Print

ดังตฤณ วิสัชชนา ฉบับเปิดกรุ - ฉบับที่ ๒๙๘

dungtrin_cover

dungtrin_gru2a

 

 

 

อาการหลงธรรมะเป็นอย่างไร

ถาม – ดิฉันชอบอ่านและฟังธรรมะมากๆ ฟังได้ทุกวัน
ถ้าสบโอกาสหรือมีเวลาก็จะรีบฟังหรืออ่านทันที
ถ้าวันไหนไม่ได้ฟังธรรมะก็เหมือนส่วนหนึ่งในชีวิตขาดหายไป
แต่เสียงที่ฟังไม่ได้รบกวนใคร และยังพูดคุยเฮฮากับคนอื่นๆ ได้ตามปกติ
อยากถามว่าแบบนี้เรียกว่าหลงธรรมะเกินไปหรือเปล่า
และอาการหลงธรรมะเป็นอย่างไรคะ

ตอบ – แต่ละคนมีพื้นฐานปัจจัยแล้วก็มีความสามารถที่จะรับบุญรับกุศล
หรือว่าเสพแสงสว่างทางธรรมแตกต่างกัน
ก็เรียกว่าอัธยาศัยนะ คือจะไปกะเกณฑ์ว่าแค่นั้นแค่นี้ถึงจะเหมาะ
มันอาจจะดูเป็นการไปกำหนดตายตัว
เอาตัวต้นแบบแค่หนึ่งเดียวเนี่ย
มาเป็นตัวแม่แบบให้กับคนทั้งโลก มันคงไม่เหมาะนะ
แต่ถ้าหากว่าจะเอาหลักเกณฑ์ว่าเราโอเวอร์เกินไปหรือเปล่า
หรือหลงใหลมากเกินไปหรือเปล่า ติดมากเกินไป
จนเกิดผลเสียหายหรือเปล่า
ก็ให้พิจารณาดังนี้

ข้อแรก เราดูว่าเมื่อหลงธรรมะ
เมื่อหลงใหล เมื่อติดใจในการฟังธรรมะแล้วเนี่ย
มันเสียงานหรือเปล่า ถ้าหากว่าเสียงานเนี่ยเรียกว่ามันมากเกินไป
ข้อสอง ดูว่ามันเสียเวลาที่จะเอาไปเจริญสติจริงๆ หรือเปล่า
เพราะธรรมะเนี่ยสุดท้ายมันก็เป็นตัวชี้ ตัวพอยน์เตอร์ (
pointer)
ที่จะนำเรามาสู่การเจริญสติของจริง
ถ้าหากว่าเรามีการเจริญสติ
ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเอามรรคเอาผลอย่างเดียวนะ
แต่มีสติอยู่ในชีวิตประจำวัน
เห็นเวลาที่โกรธ เห็นเวลาที่เกิดความโลภ
เห็นเวลาที่เกิดความคิดอะไรผิดๆ ได้
นี่เรียกว่าสติเนี่ยเจริญขึ้นแล้ว

ถ้าหากว่าเราเอาแต่ฟังธรรมะ
แต่ไม่ได้เอามาใช้เจริญสติจริงๆ เลย
นี่เรียกว่าหลงติดในการฟังแบบเปล่าประโยชน์

คือได้แค่ปัญญา ได้แค่บุญในระดับของการฟัง
แต่ไม่ได้เอามาใช้จริงที่จะก่อให้เกิดกรรมของตัวเอง
กรรมที่เกิดการคิด การพูด การทำ
ถ้าหากว่าเรามีพฤติกรรมที่มันสอดคล้องกับธรรมะที่เราฟัง
อันนี้เรียกว่าไม่ได้หลงมากเกินไป
ไม่ได้โอเวอร์เกินไปนะครับ

สรุปก็คือถ้าหากว่าจะอ่านและจะฟังธรรมะ
ก็ให้ดูตัวเองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิตจริงๆ ของเรา
มันสอดคล้องกับสิ่งที่เราอ่านสิ่งที่เราฟังหรือเปล่านะครับ