Print

ดังตฤณวิสัชนา ฉบับเปิดกรุ - ฉบับที่ ๒๗๓

dungtrin_cover

 dungtrin_gru2a

 

 

ทำไมการรับประทานเนื้อสัตว์จึงไม่ผิดศีล

ถาม – จะมีวิธีการง่ายๆ ในการอธิบายให้เพื่อนชาวต่างชาติเข้าใจได้อย่างไร
ถ้าหากว่าเรารักษาศีลห้า ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
แต่ยังคงสามารถรับประทานเนื้อสัตว์ได้โดยไม่ผิดศีล

 

ตอบ - อันนี้ถ้าอยู่ๆ เนี่ยไปพูดแบบเป็นเหตุเป็นผล
เหมือนกับบอกว่าไม่ฆ่าสัตว์ แต่ว่ากินเนื้อสัตว์
เนี่ย ฟังทั้งโลกนะ แม้แต่ตัวเราเอง
บางทีเราก็ต้องสงสัยนะว่า เอ๊ะ มันไม่ขัดแย้งกันเหรอ
ไม่ขัดแย้งกันครับ คือว่าดูที่กำลังใจ
เวลาที่เรากินเนื้อเนี่ย เราไม่ได้อาศัยกำลังใจที่จะไปฆ่าฟัน
หรือว่ากระทั่งไปไหว้วานให้ใครเขาทำเนื้อมาให้เรานะ

ดูที่กำลังใจเนี่ย ถามตัวเองว่าเราเจตนาฆ่าสัตว์สักตัวไหม
เราอยากให้สัตว์สักตัวเนี่ยได้ตายไหม
เราอยากจะเอาเนื้อสัตว์ที่ตายแล้วเนี่ย ที่เราเห็นว่าถูกฆ่าตายเนี่ย มากินไหม
มันไม่มีสักอย่าง
การปรุงแต่งจิตเนี่ยนะ มันไม่ได้เกิดขึ้นในแบบที่จะเอาเลือดเอาเนื้อใคร
แต่มันเห็นอยู่แล้วว่ามีศพสัตว์นะ เห็นอยู่แล้วว่ามีเนื้ออยู่ในจาน แล้วก็เอามากิน
คือกำลังใจของเราเนี่ยแค่เอาเนื้อที่อยู่ในจานมากิน

ถามว่าแบบนี้เป็นการเล่นลิ้นหรือเปล่า
เป็นการเหมือนกับจะแก้ตัวไปน้ำขุ่นๆ หรือเปล่านะ
มันไม่ใช่การแก้ตัวนะ
ก่อนที่เราเกิดมา มันก็มีสัตว์ตายอยู่แล้ว มันมีวงจรของมันอยู่
พุทธศาสนาเนี่ยเป็นศาสนาของเหตุผล
คือว่าการที่จะต้องมีคนฆ่าสัตว์ แล้วมีสัตว์ต้องตายเพราะถูกฆ่าเนี่ย
มันเป็นกงเกวียนกำเกวียน คือเคยทำเขาไว้มา แล้วในที่สุดก็ต้องมาชดใช้
หรืออย่างพระบางท่านบอกว่าเนี่ย
ถ้าหากว่าบวชแล้วไม่เจริญสติให้คุ้มค่าชาวบ้าน
บางทีไปเกิดเป็นวัวก็มี อะไรแบบนี้ เพื่อที่จะชดใช้ เอาเลือดเนื้อตัวเองเนี่ยชดใช้

ในแง่ของกรรมวิบากนะ
มันมีคำอธิบายอยู่ว่าทำไมถึงต้องไปเกิดเป็นสัตว์ที่ถูกคนเนี่ยไปเอามาฆ่าเอามากิน
แล้วถ้าหากว่าเราอยู่อย่างนี้แล้วเราไม่กินเนื้อสัตว์เลย
ถามว่าสัตว์ยังจะต้องตกตายอยู่ไหม
มันก็ยังมีอยู่ดี เพราะคนทั้งโลกเขากินกัน
หรือบางทีไม่ได้ฆ่าเพื่อกิน บางทีฆ่าเพื่อสนุกก็มี
บางทีฆ่าเพื่อที่จะเอาเนื้อหนังก็มี
มาทำอย่างอื่นนะ มาเป็นเครื่องประดับมาอะไรบ้าง
เพราะฉะนั้นพูดง่ายๆ ว่าชีวิตของเรา
ไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับโลกขึ้นมาได้แน่นอนนะ
แต่ถ้าหากว่าใครอยากจะกินมังสวิรัติหรือว่ากินเจ
ด้วยเจตนาว่าจะได้ไม่ต้องมีสัตว์ที่ตกตายที่ถูกนำมาฆ่าเนี่ย
ด้วยความต้องการของเรา
หรือเราเป็นส่วนหนึ่งในดีมานด์ (
demand) ในกระแสการฆ่าฟันแบบนี้เนี่ย
มันก็ได้บุญ คือได้ความรู้สึกเมตตา
ไม่อยากที่จะให้สัตว์ต้องมาตายเพราะว่ามีเราเกิดมา

แต่ว่าไม่ได้หมายความว่าการที่เราเป็นมังสวิรัติหรือว่าการที่เรากินเจเนี่ย
จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นมาในระดับของสังสารวัฏ
เพราะสังสารวัฏคือวงจรนะ วงจรกรรมวิบาก
เมื่อฆ่า ในที่สุดก็ต้องถูกฆ่า
เมื่อเอาเลือดเอาเนื้อเขามา ในที่สุดก็ต้องเอาเลือดเอาเนื้อไปชดใช้เขา
แต่สำหรับคนกินเฉยๆ มันไม่ได้อาศัยกำลังใจในการฆ่า
มันไม่รู้อยู่ก่อนว่าสัตว์ตัวไหนจะมาตายเพื่อเรา
อันนี้ก็ไม่ใช่ถือว่าเป็นการทำปาณาติบาต

เหมือนอย่างที่พระเทวทัตทูลขอพระพุทธเจ้าว่า
ขอให้พระพุทธเจ้าเนี่ยบัญญัติพระวินัย ไม่ให้พระภิกษุสงฆ์เนี่ยฉันเนื้อสัตว์
พระพุทธเจ้าไม่ยอม เพราะว่าเหตุผลของท่านก็คือว่า
ชาวบ้านเขาอยู่กันอย่างนี้นะ เขากินกัน
แล้วเราจะมาเรื่องมาก ทั้งๆ ที่เราไปเป็นฝ่ายขอเขาเนี่ย
จะขอแต่ผัก จะขอแต่สิ่งที่มันไม่ใช่เนื้อสัตว์เนี่ย มันผิดวิสัยของผู้ขอนะ