Articles

Print

จากใจ บ.ก.ใกล้ตัว - ฉบับที่ ๔๕๓

dungtrin_editor_cover

dungtrin_new2

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สมาธิที่ถูกแบบพุทธ 

 

editor453

 

 

 

ทั้งจิตรวม

และจิตแช่แข็ง

เป็นชื่อเรียกให้รู้ว่า

เกิดอาการอย่างไร

ไม่ใช่ศัพท์เฉพาะที่เป็นสากล

ถ้าเข้าใจถูก ก็เรียกถูก

ถ้าเข้าใจผิด ก็เรียกผิด

 

จิตรวม

ในความหมายเชิงประสบการณ์สมาธิ

หมายถึงจิตที่ทรงตัวนิ่ง ไม่ไหวติง

กระทั่งเกิดการรวมกระแสรู้

มาลงที่เดียวที่ใจกลางความว่าง

เป็นความว่างอย่างพร้อมรู้ภาวะภายใน

ขอบเขตรัศมีจิตแผ่ออกกว้าง

ไม่ใช่อุดอู้ อัดอั้น คับแคบ ทึบอก ทึบหัว

 

จิตแช่แข็ง

ในความรู้สึกของคนที่ประสบ

หมายถึงจิตที่แข็งค้าง

กระทั่งเกิดอาการไม่ขยับ

ไม่รับรู้ความเปลี่ยนแปลงใดๆ

ขอบเขตของจิตจำกัดคับแคบอยู่กับตัว

ดูเผินๆเหมือนนิ่งสงบ

แต่ดูดีๆเหมือนไม่รับรู้ลมหายใจให้สบาย

(ลมหายใจยังไม่ดับ แต่ไม่รับรู้เอง)

 

เมื่อยังขาดประสบการณ์เปรียบเทียบ

ก็จะไม่มีใครรู้ว่าความแน่นิ่งที่เกิดขึ้น

เป็นภาวะจิตรวมหรือจิตแช่แข็ง

และต่อให้ทำสมาธิมานาน

ถ้าจิตขาดกำลัง

เราก็ไม่อาจกะเกณฑ์ว่า

จงมีจิตรวม หรือจงอย่าได้มีจิตแช่แข็ง

 

ทางเดียวที่จะผ่านพ้น

ไม่หลงติดอยู่กับจิตแช่แข็ง

คือ จับจุดสังเกตให้ถูก

ทั้งขณะที่กำลังนิ่งในสมาธิ

และหลังออกจากสมาธิแล้ว

 

หากเป็นจิตรวม จะรู้สึกว่างตรงกลาง

มีขอบเขตกว้างเกินกาย

มีความตื่นรู้ มีสติคมชัด

มีอัตโนมัติเห็นความเปลี่ยนแปลง

ทั้งภายในและภายนอก

การรับรู้จะเป็นสามมิติ

มีกว้าง ยาว ลึก ตามจริง

 

หากเป็นจิตแช่แข็ง จะรู้สึกแข็งทื่อ

มีขอบเขตเฉพาะเจาะจงที่จุดใดจุดหนึ่งในกาย

บางทีไม่อยากรับรู้อะไรๆ

บางทีรู้สึกเหมือนสมองช้า

และที่สำคัญ คือ พอลงนั่งทำสมาธิทีไร

จะพยายามเข้าให้ถึงความนิ่งค้างที่ติดใจทุกที

ไม่รับรู้กายใจ

ไม่รับรู้ความเปลี่ยนแปลงใดๆ

ซึ่งนั่นไม่ใช่จุดประสงค์ของสมาธิที่ถูกแบบพุทธ!

 

ดังตฤณ

เมษายน ๖๗

Print

แสงส่องใจ ฉบับที่ ๔๕๒

 

 sungaracha

 sangharaja-section

 เทศนานิพนธ์

ใน

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก

 

ในเหตุผลและเหนือเหตุผล

 

                  

--------------------------------------------

ตายเกิดหรือตายสูญ (ต่อ)

                

              ภัยคือความกลัวของคนเราที่ต้องถูกภัยต่าง ๆ คุกคาม อันเป็นเหตุให้แสวงหาสรณะคือที่พึ่ง ที่พึ่งให้พ้นภัย นี้คือมูลเหตุให้เกิดศาสนาต่าง ๆ ขึ้น พระพุทธเจ้าได้ทรงมองเห็นสัจจะคือความจริงแห่งมูลหตุที่ทำให้คนต้องแสวงหาที่พึ่ง ตรัสไว้ดังนี้ แม้นักปราชญ์ในภายหลังนี้ก็ได้เห็นตามรับรองตามพระพุทธภาษิตที่ตรัสเอาไว้นี้ แต่ทางพุทธศาสนานั้นเป็นศาสนาที่พิเศษ คือมีลักษณะที่พิเศษจากศาสนาอื่น ๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว และดังที่จะกล่าวต่อไป

                 พุทธศาสนานั้นมุ่งแสดงเข้ามาถึงเหตุผลที่เป็นภายใน คือเหตุผลที่มีอยู่ในบุคคลทุก ๆ คน ที่เนื่องด้วยกรรมและที่เป็นสภาพดังที่กล่าวมา พระพุทธเจ้าเมื่อเป็นพระโพธิสัตว์ ก่อนที่จะได้ตรัสรู้ได้ทรงปรารภถึงความแก่ ความเจ็บ ความตายที่มีอยู่แก่ชีวิตทุกชีวิต ทรงปรารภโมกขธรรม จึงได้เสด็จออกผนวช ครั้นเสด็จออกทรงผนวชแล้ว ก็ได้ทรงค้นคว้าแสดงหาทางเพื่อที่จะประสบโมกขธรรม จนได้ทรงพบทางอันเรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางกลาง จึงได้ทรงปฏิบัติตดำเนินไปในทางนี้อย่างเต็มที่แล้ว จึงได้ตรัสรู้สัจจะคือความจริง อันได้แก่สัจจะ ๔ คือ ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ดังที่ได้แสดงอธิบายมาแล้ว สัจจะทั้ง ๔ นี้ เป็นเหตุผลภายใน ที่เนื่องด้วยกรรมและที่เป็นสภาพ ทุกข์กับสมุทัยนั้นเป็นเหตุและผลฝ่ายสมุทยวาร คือวาระแห่งสมุทัยคือความเกิด ส่วนนิโรธกับมรรคเป็นเหตุผลฝ่ายนิโรธวาร วาระแห่งความดับ ดังจะพึงเห็นได้ว่า เมื่อมีทุกขสมุทัยคือเหตุให้เกิดทุกข์ อันได้แก่ตัณหา ก็ต้องมีทุกข์คือมีชาติความเกิด มีชรา ความแก่ มีมรณะ ความตาย โดยนัยนี้ แม้เมื่อตายไปแล้วก็ต้องมีชาติคือความเกิดขึ้นอีก แล้วก็มีความแก่ แล้วก็มีความตาย ตายแล้วก็ต้องมีชาติคือความเกิดขึ้นอีกแล้ว ก็มีแก่มีตาย จะเรียกว่าต้องมีการเกิดตาย หรือจะเรียกว่าต้องมีตายเกิดตลอดเวลาที่มีตัณหาอยู่ดังนี้ก็ได้

                 เพราะฉะนั้น หากจะถามว่าพระพุทธศาสนาแสดงว่าตายเกิดหรือตายสูญ ก็จะต้องตอบว่า พระพุทธศาสนาแสดงเป็นวิภัชวาทะ คือมีวาทะที่แบ่งแยกจำแนกแสดง คือแสดงว่าเมื่อยังมีตัณหาอยู่ก็ต้องตายเกิด และหากจะถามว่า เมื่อสิ้นตัณหาแล้วตายสูญหรือ ข้อนี้ตอบได้ตามหลักนิโรธวารที่จะกล่าวต่อไปว่า เมื่อสิ้นตัณหาแล้วตายไม่เกิด แต่พระพุทธศาสนาไม่ได้แสดงว่า พระอรหันต์ดับขันธ์ไปแล้วสูญ นี่เป็นวาทะทางพระพุทธศาสนา