Print

ดังตฤณวิสัชนา ฉบับเปิดกรุ - ฉบับที่ ๒๔๔

dungtrin_cover

 dungtrin_gru2a

 

 

การให้ทานแบบไม่มีเงื่อนไขมีลักษณะอย่างไร

 

ถาม (๑) – เคยอ่านข้อความของคุณดังตฤณ
ว่า “ยิ่งตั้งข้อแม้ในการให้ทานมากขึ้นเท่าไร ยิ่งไม่ใช่การให้ทานมากขึ้นเท่านั้น”
จึงสงสัยว่าถ้าหากเราบริจาคเลือดให้ผู้ป่วยรายหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง
จะเรียกว่าเป็นการทำทานแบบมีเงื่อนไขหรือไม่คะ

 ตอบ – การเลือกให้ทาน ไม่ใช่เงื่อนไขนะ
คำว่าเงื่อนไขในการให้ทานที่ผมเคยเขียนไว้
หมายถึงเราอยากได้ข้อแลกเปลี่ยน อยากได้สิ่งแลกเปลี่ยนอะไรมา
ยกตัวอย่างเช่น แทนที่เราจะบริจาคเลือดด้วยความคิดอนุเคราะห์
อยากให้คนอื่นได้เลือดของเราไปใช้ประโยชน์ ไปต่อชีวิต
หรือว่าไปทำให้ชีวิตเนี่ยนะเป็นปกติสุขมากขึ้น
ถ้าด้วยความมีใจอยากอนุเคราะห์แบบนี้นะ
เรียกว่าไม่มีเงื่อนไขอื่น
เรียกว่าไม่มีข้อแม้อื่น
อยากอนุเคราะห์อย่างเดียว เป็นทานเต็มๆ

เหมือนกับอันนี้ก็เหมือนกันนะ ที่เราจะไปบริจาคให้สภากาชาด
หรือว่าจะบริจาคให้คนที่เขาขอมา

ถ้าหากว่าเจตนาเป็นไปเพื่ออนุเคราะห์เขา
มันก็ได้ผลเป็นทานจิต
คือ ณ ขณะที่จิตดวงนั้นเกิดขึ้นเนี่ยเป็นทานจิต
หมายความว่าจิตนะ พึงประกอบด้วยความคิดอนุเคราะห์
เป็นบุญเป็นกุศลเต็มๆ ดวง ไม่มีเงื่อนไขอื่น
ไม่มีข้อแม้อื่นที่นอกเหนือไปจากการคิดอนุเคราะห์การให้ทาน
นี่คือความหมายที่แท้จริงของการให้ทาน
เราให้โดยไม่ได้หวังผลตอบแทน
ไม่ได้คิดว่าอันไหนมันจะได้บุญมากกว่ากัน
ถ้าเขาขอ เราเห็นๆ เลยว่าเขาเดือนร้อนอยู่ เราให้เขาไปเนี่ย
อันนี้เป็นการช่วยแท้ๆ เลย เป็นความกรุณาแท้ๆ เลย


 

ถาม (๒) – ถ้าเราคิดจะให้ทานแต่ก็กลัวถูกมิจฉาชีพหลอก แบบนี้ควรทำอย่างไรคะ

ตอบ – อย่างนี้ก็แล้วกัน ขอให้มองตรงที่เจตนาของเราอย่างเดียวก็แล้วกัน
ว่าถ้าหากเจตนาของเรานะคิดอนุเคราะห์อย่างเดียว
ปลื้มในการได้ช่วยคน ปลื้มในการได้ทำทาน
ปลื้มในการที่เราได้มีส่วนทำประโยชน์ให้กับโลกนี้
อันนี้แหละเป็นทานเต็มๆ เลย

ส่วนที่ว่าจะมีปัญหาจุกจิกกวนใจอย่างอื่น
มารบกวนสภาพของจิตที่เป็นทานไม่ให้บริสุทธิ์
อันนี้ก็เป็นเรื่องต้องยอมรับตามจริงว่ากำลังของทานมันก็ลดลง
แต่อย่างไรก็เป็นทานแท้ๆ เป็นทานจริงๆ นั่นแหละ
ในเมื่อเราคิดจะอนุเคราะห์คนนะครับ