Print

เพื่อนธรรมจารี - ฉบับที่ ๒๑๗

คุยเรื่องสุขภาพ (๑๐) – น้ำปัสสาวะ

ngod-ngam2 งดงาม
  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

dharmajaree 217 

(ต่อจากฉบับที่ ๒๑๖ คุยเรื่องสุขภาพ (ตอนที่ ๙) การล้างพิษ)

ถ้าเราจะคุยเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพในเชิงของแพทย์ทางเลือกแล้ว
สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ที่จะต้องคุยกันด้วยก็คือเรื่องของน้ำปัสสาวะ
เพราะเป็นเรื่องสำคัญ และมีประโยชน์ในหลายประการครับ

ในเรื่องการใช้น้ำปัสสาวะเป็นยารักษาโรค และปรับสมดุลของร่างกายนี้
ได้มีมาตั้งแต่ในสมัยพุทธกาลแล้วนะครับ
ซึ่งพระผู้มีพระภาคได้ทรงสอนถึงขนาดว่าการดื่มน้ำปัสสาวะนี้
ถือเป็นหนึ่งในนิสสัย ๔ (คือปัจจัยเครื่องอาศัย) สำหรับภิกษุด้วย
โดยในพระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑
พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ให้อุปสมบทบอก “นิสสัย ๔” ดังนี้
๑. บรรพชาอาศัยโภชนะ คือ คำข้าวอันหาได้ด้วยกำลังปลีแข้ง
เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต
อดิเรกลาภ คือ ภัตถวายสงฆ์ ภัตเฉพาะสงฆ์ การนิมนต์ ภัตถวายตามสลาก
ภัตถวายในปักษ์ ภัตถวายในวันอุโบสถ์ ภัตถวายในวันปาฏิบท

๒. บรรพชาอาศัยบังสุกุลจีวร เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต
อดิเรกลาภ คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าเจือกัน
(เช่น ผ้าด้ายแกมไหม)

๓. บรรพชา อาศัยโคนไม้เป็นเสนาสนะ เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต
อดิเรกลาภ คือ วิหาร เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้น ถ้ำ

๔. บรรพชาอาศัยมูตรเน่าเป็นยา เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต
อดิเรกลาภ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=1866&Z=1974&pagebreak=0

นิสสัยในข้อ ๔ บอกว่าอาศัย “มูตรเน่า” เป็นยา
“มูตรเน่า” ในที่นี้ก็คือน้ำปัสสาวะ
โดยพระผู้มีพระภาคได้ทรงสอนให้ฉันเป็นยาจนเป็นนิสสัย (คือปัจจัยเครื่องอาศัย)
ส่วนเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยนั้นเป็นเพียงอดิเรกลาภ (ลาภพิเศษ) เท่านั้น

พระผู้มีพระภาคไม่ได้ทรงสอนเรื่องการฉันน้ำปัสสาวะเฉพาะในเรื่องนิสสัยเท่านั้น
แต่ได้ทรงสอนเรื่องดังกล่าวในวาระโอกาสต่าง ๆ อีกหลายวาระ
ดังที่เราจะได้พบในหลายพระสูตร ยกตัวอย่างเช่น
ใน “มหาธรรมสมาทานสูตร” (พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์)
พระผู้มีพระภาคทรงสอนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมูตรเน่าอันระคนด้วยยาต่างๆ.
บุรุษที่เป็นโรคผอมเหลืองมาถึงเข้า. ประชุมชนบอกเขาว่า
ดูกรบุรุษผู้เจริญ มูตรเน่าอันระคนด้วยยาต่างๆ นี้ ถ้าท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด
มูตรเน่าจักไม่ชอบใจแก่ท่านผู้ดื่ม ทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส
ก็แต่ท่านครั้นดื่มเข้าไปแล้ว จักมีสุข.
บุรุษนั้นพิจารณาแล้วดื่มมิได้วาง ก็ไม่ชอบใจ ทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส
ครั้นดื่มแล้ว ก็มีสุข แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวธรรมสมาทานนี้ ที่มีทุกข์ในปัจจุบัน
แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป ว่ามีอุปมาฉันนั้น
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=9701&Z=9903&pagebreak=0

ใน “สันตุฏฐิสูตร” (พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต)
พระผู้มีพระภาคทรงสอนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปัจจัย ๔ อย่างนี้ ทั้งน้อย หาได้ง่าย และหาโทษมิได้
(โดยผมขอเน้นคำว่า “หาโทษมิได้” นะครับ) ปัจจัย ๔ อย่างเป็นไฉน คือ
บรรดาจีวร บังสุกุลจีวร ทั้งน้อย หาได้ง่าย และหาโทษมิได้ ๑
บรรดาโภชนะ คำข้าวที่หาได้ด้วยปลีแข็ง ทั้งน้อย หาได้ง่าย และหาโทษมิได้ ๑
บรรดาเสนาสนะ รุกขมูล ทั้งน้อย หาได้ง่าย และหาโทษมิได้ ๑
บรรดาเภสัช มูตรเน่า ทั้งน้อย หาได้ง่าย และหาโทษมิได้ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัจจัย ๔ อย่างนี้แล ทั้งน้อย หาได้ง่าย หาโทษ มิได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัย อันน้อย และหาได้ง่าย
เราจึงกล่าวข้อนี้ว่า เป็นองค์แห่งความเป็นสมณะอย่างหนึ่งของเธอ”
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=699&Z=713&pagebreak=0

ใน “จัตตาริสูตร” (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ)
พระผู้มีพระภาคได้ทรงสอนถึงมูตรเน่าในทำนองเดียวกับ “สันตุฏฐิสูตร” ข้างต้น
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=6550&Z=6565&pagebreak=0

ใน “สาริปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖” (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส)
พระผู้มีพระภาคทรงสอนว่า วัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัยเป็นไฉน?
พวกคฤหบดีในโลกนี้ ย่อมนิมนต์ภิกษุด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ภิกษุนั้นมีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ
มีความต้องการด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
อาศัยความเป็นผู้อยากได้มาก ย่อมบอกคืนจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร.
พูดอย่างนี้ว่า ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยจีวรมีค่ามาก
การที่สมณะเที่ยวเลือกเก็บผ้าเก่าจากป่าช้า กองหยากเยื่อหรือร้านตลาด
แล้วทำสังฆาฏิใช้ เป็นการสมควร
ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยบิณฑบาตมีค่ามาก
การที่สมณะสำเร็จความเป็นอยู่ ด้วยก้อนข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง
โดยความประพฤติแสวงหา เป็นการสมควร
ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยเสนาสนะมีค่ามาก
การที่สมณะอยู่โคนต้นไม้ อยู่ที่ป่าช้าหรืออยู่ที่แจ้ง เป็นการสมควร
ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีค่ามาก
การที่สมณะพึงทำยาด้วยน้ำมูตรเน่า หรือชิ้นลูกสมอ เป็นการสมควร
ภิกษุนั้นอาศัยความเป็นผู้อยากได้มาก จึงทรงจีวรที่เศร้าหมอง ฉันบิณฑบาตที่เศร้าหมอง
ซ่องเสพเสนาสนะที่เศร้าหมอง และฉันคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่เศร้าหมอง
พวกคฤหบดีเห็นภิกษุนั้นแล้ว ย่อมทราบอย่างนี้ว่าสมณะนี้เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย
สันโดษชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะปรารภความเพียร มีวาทะกำจัดกิเลส
ก็ยิ่งนิมนต์เธอด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ภิกษุนั้นก็กล่าวว่า เพราะประจวบด้วยเหตุ ๓ ประการ
กุลบุตรผู้มีศรัทธา ก็ประสบบุญมาก คือ เพราะประจวบด้วยศรัทธา ๑
เพราะประจวบด้วยไทยธรรม ๑ เพราะประจวบด้วยทักขิไณยบุคคล ๑
ท่านทั้งหลายมีศรัทธานี้อยู่ มีไทยธรรมนี้อยู่ ทั้งอาตมาก็เป็นปฏิคาหก (ผู้ทักขิไณยบุคคล)
ถ้าอาตมาจักไม่รับ ท่านทั้งหลายก็จักเสื่อมจากบุญไป อาตมาไม่มีความต้องการด้วยปัจจัยนี้
ก็แต่ว่าอาตมาจะรับด้วยความอนุเคราะห์ท่านทั้งหลาย
จำเดิมแต่นั้น ภิกษุนั้นก็รับจีวรมาก รับบิณฑบาตมาก รับเสนาสนะมาก
รับคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมาก ความทำหน้ายู่ยี่ ความเป็นผู้มีหน้ายู่ยี่
ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้หลอกลวง เห็นปานนี้
เรียกว่าวัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัย
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=10137&pagebreak=0

ใน “ขัคควิสาณสุตตนิทเทส” (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส)
พระผู้มีพระภาคได้ทรงสอนถึงมูตรเน่าในทำนองเดียวกับ “สาริปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖” ข้างต้น
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=30&A=6139&pagebreak=0

เรื่องน้ำปัสสาวะนี้ไม่ได้มีเฉพาะในพระไตรปิฎกเท่านั้น
แต่ในเอกสารทางการแพทย์ต่าง ๆ ก็มีอยู่ไม่น้อย ยกตัวอย่างเช่น
ในเว็บไซต์ของสำนักการแพทย์ทางเลือก
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
ก็ได้มีข้อมูลแนะนำเกี่ยวกับปัสสาวะบำบัดหรือการใช้น้ำปัสสาวะรักษาโรคต่าง ๆ
http://www.thaicam.go.th/index.php?option=com_content&view=category&id=49&Itemid=136

ยกตัวอย่างเช่น ในบทความเรื่องปัสสาวะบำบัดของนายสมเกียรติ ศรไพศาล
ซึ่งเป็นนายแพทย์ชำนาญการพิเศษ ได้อธิบายว่า
ในด้านประสิทธิผล (Efficacy) โรคที่ได้ผลดีจากปัสสาวะบำบัด ได้แก่
โรคหอบหืดและภูมิแพ้ โรคท้องผูกเรื้อรัง ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ
โรคบิดเรื้อรังจากเชื้ออมีบา โรคมะเร็งบางรายขึ้นกับระยะของโรค
โรคทั่วไป เช่น โรคผิวหนัง โรคหวัด ไอเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ ไข้จากเชื้อไวรัส และแเบคทีเรีย

ในส่วนของข้อควรระวังหรือข้อห้ามนั้น
นักวิจัยเชื่อว่าปัสสาวะโดยธรรมชาติเป็นน้ำสะอาดปราศจากเชื้อ
และมีสารประกอบพิเศษมากมายที่มีประโยชน์ทางการแพทย์
ไม่เคยมีรายงานว่าคนดื่มน้ำปัสสาวะแล้วตาย
และการดื่มน้ำปัสสาวะไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ

การใช้น้ำปัสสาวะบำบัด มี ๒ แบบ คือ
๑. แบบใช้ภายใน กล่าวคือ ดื่ม กล่าวคือ ดื่มปัสสาวะตอนเช้า
ช่วงกลางของปัสสาวะ โดยเริ่มต้นจาก ๕-๑๐ หยด ก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่ม จนถึง ๑ แก้ว
ประมาณ ๑๐๐ cc (ซีซีหรือมิลลิลิตร) มีประโยชน์ในการรักษาโรคทั่วไป ล้างพิษ
ดื่มปัสสาวะตลอดทั้งวัน (ข้อมูลบางแห่งระบุว่ายกเว้นตอนเย็น)
และดื่มน้ำสะอาดด้วย เป็นการล้างพิษออกจากร่างกาย
โดยทำให้เลือดสะอาดขึ้น พิษจะถูกกำจัดออกจากร่างกายทางอุจจาระ เหงื่อ และทางหายใจ
หรือใช้กลั้วคอ เมื่อมีอาการเจ็บคอ ปวดฟัน และเมื่อมีอาการไอเป็นหวัด
หรือใช้สวนล้างลำไส้ใหญ่ (Detoxification) เพื่อล้างลำไส้และเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย
หรือใช้หยอดหู ตา เมื่อมีอาการหูและตาอักเสบ
โดยการใช้ปัสสาวะผสมกับน้ำสุกที่สะอาดหยอดหูและตา
หรือใช้สูดเข้าจมูก โดยสูดเอาปัสสาวะสดๆ ตอนเช้าเข้าจมูกทั้งสองข้าง
เพื่อล้างโพรงจมูก สำหรับคนที่เป็นไซนัส เป็นหวัด ภูมิแพ้ (น้ำมูกไหลเป็นประจำ)

๒. แบบใช้ภายนอก ได้แก่ ทาและนวดผิวหนัง
โดยการนวดร่างกายทั้งหมดหรือบางส่วนทิ้งไว้ประมาณ ๑ ชั่วโมง แล้วล้างออก
จะช่วยรักษาโรคผิวหนังได้หรือผิวหนังที่โดนแดดเผา
หรือใช้ล้างเท้า กรณีมีปัญหาที่ผิวหนังและเล็บเท้า
หรือใช้สระผม ช่วยทำให้ผมสะอาด นุ่มสลวย และทำให้ผมดกขึ้น
นอกจากนี้ ปัสสาวะสามารถรักษาอาการปวดหลัง แผล แผลไฟไหม้
ภูมิแพ้ หืดหอบ ไมเกรน มะเร็ง ผิวหนังผื่นแพ้ กามโรค ปวดตามข้อ
โรคเก๊าส์ ท้องผูก มาลาเรีย หวัด ตับอักเสบ ปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง ความดันโลหิตสูง ฯลฯ

ในส่วนของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนั้น นายแพทย์ธรรมาธิกรี รัฐมหาราษฎร์ ประเทศอินเดีย
ได้ทดลองให้ผู้ป่วยจำนวน ๒๐๐ คนดื่มน้าปัสสาวะของตนเอง
และได้ติดตามผลทางการแพทย์อย่างใกล้ชิด ได้ข้อสรุปว่า
การดื่มน้ำปัสสาวะจะช่วยให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงมากขึ้น ในผู้ป่วยทุกราย
และปริมาณฮีโมโกลบินในเลือดก็สูงขึ้นด้วย เขาเชื่อว่าข้อสรุป ๒ ประการนี้สำคัญมาก
ช่วยให้เกิดการบำบัดรักษาโรคและอาการเจ็บป่วยได้หลายกรณี
ด้วยกลไกของเอนไซม์ ฮอร์โมนและเกลือแร่และช่วยให้ภูมิต้านทานดีขึ้นอีกด้วย

นอกจากนี้ ในการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลีย ๒ คน พบว่า
เมื่อดื่มปัสสาวะจะทาให้มีสมาธิ จิตใจ สดชื่น อารมณ์ดีขึ้น
แจ่มใสเพราะในปัสสาวะมีฮอร์โมน ชื่อ Melatonin ซึ่งพบในปัสสาวะตอนเช้า
ในงานวิจัยค้นพบว่าปัสสาวะของแต่ละคนจะมีผลต่อการทางานในร่างกายของแต่ละคน
โดยจะทำหน้าที่เป็นวัคซีนธรรมชาติ เป็นตัวต่อต้านแบคทีเรียและไวรัส
ต่อต้านสารก่อมะเร็ง ทำให้เกิดความสมดุลกับฮอร์โมนและช่วยเรื่องภูมิแพ้
(ปัสสาวะทำหน้าที่เป็น natural vaccine, antibacterial, antiviral,
anti-cancer agents, hormone balance, allergy relievers)
http://www.thaicam.go.th/index.php?option=com_attachments&task=download&id=720

สำหรับบางท่านที่สนใจ และต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
ผมแนะนำว่าหนังสือข้อมูลเกี่ยวกับปัสสาวะบำบัดในท้องตลาดก็มีหลายเล่มครับ
หรือในอินเตอร์เน็ตเองก็มีข้อมูลหรือบทความอยู่ไม่น้อย
ถ้าต้องการอ่านบทความภาษาอังกฤษ ก็ค้นคำว่า “Urine therapy” ได้ครับ
เช่นใน Wikipedia เองก็มีข้อมูลเหมือนกัน
http://en.wikipedia.org/wiki/Urine_therapy
หรือถ้าต้องการจะดูคลิปวิดีโอ
ผมก็ขอแนะนำคลิปของกลุ่มแพทย์วิถีธรรม เช่น คลิปตามลิงค์นี้
http://youtu.be/FEHXmRVe-xs
โดยน้ำปัสสาวะนี้ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของเทคนิค ๙ ข้อด้วย
โดยการดื่มน้ำปัสสาวะ ก็ถือเป็นเทคนิคการดื่มน้ำสมุนไพรปรับสมดุล
น้ำปัสสาวะสามารถนำมาผสมน้ำสำหรับเทคนิคสวนล้างลำไส้ใหญ่
น้ำปัสสาวะสามารถนำมาทา หรือประคบ หรือผสมพอกก็ได้ เป็นต้น

หากศึกษาเรื่องการใช้น้ำปัสสาวะต่อไปแล้ว
ก็จะทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำนาโนยูรีน
อันเป็นการรักษาโรค โดยวิธีการโฮเมโอพาที (homeopathy)
ซึ่งอาศัยหลักการใช้พิษต้านพิษ โดยนำเอาพิษหรือสิ่งที่ทำให้ร่างกายเจ็บป่วยนั้น
มาทำเป็นยารักษาโรคนั้น ๆ เอง ซึ่งผมคงไม่กล่าวลงรายละเอียดในที่นี้
โดยท่านที่สนใจนั้นสามารถไปศึกษาหาข้อมูลได้ไม่ยากครับ

โดยสรุปแล้ว การดื่มหรือการใช้น้ำปัสสาวะนั้นได้มีรับรองทั้งในพระไตรปิฎก
และในบทความทางการแพทย์ และการวิจัยต่าง ๆ
โดยที่น้ำปัสสาวะสามารถทำการรักษาโรคและปรับสมดุลในร่างกายได้นั้น
โดยย่อ ๆ ก็คือน้ำปัสสาวะทำหน้าที่เป็นทั้งเซรุ่ม และวัคซีน
ที่จะกระตุ้นการทำงานของร่างกาย และสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย
และจากประสบการณ์ที่ผ่านมาแล้ว ทั้งจากการที่ได้ทดลองด้วยตนเองก็ดี
หรือจากที่ได้แนะนำให้ญาติธรรมบางท่านไปทดลองก็ดี
ก็พบว่าได้ประโยชน์ในหลายประการ และยังไม่พบว่ามีผลเสียใด ๆ ครับ

(ขอไปคุยต่อในตอนหน้าครับ)