Print

ดังตฤณวิสัชนา ฉบับเปิดกรุ - ฉบับที่ ๒๔๑

dungtrin_cover

 dungtrin_gru2a

 

 

  อาการติดเพ่งมีลักษณะอย่างไร

 ถาม - อาการติดเพ่งจะมีลักษณะอย่างไรคะ
อาการนิ่งๆ ไม่พูด แต่รับฟังคนอื่นมากกว่าที่จะพูดร่วมกัน
ถือว่าเป็นการเพ่งอย่างหนึ่งหรือไม่คะ

 ตอบ - ไม่ใช่นะ ตัวอาการที่กดไว้เนี่ย ลักษณะที่ไม่อยากจะพูด
บางทีมันเป็นการปรุงแต่งอย่างหนึ่งของใจ
ที่ไม่อยากจะสูญเสียความสงบหรือว่าสูญเสียอาการเงียบ
มันอยากจะเงียบอยู่อย่างนั้น
แต่ว่าตัวติดเพ่งเนี่ย ถ้าใช้ในความหมายร่วมสมัยนะครับ
ที่เราใช้ๆ กันในช่วงหลังๆ เนี่ย
ก็หมายถึงว่าจดจ้องเกินงามนะ จดจ้องเกินพอดี
ไม่ต้องออกแรงมากก็ไปออกแรงซะ
หรือว่าไม่ต้องพยายามคาดคั้นมากก็ไปคาดคั้นซะ

คล้ายๆ กับอย่างเวลาที่เรามองดูผนังห้องอย่างนี้
จริงๆ แล้วแค่เราดูปกติเหมือนดูทีวีอะไรอย่างนี้
เราก็ทอดตามองดูสบายๆ มันก็เห็น
แต่ว่านี่จะไปจ้อง ออกแรงนะ จะดูให้เห็นชัดๆ
ไม่รู้จะดูตรงไหนละ จะชัดอย่างไรละ
รู้แต่ว่าเราไปจ้อง ไปโก่งคอจ้อง ไปมีอาการเกร็ง มีอาการเนื้อตัวไม่สบาย
ดูตรงนั้นแหละนะตัวเพ่งน่ะ พอเราเกิดโฟกัสอะไรขึ้นมามากๆ เนี่ย
เนื้อตัวมันจะเกร็ง มันจะเหมือนกับมีความรู้สึกไม่สบาย

 แต่ถ้าหากว่าเรารู้สบายๆ นะ เนื้อตัวมันจะผ่อนคลาย แล้วจิตใจมันจะเปิดกว้าง
เหมือนกับทอดมองดูผนังแบบสบายๆ เราก็เห็นแล้วว่านี่เป็นผนัง
ไม่ต้องไปเพ่ง ไม่ต้องไปจ้อง ไม่ต้องไปตั้งใจอะไร
มันก็สามารถที่จะรับรู้ได้นะ