Print

เพื่อนธรรมจารี : ฉบับที่ ๓๔๒

ngodngam1 

 งดงาม  

  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

 

 

เพศที่สามบวชได้หรือไม่

    dhammajaree342

 

เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา มีข่าวที่น่าสนใจว่า
มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท่านหนึ่งได้โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ว่า
หากบุคคลเพศที่สาม (กะเทย) มีความศรัทธาในพระศาสนาแล้ว
ทำไมจึงมองว่าภิกษุเพศที่สามไม่เหมาะสม
และทำไมจึงจำกัดห้ามมิให้บุคคลเพศที่สามบวชเป็นภิกษุ
ซึ่งการเข้าถึงพระศาสนาไม่ควรมีการจำกัดเพศมิใช่หรือ

ในเรื่องนี้ ขออธิบายก่อนว่าการเข้าถึงพระศาสนานั้น
ไม่ได้จำกัดเพศ โดยไม่ว่าจะเป็นเพศไหน ๆ ก็สามารถศึกษาพระธรรม
และมีโอกาสบรรลุธรรมได้เช่นกัน โดยไม่ได้จำเป็นต้องบวชเป็นภิกษุครับ
แต่ในเรื่องของการบวชเป็นภิกษุนั้น เป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติตามพระวินัย
ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติของทุกกลุ่มชนหรือหมู่คณะ
ที่จะมีกฎระเบียบหรือหลักเกณฑ์สำหรับกลุ่มชนหรือหมู่คณะนั้น ๆ
ไม่ใช่ว่าใครจะทำอะไรก็ได้ และทุกอย่างจะทำได้หมด โดยไม่จำกัด
ยกตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์บางเรื่องก็ยังมีการจำกัดอายุผู้เข้าชม
หรือสถานที่จอดรถบางแห่งก็สงวนไว้ให้เฉพาะคนพิการ
หรือที่นั่งบางที่บนรถโดยสารหรือรถไฟก็สงวนให้เด็ก สตรี คนชรา เป็นต้น

พระพุทธศาสนาก็เช่นกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบัญญัติพระวินัย
เพื่อให้เหล่าบรรดาสาวกได้ปฏิบัติตาม
ซึ่งถ้าเราเป็นผู้มีศรัทธาและเคารพต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
เราก็พึงต้องปฏิบัติตามพระวินัยที่พระศาสนาได้กำหนดไว้

ในพระวินัยปิฎก มหาวรรค ได้ระบุเรื่องห้ามบัณเฑาะก์มิให้อุปสมบทว่า
ในสมัยพุทธกาล บัณเฑาะก์คนหนึ่งได้บวชในสำนักภิกษุ
เธอเข้าไปหาภิกษุหนุ่ม ๆ แล้วพูดชวนอย่างนี้ว่า
มาเถิดท่านทั้งหลาย จงประทุษร้ายข้าพเจ้า
ภิกษุทั้งหลายพูดรุกรานว่า เจ้าบัณเฑาะก์จงฉิบหาย
เจ้าบัณเฑาะก์จงพินาศ จะประโยชน์อะไรด้วยเจ้า
เธอถูกพวกภิกษุพูดรุกราน จึงเข้าไปหาพวกสามเณรโค่งผู้มีร่างล่ำสัน
แล้วพูดชวนอย่างนี้ว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย จงประทุษร้ายข้าพเจ้า
พวกสามเณรพูดรุกรานว่า เจ้าบัณเฑาะก์จงฉิบหาย
เจ้าบัณเฑาะก์จงพินาศ จะประโยชน์อะไรด้วยเจ้า
เธอถูกพวกสามเณรพูดรุกราน จึงเข้าไปหาพวกคนเลี้ยงช้าง คนเลี้ยงม้า
แล้วพูดอย่างนี้ว่า มาเถิด ท่านทั้งหลาย จงประทุษร้ายข้าพเจ้า

พวกคนเลี้ยงช้าง พวกคนเลี้ยงม้า ประทุษร้ายแล้ว จึงเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้เป็นบัณเฑาะก์
บรรดาพวกสมณะเหล่านี้ แม้พวกใดที่มิใช่บัณเฑาะก์
แม้พวกนั้นก็ประทุษร้ายบัณเฑาะก์
เมื่อเป็นเช่นนี้ พระสมณะเหล่านี้ก็ล้วนแต่ไม่ใช่เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์

ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกคนเลี้ยงช้าง พวกคนเลี้ยงม้า พากันเพ่งโทษ
ติเตียนโพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ บัณเฑาะก์
ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=4&A=3481&Z=3495&pagebreak=0

ในอรรถกถาของพระวินัยปิฎก มหาวรรคนี้ อธิบายว่า
บัณเฑาะก์มี ๕ ชนิด คือ อาสิตตบัณเฑาะก์ ๑ อุสุยยบัณเฑาะก์ ๑
โอปักกมิยบัณเฑาะก์ ๑ ปักขบัณเฑาะก์ ๑ นปุงสกบัณเฑาะก์ ๑
ในบัณเฑาะก์ ๕ ชนิดนั้น บัณเฑาะก์ใดเอาปากอมองคชาตของชายเหล่าอื่น
ถูกน้ำอสุจิรดเอาแล้ว ความเร่าร้อนจึงสงบไป บัณเฑาะก์นี้ชื่ออาสิตตบัณเฑาะก์
ฝ่ายบัณเฑาะก์ใดเห็นอัชฌาจารของชนเหล่าอื่น เมื่อความริษยาเกิดขึ้นแล้ว
ความเร่าร้อนจึงสงบไป บัณเฑาะก์นี้ชื่ออุสุยยบัณเฑาะก์
บัณเฑาะก์ใดมีอวัยวะดังพืชทั้งหลาย ถูกนำไปปราศแล้วคือ
ถูกเขาตอนเสียแล้ว ด้วยความพยายาม บัณเฑาะก์นี้ชื่อโอปักกมิยบัณเฑาะก์
ส่วนบางคนข้างแรมเป็นบัณเฑาะก์ ด้วยอานุภาพแห่งอกุศลวิบาก
แต่ข้างขึ้น ความเร่าร้อนของเขาย่อมสงบไป นี้ชื่อว่าปักขบัณเฑาะก์
ส่วนบัณเฑาะก์ใดเกิดไม่มีเพศ ไม่มีภาวรูป ในปฏิสนธิทีเดียว
คือไม่ปรากฏว่าชายหรือหญิงมาแต่กำเนิด บัณเฑาะก์นี้ชื่อนปุงสกบัณเฑาะก์
ในอรรถกถาชื่อกุรุนทีแก้ว่า ในบัณเฑาะก์ ๕ ชนิดนั้น
อาสิตตบัณเฑาะก์และอุสุยยบัณเฑาะก์ ไม่ห้ามบรรพชา, ๓ ชนิดนอกนี้ห้าม
แม้ในบัณเฑาะก์ ๓ ชนิดนั้น สำหรับปักขบัณเฑาะก์
ห้ามบรรพชาแก่เขาเฉพาะปักข์ที่เป็นบัณเฑาะก์เท่านั้น
ก็ในบัณเฑาะก์ ๓ ชนิดนี้ บัณเฑาะก์ใดทรงห้ามบรรพชา
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาบัณเฑาะก์นั้น
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=125

ในพระวินัยข้างต้นนี้มีหลายคำที่เราควรพิจารณาความหมายกันก่อนครับ
คำว่า “อนุปสัมบัน” หมายถึง ผู้ยังมิได้อุปสมบท ได้แก่
คฤหัสถ์และสามเณร (รวมทั้งสิกขมานาและสามเณรี) ผู้มิใช่ภิกษุหรือภิกษุณี
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CD%B9%D8%BB%CA%D1%C1%BA%D1%B9


คำว่า “บัณเฑาะก์” หมายถึง กะเทย, คนไม่ปรากฏว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง
ได้แก่ กะเทยโดยกำเนิด ๑ ชายผู้ถูกตอนที่เรียกว่าขันที ๑
ชายมีราคะกล้าประพฤตินอกจารีตในทางเสพกาม
และยั่วยวนชายอื่นให้เป็นเช่นนั้น ๑
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%BA%D1%B3%E0%B1%D2%D0%A1%EC&original=1


คำว่า “อุปสมบท” หมายถึง การให้กุลบุตรบวชเป็นภิกษุ
หรือให้กุลธิดาบวชเป็นภิกษุณี
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CD%D8%BB%CA%C1%BA%B7&original=1


คำว่า “บรรพชา” หมายถึง การบวช (แปลว่า “เว้นความชั่วทุกอย่าง”) ได้แก่
การบวชทั่วไป การบวชอันเป็นบุรพประโยคแห่งอุปสมบท,
การบวชเป็นสามเณร (เดิมทีเดียว คำว่า บรรพชา หมายความว่า
บวชเป็นภิกษุ เช่น เสด็จออกบรรพชา อัครสาวกบรรพชา เป็นต้น
ในสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ คำว่า บรรพชา หมายถึง บวชเป็นสามเณร
ถ้าบวชเป็นภิกษุ ใช้คำว่า อุปสมบท
โดยเฉพาะเมื่อใช้ควบกันว่า บรรพชาอุปสมบท
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%BA%C3%C3%BE%AA%D2&original=1


คำว่า “ประทุษร้าย” ในพระวินัยปิฎก มหาวรรคนี้
ไม่ได้หมายถึง การทำร้ายร่างกาย แต่หมายถึงการมีเพศสัมพันธ์

เราจึงจะเห็นได้ว่า ในสมัยพุทธกาลนั้น เมื่อมีบัณเฑาะก์บวชเป็นภิกษุแล้ว
ส่งผลให้เดือดร้อนต่อภิกษุ และสามเณร
และทำให้เหล่าประชาชนเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้เป็นบัณเฑาะก์
บรรดาพวกสมณะเหล่านี้ แม้พวกใดที่มิใช่บัณเฑาะก์
แม้พวกนั้นก็ประทุษร้ายบัณเฑาะก์
เมื่อเป็นเช่นนี้ พระสมณะเหล่านี้ก็ล้วนแต่ไม่ใช่เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงบัญญัติพระวินัยว่า
ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบทบัณเฑาะก์ และที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย
ซึ่งการบัญญัติเช่นนี้เป็นเพราะมีเหตุ และเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม
โดยในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าบัญญัติข้อห้ามในพระวินัยนั้น
ท่านจะพิจารณาแล้วว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑
เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑
เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=2945&Z=3080&pagebreak=0


ทีนี้ ขอให้สังเกตว่าในเนื้อหาของพระวินัยปิฎก มหาวรรคใช้คำว่า
ห้ามอุปสมบท ซึ่งหมายถึงห้ามบวชเป็นภิกษุ
ซึ่งพระศาสดาไม่ได้ทรงยกเว้นไว้เลยว่ามีบัณเฑาะก์ไหนให้อุปสมบทได้
อย่างไรก็ดี ในอรรถกถาอธิบายว่า บัณเฑาะก์มี ๕ ชนิด
โดย ๒ ชนิดไม่ห้ามบรรพชา แต่ ๓ ชนิดไม่ห้ามบรรพชา
ซึ่งคำว่าบรรพชาในที่นี้หมายถึง การบวชเป็นสามเณร
ดังนั้นแล้ว ตามอรรถกถานั้น บุคคลเพศที่สามที่มีลักษณะเป็น
อาสิตตบัณเฑาะก์ หรืออุสุยยบัณเฑาะก์ ก็ยังบวชเป็นสามเณรได้

แต่แม้กระนั้นก็ตาม ในความเห็นส่วนตัวผมแล้ว เห็นว่า
การบวชเป็นเพศบรรพชิตนั้น ย่อมจะเป็นผู้ที่สละทรัพย์สินและครอบครัวแล้ว
ออกจากเรือน เพื่อมุ่งจะดับกิเลส จึงต้องประพฤติตามพระวินัย
และประพฤติตนให้เหมาะสมในเพศบรรพชิต
แต่หากตนเองยังไม่สามารถที่จะประพฤติตนให้เหมาะสมแก่เพศบรรพชิตได้
หรือยังไม่สามารถรักษาพระวินัยได้แล้ว ย่อมไม่สมควรที่จะบวช
เพราะไม่เช่นนั้น ก็ย่อมจะสร้างความเดือดร้อนแก่หมู่ภิกษุสงฆ์
ทำให้ประชาชนติเตียนหรือเพ่งโทษหมู่ภิกษุสงฆ์
และเป็นโทษร้ายแรงแก่ผู้บวชนั้นเองอีกด้วย

อนึ่ง การที่ภิกษุไม่ประพฤติตนให้เหมาะสมตามพระวินัยนั้น
ย่อมจะเป็นอกุศลกรรมหนักนะครับ เพราะภิกษุนั้นดำรงชีพอยู่ด้วย
อาหารและปัจจัยสี่จากคฤหัสถ์ผู้มีจิตศรัทธานำมาถวาย
ซึ่งที่เขาเหล่านั้นนำมาถวายก็เพราะเข้าใจว่าเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์
แต่แท้ที่จริงแล้ว ไม่ใช่ เพราะไม่ได้ปฏิบัติตนเองตามพระวินัย
ในรายละเอียดนั้น ขอให้ศึกษาจาก “อัคคิขันธูปมสูตร”
ซึ่งผมได้เคยเขียนบทความไว้สองตอนชื่อว่า “ข้อแนะนำก่อนบวช” ครับ

http://www.dharmamag.com/mag/index.php/dhammajaree-issues/1053-2014-06-04-08-53-56

http://www.dharmamag.com/mag/index.php/dhammajaree-issues/1062-2014-06-18-17-04-35


เนื่องด้วยพระวินัยได้บัญญัติข้อห้ามการอุปสมบทไว้หลายเรื่อง
และการตรวจสอบก็ไม่สามารถทำได้โดยง่ายนะครับ เช่น
เป็นโรคต้องห้ามบางอย่าง หรือแอบหนีพ่อแม่มาบวชโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นต้น
ในการอุปสมบทโดยหมู่ภิกษุนั้น จึงมีการถามคำถามหลายคำถาม เช่น
เป็นโรคเรื้อนหรือไม่ เป็นโรคฝีหรือไม่ เป็นโรคกลากหรือไม่ เป็นโรคหืดหรือไม่
เป็นโรคลมบ้าหมูหรือไม่ เป็นมนุษย์หรือ เป็นชายหรือ มิได้เป็นทาสหรือ
ไม่มีหนี้หรือ บิดามารดาอนุญาตแล้วหรือ เป็นต้น
ซึ่งหากผู้ขออุปสมบททราบว่าตนเองเป็นบัณเฑาะก์
ไม่ได้เป็นเพศชายแล้ว ก็ย่อมจะไม่สามารถผ่านขั้นตอนนี้ได้
โดยหากรู้ว่าตนเองเป็นบัณเฑาะก์ ไม่ได้เป็นเพศชาย
แต่ไปตอบว่าเป็นเพศชายแล้ว ก็เท่ากับว่าเป็นการกล่าวเท็จนั่นเอง

โดยสรุปแล้ว ในเรื่องของการห้ามบุคคลเพศที่สามบวชเป็นภิกษุนั้น
ไม่ใช่เรื่องของการกีดกันหรือจำกัดสิทธิทางเพศ
แต่เป็นเรื่องที่มีเหตุทำให้เสียหายเกิดขึ้นจริงในอดีต
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงบัญญัติพระวินัยไว้ตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว
เพื่อประโยชน์ ๑๐ ประการ แก่หมู่ภิกษุสงฆ์ และหมู่คฤหัสถ์
ทีนี้ หากบุคคลเพศที่สามนั้นกล่าวอ้างว่าตนเองเป็นผู้มีศรัทธาแล้ว
ก็ย่อมจะต้องยึดถือและปฏิบัติตามสิ่งที่พระศาสดาได้ทรงบัญญัติไว้
แต่หากจะไม่ยึดถือและไม่ปฏิบัติตามสิ่งที่พระศาสดาได้ทรงบัญญัติไว้แล้ว
ก็ย่อมจะเรียกไม่ได้ว่าเป็นผู้ที่มีศรัทธาครับ

ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่สุดของผู้มีศรัทธานั้น ไม่ได้อยู่ที่ว่าสามารถบวชได้หรือไม่
แต่อยู่ที่ว่าตนเองได้น้อมนำพระธรรมคำสอนไปประพฤติปฏิบัติมากน้อยเพียงไร
ซึ่งหากได้นำพระธรรมคำสอนไปประพฤติปฏิบัติตามสมควรแก่ธรรมแล้ว
เรื่องจะบวชได้หรือไม่ได้นั้น ย่อมเป็นเรื่องเล็กน้อยมากครับ

เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา มีข่าวที่น่าสนใจว่า
มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท่านหนึ่งได้โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ว่า
หากบุคคลเพศที่สาม (กะเทย) มีความศรัทธาในพระศาสนาแล้ว
ทำไมจึงมองว่าภิกษุเพศที่สามไม่เหมาะสม
และทำไมจึงจำกัดห้ามมิให้บุคคลเพศที่สามบวชเป็นภิกษุ
ซึ่งการเข้าถึงพระศาสนาไม่ควรมีการจำกัดเพศมิใช่หรือ

ในเรื่องนี้ ขออธิบายก่อนว่าการเข้าถึงพระศาสนานั้น
ไม่ได้จำกัดเพศ โดยไม่ว่าจะเป็นเพศไหน ๆ ก็สามารถศึกษาพระธรรม
และมีโอกาสบรรลุธรรมได้เช่นกัน โดยไม่ได้จำเป็นต้องบวชเป็นภิกษุครับ
แต่ในเรื่องของการบวชเป็นภิกษุนั้น เป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติตามพระวินัย
ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติของทุกกลุ่มชนหรือหมู่คณะ
ที่จะมีกฎระเบียบหรือหลักเกณฑ์สำหรับกลุ่มชนหรือหมู่คณะนั้น ๆ
ไม่ใช่ว่าใครจะทำอะไรก็ได้ และทุกอย่างจะทำได้หมด โดยไม่จำกัด
ยกตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์บางเรื่องก็ยังมีการจำกัดอายุผู้เข้าชม
หรือสถานที่จอดรถบางแห่งก็สงวนไว้ให้เฉพาะคนพิการ
หรือที่นั่งบางที่บนรถโดยสารหรือรถไฟก็สงวนให้เด็ก สตรี คนชรา เป็นต้น

พระพุทธศาสนาก็เช่นกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบัญญัติพระวินัย
เพื่อให้เหล่าบรรดาสาวกได้ปฏิบัติตาม

ซึ่งถ้าเราเป็นผู้มีศรัทธาและเคารพต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
เราก็พึงต้องปฏิบัติตามพระวินัยที่พระศาสนาได้กำหนดไว้

ในพระวินัยปิฎก มหาวรรค ได้ระบุเรื่องห้ามบัณเฑาะก์มิให้อุปสมบทว่า
ในสมัยพุทธกาล บัณเฑาะก์คนหนึ่งได้บวชในสำนักภิกษุ
เธอเข้าไปหาภิกษุหนุ่ม ๆ แล้วพูดชวนอย่างนี้ว่า
มาเถิดท่านทั้งหลาย จงประทุษร้ายข้าพเจ้า
ภิกษุทั้งหลายพูดรุกรานว่า เจ้าบัณเฑาะก์จงฉิบหาย
เจ้าบัณเฑาะก์จงพินาศ จะประโยชน์อะไรด้วยเจ้า
เธอถูกพวกภิกษุพูดรุกราน จึงเข้าไปหาพวกสามเณรโค่งผู้มีร่างล่ำสัน
แล้วพูดชวนอย่างนี้ว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย จงประทุษร้ายข้าพเจ้า
พวกสามเณรพูดรุกรานว่า เจ้าบัณเฑาะก์จงฉิบหาย
เจ้าบัณเฑาะก์จงพินาศ จะประโยชน์อะไรด้วยเจ้า

เธอถูกพวกสามเณรพูดรุกราน จึงเข้าไปหาพวกคนเลี้ยงช้าง คนเลี้ยงม้า
แล้วพูดอย่างนี้ว่า มาเถิด ท่านทั้งหลาย จงประทุษร้ายข้าพเจ้า

พวกคนเลี้ยงช้าง พวกคนเลี้ยงม้า ประทุษร้ายแล้ว จึงเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้เป็นบัณเฑาะก์
บรรดาพวกสมณะเหล่านี้ แม้พวกใดที่มิใช่บัณเฑาะก์
แม้พวกนั้นก็ประทุษร้ายบัณเฑาะก์
เมื่อเป็นเช่นนี้ พระสมณะเหล่านี้ก็ล้วนแต่ไม่ใช่เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์

ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกคนเลี้ยงช้าง พวกคนเลี้ยงม้า พากันเพ่งโทษ
ติเตียนโพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ บัณเฑาะก์
ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=4&A=3481&Z=3495&pagebreak=0

ในอรรถกถาของพระวินัยปิฎก มหาวรรคนี้ อธิบายว่า
บัณเฑาะก์มี ๕ ชนิด คือ อาสิตตบัณเฑาะก์ ๑ อุสุยยบัณเฑาะก์ ๑
โอปักกมิยบัณเฑาะก์ ๑ ปักขบัณเฑาะก์ ๑ นปุงสกบัณเฑาะก์ ๑
ในบัณเฑาะก์ ๕ ชนิดนั้น บัณเฑาะก์ใดเอาปากอมองคชาตของชายเหล่าอื่น
ถูกน้ำอสุจิรดเอาแล้ว ความเร่าร้อนจึงสงบไป บัณเฑาะก์นี้ชื่ออาสิตตบัณเฑาะก์
ฝ่ายบัณเฑาะก์ใดเห็นอัชฌาจารของชนเหล่าอื่น เมื่อความริษยาเกิดขึ้นแล้ว
ความเร่าร้อนจึงสงบไป บัณเฑาะก์นี้ชื่ออุสุยยบัณเฑาะก์
บัณเฑาะก์ใดมีอวัยวะดังพืชทั้งหลาย ถูกนำไปปราศแล้วคือ
ถูกเขาตอนเสียแล้ว ด้วยความพยายาม บัณเฑาะก์นี้ชื่อโอปักกมิยบัณเฑาะก์
ส่วนบางคนข้างแรมเป็นบัณเฑาะก์ ด้วยอานุภาพแห่งอกุศลวิบาก
แต่ข้างขึ้น ความเร่าร้อนของเขาย่อมสงบไป นี้ชื่อว่าปักขบัณเฑาะก์
ส่วนบัณเฑาะก์ใดเกิดไม่มีเพศ ไม่มีภาวรูป ในปฏิสนธิทีเดียว
คือไม่ปรากฏว่าชายหรือหญิงมาแต่กำเนิด บัณเฑาะก์นี้ชื่อนปุงสกบัณเฑาะก์
ในอรรถกถาชื่อกุรุนทีแก้ว่า ในบัณเฑาะก์ ๕ ชนิดนั้น
อาสิตตบัณเฑาะก์และอุสุยยบัณเฑาะก์ ไม่ห้ามบรรพชา, ๓ ชนิดนอกนี้ห้าม
แม้ในบัณเฑาะก์ ๓ ชนิดนั้น สำหรับปักขบัณเฑาะก์
ห้ามบรรพชาแก่เขาเฉพาะปักข์ที่เป็นบัณเฑาะก์เท่านั้น
ก็ในบัณเฑาะก์ ๓ ชนิดนี้ บัณเฑาะก์ใดทรงห้ามบรรพชา
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาบัณเฑาะก์นั้น
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=125

ในพระวินัยข้างต้นนี้มีหลายคำที่เราควรพิจารณาความหมายกันก่อนครับ
คำว่า “อนุปสัมบัน” หมายถึง ผู้ยังมิได้อุปสมบท ได้แก่
คฤหัสถ์และสามเณร (รวมทั้งสิกขมานาและสามเณรี) ผู้มิใช่ภิกษุหรือภิกษุณี
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CD%B9%D8%BB%CA%D1%C1%BA%D1%B9
คำว่า “บัณเฑาะก์” หมายถึง กะเทย, คนไม่ปรากฏว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง
ได้แก่ กะเทยโดยกำเนิด ๑ ชายผู้ถูกตอนที่เรียกว่าขันที ๑
ชายมีราคะกล้าประพฤตินอกจารีตในทางเสพกาม
และยั่วยวนชายอื่นให้เป็นเช่นนั้น ๑
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%BA%D1%B3%E0%B1%D2%D0%A1%EC&original=1
คำว่า “อุปสมบท” หมายถึง การให้กุลบุตรบวชเป็นภิกษุ
หรือให้กุลธิดาบวชเป็นภิกษุณี
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CD%D8%BB%CA%C1%BA%B7&original=1
คำว่า “บรรพชา” หมายถึง การบวช (แปลว่า “เว้นความชั่วทุกอย่าง”) ได้แก่
การบวชทั่วไป การบวชอันเป็นบุรพประโยคแห่งอุปสมบท,
การบวชเป็นสามเณร (เดิมทีเดียว คำว่า บรรพชา หมายความว่า
บวชเป็นภิกษุ เช่น เสด็จออกบรรพชา อัครสาวกบรรพชา เป็นต้น
ในสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ คำว่า บรรพชา หมายถึง บวชเป็นสามเณร
ถ้าบวชเป็นภิกษุ ใช้คำว่า อุปสมบท
โดยเฉพาะเมื่อใช้ควบกันว่า บรรพชาอุปสมบท
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%BA%C3%C3%BE%AA%D2&original=1
คำว่า “ประทุษร้าย” ในพระวินัยปิฎก มหาวรรคนี้
ไม่ได้หมายถึง การทำร้ายร่างกาย แต่หมายถึงการมีเพศสัมพันธ์

เราจึงจะเห็นได้ว่า ในสมัยพุทธกาลนั้น เมื่อมีบัณเฑาะก์บวชเป็นภิกษุแล้ว
ส่งผลให้เดือดร้อนต่อภิกษุ และสามเณร
และทำให้เหล่าประชาชนเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้เป็นบัณเฑาะก์
บรรดาพวกสมณะเหล่านี้ แม้พวกใดที่มิใช่บัณเฑาะก์
แม้พวกนั้นก็ประทุษร้ายบัณเฑาะก์
เมื่อเป็นเช่นนี้ พระสมณะเหล่านี้ก็ล้วนแต่ไม่ใช่เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงบัญญัติพระวินัยว่า
ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบทบัณเฑาะก์ และที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย
ซึ่งการบัญญัติเช่นนี้เป็นเพราะมีเหตุ และเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม
โดยในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าบัญญัติข้อห้ามในพระวินัยนั้น
ท่านจะพิจารณาแล้วว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑
เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑

เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=2945&Z=3080&pagebreak=0

ทีนี้ ขอให้สังเกตว่าในเนื้อหาของพระวินัยปิฎก มหาวรรคใช้คำว่า
ห้ามอุปสมบท ซึ่งหมายถึงห้ามบวชเป็นภิกษุ
ซึ่งพระศาสดาไม่ได้ทรงยกเว้นไว้เลยว่ามีบัณเฑาะก์ไหนให้อุปสมบทได้
อย่างไรก็ดี ในอรรถกถาอธิบายว่า บัณเฑาะก์มี ๕ ชนิด
โดย ๒ ชนิดไม่ห้ามบรรพชา แต่ ๓ ชนิดไม่ห้ามบรรพชา
ซึ่งคำว่าบรรพชาในที่นี้หมายถึง การบวชเป็นสามเณร
ดังนั้นแล้ว ตามอรรถกถานั้น บุคคลเพศที่สามที่มีลักษณะเป็น
อาสิตตบัณเฑาะก์ หรืออุสุยยบัณเฑาะก์ ก็ยังบวชเป็นสามเณรได้

แต่แม้กระนั้นก็ตาม ในความเห็นส่วนตัวผมแล้ว เห็นว่า
การบวชเป็นเพศบรรพชิตนั้น ย่อมจะเป็นผู้ที่สละทรัพย์สินและครอบครัวแล้ว
ออกจากเรือน เพื่อมุ่งจะดับกิเลส จึงต้องประพฤติตามพระวินัย
และประพฤติตนให้เหมาะสมในเพศบรรพชิต
แต่หากตนเองยังไม่สามารถที่จะประพฤติตนให้เหมาะสมแก่เพศบรรพชิตได้
หรือยังไม่สามารถรักษาพระวินัยได้แล้ว ย่อมไม่สมควรที่จะบวช
เพราะไม่เช่นนั้น ก็ย่อมจะสร้างความเดือดร้อนแก่หมู่ภิกษุสงฆ์
ทำให้ประชาชนติเตียนหรือเพ่งโทษหมู่ภิกษุสงฆ์
และเป็นโทษร้ายแรงแก่ผู้บวชนั้นเองอีกด้วย

อนึ่ง การที่ภิกษุไม่ประพฤติตนให้เหมาะสมตามพระวินัยนั้น
ย่อมจะเป็นอกุศลกรรมหนักนะครับ เพราะภิกษุนั้นดำรงชีพอยู่ด้วย
อาหารและปัจจัยสี่จากคฤหัสถ์ผู้มีจิตศรัทธานำมาถวาย
ซึ่งที่เขาเหล่านั้นนำมาถวายก็เพราะเข้าใจว่าเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์
แต่แท้ที่จริงแล้ว ไม่ใช่ เพราะไม่ได้ปฏิบัติตนเองตามพระวินัย
ในรายละเอียดนั้น ขอให้ศึกษาจาก “อัคคิขันธูปมสูตร”
ซึ่งผมได้เคยเขียนบทความไว้สองตอนชื่อว่า “ข้อแนะนำก่อนบวช” ครับ
http://www.dharmamag.com/mag/index.php/dhammajaree-issues/1053-2014-06-04-08-53-56
http://www.dharmamag.com/mag/index.php/dhammajaree-issues/1062-2014-06-18-17-04-35

เนื่องด้วยพระวินัยได้บัญญัติข้อห้ามการอุปสมบทไว้หลายเรื่อง
และการตรวจสอบก็ไม่สามารถทำได้โดยง่ายนะครับ เช่น
เป็นโรคต้องห้ามบางอย่าง หรือแอบหนีพ่อแม่มาบวชโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นต้น
ในการอุปสมบทโดยหมู่ภิกษุนั้น จึงมีการถามคำถามหลายคำถาม เช่น
เป็นโรคเรื้อนหรือไม่ เป็นโรคฝีหรือไม่ เป็นโรคกลากหรือไม่ เป็นโรคหืดหรือไม่
เป็นโรคลมบ้าหมูหรือไม่ เป็นมนุษย์หรือ เป็นชายหรือ มิได้เป็นทาสหรือ
ไม่มีหนี้หรือ บิดามารดาอนุญาตแล้วหรือ เป็นต้น
ซึ่งหากผู้ขออุปสมบททราบว่าตนเองเป็นบัณเฑาะก์
ไม่ได้เป็นเพศชายแล้ว ก็ย่อมจะไม่สามารถผ่านขั้นตอนนี้ได้
โดยหากรู้ว่าตนเองเป็นบัณเฑาะก์ ไม่ได้เป็นเพศชาย
แต่ไปตอบว่าเป็นเพศชายแล้ว ก็เท่ากับว่าเป็นการกล่าวเท็จนั่นเอง

โดยสรุปแล้ว ในเรื่องของการห้ามบุคคลเพศที่สามบวชเป็นภิกษุนั้น
ไม่ใช่เรื่องของการกีดกันหรือจำกัดสิทธิทางเพศ
แต่เป็นเรื่องที่มีเหตุทำให้เสียหายเกิดขึ้นจริงในอดีต
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงบัญญัติพระวินัยไว้ตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว
เพื่อประโยชน์ ๑๐ ประการ แก่หมู่ภิกษุสงฆ์ และหมู่คฤหัสถ์
ทีนี้ หากบุคคลเพศที่สามนั้นกล่าวอ้างว่าตนเองเป็นผู้มีศรัทธาแล้ว
ก็ย่อมจะต้องยึดถือและปฏิบัติตามสิ่งที่พระศาสดาได้ทรงบัญญัติไว้
แต่หากจะไม่ยึดถือและไม่ปฏิบัติตามสิ่งที่พระศาสดาได้ทรงบัญญัติไว้แล้ว
ก็ย่อมจะเรียกไม่ได้ว่าเป็นผู้ที่มีศรัทธาครับ

ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่สุดของผู้มีศรัทธานั้น ไม่ได้อยู่ที่ว่าสามารถบวชได้หรือไม่
แต่อยู่ที่ว่าตนเองได้น้อมนำพระธรรมคำสอนไปประพฤติปฏิบัติมากน้อยเพียงไร
ซึ่งหากได้นำพระธรรมคำสอนไปประพฤติปฏิบัติตามสมควรแก่ธรรมแล้ว
เรื่องจะบวชได้หรือไม่ได้นั้น ย่อมเป็นเรื่องเล็กน้อยมากครับ