Print

ธรรมะกับไลฟ์สไตล์ - ฉบับที่ ๗๖

บทสัมภาษณ์คุณดังตฤณในงานประกาศผลการประกวดการ์ตูนธรรมะ

Your browser may not support display of this image.

วีเจเหมียว: โอเค ก็อยากจะให้พี่ตุลย์กล่าวถึงโครงการนี้นะคะ แล้วก็ไหน ๆ น้อง ๆ ก็มากันเยอะ มีหลายคนอยากจะมา เพราะอยากจะมาเจอพี่ตุลย์จริง ๆ แสดงว่าได้ผล สิ่งที่พวกเราคิดนี้ได้ผลนะค่ะ อยากจะให้พี่กล่าวอะไรหน่อย

คุณดังตฤณ:
ก็เริ่มต้นขึ้นมา กอล์ฟ (คุณกนกเรขา กฤษฎารักษ์) ก็เป็นคนคิด กอล์ฟนี่จริง ๆ แล้วก็เป็นทีมงานของธรรมะใกล้ตัวที่เรียกว่ากำลังสำคัญคนหนึ่ง เพราะว่า ข้อแรกคือ ทำสม่ำเสมอมานานหลายปี ข้อสองคือ เป็นคนที่มีหัวก้าวหน้า มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อยากปรับปรุง หรือว่าอยากเพิ่มเติมเสริมแต่งอะไรเข้าไป ทำให้นิตยสารมีสีสัน ก็พอบอกว่ามีโครงการเกี่ยวกับเรื่องของการ์ตูนขึ้นมานี่ ผมก็เห็นด้วยทันทีว่า เป็นเรื่องที่น่าสนับสนุน เพราะว่าพวกเรานี่นะ โตกันขึ้นมาในโลกที่มีความสับสนนะ ช่วงเด็กที่สุด ช่วงที่เราไม่รู้อะไรเลย เรามองเห็นอะไรก่อน ผู้ใหญ่ให้การ์ตูนเราดู บอกดูการ์ตูน อย่ามาดูละคร อย่ามาดูเรื่องของผู้ใหญ่ เดี๋ยวนี้มีอะไรนะ บวก 18 หรืออะไร น.หนู ท.หทาร

วีเจเหมียว: จริง ๆ น่าจะมี ห ห้ามดู

คุณดังตฤณ:
(หัวเราะ) ห้ามดูหมดทั้งโลกเลยนะ

วีเจเหมียว: ห้ามดูหมดเลย

คุณดังตฤณ:
มันมีหลายเรื่องเลยที่สมควรที่จะถูกแบน แต่ก็ไม่โดนแบน แล้วแถมออกเป็นช่วงไพร์มไทม์ด้วย หลังข่าว เพราะมันทำเงินได้ดี ทีนี้ถามว่า พวกเราโตขึ้นมากัน ผู้ใหญ่บอกให้ไปดูการ์ตูน แล้วอะไรล่ะที่อยู่ในการ์ตูน เคยเห็นไหม เอาโจรมาเป็นพระเอก นึกออกไหม

วีเจเหมียว: นึกออก ๆ

คุณดังตฤณ:
เรื่องอะไรบ้าง

วีเจเหมียว: เยอะนะ ซิตี้ฮันเตอร์ สมัยก่อน ใครเคยดูเปล่าค่ะ

คุณดังตฤณ:
อาละดินกับตะเกียงวิเศษนี่ พี่ดูแล้วพี่ประทับใจนะ เรื่องนี้ แล้วก็ชอบ ทำให้เรามีความฝัน ทำให้จินตนาการของเราเป็นแบบแฟนตาซีได้ แต่ว่า ถามว่า ตัวพระเอกนี่ ขึ้นต้นมานี่ มีคำอธิบายไหม ว่าทำไมถึงมีแรงผลักดันให้ต้องมาเป็นโจร ให้ต้องมาเป็นหัวขโมย แล้วบอกว่าเป็นหัวขโมยที่น่าเห็นใจด้วย ดูจบเสร็จนะ แม่สอนลูกบอกว่า ลูกอย่าเป็นขโมยนะ

วีเจเหมียว: แต่ดูในการ์ตูนแล้ว มันเท่ห์มากเลยนะ

คุณดังตฤณ:
แต่ดูไปแล้วชั่วโมง สองชั่วโมง แล้วมาบอกแค่คำเดียว นาทีเดียว บอกลูกอย่าเป็นขโมยนะ หรืออย่างทอมแอนด์เจอรี่อย่างงี้ มีแมวไล่จับหนู บางทีหนูแกล้งแมวนะ แมววิ่ง ๆ อยู่ หนูเอากระทะมาฟาด เปรี้ยง ทำให้นะจังงัง แล้วก็กลายเป็นภาพที่ตลก แล้วพ่อแม่ก็ พอลูกดูการ์ตูนจบ ลูกอย่าแกล้งคนนะ คือภาพมันเข้าไปสู่จิตใจของเด็ก ๆ แล้วอะ เด็กที่ยังไม่รู้อะไรเลย ยังตัดสินใจด้วยตัวเองไม่ได้ว่า อันไหนถูก อันไหนผิด อันไหนควร อันไหนไม่ควร แต่เค้าได้เสพสื่อเหล่านี้ตั้งแต่แรกที่จำความได้ ตั้งแต่สองขวบ สามขวบ เด็กเริ่มจำความได้นี่สองขวบ สามขวบนะ แต่เริ่มคิดเองได้ตอนประมาณ หกถึงเจ็ดขวบ

วีเจเหมียว: ค่ะ

คุณดังตฤณ:
ตั้งแต่สองถึงสามขวบนี่ เค้าได้ดูการ์ตูนอะไร การ์ตูนสมัยยุคพวกเรานี่ ของเหมียวก็ห่างจากพี่หลายสิบปีอยู่

วีเจเหมียว: ยุคพวกเรา

คุณดังตฤณ:
แต่เอาเป็นว่า ตั้งแต่ยุคผมมานี่ จริง ๆ แล้วการ์ตูนสมัยนั้น ยังถือว่ามีความอ่อนโยน มีคุณธรรมแทรกอยู่บ้าง เช่น ทอมแอนด์เจอรี่นี่ มันแกล้งกันเสร็จ มันมาเช็คแฮนด์กันตอนท้าย บอกให้อภัยกัน หรือไม่ก็ ทอมนี่หนูหรือแมวน่ะ

วีเจเหมียว: ทอมนี่แมวค่ะพี่ เจอรี่หนูค่ะพี่ ตกลงพี่ได้ดูหรือเปล่าค่ะ

คุณดังตฤณ:
(หัวเราะ) คืออย่างทอมนี่ อย่างเป็นฝ่ายแพ้ ถูกไหม

วีเจเหมียว: ใช่ ๆ

คุณดังตฤณ:
หนูที่มีความสามารถเอาตัวรอด หนูที่เป็นพระเอกช่วยเหลือกัน ส่วนทอมนี่ก็หัวเดียวกระเทียมลีบ เป็นโจรอยู่คนเดียวเลย แล้วก็ไม่มีใครเห็นใจ ไม่มีใครให้ความเห็นใจ อันนั้นก็ยังมีอะไรที่ดูแล้วได้บ้างนิดนึงว่า ธรรมะย่อมชนะอธรรม หนูเป็นตัวแทนของธรรมะได้ยังไงก็ไม่รู้แหละ เอาเป็นว่า ถ้าเป็นฝ่ายที่ถูกแกล้งแล้ว ในตอนท้ายมันจะชนะ แต่การ์ตูนปัจจุบันเป็นยังไง การ์ตูนปัจจุบันนี่เค้าไม่สนใจกันแล้วว่า จะให้อะไรกับเด็กบ้าง เค้าสนใจแต่ว่า เด็กชอบดูอะไร ประเคน ประโคมใส่เข้ามา ให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้น อยากดู อยากดูต้องมาอันดับหนึ่ง ไอ้ที่มันจะอยู่ในเรื่องแล้วโป๊วับ ๆ แวม ๆ หรือว่ามีฆ่าแกงกัน หรือว่าถ้าแค้นกันแล้วก็ต้องเอาคืน อะไรแบบนี้นี่ มันเริ่มไม่มีการชี้ถูกชี้ผิดให้กับเด็กว่า ตรงไหนที่มันถูก ตรงไหนที่มันควร มันก็เลยกลายเป็นว่า ทุกวันนี้โลกหมุนไปด้วยอะไร หมุนไปด้วยเจนเนอเรชั่นใหม่ เด็กที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับความสับสน ผู้ใหญ่พูดอย่าง แต่การ์ตูนสอนอีกอย่างหนึ่ง เค้าเสพการ์ตูนอย่างหนึ่ง แต่ว่าพ่อแม่มาสอนอีกอย่างแค่ห้านาทีสิบนาที ในขณะที่การ์ตูนเสพกันเป็นวัน ๆ

วีเจเหมียว: เป็นชั่วโมง

คุณดังตฤณ:
เป็นชั่วโมงแล้ว เดี๋ยวนี้ด้วยวิทยาการที่ล้ำสมัย เราเอาการ์ตูนนี่ออกมาสู่โลก มาใกล้โลกความจริงมากขึ้น ผ่านเกมคอมพิวเตอร์

วีเจเหมียว: เหมือนจริงมาก

คุณดังตฤณ:
อยากจะเอาแค่ไหนก็ได้ ให้เหมือนจริงแค่ไหนก็ได้ ผ่านรูปแอนิเมชั่น ยุคต่อไปเนี่ยแอนิเมชั่นจะมามีบทบาทมากขึ้นต่อโลกเรา เพราะว่าพอเด็กโตขึ้นมานะ แค่ไม่กี่ขวบมันสามารถที่จะสร้างแอนิเมชั่นได้เองแล้ว

วีเจเหมียว: ใช่

คุณดังตฤณ:
และแอนิเมชั่นที่พวกเขาจะสร้างคืออะไร ลองสำรวจเข้าไปดี ๆ ถ้าหากใครยังไม่เคยเข้าไปสำรวจ ถ้าพ่อแม่คนไหนยังไม่เคยสำรวจ คุณลองสำรวจดูดี ๆ ว่า พวกลูกของคุณ หลานของคุณ เค้าขลุกอยู่กับอะไรกันบ้าง เค้าคุยกันเอง เพราะว่าเดี๋ยวนี้มันคุยกันเองง่าย

วีเจเหมียว: อินเตอร์เนต

คุณดังตฤณ:
สองทุ่มสามทุ่มเนี่ย คือสุมหัวกัน แล้วคุณรู้มั้ยว่าเค้าคุยอะไรกันบ้าง?? เค้าอยากได้? อยากเห็น อยากดู อะไรกันบ้าง? สิ่งที่เค้าอยากเห็นอยากดูนั่นแหละ คือสิ่งที่มันจะปรากฏต่อ ๆ ไป เค้าสามารถ? อย่างเหมือนอย่างคนบ้านนอกที่ไม่มีตังค์ซื้อเหล้าถูกกฏหมาย ก็สามารถที่จะต้มเหล้าเถื่อนได้เพราะมันมีอุปกรณ์ แล้วก็มีดีมานด์? มันก็มีซัพพลาย ในปัจจุบันเนี่ยดีมานด์คืออะไรนะ ก็คงไม่ต้องให้บอกล่ะ? ทั้งเรื่องราคะ โทสะ โมหะเนี่ย? มันอยู่ที่นั่นหมด แล้วมีความพร้อมที่จะสร้างขึ้นมาสนองความต้องการ? สนองกับดีมานด์ที่มันมีอยู่ล้นหลามนะ ทีนี้โครงการอะไรแบบที่คุณกอล์ฟเค้าริเริ่มขึ้นมาเนี่ยนะ? อย่ามองว่าใครแพ้ใครชนะ แต่มองว่านี่คือจุดเริ่มต้นได้? มันมีคนทำมาหลายคนแล้วล่ะ? แต่ว่านี่คือส่วนหนึ่ง นี่คือน๊อต นี่คือหัวเทียน นี่คืออะไรซักอย่างนึง ที่มันสามารถที่จะเป็น อาจจะเป็นชิ้นเล็ก ๆ แต่ทำให้รถมันขับเคลื่อนไปได้ ถ้าหากว่าเอามาประกอบกันเป็นหน่วยใหญ่นะฮะ? การที่เรามาร่วมกันในวันนี้ ผมเห็นการ์ตูน ดูแล้วเนี่ยนะ? รางวัลที่หนึ่ง สอง สาม ถ้ามีแรงสนับสนุน? เค้าสามารถทำเป็นอาชีพได้นะ

วีเจเหมียว: ค่ะ

คุณดังตฤณ:
นี่คุณวิรัชก็บอก บอกว่า? ภาพ? อ.วิรัช บอกว่าภาพนี่ใช้ได้แล้ว แต่อาจจะต้องดัดแปลงแก้ไขนิดนึง? อันนี้ผมขอเสริมกะอาจารย์วิรัชก็ละกัน? หลักการง่าย ๆ นะ? ที่คุณจะทำการ์ตูนเนี่ยให้มันมีข้อคิดคำคม หรือว่าประเด็นสอดแทรกที่น่าสนใจได้เนี่ย? คุณอย่า? คุณอย่าเริ่มต้นด้วยการวาดขึ้นมาก่อน แล้วก็อย่าเริ่มต้นด้วยการเขียนเรื่องขึ้นมาเป็นลำดับ? แต่ให้ทำช็อตโน้ตไว้ อย่างคุณกอล์ฟ ก็ให้เวลาเดือนสองเดือนนะ เอา แบ่งเวลาไว้เลย บอกตัวเองไว้? สองอาทิตย์ คุณจะยังไม่คิดเรื่อง แต่เดินไปไหน นั่งที่ไหน หรือว่านอนที่ไหนเนี่ยตามสบาย ให้ชีวิตมันเป็นไปตามอิสระ แต่เมื่อมีคำพูดอะไรขึ้นมา เมื่อมีแง่คิดสะกิดใจอะไรขึ้นมา ระหว่างวันไปเจออะไรเนี่ย แล้วมีคำในหัวเกิดขึ้น ให้จดไว้เป็นช็อตโน้ต จดไว้แบบ คือไม่ต้องปะติดปะต่อกันนะ ยัง จดไปตาม เอ่อ เรียกว่า ตามที่มันจะเข้ามาบอกคุณน่ะ?? ตามที่โลกจะมาบอกคุณว่าคุณควรจะคิดอะไรในเวลานั้น แล้วถ้าหากว่าไอเดีย คุณรวบรวมไว้สั้น ๆ ใส่ช็อตโน้ตไว้ได้ซัก สิบ ยี่สิบ ห้าสิบ มาอ่านดูอีกที อ่านดูทั้งหมดเลย? อันไหนที่มันน่าสนใจบ้าง ไอเดียอะไร แง่คิดอะไรที่คุณได้จากโลก ในช่วงสิบวันยี่สิบวัน ให้คัดออกมา เป็นจุดที่ดีที่สุดนะฮะ เป็นคติ? หรือว่าเป็นอะไรที่คุณรวบรวมไว้ว่า? นี่แหละไอ้ที่เกิดในหัวคุณแล้วมันดีที่สุด? โดนใจที่สุด? หรือน่าจะไปกระทบใจกับคนมากที่สุดนะฮะ? พูดง่าย ๆ ว่าอันนี้คือวิธีผลิตแง่คิดคำคม หรือวาทะของคุณเอง? ซึ่งมาจากไหน มาจากโลกเค้าบอกคุณ? แล้วคุณโต้ตอบกับโลกด้วยภาษาพูดในหัว ที่มันออกมาแบบนั้นแหละ?

วีเจเหมียว: แสดงว่านี่เป็นวิธีของพี่ตุลย์ใช่มั้ยฮะ

คุณดังตฤณ: อันนี้เป็นวิธีของนักเขียนทั้งโลก

วีเจเหมียว: อ้อเหรอ

คุณดังตฤณ:
นักเขียนทั้งโลกนะ คือ เค้าไม่ได้มานั่ง นั่งเขียนกันบนโต๊ะนะ? เค้าได้ไอเดียมาจากโลกธรรมดาที่เดินไปแล้วไปเจออะไร? แล้วก็เกิดความคิดขึ้นมา? เกิดไอเดียขึ้นมา

วีเจเหมียว: ค่ะ

คุณดังตฤณ:
พ้อยท์ก็คือว่า เมื่อฝึกที่จะสะสม เมื่อฝึกที่จะพัฒนาทักษะ ในการทำคำพูด ที่เรามีเป็นปฏิกิริยาโต้ตอบกับโลกเนี่ย? สะสมมากเข้า ๆ แล้วเนี่ย มันเกิดความกระชับขึ้นมา มันเกิดน้ำหนักขึ้นมา มันเกิดอะไรที่เรารู้ก่อนเลย? ก่อนใครเพื่อน? ว่าไอ้เนี่ยที่เรียกว่าเป็นข้อสรุปที่ได้จากโลกและโดนใจเรา มันก็น่าจะโดนใจคนอื่นด้วย

วีเจเหมียว: ค่ะ

คุณดังตฤณ:
ทีนี้พอคุณรวบรวมมาซักสิบ ยี่สิบ แง่คิด ที่คุณรู้สึกว่าเนี่ยเป็นของคุณเอง แล้วก็โดนใจคุณเอง แล้วก็น่าจะโดนใจคนอื่นได้ด้วย ตรงนั้นคุณค่อยมาผูก? หนึ่ง สอง สาม คือ คือตอนแรก คุณยังไม่ต้องลำดับอะไรเลยนะ ปล่อยให้มันเกิดขึ้นตามสบาย เสร็จแล้วพอคุณมาลำดับหนึ่งสองสาม เนี่ย คุณจะเห็นขึ้นมาเองว่า อ้อ เรื่องของเราน่าจะเป็นยังไงนะ แล้วไอ้คำเหล่านั้นน่ะ ที่มันกระทบใจที่มันโดนใจเนี่ย ควรจะไปอยู่ตรงไหนจังหวะไหน ตรงนี้แหละที่จะมาเสริมกับที่อ.วิรัช บอกว่าควรจะพัฒนาในเรื่องของเนื้อหา ควรจะพัฒนาใจแง่ของจุดอะไรซักจุดนึงหรือหลาย ๆ จุดได้ยิ่งดี นะ ที่เป็นไฮไลท์? ที่เป็น เอ่อ ตัวที่จะทำให้คนอ่านเกิด? เค้าเรียกว่าเกิดอาการแบบคิดได้ขึ้นมา นะครับ

วีเจเหมียว: ค่ะ

คุณดังตฤณ:
งั้นในส่วนที่อาจารย์อิสระก็ได้ให้คำแนะนำไปบอกว่า? โอเค วันนี้เนี่ยไม่พูดล่ะว่า ใครดีใครไม่ดีกว่ากัน? ใครด้อย? ใครเก่ง? ใครอะไรต่อมิอะไร แต่ แต่ อาจารย์อิสระ บอกว่าที่เราได้ก็คือจุดเริ่มต้น? ในการทำให้มันเกิดกระแส? มันมีการจุดกระแสขึ้นมา ทีนี้กระแสเนี่ยมันจะไหลต่อได้หรือเปล่า? อันนี้มันขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย ว่าเราชอบเขียนอยู่ด้วยตัวเองรึเปล่า อย่างที่ได้รางวัลที่หนึ่งนะฮะ ผมดูแวบแรกนี่ ทุกคนก็ต้องนึก? เหมือนงานของหมูอินเตอร์เลยนะฮะ? ของขายหัวเราะอะไรเนี่ย อย่างรางวัลที่สองนี่ก็เรียกว่า คือเอาไปลงในการ์ตูนเซเว่นอะไรได้แบบไม่อาย

วีเจเหมียว: ได้เลย

คุณดังตฤณ:
หรืออย่างรางวัลที่สามนี่ อันนี้ผมพูดถึงเฉพาะ ขอโทษนะ ไม่ได้พูดถึงทั้งหมด พูดถึงหนึ่ง สอง สาม อย่างรางวัลที่สามนี่ถ้าหากว่าเมื่อยี่สิบสามสิบปีที่แล้วเราอ่านการ์ตูน อันนี้นี่คือมาตรฐานเลย มาตรฐานการ์ตูนญี่ปุ่น ภาพลายเส้นเป็นแบบนี้แหละ ที่มันจับความสนใจคนได้ ช่วงเด็กนี่เราจะไม่สนใจอะไรมากไปกว่าภาพ หรือสัญลักษณ์ที่กระทบตา กระทบใจนะ ข้อความมันตามมาทีหลัง ข้อความนี่ ถ้าเปิดหนังสือไปมีแต่ข้อความล้วน ๆ นะ เด็กปิด

วีเจเหมียว: อืม

คุณดังตฤณ:
แต่เปิดขึ้นมา หรืออยู่ที่หน้าปกนี่มีภาพอะไรสวย ๆ นี่ ดู จ้อง สนใจ ข้างในมีอะไร อย่างไร อยากอ่านอยากเห็นนะ นี่แหละคือสิ่งที่ผมจะบอกว่า ถ้าหากว่าเราคิดถึงช่องทาง มันมีช่องทางที่จะเผยแพร่อะไรดี ๆ จะเป็นความคิดเบื้องต้นในการดำรงชีวิต หรือว่าจะเป็นธรรมะขั้นสูงก็ตาม มันมีช่องทาง สุดแต่ว่าเราจะเห็นหรือไม่เห็น สุดแต่ว่าใครจะลุกขึ้นมาทำหรือไม่ลุกขึ้นมาทำ ก็เอาล่ะ ในฐานะเป็นคนที่อยู่ในธรรมะใกล้ตัวคนหนึ่ง ก็ขอแสดงความยินดีกับกอล์ฟที่ได้ถือว่าประสบความสำเร็จงานนี้นะ เพราะว่าทุกคนที่มาล้วนแล้วแต่มีคุณภาพ อย่างน้อยที่สุด จะเขียนเก่งหรือเขียนไม่เก่งอย่างไรก็ตาม ก็แล้วแต่ แต่มีใจ

วีเจเหมียว: ค่ะ ทำด้วยใจ

Your browser may not support display of this image.

คุณดังตฤณ:
เรื่องของใจมันสร้างกันไม่ได้นะ บังคับกันไม่ได้ มาพูดหว่านล้อมอย่างไร นี่ไม่ได้ แต่การที่เรามีสื่ออย่างธรรมะใกล้ตัวแล้วรวบรวมคนที่มีใจ มานั่งอยู่ด้วยกัน พร้อม ๆ กัน หลาย ๆ สิบ เป็นร้อยคนได้ นี่ถือว่าประสบความสำเร็จ แล้วความสำเร็จนี่เกิดขึ้นจากตรงไหน อย่างมีคนบอกกอล์ฟว่า แค่เขียนเสร็จเค้าก็ภูมิใจแล้ว ตรงนี้ที่มันได้ อันนี้พูดถึงปัจเจกนะ พูดถึงเฉพาะตัวเฉพาะคน สิ่งที่ได้มันก็คือความรู้สึกประสบความสำเร็จในการถ่ายทอดธรรมะ ประสบความสำเร็จในเรื่องการเขียนการ์ตูน จริง ๆ แล้วมันเป็นแค่ด่านแรกที่มีอะไรยาก ๆ ขึ้นมา ท้าทายความสามารถของมนุษย์ แล้วพอทำได้ มันก็เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจ แต่อันที่มันแทรกอยู่กับความภาคภูมิใจอันนั้นนะ สิ่งที่คิดว่ามันเป็นเรื่องดี สิ่งที่คิดว่ามันเป็นตัวแทนของธรรมะ หรือว่าจะชักจูงโน้มน้าวให้คนรุ่นใหม่ได้เข้ามาสนใจธรรมะนี่ ตรงนั้นสำคัญกว่า เพราะว่าถ้าหากในโลกเรา ขืนยังเป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อย ๆ นี่ มันไม่ใช่แค่เป็นเด็กที่โตขึ้นมาด้วยความสับสน ดูการ์ตูนเค้าบอกอย่าง พ่อแม่สอนอีกอย่างหนึ่ง แต่ปัจจุบันนี้มันถึงขั้นที่ว่า แค่ดูการ์ตูนอย่างเดียว มันเป็นฆาตกรได้แล้ว เราสร้างฆาตกรขึ้นมา ยังไม่รู้ ว่าที่ฆาตกรยังมีอีกไม่รู้เท่าไหร่นะ

วีเจเหมียว:
ไม่รู้ตัว


คุณดังตฤณ:
ตอนนี้ที่เค้ากำลังเพาะเชื้อกันอยู่ เพาะพันธุ์กันอยู่ เป็นฟาร์มฆาตกรทั่วโลกนี่ มันไม่รู้เท่าไหร่ และที่คนคิดไม่ดีทางเพศ หรือว่าคนคิดไม่ดี คิดฉ้อโกง คิดทำอะไรก็ได้ ที่จะได้สิ่งที่ตัวเองต้องการนี่ มันมีอีกไม่รู้เท่าไหร่ แต่ถ้าหากว่าเริ่มมีอะไรแบบนี้อยู่บ้าง หรือสมมุติว่าครั้งนี้เริ่มขึ้นแล้วมันจบลงไปเลย สมมุตินะอย่างน้อยที่สุดมันได้เกิดขึ้น คือมันไม่ได้หายไปจากโลกนี้เลย เราบอกได้อยู่ว่า ยังมีคนที่ริเริ่มนะ ที่จะให้เด็กซึ่งเริ่มรับรู้ เริ่มสามารถที่จะรู้ความขึ้นมา ได้เจออะไรแบบนี้ก่อน ได้เจออะไรในแบบที่สามารถ คือเด็กที่เค้าบอกว่ามันเหมือนผ้าขาวนี่ ก็จริงนะ เพราะว่าเราใส่อะไรลงไป สีอะไรลงไปนี่ มันก็จะปรากฏสีนั้นขึ้นมาทันที อันนี้ก็เหมือนกัน คนมัวแต่คิดกันว่า อย่าเพิ่งให้ธรรมะเลย ธรรมะเป็นของสูง ธรรมะเป็นของขึ้นหิ้ง ธรรมะเป็นของที่คนแก่ ๆ ใกล้ตายเค้าศึกษากันนะ มัวแต่คิดอยู่อย่างนี้ มันก็เลยไม่ได้รู้ความจริงไง ว่าเด็กนี่นะ ความสามารถมีแค่ไหน พวกนีโออะไรนี่ ที่เค้าพัฒนาเด็กรุ่นใหม่ เค้าพิสูจน์กันแล้วนะ ด้วยการวิจัย ทำวิจัยกันเป็นเรื่องเป็นราวเลย เด็กมีความสามารถที่จะฟังเพลงคลาสสิคได้ ฟังรู้เรื่องนะ

วีเจเหมียว: รู้เรื่องกว่าพวกเราอีก

คุณดังตฤณ:
เพราะว่าเพลงคลาสสิคนี่มันเป็นอะไรที่ยังไม่ต้องผ่านกระบวนการคิด มันฟังแล้วรู้เลย รู้สึกเลยว่าเป็นอย่างไร แล้วเด็กที่โตขึ้นมาด้วยการฟังเพลงคลาสสิคนี่จะฉลาดกว่าระดับเฉลี่ยนะ จะฉลาดกว่าระดับเฉลี่ย มีความคิด มีความละเอียดอ่อนทางอารมณ์มากกว่าเด็กที่โตขึ้นมาแบบธรรมดา อันนี้ก็เหมือนกัน ยังไม่มีการทดลองวิจัยใช่ไหม เอ้า ลองทำดูไหมนี่ เดี๋ยวธรรมะใกล้ตัวจะให้การสนับสนุน คุณลองเอาไปให้ลูก ๆ คุณอ่านดู หลาน ๆ คุณอ่านดู เอาเรื่องที่มันโดนใจ เอาเรื่องที่ได้รางวัลหนึ่ง สอง สามไปนี่ หรือว่าที่เค้ายังวางขายกันอยู่ตามร้านที่มันอ่านแล้วคุณรู้สึกว่าเด็กน่าจะได้อะไรจริง ๆ นอกจากความสนุกแล้วนี่ มีอะไรบางอย่างที่โดนใจ แล้วฝังใจเค้า ทำให้เค้าปักใจอยู่กับความรู้สึกที่มันดี ที่มันถูกต้อง ที่มันเป็นความดีงาม ลองดูว่า ถ้าหากเอาไปให้พวกเค้าอ่านแล้วนี่ สิ่งแรกที่เค้าได้อ่านคือธรรมะ ธรรมะในรูปแบบของการ์ตูนที่ย่อยง่าย ธรรมะในรูปแบบของการ์ตูนที่สวยงาม น่าสนใจ มีความดึงดูด จะเกิดอะไรขึ้นกับโลกเรา โอเค มันเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นนิดหน่อย แต่ถ้าไม่เกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรเลย?

วีเจเหมียว: มืดลงเรื่อย ๆ

คุณดังตฤณ:
มันเป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ มันก็คือจะลาดลงต่ำไปเรื่อย ๆ เช่นกัน

วีเจเหมียว: และนี่ก็คือ คุณศรัณย์ ไมตรีเวช หรือคุณดังตฤณค่ะ