Print

ดังตฤณวิสัชชนา ฉบับเปิดกรุ - ฉบับที่ ๒๘๑

dungtrin_cover

 dungtrin_gru2a

 

 

สัตว์มองเห็นสิ่งต่างๆ อย่างไร

 

ถาม – เวลาหมาแมวมองเห็นรูป มันเห็นรูปปรมัตถ์อย่างเดียวเลยใช่ไหมคะ
แล้วมันรู้จักสมมติบัญญัติด้วยหรือเปล่า

ตอบ - สัตว์ที่ไม่มีปัญญาประกอบเนี่ยนะ
ไม่มีทางเห็นเป็นรูปปรมัตถ์ได้เลยอย่างเด็ดขาดนะครับ
มันมีโมหะห่อหุ้มอยู่
อย่างไรๆ มันก็ต้องคิดเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง
มันยึดว่าอันนี้คือมนุษย์ อันนี้คือพวกมันเป็นหมา
อันนี้คืออีกพวกหนึ่งเป็นแมวอย่างนี้ อันนั้นคืออีกพวกหนึ่งเป็นไก่
มันจำได้นะ มันมีอายตนะคือตา
เวลาที่รูปทรงของอัตภาพหนึ่งๆ เข้ามากระทบตามัน
มันจำได้ว่าเป็นสัตว์จำพวกไหน สิ่งมีชีวิตจำพวกไหน
ถ้าเป็นสิ่งมีชีวิตชั้นสูงที่เป็นนายมันได้ก็มีแต่มนุษย์น่ะนะ

จริงๆ แล้วเนี่ยถ้าไปศึกษาดูนะ ดูในอินเทอร์เน็ต หาดูก็แล้วกัน
วิธีที่หมาเห็นมันไม่เหมือนกับที่เราเห็นนะ
คืออันนี้เป็นวิทยาศาสตร์เลย
รู้สึกว่าองค์ประกอบโครงสร้างของประสาทตาไม่เหมือนกันกับของเรา
สิ่งที่มองเห็นเนี่ย บางอย่างมันเห็นมากกว่าเรา บางอย่างมันเห็นน้อยกว่าเรา
ผมจำรายละเอียดไม่ค่อยได้ ลองไปเสิร์ช (
search) ดูก็แล้วกัน

แต่โดยสรุปนะ คือไม่ใช่ว่าประสาทตาเนี่ย
มันจะเห็นอะไรได้แค่ไหน มากน้อยกว่ากันเพียงใด
แต่มันขึ้นอยู่กับว่าใจที่รับรู้สิ่งที่เห็นน่ะ
มันไปปรุงแต่งด้วยอาการของโมหะหรือด้วยอาการของปัญญา

ถ้าหากเป็นสัตว์ทั่วไป ไม่ว่าจะไล่ตั้งแต่สัตว์นรกขึ้นมาจนถึงพระพรหมเลย
ล้วนแล้วแต่มีโมหะครอบงำอยู่
ถ้าสัตว์นรกก็มีโมหะชนิดหนาแน่นสุดขีดเลย
มีแต่ความเร่าร้อน มีแต่ความรู้สึกว่าตัวเองกำลังถูกแผดเผาอยู่
ส่วนเทวดา พระพรหม ถ้าหากว่ามีความปรุงแต่งที่ละเอียดขึ้น เป็นปีติ เป็นสุขเนี่ย
ก็จะมีความรู้สึกว่าความเย็น มีปีติ มีสุข อันเป็นทิพย์น่ะ คือตัวเรา

แต่ถ้าหากว่ามนุษย์ผู้ใด หรือเทวดาองค์ใด พระพรหมองค์ใด
สามารถที่จะเข้ามารู้เข้ามาดูภายในโครงสร้างของชีวิต
อันประกอบด้วยส่วนของรูปกายแล้วก็รูปจิต
ถ้าหากว่ามองเห็นทั้งรูปกายและรูปจิต
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน
กระทั่งเกิดปัญญาประกอบอยู่กับจิต
ปัญญาเกิดความรู้ว่าทั้ังกายทั้งจิตเนี่ย
เป็นแค่ภาวะประชุมประกอบกันชั่วคราว ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
นี่ตรงนี้แหละ ตรงนี้เท่านั้นแหละนะ
เวลาที่รูปเข้ามากระทบตา
ใจมันถึงจะมีอาการปรุงแต่งไปในทางความเป็นปัญญา

เห็นว่ารูปสักแต่เป็นรูป สีสักแต่เป็นสี ทรงสักแต่เป็นทรง
แต่ไม่มีตัวตนอยู่ในรูป ทรง สี ที่ได้เห็น

แล้วใจต้องมีความตั้งมั่นนะ
คือไม่ใช่เห็นประเดี๋ยวประด๋าวนะ
คือใจต้องมีความตั้งมั่น เห็นว่าก่อนเกิดรูปก็มีความรู้อยู่ที่ใดที่หนึ่ง
อย่างเช่นอิริยาบถปัจจุบันนะ ว่ามันสักแต่เป็นรูป
พอมีรูปภายนอกเข้ามากระทบตา
ใจก็ปรุงแต่งไปว่า เออ นั่นรูปภายนอก
แล้วก็สิ่งที่เกิดเป็นความชอบความชัง เป็นปฏิกิริยาที่โต้ตอบออกไป
ก็สักเป็นของปรุงแต่งชั่วคราว
ปัญญาที่มันเกิดประกอบแบบนี้ได้เนี่ย
ต้องอยู่บนจิตที่มีความตั้งมั่นเป็นสมาธิเท่านั้น

ไม่ใช่ว่ากำลังคิดๆ นึกๆ อยู่นะครับ