Print

เพื่อนธรรมจารี - ฉบับที่ ๒๓๓

ngod-ngam2 งดงาม
  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ngod-ngam2 งดงาม
  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ทุกข์ในสังสารวัฏ

dhammajaree233


พวกเราชาวพุทธศาสนิกชนย่อมเคยได้ยินคำว่า “สังสารวัฏ” กันมาบ้างนะครับ
ซึ่งในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้อธิบายความหมายไว้ว่า
“สังสารวัฏ” หมายถึง ภพที่เวียนเกิดเวียนตาย การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลก
(หรือเขียนว่า “สังสารวัฏฏ์” หรือ “สงสารวัฏ” ซึ่งมีความหมายเดียวกัน)
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%D1%A7%CA%D2%C3%C7%D1%AF&original=1


พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสอนว่า สังสารวัฏนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้
เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้
ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ

แม้ว่าบางทีเราอาจได้พบเห็นคำว่า “ท่องเทียว” อยู่ในสังสารวัฏก็ตาม
แต่ช่วงเวลาที่เราอยู่ในสังสารวัฏนี้ ไม่ใช่ช่วงเวลาที่ท่องเที่ยวสนุกเพลิดเพลินนะครับ
โดยมีช่วงเวลามากมายที่เราต้องเศร้าโศกเสียใจ หรือต้องทนทุกข์ทรมาน
ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้ว่า น้ำตาที่หลั่งไหลของเราผู้ท่องเที่ยวในสังสารวัฏนั้น
ยังมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ เสียอีก
เพราะว่าเราต้องประสบสิ่งที่ไม่พอใจ พลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ
ประสบมรณกรรมของบิดามารดา ของบุตร ของธิดา ของพี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว
ประสบความเสื่อมแห่งของญาติ ประสบความเสื่อมแห่งโภคะ
ประสบความเสื่อมเพราะโรคมานับไม่ถ้วนตลอดกาลนาน
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=4766&Z=4794&pagebreak=0


หากจะเปรียบเทียบกับน้ำนมมารดาที่เราผู้ท่องเที่ยวในสังสารวัฏได้เคยดื่มมานั้น
ยังมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ เสียอีก
เพราะเราย่อมเคยมีมารดามาแล้วนับไม่ถ้วนในสังสารวัฏนี้
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=4795&Z=4811&pagebreak=0


ด้วยความที่สังสารวัฏนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้
จึงไม่สามารถระบุความยาวนานของระยะเวลาในสังสารวัฏได้
แม้แต่ระยะเวลาที่สั้นกว่านั้น ได้แก่หน่วยวัดระยะเวลาที่เรียกว่า “กัป” ก็ตาม
ในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้อธิบายความหมายไว้ว่า
“กัป” (หรือ “กัลป์”) หมายถึง กาลกำหนด กำหนดอายุโลก
ระยะเวลายาวนานเหลือเกินที่กำหนดว่าโลกคือจักรวาลสิ้นสลายครั้งหนึ่ง
ทั้งนี้ อาจจะใช้ในความหมายของกำหนดอายุคนในยุคหนึ่ง เรียกเต็มว่า “อายุกัป”
เช่น อายุกัปของคนยุคนี้ ประมาณ ๑๐๐ ปี
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%A1%D1%BB&original=1


พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ระยะเวลากัปหนึ่งนานมาก
โดยไม่ใช่ง่ายที่จะนับเป็นระยะเวลาว่า ๑๐๐ ปี ๑,๐๐๐ ปี หรือ ๑๐๐,๐๐๐ ปี หรือเท่านี้ปี
แต่อาจจะอุปมาเปรียบเทียบได้ว่า สมมุติว่ามีภูเขาหินลูกใหญ่ยาว ๑ โยชน์ กว้าง ๑ โยชน์
สูง ๑ โยชน์ (๑ โยชน์เท่ากับ ๑๖ กิโลเมตร) ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ
และให้บุรุษนำผ้าเนื้อดีแคว้นกาสีมาแล้วปัดภูเขานั้น ๑๐๐ ปีต่อครั้ง
ภูเขาหินลูกใหญ่นั้น พึงถึงการหมดไป สิ้นไป เพราะความพยายามนี้
ยังเร็วกว่าระยะเวลา ๑ กัปเสียอีก
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=4812&Z=4831&pagebreak=0


หรืออุปมาเปรียบเทียบว่าสมมุติว่ามีกำแพงเมืองแห่งหนึ่งที่ทำด้วยเหล็ก ยาว ๑ โยชน์
กว้าง ๑ โยชน์ สูง ๑ โยชน์ และบรรจุเต็มไปด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาด
โดยเมล็ดพันธุ์ผักกาดได้รวมกันเป็นกลุ่มก้อน
และบุรุษให้หยิบเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดเมล็ดหนึ่ง ๆ ออกจากเมืองนั้น ๑๐๐ ปีต่อเมล็ด
เมล็ดพันธุ์ผักกาดกองใหญ่นั้น พึงถึงการหมดไป เพราะความพยายามนี้
ยังเร็วกว่าระยะเวลา ๑ กัปเสียอีก
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=4832&Z=4849&pagebreak=0


หรือหากจะนำกองกระดูกของเราในชีวิตที่ผ่านมาในระยะเวลา ๑ กัปมากองรวมกันแล้ว
กระดูกเหล่านั้นก็จะกองได้เท่าภูเขาใหญ่ลูกหนึ่ง
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=4910&Z=4938&pagebreak=0


ระยะเวลาใน ๑ กัปนั้นยาวนานมากดังที่ได้ทรงอุปมาเปรียบเทียบข้างต้น
แต่หากจะพิจารณาว่าระยะเวลาในสังสารวัฏนี้เทียบได้กับระยะเวลากี่กัปแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มีมาก
มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า ๑๐๐ กัป ๑,๐๐๐ กัป ๑๐๐,๐๐๐ กัป หรือเท่านี้กัป
หากจะอุปมาแล้ว สมมุติว่ามีสาวกในศาสนานี้ เป็นผู้มีอายุ ๑๐๐ ปี
หากว่าท่านเหล่านั้นสามารถระลึกถอยหลังไปได้วันละแสนกัปไปเรื่อย
จนกระทั่งถึงแก่มรณกรรมที่สิ้นอายุ ๑๐๐ ปีก็ตาม
ก็ยังไม่สามารถระลึกจำนวนกัปที่ผ่านไปแล้วทั้งหมดได้
เพราะว่าสังสารวัฏนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=4850&Z=4868&pagebreak=0


หรือหากจะลองเทียบจำนวนกัปที่ผ่านไปแล้วกับจำนวนเม็ดทรายก็ตาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า จำนวนกัปที่ผ่านไปแล้วนั้น
ยังมีมากกว่าจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาเสียอีก
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=4869&Z=4896&pagebreak=0


บางท่านอาจจะมองว่าระยะเวลาในสังสารวัฏจะยาวนานก็ไม่เป็นไร
เพราะชีวิตเราไม่ได้ทำชั่วอะไร เราก็ไม่เดือดร้อน และคงไม่ต้องไปลงอบายภูมิ
ซึ่งหากมองเช่นนั้นแล้วถือว่าประมาทอยู่ และยังไม่ได้มองครบทุกด้าน
เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสอนว่า
เปรียบเสมือนท่อนไม้ที่บุคคลโยนขึ้นบนอากาศ
บางคราวก็ตกลงทางโคน บางคราวก็ตกลงทางขวาง บางคราวก็ตกลงทางปลาย ฉันใด
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้
ท่องเที่ยวไปมาอยู่ในสังสารวัฏ ก็ฉันนั้น โดยบางคราวก็จากโลกนี้ไปสู่ปรโลก
บางคราวก็จากปรโลกมาสู่โลกนี้
(ซึ่งคำว่าปรโลกไม่ได้หมายความถึงเฉพาะสวรรค์เท่านั้น แต่หมายรวมถึงอบายภูมิด้วย)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=4897&Z=4909&pagebreak=0



ในระหว่างที่เราท่องเที่ยวในสังสารวัฏนี้
เราทุกคนก็เคยเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความสุข มีบริวารรับใช้มาก่อน
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=4950&Z=4960&pagebreak=0


ในขณะเดียวกัน เราก็ย่อมเคยเป็นคนพิการที่ร่างกายไม่สมประกอบเช่นกัน
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=4939&Z=4949&pagebreak=0


เราทุกคนเคยถูกจับตัดศีรษะมานับครั้งไม่ถ้วน
ซึ่งโลหิตที่หลั่งไหลออกมานั้นมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ เสียอีก
แม้นับเพียงที่เราเคยเกิดเป็นโคซึ่งถูกตัดศีรษะก็ตาม
โลหิตที่เคยหลั่งไหลออกก็มากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ เช่นกัน
หรือแม้จะนับเพียงที่เราเคยเกิดเป็นแกะ เกิดเป็นแพะ เกิดเป็นเนื้อ เกิดเป็นสุกร
หรือเกิดเป็นไก่ หรือถูกจับตัดศีรษะโดยข้อหาว่าเป็นโจรฆ่า
หรือถูกจับตัดศีรษะโดยข้อหาว่าเป็นโจรคิดปล้น
หรือถูกจับตัดศีรษะโดยข้อหาว่าเป็นโจรประพฤติผิดในภรรยาของผู้อื่นก็ตาม
โลหิตที่เคยหลั่งไหลออกก็มากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ เช่นกัน
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=4961&Z=4999&pagebreak=0


ตัวอย่างอื่น ๆ ก็มี เช่น หากสมมุติว่าหากเราเกิดพลาดไปประกอบอาชีพเป็นคนฆ่าโคในชาติหนึ่ง
เมื่อตายไปแล้วก็ย่อมหมกไหม้อยู่ในนรกสิ้นร้อยปี พันปี แสนปี หรือมากกว่านั้น
พ้นจากนรกแล้วยังไม่หมดกรรม
โดยอาจต้องมาโครงกระดูกลอยให้พวกแร้ง กา นกตะกรุม ตามจิกทึ้งทรมานก็ได้
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=6737&Z=6775&pagebreak=0


ด้วยความที่ในสังสารวัฏต้องประสบทุกข์เป็นอันมากเช่นนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสอนว่า ฝุ่นประมาณน้อยนี้ที่เอาปลายเล็บช้อนขึ้นมานั้น
เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่แล้ว ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑,๐๐๐
หรือไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ ของแผ่นดินใหญ่นั้น แม้ฉันใด
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=3540&Z=3558&pagebreak=0


หรือน้ำในสระโบกขรณียาว ๕๐ โยชน์ กว้าง ๕๐ โยชน์ ลึก ๕๐ โยชน์
มีน้ำเต็มเสมอขอบสาระ (๑ โยชน์เท่ากับ ๑๖ กิโลเมตร)
หากบุรุษตักน้ำขึ้นจากสระโบกขรณีนั้นด้วยปลายหญ้าคา
น้ำที่บุรุษตักขึ้นด้วยปลายหญ้าคาย่อมมีน้อย เมื่อเทียบกับน้ำในสระโบกขรณีแล้ว
ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ หรือเสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=3559&Z=3576&pagebreak=0


หรือน้ำในแม่น้ำใหญ่เหล่านี้คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลมาบรรจบกัน
หากบุรุษตักน้ำขึ้นสองสามหยาดจากที่นั้น
น้ำสองสามหยาดที่บุรุษตักขึ้นแล้ว ย่อมมีน้อย เมื่อเทียบกับน้ำในที่บรรจบกันแล้ว
ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ หรือเสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=3577&Z=3590&pagebreak=0


ฉันนั้นเหมือนกัน ความทุกข์ที่หมดไปสิ้นไปของบุคคลผู้บรรลุพระโสดาบันแล้วมีมาก
ความทุกข์ส่วนที่เหลือมีน้อยคือ ความที่ทุกข์เป็นสภาพยิ่งใน ๗ อัตภาพ
เมื่อเทียบเข้ากับกองทุกข์ที่หมดสิ้นไปแล้ว ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยว ที่ ๑,๐๐๐
หรือเสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ ของกองทุกข์ที่หมดสิ้นไปนั้น
การได้ธรรมจักษุย่อมสำเร็จประโยชน์อันยิ่งใหญ่อย่างนี้ครับ

+ + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + +

หมายเหตุ ศาลาปฏิบัติธรรม อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์
อยู่ระหว่างเก็บรายละเอียด โดยน่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งหมดภายในเดือนกันยายน ๒๕๕๘ นี้
ในเดือนตุลาคม ๒๕๕๘ ทางชมรมเรียนรู้กายใจจังหวัดนครสวรรค์ก็จะเริ่มเปิดใช้ศาลาปฏิบัติธรรม
โดยจะจัดงานสมโภชด้วยการจัดคอร์สภาวนา และทอดผ้าป่าสามัคคี
เพื่อนำปัจจัยมาใช้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการจัดค่ายเรียนรู้กายใจสอนการภาวนาแก่เด็ก ๆ
และใช้เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดูแลรักษาและซ่อมแซมเครื่องมือ สื่ออุปกรณ์ อาคารสถานที่ที่เกี่ยวข้อง
(โดยเฉลี่ยแล้วในการจัดค่ายเรียนรู้แก่เด็กจำนวน ๕๐ คนในค่ายหนึ่ง ๆ
จะต้องใช้ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ ๓๕,๐๐๐ บาท)
โดย วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๘
ยอดรวมปัจจัยร่วมทำบุญผ้าป่าอยู่ที่ ๑๗,๐๒๙ บาทครับ

สำหรับท่านที่สนใจร่วมทำบุญทอดผ้าป่าดังกล่าว ขอได้โปรดร่วมทำบุญโอนเงินได้ที่


บัญชีธนาคารชื่อบัญชี นางพจนา ทรัพย์สมาน และนางปราณี ศิริวิริยะกุล
และ นางชญาณัฒ ธิเนตร
ธนาคารกรุงเทพ สาขา บิ๊กซี นครสวรรค์
บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 627-0-34831-8

ท่านสามารถติดตามรายละเอียดงานทอดผ้าป่าสามัคคี
เพื่อจัดตั้งกองทุนจัดค่ายเรียนรู้กายใจ ทำนุบำรุงศาลาและสถานที่สวนธรรมธาราศัย
ในวันอาทิตย์ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๘ ได้ที่
http://bit.ly/1Mrq5T1


ท่านสามารถติดตามกิจกรรมการจัดค่ายเรียนรู้กายใจสอนธรรมะแก่เด็ก ๆ เยาวชน ได้ที่
http://www.facebook.com/rooguyroojai


และสามารถติดตามความคืบหน้าของการก่อสร้างศาลาปฏิบัติธรรมได้ที่
เชิญร่วมสมทบทุนสร้างศาลาปฏิบัติธรรม ชมรมเรียนรู้กายใจ จังหวัดนครสวรรค์


พวกเราชาวพุทธศาสนิกชนย่อมเคยได้ยินคำว่า “สังสารวัฏ” กันมาบ้างนะครับ
ซึ่งในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้อธิบายความหมายไว้ว่า
“สังสารวัฏ” หมายถึง ภพที่เวียนเกิดเวียนตาย การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลก

(หรือเขียนว่า “สังสารวัฏฏ์” หรือ “สงสารวัฏ” ซึ่งมีความหมายเดียวกัน)
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%D1%A7%CA%D2%C3%C7%D1%AF&original=1

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสอนว่า สังสารวัฏนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้
เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้
ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ

แม้ว่าบางทีเราอาจได้พบเห็นคำว่า “ท่องเทียว” อยู่ในสังสารวัฏก็ตาม
แต่ช่วงเวลาที่เราอยู่ในสังสารวัฏนี้ ไม่ใช่ช่วงเวลาที่ท่องเที่ยวสนุกเพลิดเพลินนะครับ
โดยมีช่วงเวลามากมายที่เราต้องเศร้าโศกเสียใจ หรือต้องทนทุกข์ทรมาน
ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้ว่า น้ำตาที่หลั่งไหลของเราผู้ท่องเที่ยวในสังสารวัฏนั้น
ยังมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ เสียอีก
เพราะว่าเราต้องประสบสิ่งที่ไม่พอใจ พลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ

ประสบมรณกรรมของบิดามารดา ของบุตร ของธิดา ของพี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว
ประสบความเสื่อมแห่งของญาติ ประสบความเสื่อมแห่งโภคะ
ประสบความเสื่อมเพราะโรคมานับไม่ถ้วนตลอดกาลนาน
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=4766&Z=4794&pagebreak=0

หากจะเปรียบเทียบกับน้ำนมมารดาที่เราผู้ท่องเที่ยวในสังสารวัฏได้เคยดื่มมานั้น
ยังมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ เสียอีก
เพราะเราย่อมเคยมีมารดามาแล้วนับไม่ถ้วนในสังสารวัฏนี้

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=4795&Z=4811&pagebreak=0

ด้วยความที่สังสารวัฏนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้
จึงไม่สามารถระบุความยาวนานของระยะเวลาในสังสารวัฏได้
แม้แต่ระยะเวลาที่สั้นกว่านั้น ได้แก่หน่วยวัดระยะเวลาที่เรียกว่า “กัป” ก็ตาม
ในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์

ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้อธิบายความหมายไว้ว่า
“กัป” (หรือ “กัลป์”) หมายถึง กาลกำหนด กำหนดอายุโลก

ระยะเวลายาวนานเหลือเกินที่กำหนดว่าโลกคือจักรวาลสิ้นสลายครั้งหนึ่ง
ทั้งนี้ อาจจะใช้ในความหมายของกำหนดอายุคนในยุคหนึ่ง เรียกเต็มว่า “อายุกัป”
เช่น อายุกัปของคนยุคนี้ ประมาณ ๑๐๐ ปี
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%A1%D1%BB&original=1

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ระยะเวลากัปหนึ่งนานมาก
โดยไม่ใช่ง่ายที่จะนับเป็นระยะเวลาว่า ๑๐๐ ปี ๑,๐๐๐ ปี หรือ ๑๐๐,๐๐๐ ปี หรือเท่านี้ปี
แต่อาจจะอุปมาเปรียบเทียบได้ว่า สมมุติว่ามีภูเขาหินลูกใหญ่ยาว ๑ โยชน์ กว้าง ๑ โยชน์
สูง ๑ โยชน์ (๑ โยชน์เท่ากับ ๑๖ กิโลเมตร) ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ
และให้บุรุษนำผ้าเนื้อดีแคว้นกาสีมาแล้วปัดภูเขานั้น ๑๐๐ ปีต่อครั้ง
ภูเขาหินลูกใหญ่นั้น พึงถึงการหมดไป สิ้นไป เพราะความพยายามนี้
ยังเร็วกว่าระยะเวลา ๑ กัปเสียอีก
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=4812&Z=4831&pagebreak=0

หรืออุปมาเปรียบเทียบว่าสมมุติว่ามีกำแพงเมืองแห่งหนึ่งที่ทำด้วยเหล็ก ยาว ๑ โยชน์
กว้าง ๑ โยชน์ สูง ๑ โยชน์ และบรรจุเต็มไปด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาด
โดยเมล็ดพันธุ์ผักกาดได้รวมกันเป็นกลุ่มก้อน
และบุรุษให้หยิบเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดเมล็ดหนึ่ง ๆ ออกจากเมืองนั้น ๑๐๐ ปีต่อเมล็ด
เมล็ดพันธุ์ผักกาดกองใหญ่นั้น พึงถึงการหมดไป เพราะความพยายามนี้
ยังเร็วกว่าระยะเวลา ๑ กัปเสียอีก
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=4832&Z=4849&pagebreak=0
หรือหากจะนำกองกระดูกของเราในชีวิตที่ผ่านมาในระยะเวลา ๑ กัปมากองรวมกันแล้ว
กระดูกเหล่านั้นก็จะกองได้เท่าภูเขาใหญ่ลูกหนึ่ง
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=4910&Z=4938&pagebreak=0

ระยะเวลาใน ๑ กัปนั้นยาวนานมากดังที่ได้ทรงอุปมาเปรียบเทียบข้างต้น
แต่หากจะพิจารณาว่าระยะเวลาในสังสารวัฏนี้เทียบได้กับระยะเวลากี่กัปแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มีมาก
มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า ๑๐๐ กัป ๑,๐๐๐ กัป ๑๐๐,๐๐๐ กัป หรือเท่านี้กัป
หากจะอุปมาแล้ว สมมุติว่ามีสาวกในศาสนานี้ เป็นผู้มีอายุ ๑๐๐ ปี
หากว่าท่านเหล่านั้นสามารถระลึกถอยหลังไปได้วันละแสนกัปไปเรื่อย
จนกระทั่งถึงแก่มรณกรรมที่สิ้นอายุ ๑๐๐ ปีก็ตาม
ก็ยังไม่สามารถระลึกจำนวนกัปที่ผ่านไปแล้วทั้งหมดได้
เพราะว่าสังสารวัฏนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=4850&Z=4868&pagebreak=0

หรือหากจะลองเทียบจำนวนกัปที่ผ่านไปแล้วกับจำนวนเม็ดทรายก็ตาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า จำนวนกัปที่ผ่านไปแล้วนั้น
ยังมีมากกว่าจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาเสียอีก
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=4869&Z=4896&pagebreak=0

บางท่านอาจจะมองว่าระยะเวลาในสังสารวัฏจะยาวนานก็ไม่เป็นไร
เพราะชีวิตเราไม่ได้ทำชั่วอะไร เราก็ไม่เดือดร้อน และคงไม่ต้องไปลงอบายภูมิ
ซึ่งหากมองเช่นนั้นแล้วถือว่าประมาทอยู่ และยังไม่ได้มองครบทุกด้าน
เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสอนว่า
เปรียบเสมือนท่อนไม้ที่บุคคลโยนขึ้นบนอากาศ
บางคราวก็ตกลงทางโคน บางคราวก็ตกลงทางขวาง บางคราวก็ตกลงทางปลาย ฉันใด
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้
ท่องเที่ยวไปมาอยู่ในสังสารวัฏ ก็ฉันนั้น โดยบางคราวก็จากโลกนี้ไปสู่ปรโลก
บางคราวก็จากปรโลกมาสู่โลกนี้
(ซึ่งคำว่าปรโลกไม่ได้หมายความถึงเฉพาะสวรรค์เท่านั้น แต่หมายรวมถึงอบายภูมิด้วย)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=4897&Z=4909&pagebreak=0

ในระหว่างที่เราท่องเที่ยวในสังสารวัฏนี้
เราทุกคนก็เคยเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความสุข มีบริวารรับใช้มาก่อน
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=4950&Z=4960&pagebreak=0
ในขณะเดียวกัน เราก็ย่อมเคยเป็นคนพิการที่ร่างกายไม่สมประกอบเช่นกัน
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=4939&Z=4949&pagebreak=0
เราทุกคนเคยถูกจับตัดศีรษะมานับครั้งไม่ถ้วน
ซึ่งโลหิตที่หลั่งไหลออกมานั้นมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ เสียอีก
แม้นับเพียงที่เราเคยเกิดเป็นโคซึ่งถูกตัดศีรษะก็ตาม
โลหิตที่เคยหลั่งไหลออกก็มากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ เช่นกัน
หรือแม้จะนับเพียงที่เราเคยเกิดเป็นแกะ เกิดเป็นแพะ เกิดเป็นเนื้อ เกิดเป็นสุกร

หรือเกิดเป็นไก่ หรือถูกจับตัดศีรษะโดยข้อหาว่าเป็นโจรฆ่า
หรือถูกจับตัดศีรษะโดยข้อหาว่าเป็นโจรคิดปล้น
หรือถูกจับตัดศีรษะโดยข้อหาว่าเป็นโจรประพฤติผิดในภรรยาของผู้อื่นก็ตาม
โลหิตที่เคยหลั่งไหลออกก็มากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ เช่นกัน
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=4961&Z=4999&pagebreak=0

ตัวอย่างอื่น ๆ ก็มี เช่น หากสมมุติว่าหากเราเกิดพลาดไปประกอบอาชีพเป็นคนฆ่าโคในชาติหนึ่ง
เมื่อตายไปแล้วก็ย่อมหมกไหม้อยู่ในนรกสิ้นร้อยปี พันปี แสนปี หรือมากกว่านั้น
พ้นจากนรกแล้วยังไม่หมดกรรม
โดยอาจต้องมาโครงกระดูกลอยให้พวกแร้ง กา นกตะกรุม ตามจิกทึ้งทรมานก็ได้
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=6737&Z=6775&pagebreak=0

ด้วยความที่ในสังสารวัฏต้องประสบทุกข์เป็นอันมากเช่นนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสอนว่า ฝุ่นประมาณน้อยนี้ที่เอาปลายเล็บช้อนขึ้นมานั้น
เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่แล้ว ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑,๐๐๐
หรือไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ ของแผ่นดินใหญ่นั้น แม้ฉันใด
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=3540&Z=3558&pagebreak=0
หรือน้ำในสระโบกขรณียาว ๕๐ โยชน์ กว้าง ๕๐ โยชน์ ลึก ๕๐ โยชน์
มีน้ำเต็มเสมอขอบสาระ (๑ โยชน์เท่ากับ ๑๖ กิโลเมตร)
หากบุรุษตักน้ำขึ้นจากสระโบกขรณีนั้นด้วยปลายหญ้าคา
น้ำที่บุรุษตักขึ้นด้วยปลายหญ้าคาย่อมมีน้อย เมื่อเทียบกับน้ำในสระโบกขรณีแล้ว
ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ หรือเสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=3559&Z=3576&pagebreak=0
หรือน้ำในแม่น้ำใหญ่เหล่านี้คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลมาบรรจบกัน
หากบุรุษตักน้ำขึ้นสองสามหยาดจากที่นั้น
น้ำสองสามหยาดที่บุรุษตักขึ้นแล้ว ย่อมมีน้อย เมื่อเทียบกับน้ำในที่บรรจบกันแล้ว
ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ หรือเสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=3577&Z=3590&pagebreak=0
ฉันนั้นเหมือนกัน ความทุกข์ที่หมดไปสิ้นไปของบุคคลผู้บรรลุพระโสดาบันแล้วมีมาก
ความทุกข์ส่วนที่เหลือมีน้อยคือ ความที่ทุกข์เป็นสภาพยิ่งใน ๗ อัตภาพ
เมื่อเทียบเข้ากับกองทุกข์ที่หมดสิ้นไปแล้ว ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยว ที่ ๑,๐๐๐
หรือเสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ ของกองทุกข์ที่หมดสิ้นไปนั้น
การได้ธรรมจักษุย่อมสำเร็จประโยชน์อันยิ่งใหญ่อย่างนี้ครับ


+ + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + +

หมายเหตุ ศาลาปฏิบัติธรรม อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์
อยู่ระหว่างเก็บรายละเอียด โดยน่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งหมดภายในเดือนกันยายน ๒๕๕๘ นี้
ในเดือนตุลาคม ๒๕๕๘ ทางชมรมเรียนรู้กายใจจังหวัดนครสวรรค์ก็จะเริ่มเปิดใช้ศาลาปฏิบัติธรรม
โดยจะจัดงานสมโภชด้วยการจัดคอร์สภาวนา และทอดผ้าป่าสามัคคี
เพื่อนำปัจจัยมาใช้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการจัดค่ายเรียนรู้กายใจสอนการภาวนาแก่เด็ก ๆ
และใช้เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดูแลรักษาและซ่อมแซมเครื่องมือ สื่ออุปกรณ์ อาคารสถานที่ที่เกี่ยวข้อง
(โดยเฉลี่ยแล้วในการจัดค่ายเรียนรู้แก่เด็กจำนวน ๕๐ คนในค่ายหนึ่ง ๆ
จะต้องใช้ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ ๓๕,๐๐๐ บาท)
โดย วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๘

ยอดรวมปัจจัยร่วมทำบุญผ้าป่าอยู่ที่ ๑๗,๐๒๙ บาทครับ

สำหรับท่านที่สนใจร่วมทำบุญทอดผ้าป่าดังกล่าว ขอได้โปรดร่วมทำบุญโอนเงินได้ที่
บัญชีธนาคารชื่อบัญชี นางพจนา ทรัพย์สมาน และนางปราณี ศิริวิริยะกุล
และ นางชญาณัฒ ธิเนตร

ธนาคารกรุงเทพ สาขา บิ๊กซี นครสวรรค์
บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 627-0-34831-8

ท่านสามารถติดตามรายละเอียดงานทอดผ้าป่าสามัคคี
เพื่อจัดตั้งกองทุนจัดค่ายเรียนรู้กายใจ ทำนุบำรุงศาลาและสถานที่สวนธรรมธาราศัย
ในวันอาทิตย์ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๘ ได้ที่
http://bit.ly/1Mrq5T1
ท่านสามารถติดตามกิจกรรมการจัดค่ายเรียนรู้กายใจสอนธรรมะแก่เด็ก ๆ เยาวชน ได้ที่
http://www.facebook.com/rooguyroojai
และสามารถติดตามความคืบหน้าของการก่อสร้างศาลาปฏิบัติธรรมได้ที่
เชิญร่วมสมทบทุนสร้างศาลาปฏิบัติธรรม ชมรมเรียนรู้กายใจ จังหวัดนครสวรรค์