มันจะไม่มีจุดที่คว้างนะ
มันจะมีแต่ว่าลมหายใจนี้เกิดจิตที่รู้ชัด
ลมหายใจนี้เกิดจิตที่เหมือนกับเบลอๆ เหม่อๆ

ตรงนี้ที่เรียกว่าเคว้งคว้างน่ะ
ลมหายใจนี้เคว้งคว้างหนึ่งลมหายใจ
ลมหายใจต่อมามันกลับมาชัดขึ้นอีกได้ไหม
หรือว่าลมหายใจต่อมาเนี่ยมันเคว้งคว้างน้อยลงหรือเปล่า
เนี่ยมันจะไม่ลอยไปกับอาการเคว้งคว้าง
แต่ว่ามันจะมีจุดหลัก มันจะมีที่ยืน มันจะมีแกนอ้างอิงที่ชัดเจนว่า
เราจะอาศัยตรงไหนเป็นพื้นยืนของสติ
เป็นที่ยืนของสติ เป็นที่ตั้งของสตินะ
 

คือพูดง่ายๆ ไม่ใช่แค่ถามว่าเคว้งคว้างแล้วจะให้ดูที่ไหน
แต่ต้องถามย้อนไปเลยว่า
เรามีอะไรเป็นที่ยืนของสติเป็นอันดับแรกนะครับ
แล้วเราเคยชิน ปลูกฝังความเคยชินให้ตัวเองมาที่จะรู้แบบไหน
ตัวนี้แหละที่มันจะเป็นทิศทางต่อไป