Print

เพื่อนธรรมจารี - ฉบับที่ ๓๓๖

ngodngam1 

 งดงาม  

  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

คุยเรื่องน้ำปัสสาวะ

 

    dhammajaree336

ในช่วง ๒ เดือนที่ผ่านมา หลายท่านอาจจะได้พบเห็นข่าวโต้เถียงกัน
ทางวิชาการในเรื่องของการใช้น้ำปัสสาวะเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย
ซึ่งก็มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
โดยแต่ละฝ่ายก็ให้เหตุผลและข้อมูลในแง่มุมที่แตกต่างกันไป

ในเรื่องการใช้น้ำปัสสาวะรักษาอาการเจ็บป่วยนี้
ผมได้เคยเขียนบทความไว้ตอนหนึ่งในชื่อว่า
“คุยเรื่องสุขภาพ (๑๐) – น้ำปัสสาวะ”
http://www.dharmamag.com/mag/index.php/dhammajaree-issues/1153-2015-01-29-08-46-58
ซึ่งก็ได้ยกหลายพระสูตรที่เกี่ยวข้องมาอ้างอิงไว้ในบทความด้วย ได้แก่
พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=1866&Z=1974&pagebreak=0
มหาธรรมสมาทานสูตร (พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=9701&Z=9903&pagebreak=0
สันตุฏฐิสูตร (พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=699&Z=713&pagebreak=0
จัตตาริสูตร (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=6550&Z=6565&pagebreak=0
สาริปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖ (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=10137&pagebreak=0
ขัคควิสาณสุตตนิทเทส (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=30&A=6139&pagebreak=0
ในพระสูตรเหล่านี้จะกล่าวถึงคำว่า “น้ำปัสสาวะ” โดยใช้คำว่า “มูตรเน่า”
ซึ่งในพจนานุกรมพุทธศาสน์ (ฉบับประมวลศัพท์)
โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) อธิบายว่า
“มูตร” แปลว่า ปัสสาวะ, น้ำเบา, เยี่ยว
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C1%D9%B5%C3&original=1

แม้ว่าในพระไตรปิฎกจะใช้คำว่า “มูตรเน่า” ก็ตาม
แต่ไม่ได้แปลว่าจะต้องหมักให้เน่านะครับ
โดยคำว่า “เน่า” ในที่นี้หมายถึงมีกลิ่น
ดังนั้นแม้ว่าจะเป็นน้ำปัสสาวะที่ออกจากร่างกายใหม่ ๆ
ก็เรียกว่าเป็น “มูตรเน่า” เช่นกัน
ซึ่งในอรรถกถา สันตุฏฐิสูตร (พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต)
อธิบายว่า น้ำมูตรอย่างใดอย่างหนึ่ง กายแม้มีผิวดังทอง
เขาก็เรียกว่ากายเน่าฉันใด แม้น้ำมูตรที่ใหม่เอี่ยม
เขาก็เรียกว่าน้ำมูตรเน่าฉันนั้น
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=27

ในข่าวโต้เถียงกันทางวิชาการในเรื่องของการใช้น้ำปัสสาวะนั้น
เราอาจจะได้พบเห็นบางท่านกล่าวว่า
ในพระไตรปิฎกนั้นที่กล่าวถึงการใช้มูตรเน่าเพื่อเป็นยานั้น
ท่านไม่ได้หมายถึงปัสสาวะของมนุษย์
แต่หมายถึงปัสสาวะของวัว โดยอ้างว่ามีคัมภีร์ได้อธิบายไว้เช่นนั้น
ผมก็พยายามลองค้นดูว่าหมายถึงคัมภีร์ไหน
แต่ก็ไม่พบและก็ทราบว่าคือคัมภีร์ไหนนะครับ
แม้ว่าจะมีคัมภีร์ดังกล่าวกล่าวอธิบายไว้เช่นนั้นก็ตาม
ผมก็ขอตั้งข้อสังเกตให้ท่านผู้อ่านพิจารณากันนะครับว่า

ใน ๖ พระสูตรที่ได้ยกมาข้างต้นนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกล่าวโดยใช้คำว่า “มูตรเน่า” เท่านั้น
ท่านไม่ได้ทรงกล่าวตรงไหนเลยว่าเป็น “มูตรเน่า” ของวัว
ในขณะเดียวกันในอรรถกถาของสันตุฏฐิสูตร อธิบายว่า
“น้ำมูตรอย่างใดอย่างหนึ่ง กายแม้มีผิวดังทอง
เขาก็เรียกว่ากายเน่าฉันใด แม้น้ำมูตรที่ใหม่เอี่ยม
เขาก็เรียกว่าน้ำมูตรเน่าฉันนั้น”
ซึ่งถ้าตรงนี้ตั้งในจะหมายถึงปัสสาวะของวัวแล้ว
ทำไมจึงอธิบายว่า กายแม้มีผิวดังทอง ด้วย

อีกประการหนึ่งคือ ในสันตุฏฐิสูตร อธิบายว่า
“บรรดาเภสัช มูตรเน่า ทั้งน้อย หาได้ง่าย และหาโทษมิได้”
ถ้าคำว่า “มูตรเน่า” หมายถึงปัสสาวะของวัวแล้ว
ปัสสาวะของวัวจะเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายจริงหรือ
เพราะต่อให้ภิกษุจะไปพำนักอยู่ใกล้สถานที่ที่มีวัวก็ตาม
แต่การที่จะไปเอาปัสสาวะวัวมาได้ ย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย
(เช่น ต้องไปตามและเฝ้ารอจนวัวปัสสาวะ แล้วรีบนำภาชนะไปรอง)
หรือถ้าจะไปธุดงค์ในป่าหรือสถานที่ห่างไกล
ซึ่งอาจจะไม่มีวัว ก็จะกลายเป็นว่า ปัสสาวะวัวไม่ใช่ของหาง่ายแล้ว
ดังนั้น แม้ว่าจะอ้างคัมภีร์ก็ตาม (ซึ่งไม่ทราบว่าคือคัมภีร์อะไร)
แต่เมื่อพิจารณาถ้อยคำในพระไตรปิฎก รวมอรรถกถาแล้ว
โดยส่วนตัวแล้ว ผมก็ยังเห็นว่าน่าจะเป็นปัสสาวะมนุษย์มากกว่า
และหาได้ง่ายแน่นอน ซึ่งถ้าจะให้เราหาปัสสาวะของวัวแล้ว
ย่อมจะไม่ใช่สิ่งที่คนเมืองที่ไม่ได้เลี้ยงวัวจะหาได้โดยง่ายครับ

ส่วนเรื่อง “ไม่มีโทษ” นั้น บางท่านอ้างเหตุต่าง ๆ นานา
ว่าการดื่มปัสสาวะนั้นมีโทษและเป็นอันตรายอย่างนั้นอย่างโน้น
ซึ่งก็มีข้อน่าสงสัยนะครับว่า ถ้าหากการดื่มปัสสาวะของตนเอง
แล้วจะมีโทษร้ายแรงเป็นอันตรายร้ายแรงจากปัสสาวะจริง ๆ แล้ว
ก็ควรจะเป็นอันตรายร้ายแรงตั้งแต่ปัสสาวะอยู่ในร่างกายเราแล้วมิใช่หรือ?
ปัสสาวะนั้นอยู่ในร่ายกายเราได้อย่างไรตั้งนานโดยเราไม่เป็นอันตราย
ในขณะเดียวกัน ถ้าหากปัสสาวะของตนเองที่มาจากตัวเราเอง
ยังจะเป็นสิ่งอันตรายและต้องห้ามดื่มดังที่กล่าวอ้างจริงแล้ว
ทำไมเราจึงควรที่จะดื่มปัสสาวะของวัวได้?
ทำไมปัสสาวะของวัวจึงปลอดภัยกว่าปัสสาวะที่ร่างกายเราเอง
โดยเราก็จะเห็นได้ว่าข้อกล่าวอ้างเหล่านี้ไม่ได้สมเหตุผลนะครับ

บางท่านกล่าวว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนให้ใช้มูตรเน่าในยามฉุกเฉินเท่านั้น
การกล่าวเช่นนี้ย่อมเป็นการขัดกับพระสูตรครับ
ในพระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ให้อุปสมบท บอกนิสสัย ๔ ดังนี้
๑. บรรพชาอาศัยโภชนะคือคำข้าวอันหาได้ด้วยกำลังปลีแข้ง
เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต
อดิเรกลาภ คือ ภัตถวายสงฆ์ ภัตเฉพาะสงฆ์ การนิมนต์ ภัตถวายตามสลาก
ภัตถวายในปักษ์ ภัตถวายในวันอุโบสถ์ ภัตถวายในวันปาฏิบท.
๒. บรรพชาอาศัยบังสุกุลจีวร เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต
อดิเรกลาภ คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม
ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าเจือกัน. (เช่นผ้าด้ายแกมไหม)
๓. บรรพชา อาศัยโคนไม้เป็นเสนาสนะ เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต
อดิเรกลาภ คือ วิหาร เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้น ถ้ำ
๔. บรรพชาอาศัย “มูตรเน่า” เป็นยา เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต
อดิเรกลาภ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=4&A=1866&w=%B9%D4%CA%CA%D1%C2_%F4
ในพจนานุกรมพุทธศาสน์ (ฉบับประมวลศัพท์)
โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้อธิบายว่า
คำว่า “นิสสัย” แปลว่า ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%B9%D4%CA%CA%D1%C2&original=1
ดังนั้น ไม่มีตรงไหนในพระสูตรเกี่ยวกับ “มูตรเน่า” ได้กล่าวไว้เลยว่า
ให้ใช้เฉพาะยามฉุกเฉินเท่านั้น
ในทางกลับกัน ท่านทรงสอนว่าให้พึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต

บางท่านกล่าวว่าในพระไตรปิฎกกกล่าวถึง "ปูติมุตตเภสัช"
ซึ่งไม่ได้หมายถึงปัสสาวะของตนเอง แต่หมายถึงปัสสาวะของวัว
โดยถ้าหากเราลองดูในพระสูตรที่กล่าวถึง "ปูติมุตตเภสัช" แล้ว
เช่น ใน “สันตุฏฐิสูตร”(ฉบับมหาจุฬาฯ) กล่าวว่า
“บรรดายารักษาโรค ปูติมุตตเภสัช (ยาดองน้ำมูตรเน่า)
มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ”
ซึ่งสังเกตว่าก็ไม่มีตรงไหนบอกว่าเป็นมูตรเน่าของวัว
http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=27
ในขณะที่ในพจนานุกรมพุทธศาสน์ (ฉบับประมวลธรรม)
โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) อธิบายว่า
“ปูติมุตตเภสัช” แปลว่า ยาน้ำมูตรเน่า
(medicines pickled in stale urine; ammonia as a medicine)
ซึ่งก็ไม่มีตรงไหนบอกว่าเป็นมูตรเน่าของวัวเช่นกัน
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=159

บางท่านที่กำลังศึกษาในเรื่องการใช้น้ำปัสสาวะบำบัดโรค
และกำลังอยู่ระหว่างตัดสินใจอยู่ เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว
ก็อาจสับสนและไม่มีคำตอบแก่ตนเองนะครับว่าจะเลือกอย่างไรดี
ผมก็ขอแนะนำแนวทางพิจารณาอย่างง่าย ๆ นะครับ
โดยลองถามตนเองว่า
๑. โรคที่เราเจ็บป่วยอยู่ในปัจจุบันนี้ เราให้แพทย์รักษาแล้วหายไหม?
๒. เราเสียเงินในการรักษาเท่าไรแล้ว และมีเงินที่จะรักษาต่อไหม?
๓. เราทุกข์ทรมานอยู่กับโรคที่เราเจ็บป่วยนี้หรือไม่?

ถ้าเราตอบว่า เราหาแพทย์แล้วรักษาหายดี อาการดีขึ้น
หรือเราเสียเงินน้อยมาก หรือมีเงินพอรักษาต่อไปได้สบาย ๆ
และเราก็ไม่ได้ทุกข์ทรมานอยู่กับโรคที่เราเจ็บป่วยนี้เท่าไรด้วย
เช่นนี้แล้ว เราก็ไม่ได้จำเป็นต้องคิดหาวิธีการรักษาทางอื่นก็ได้

ถ้าเราตอบว่า เราหาแพทย์มาหลายปีแล้วก็ไม่หาย แต่อาการหนักขึ้น
เราเสียเงินไปมากมายแล้ว ไม่มีเงินมากพอที่จะรักษาต่อไปได้
และเราก็ทนทุกข์ทรมานอยู่กับโรคที่เราเจ็บป่วยนี้อย่างมาก
เช่นนี้แล้ว เราก็น่าจะถามตนเองนะครับว่า
ที่ผ่านมานั้น ยังไม่ได้พิสูจน์แก่ตนเองหรือว่าวิธีการเดิมไม่ได้ผล
แล้วเราก็จะปิดกั้นตนเองไม่หาหนทางหรือวิธีการอื่น ๆ บ้างเลยหรือ

นอกจากนี้แล้ว โดยส่วนตัวแล้ว ผมขอแนะนำประโยชน์ของ
การดื่มน้ำปัสสาวะใน ๒ ประการ ได้แก่
๑. ช่วยในการปรับพฤติกรรมของตนเอง
กล่าวคือ หากปกติเราทานอาหารรสจัด ทานผักผลไม้น้อย ดื่มน้ำน้อย
น้ำปัสสาวะที่ออกมาก็จะมีกลิ่นแรง รสขม และสีเข้ม
ในกลับกัน หากเราทานอาหารรสอ่อน ทานผักผลไม้มาก ดื่มน้ำมาก
น้ำปัสสาวะที่ออกมาก็จะมีกลิ่นอ่อน รสอ่อน และสีอ่อน
ซึ่งก็เท่ากับว่าจะทำให้เราทดสอบและปรับพฤติกรรมของตนเอง
ในการทานอาหารและทานน้ำได้
โดยเรื่องนี้ เราสามารถทดสอบได้ด้วยตนเองโดยไม่ยาก
๒. เมื่อทิ้งน้ำปัสสาวะไว้ในอากาศนาน ๆ แล้ว จะมีค่าความเป็นด่างสูงขึ้น
และมีค่า Oxidation Reduction Potential (ค่า ORP) เพิ่มมากขึ้น
(ซึ่งค่า ORP นี้เป็นตัวที่ต้านการทำงานของอนุมูลอิสระ)
โดยในเรื่องค่าความเป็นด่างและค่า ORP นี้
เราสามารถซื้อเครื่องมือมาวัดและทดสอบได้เองโดยไม่ยากครับ

ดังนั้นแล้ว ถ้าเราหาแพทย์มาหลายปีแล้วก็ไม่หาย แต่อาการหนักขึ้น
เราเสียเงินไปมากมายแล้ว และไม่มีเงินมากพอที่จะรักษาต่อไปได้
และเราก็ทนทุกข์ทรมานอยู่กับโรคที่เราเจ็บป่วยนี้อย่างมาก
เช่นนี้แล้ว ผมก็แนะนำให้ลองศึกษาและทดลองดูนะครับ
เพราะก็ทำเองได้โดยไม่ยาก และไม่ได้ต้องเสียเงินทองแก่ให้ใครด้วย
ถ้าอาการดีขึ้น ก็ถือว่าเราได้ประโยชน์
แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ก็ไม่ได้จะทำให้เราเสียหายแย่กว่าที่เป็นอยู่เดิมครับ