Print

ดังตฤณวิสัชนา ฉบับเปิดกรุ - ฉบับที่ ๒๙๙

dungtrin_cover

dungtrin_gru2a

 

 

 

จะมีวิธีสังเกตโมหะได้อย่างไร

ถาม (๑) – ดิฉันลองสังเกตเวลาที่มีสิ่งกระทบแล้วมันทึบ
แล้วจะคิดอะไรไม่ออก อันนี้คือตัวโมหะใช่ไหมคะ

ตอบ - ใช่ครับ

 

ถาม (๒) – การที่ใจเราซึมๆ เหนื่อยๆ หรือติดเคลิ้มๆ เผลอเพลินบ่อยๆ
อันนี้ก็เป็นโมหะใช่ไหมคะ แล้วจะมีวิธีสังเกตได้อย่างไร

ตอบ – อันนี้ก็ใช่อีกเช่นกันครับ โมหะมาได้หลายหน้าหลายตานะ
เอาเป็นว่าถ้าหากจิตของเรามีอะไรห่อหุ้มอยู่
ทำให้มองไม่เห็นตามจริง ทำให้รู้สึกเบลอๆ มัวๆ ไม่ชัด หรือมืดทึบ
นี่เหล่านี้พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นโมหะทั้งสิ้น
ในอภิธรรมที่กล่าวว่าโมหะคืออะไรเนี่ย
จาระไนไว้ละเอียดชัดเลย บอกว่าเป็นภาวะที่ทำให้ไม่รู้จริง
เป็นภาวะที่ทำให้มีความเลื่อนลอย ฟุ้งซ่าน
หรือเกิดความไม่เป็นมงคล ไม่เป็นกุศล
อะไรทั้งหลายแหล่เนี่ย จัดเป็นโมหะหมดเลย
พูดง่ายๆ นะ ถ้าหากว่าจิตไม่สามารถรู้ตามจริงได้
นั่นน่ะ โมหะทั้งนั้นแหละ

แล้วถ้าหากว่าอะไรเป็นต้นเหตุให้เกิดโมหะ
เราสามารถเห็นได้ นั่นเรียกว่ามีสติแล้วนะครับ

ถ้าหากว่ามีสติขึ้นมา ตัวโมหะมันหายไปอย่างไร
มันหายไปเริ่มจากตัวนี้แหละ ตัวที่เรารู้สึกว่ามีความมืด
รู้สึกว่ามีความทึบ รู้สึกว่ามีความเคลิ้ม รู้สึกว่ามีความเผลอเพลิน
ตัวนี้แหละที่มันจะทำให้เริ่มจุดชนวนสติขึ้นมา
ตัวโมหะมันจะเหมือนกับม่านที่ถูกแหวกออกไป
จากที่มีสภาพทึบทึม จากที่มีสภาพหนักๆ
มันจะกลายเป็นเบาบาง หรือกระทั่งปลอดโปร่งขึ้นมา

ลักษณะของความปลอดโปร่งเนี่ย
ถ้าหากว่าเราไปติดใจ ถ้าหากว่าเราไปยินดี
อันนั้นก็เป็นรูปแบบของโมหะแบบละเอียดนะครับ
ถ้าหากว่าเราเห็นเข้าไปอีกว่า เออนี่ มันมีความรู้สึกดีๆ
มันมีความรู้สึกติดใจกับความโปร่งเบา
นั่นก็จะเป็นปัญญาอีกชั้นหนึ่ง

เนี่ยเราก็ดูเข้าไปเรื่อยๆนะ นี่แหละวิธีสังเกตที่คุณถามมา