Print

ดังตฤณวิสัชนา ฉบับเปิดกรุ - ฉบับที่ ๘๒

dungtrin_gru2ถาม: เป็นชาวพุทธอย่างไร จึงได้ชื่อว่ามีปัญญานำ ?

การมีปัญญานำก็คือมีเหตุมีผลนั่นเอง
คือรู้ว่าอะไรเป็นเหตุที่เป็นประโยชน์
รู้ว่าอะไรเป็นเหตุที่ทำให้เกิดโทษ
อย่างเนี้ยที่เรียกว่ามีปัญญานำ

แต่ถ้าคนไม่มีเหตุผลนะ ก็คือ
ใครบอกว่าอะไรเป็นยังไงจะไม่สืบสาวจะไม่สนใจว่าเหตุผลที่มาที่ไปมันเป็นยังไง
ก็เชื่อตามอย่างนั้นน่ะที่เรียกว่างมงายและไม่มีปัญญานำ

ถาม: ถ้าเราเป็นชาวพุทธที่แท้
เราควรตั้งเป้าการปฏิบัติเพื่อเป็นพระโสดาบัน หรืออย่างไรคะ?

ตอนแรกต้องทำความเข้าใจก่อนว่า
ปฏิบัติธรรมไปแล้ว บั้นปลายก็คือได้เป็นพระอรหันต์
แต่ก่อนเป็นพระอรหันต์
มีลำดับขั้นมา เริ่มต้นด้วยโสดาบัน
ตามมาด้วยสกิทาคามี ตามมาด้วยอนาคามี
อันนี้เป็นส่วนของการทำความเข้าใจ

แต่ในส่วนของการปฏิบัติจริงที่ควรตั้งเป้า
ไม่ควรตั้งเป้าที่การได้เป็นอริยะขั้นนั้นขั้นนี้
แต่ตั้งเป้าเพราะว่าใจเราจะมีความสงบสบายลง ลดความอยากลง ลดกิเลสลง
อันนี้ต่างหากที่ควรตั้งเป้า และการตั้งเป้า มันจะเป็นได้จริง
ทำได้จริงตั้งแต่วันนี้เลย ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มต้น

ถาม : เข้าใจว่าตอนนี้ คนส่วนใหญ่ ถ้าตายไปจะไปไม่ค่อยดี
เนื่องจากสังคมยุคปัจจุบันมีแนวโน้มบีบให้จิตมีอกุศลมาก
ไม่ทราบมีส่วนถูกต้องอย่างไรคะ?

ก็จริง แต่มันไม่ใช่จริงเฉพาะสมัยนี้ สมัยไหน ก็เหมือนกันหมดน่ะ
โลกมนุษย์เนี่ยมันไม่ค่อยมีอะไรดี กระตุ้นให้มีความรู้สึกที่เป็นกุศล
แต่ว่ามันจะบีบคั้น หรือกระทบกระแทกให้เกิดความรู้สึกโลภ โกรธ หลง
เพราะฉะนั้นถ้าเราจะแก้ เราต้องแก้ที่ความเข้าใจ
ตั้งต้นกันด้วยการฟังหลักการที่ถูกต้อง
ว่าทำไมมันถึงเกิดมาเป็นแบบนี้ ตายไปแล้วจะไปไหนได้บ้าง
แล้วก็ไอ้ที่ยังอยู่เนี่ยทำยังไงถึงจะเกิดผลดีที่สุดเท่าที่มันจะคุ้มกับการมีชีวิตนึง

ถาม: ในวงการพระพุทธศาสนา
การภาวนาหรือเรียกอีกอย่างว่าการดูจิตนั้นสำคัญไฉนคะ?
ทำไมจึงเน้นให้ดูจิต?

การดูจิตเป็นคำเฉพาะของครูบาอาจารย์ชั้นหลังนะ
แต่จริง แล้วเนี่ย พูดถึงพฤตินัยของสติปัฏฐานสี่เนี่ย
มันก็คือการดูเข้ามาในกายของตัว

ดูเข้ามาในความรู้สึกสุขทุกข์ของตัว
ดูเข้ามาที่ภาวะของจิตของตัว
และก็ดูสภาพธรรมทั้งหลายทั้งปวงทั้งภายนอกภายใน...
ว่ามันไม่เที่ยง ไม่ทน นะ แล้วก็ไม่ใช่ตัวตน

แต่ทีนี้ถ้าหากเอามาพูดกันยืดเยื้อ ยืดยาวเนี้ยบางทีมันไม่เข้าใจ
ง่าย ก็ ครูบาอาจารย์ท่านก็ย่นย่อลงมาเหลือสั้น แค่ การดูจิต
เพราะว่าถ้าดูจิตได้อย่างเดียวเนี่ย มันครอบคลุมทุกอย่างอยู่แล้ว
แม้แต่การดูสภาพทางกายสภาพทางสุขทุกข์อะไรต่าง ทั้งหลายเนี่ย
ประชุมแล้วมันก็ลงมาอยู่ที่จิตนั่นแหล่ะ
ถ้าจิตมีสติ ถ้าจิตมีความเป็นกุศลไม่มีความเป็นอกุศล
ตรงนั้นเนี่ยมันก็เป็นอะไรที่ครบถ้วนบริบูรณ์อยู่แล้ว
ในการปฏิบัติธรรมแบบสติปัฏฐานสี่

ถาม: คุณดังตฤณช่วยกรุณาแนะวิธีดำเนินจิตหรือประคองจิตในสังคมยุคปัจจุบัน
สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ริเริ่มภาวนา
?

ก็ใช้หลักของ ทาน ศีล และก็ภาวนานั่นแหละ
ยกตัวอย่างเช่น เราตั้งสติดูก่อนว่า ตอนเนี้ย เรามีความตระหนี่มั้ย?
ถ้าจิตมีความตระหนี่เราก็ดูว่า เออ... ถ้าให้ไปแล้วเนี่ยมันเป็นสุขหรือว่าเป็นทุกข์?
มันเป็นความโล่งหรือเป็นความทุกข์หนัก?
ถ้าเห็นว่า การให้มันมีความปลอดโปร่ง มันมีสภาพที่ดี
เราก็ให้ตัดสินว่า การให้นั้นน่ะเป็นคุณ
เป็นคุณทั้งกับคนที่รับ คือเค้าได้ของไปใช้ และก็ในแง่ของเราคือ ใจเราเบาลง
หรือแม้แต่เรามีเรื่องกับใคร ถ้าเราให้อภัยเป็นทาน
ตัวผู้ได้รับการอภัยเค้าก็เกิดความรู้สึกโล่งอกสบายใจว่าพ้นจากเวรกัน
และส่วนของเรา เราก็รู้สึกว่า
เออ... มันมีความสว่างขึ้น มีความรู้สึกเป็นเมตตามากขึ้น
มีความรู้สึกนุ่มนวลมากขึ้น
ถ้าเห็นแบบเนี้ยได้เราก็ตัดสินได้ว่า จิตที่เป็นทานเนี่ย เป็นของดี

ต่อมา ดูในกรอบของศีล
คือถ้าหากว่า เราจะทำอะไรตามกิเลสแล้ว
อย่างยุงกัดปุ๊บ ตบยุงทันที ดูซิว่ามีความเหี้ยมเกรียมอยู่มั้ย?
รึว่า ถ้าอยากได้ของใคร
อยากจะได้เงินในส่วนที่เรานึกว่าอยู่ในความดูแลของเรามาเนี่ย
แล้วเราทำทันที เรารู้สึกยังไง? เลวร้าย หรือว่ามันดีงาม?
เนี่ยศีลข้ออื่น ต่อไปเนี่ยดูเป็นข้อ ไป นะ
ว่าแต่ละข้อเนี่ย
ทำแล้วจิตเป็นยังไง ถ้าทำแล้วจิตเป็นอย่างไร
ถ้าหากว่าทำแล้วจิตมันดีเราก็ทำไป ถ้าทำแล้วจิตมันแย่หรือว่าเสียหายก็อย่าไปทำ

ต่อมาเนี่ย ดูได้อีกในขั้นลึกซึ้งที่มันเป็นเรื่องของสติปัญญาจริง
นั่นก็คือว่า ดูเข้าเลยไปตรง
ว่าขณะจิตหนึ่ง เนี่ย เกิดความอยากหรือเกิดความสงบจากความอยาก
ถ้าหากอยากมาก อาจจะรู้สึกเหมือนจิตมันพุ่ง ออกไป
มันทะยานออกไป
มันยืดออกไปจับกับวัตถุที่ล่อตาล่อใจ
แต่ถ้าหากว่ามันมีสติ มีสัมปชัญญะ มีปัญญา มีความสว่าง
มีความสะอาดอยู่เนี่ย มันจะรู้สึกนิ่ง เฉย วางเฉย
เป็นการวางเฉยในแบบที่เปี่ยมสุข มันสุขที่ไม่ต้องอยาก
ไม่ต้องดิ้นรน มันมีความสงบ ไม่กระวนกระวาย

เนี่ยถ้าหากเราเห็นตามหลักของทาน ศีล ภาวนา
เค้าเรียกว่าเป็นการดูจิตได้แล้ว
คือพูดง่าย ว่าดูจิตไปในขณะที่ทำทาน รักษาศีล
แล้วก็ภาวนาที่คิดว่าเป็นการภาวนา