Print

เพื่อนธรรมจารี : ฉบับที่ ๓๔๘

ngodngam1 

 งดงาม  

  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

 

 

ไวรัส Covid-19

 

     dhammajaree348

เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา
ผมได้เขียนบทความเรื่อง “ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่”
ลงในธรรมะใกล้ตัว Lite ซึ่งก็ได้แนะนำวิธีการดูแลตนเอง
เพื่อป้องกันไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่นี้ไว้แล้ว
http://www.dlitemag.com/index.php?option=com_content&view=article&id=2193:2020-01-30-06-38-17&catid=66:-desitinationdhamma&Itemid=59

ในคราวนี้ เรามาพิจารณาถึงผลกระทบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกันครับ
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ประกาศ
ตั้งชื่ออย่างเป็นทางการสำหรับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้
โดยใช้ชื่อว่า "โควิด-19" (Covid-19) ซึ่งย่อมาจาก
“coronavirus disease starting in 2019”
หรือโรคที่เกิดจากไวรัสโคโรนาที่มีการเริ่มต้นในปี ๒๕๖๒
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/865929

ไวรัส Covid-19 ได้ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อเศรษฐกิจในหลายธุรกิจ
ทั้งในภาคท่องเที่ยว บริการ โรงแรม สายการบิน ขนส่ง ฯลฯ
โดยดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (“SET”) ได้ปรับตัวลดลง
จากวันที่ ๓ มกราคม ๒๕๖๓ ที่ ๑,๕๙๔.๙๗ จุด
ลงเหลือที่ ๑,๐๔๖.๐๘ จุดในวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๓
อนึ่ง หากบางท่านรู้สึกว่าดัชนี SET ลดลงมามาก และน่าเข้าลงทุนแล้ว
ผมขอเตือนว่าในช่วงวิกฤติปี ๒๕๔๐ นั้น ดัชนี SET เคยลดลงไปอยู่ที่ ๒๐๗ จุด
และในเหตุการณ์วินาศกรรม 9/11 ในสหรัฐอเมริกา ในปี ๒๕๔๔ นั้น
ดัชนี SET เคยลดลงไปอยู่ที่ ๒๖๖ จุดนะครับ
http://www.buffettcode.com/วิกฤต-2540/
https://news.mthai.com/webmaster-talk/509669.html

ในส่วนของวิธีการต่อสู้กับไวรัส Covid-19 นี้
ในเว็บไซต์ไทยพับลิก้าได้นำบทความที่น่าสนใจมาลง คือบทความชื่อ
“To Take on the Coronavirus, Go Medieval on It” ของ New York Times
ซึ่งกล่าวว่า การต่อสู้กับโรคระบาด มีอยู่ ๒ วิธีการด้วยกัน ได้แก่
คือ วิธีการสมัยใหม่ และวิธีการแบบโบราณ
ในวิธีการใหม่นั้น จะยอมรับว่า เราไม่มีทางหยุดยั้งโรคระบาด
และจะหาทางลดความรุนแรงของโรคระบาดด้วย
การคิดค้นวัคซีนป้องกันโรค ยาปฏิชีวนะ
หรือใช้เครื่องวัดไข้เทอร์โมสแกน เป็นต้น

ส่วนวิธีการแบบโบราณที่ใช้กันตั้งแต่สมัยเกิดกาฬโรคในยุโรป
ช่วงปี ค.ศ. 1348-1350 ทำให้มีคนเสียชีวิตกว่า ๗๕ ล้านคน
เรียกกันว่า Black Death วิธีการดังกล่าวคือ
การปิดพรมแดน การกักกันโรคบนเรือ
และการห้ามไม่ให้มีคนเข้าออกเมืองที่เกิดการแพร่ระบาด
ซึ่งรัฐบาลจีนใช้วิธีการโบราณแบบเดียวกันนี้ ในการปิดเมืองอู่ฮั่น
เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๓ โดยไม่ให้คนเข้าออกเมือง
https://www.nytimes.com/2020/02/28/sunday-review/coronavirus-quarantine.html

สำหรับมาตรการของจีนนี้ ในบทความ “Controlling Coronavirus
Will Mean Keeping People Apart” ใน foreignaffairs.com
เรียกว่า มาตรการ “ระยะห่างทางสังคม” (Social Distancing)
โดยประเทศจีนได้ใช้มาตรการ Social Distancing ที่เข้มงวดเด็ดขาด
โดยการจำกัดคนหลายร้อยล้านคนให้อยู่กับบ้าน
ทำให้จำนวนคนติดเชื้อไวรัสลดลง แต่มาตรการควบคุมทางสังคมแบบนี้
เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากกับประเทศอื่น

วิธีการลดการแพร่ระบาดที่จะเกิดขึ้นในชุมชน จะต้องอาศัยวิธีการ ๒ วิธี คือ
วิธีการแรกคือ การแยกคนที่ติดเชื้อออกมา นำมาแยกตัวรักษาในโรงพยาบาล
ติดตามคนที่สัมผัสอย่างใกล้ชิดกับคนติดเชื้อ และดำเนินการกักกันคนเหล่านี้
หากคนที่ถูกกักกันมีอาการ ก็จะไม่แพร่เชื้อแก่คนอื่น
วิธีการนี้เคยได้ผลในการจำกัดการแพร่ระบาดของโรคซาร์สในปี ค.ศ. 2003

วิธีการที่สองคือ การกำหนดระยะห่างทางสังคม (Social Distancing)
ซึ่งเป็นมาตรการลดการติดต่อสัมพันธ์ของคนในชุมชน
เช่น การห้ามการชุมนุม การปิดโรงเรียน การยกเลิกการแข่งขันกีฬา
การแสดงดนตรี หรือการร่วมพิธีกรรมทางศาสนา เป็นต้น
https://www.foreignaffairs.com/articles/china/2020-02-26/controlling-coronavirus-will-mean-keeping-people-apart
https://thaipublica.org/2020/03/pridi182/?fbclid=IwAR3uM0nXZLV6YKCwPeYsANOXO7TsdaQ9Dp1ANlRYGi7eVy-qeD7Y_TLArbo

ในปัจจุบันนี้ หลายประเทศก็เริ่มนำมาตรการ Social Distancing
มาใช้บังคับแล้ว เช่น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์สั่งปิดทุกร้านค้า,
ร้านอาหาร, บาร์และสถานบันเทิง รวมถึงศูนย์สันทนาการต่าง ๆ
ยกเว้นแต่ร้านขายของชำ, ร้านขายยา และสถานพยาบาล
และคุมเข้มชายแดนติดกับเยอรมนี ฝรั่งเศส ออสเตรีย และอิตาลี

ประเทศสเปนสั่งปิดพรมแดนทางภาคพื้นทั้งหมด
สั่งให้พลเมือง ๔๖ ล้านคนอยู่แต่ในบ้าน ปิดร้านร้านธุรกิจต่าง ๆ
ยกเว้นแต่ร้านขายอาหาร ร้านขายยา และสถานีบริการน้ำมัน

ประเทศเยอรมนีสั่งห้ามการรวมตัวของผู้คนตามโบสถ์ต่าง ๆ
มัสยิด และโบสถ์ของชาวยิว พร้อมออกคำสั่งปิดห้างร้านที่ไม่จำเป็น
สั่งปิดโรงเรียน และจำกัดการเดินรถไฟขบวนท้องถิ่นเพื่อลดการเดินทาง
นอกจากนี้ จะตรวจเข้มตามแนวชายแดนติดกับออสเตรีย ฝรั่งเศส
สวิตเซอร์แลนด์, ลักเซมเบิร์กและเดนมาร์ก
และจะไม่ต้อนรับผู้ขับขี่เข้าเยอรมนีหากไม่มีเหตุผลที่จำเป็นจริง ๆ
https://mgronline.com/around/detail/9630000026608

นอกจากนี้ ก็ยังมีประเทศอื่นในทวีปยุโรปที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
หรือประกาศกักบริเวณ หรือปิดประเทศไปแล้ว ๘ ประเทศ ได้แก่
อิตาลี เดนมาร์ก ฮังการี สาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกีย
ลิทัวเนีย โปแลนด์ และนอร์เวย์
https://www.dailynews.co.th/foreign/762876

เพื่อนบ้านของไทยคือ มาเลเซียก็ได้ประกาศปิดประเทศ ๑๔ วัน
หลังจากที่ยอดจำนวนผู้ป่วยพุ่งสู่ ๕๐๐ คน
โดยใช้มาตรการจำกัดการเดินทางทั่วประเทศ
เพื่อพยายามยับยั้งไวรัสโรคโควิด-19 โดยมาตรการที่จะนำมาใช้
ได้แก่ ห้ามชุมนุม ทั้งกิจกรรมทางศาสนา กีฬา สังคมและวัฒนธรรม
- ปิดศาสนสถานและธุรกิจทุกแห่ง ยกเว้นซูเปอร์มาเก็ต ตลาด และร้านสะดวกซื้อ
- ระงับการละหมาดใหญ่วันศุกร์
- ห้ามชาวมาเลเซียเดินทางไปต่างประเทศ
- คนที่กลับมาจากต่างประเทศ จะต้องเข้ารับการตรวจและกักตัวเอง ๑๔ วัน
- ไม่รับนักท่องเที่ยวต่างประเทศและผู้ไปเยือน
- โรงเรียนและมหาวิทยาลัยจะปิดการเรียนการสอน
- สถานที่ราชการและเอกชนจะปิดทั้งหมด
ยกเว้นบริการจำเป็น ได้แก่ สาธารณูปโภคประปา ไฟฟ้า พลังงาน โทรคมนาคม
บริการไปรษณีย์ การขนส่ง น้ำมันและก๊าซ การส่งกระจายเสียง
การเงิน การธนาคาร ดูแลสุขภาพ เภสัชกรรม ดับเพลิง เรือนจำ
ท่าเรือ สนามบิน ความมั่นคง การป้องกันประเทศ
การทำความสะอาดและจัดส่งอาหาร
https://www.komchadluek.net/news/foreign/422705?qt&fbclid=IwAR3lFTuI40CRCFaWgUSBOz5CZVSTwOhw0KjR_tbzPGL15ErliR3eTX0YGWY

ในส่วนของประเทศไทยเราขณะนี้ยังไม่จำเป็นต้องถึงขั้นปิดประเทศ
เพราะจำนวนผู้ป่วยเองก็ยังไม่ได้สูงมาก และอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถคุมได้
แต่ว่าจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นหรือไม่นั้น
ก็ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของพวกเราประชาชนทุกคน
โดยถ้าหากพวกเราประชาชนในกลุ่มเสี่ยงไม่กักกันตนเอง
และยังไปสถานที่แพร่กระจายเชื้อได้ง่าย
โอกาสที่การระบาดจะแพร่กระจายใหญ่
และนำมาสู่การปิดประเทศก็ย่อมจะมีมากยิ่งขึ้น

ในส่วนของการเตรียมความพร้อมนั้น
เราก็ต้องเตรียมพร้อมในหลายเรื่อง ได้แก่
๑. การเตรียมพร้อมในเรื่องความรู้ในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ซึ่งได้แนะนำแล้วในบทความเรื่อง “ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่”
ที่กล่าวในตอนต้น

๒. การเตรียมพร้อมในเรื่องสุขภาพใจ
โดยรักษาจิตใจมั่นคงไม่หวั่นไหว พร้อมรับสถานการณ์ต่าง ๆ
ซึ่งก็มีตัวอย่างบางคนที่ยังไม่ได้ป่วยติดเชื้อไวรัส Covid-19
แต่ว่าติดตามข่าวจนวิตกจริต และทำให้จิตตกไปเสียแล้วก็มี

๓. การเตรียมพร้อมในเรื่องสภาพร่างกาย
โดยเราก็ต้องพยายามรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
เพื่อจะได้มีภูมิต้านทาน ไม่ติดเชื้อโดยง่าย

๔. การเตรียมพร้อมในเรื่องการเงิน และงาน
เนื่องจากเศรษฐกิจปีนี้ไม่ดีแน่นอน และยังไม่แน่นอนว่าวิกฤตินี้
จะสิ้นสุดลงเมื่อไร และจะส่งผลกระทบไประยะเวลานานเพียงไร
เราจึงควรระมัดระวังในเรื่องการใช้จ่ายเงินให้มาก
และควรศึกษาและนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ครับ
ต้องรีบวางแผนการเงินล่วงหน้าให้ดี

๕. การเตรียมความพร้อมในเรื่องอาหาร ยา และสิ่งจำเป็น
ซึ่งในเรื่องนี้เป็นเรื่องที่อ่อนไหว (Sensitive) นะครับ
เพราะถ้าเกิดทุกคนแห่กันออกมาเตรียมหรือตุนสิ่งของแล้ว
ย่อมจะทำให้เกิดความแตกตื่นโกลาหลวุ่นวาย
โดยอาจจะทำให้เกิดความเสียหายมากกว่าไวรัสเสียอีก
ดังนั้น การตระเตรียมของจึงควรเป็นเรื่องที่ค่อย ๆ ทยอยทำไปครับ
และซื้อก็ควรมีจิตใจที่แบ่งปันให้คนอื่น ๆ เขาได้ซื้อหรือได้ใช้ด้วย

ในเรื่องการตระเตรียมของที่จำเป็นนี้ มีข่าวหนึ่งที่น่าสนใจครับ
Dr. Vera Etches ซึ่งเป็น Head of Ottawa Public Health ประเทศแคนาดา
อธิบายว่า การเตรียมพร้อมสำหรับรับวิกฤตินั้น คือเรื่องปกติที่พึงกระทำ
เช่น การต้องเตรียมกรณีวิกฤติหิมะรุนแรง ไฟฟ้าดับ หรือโรคระบาด เป็นต้น

นอกจากนี้ ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น
U.S. Department of Homeland Security ได้มีการจัดทำเอกสาร
แนะนำประชาชนไว้เลยว่า สิ่งของที่จำเป็นต้องเตรียม
ในกรณี “c” นั้นมีอะไรบ้าง
เช่น น้ำ อาหาร ยา ประวัติการรักษาพยาบาล เป็นต้น
https://www.ctvnews.ca/health/advice-to-stockpile-supplies-can-cause-undue-concern-over-covid-19-tory-mp-1.4835639

โดยในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ การระบาดของไวรัส Covid-19
ไม่ใช่แค่เพียง “Potential Pandemic” นะครับ
แต่องค์การอนามัยโลกได้ประกาศยกระดับให้การระบาดไวรัส Covid-19
เป็น “Pandemic” แล้ว
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/870455

อนึ่ง ในกรณี Pandemic นั้น ผมได้ค้นหารายการสิ่งของจำเป็นที่ควรเตรียม
พบว่าในเว็บไซต์ www.ready.gov ได้ให้คำแนะนำที่น่าสนใจ ดังนี้ครับ

Before a Pandemic:
- Store a two week supply of water and food.
- Periodically check your regular prescription drugs to ensure a continuous supply in your home.
- Have any nonprescription drugs and other health supplies on hand, including pain relievers, stomach remedies, cough and cold medicines, fluids with electrolytes, and vitamins.
- Get copies and maintain electronic versions of health records from doctors, hospitals, pharmacies and other sources and store them, for personal reference. Get help accessing electronic health records.
- Talk with family members and loved ones about how they would be cared for if they got sick, or what will be needed to care for them in your home.

During a Pandemic:
- Limit the Spread of Germs and Prevent Infection
- Avoid close contact with people who are sick.
- When you are sick, keep your distance from others to protect them from getting sick too.
- Cover your mouth and nose with a tissue when coughing or sneezing. It may prevent those around you from getting sick.
- Washing your hands often will help protect you from germs.
- Avoid touching your eyes, nose or mouth.
- Practice other good health habits. Get plenty of sleep, be physically active, manage your stress, drink plenty of fluids, and eat nutritious food.
https://www.ready.gov/pandemic