Print

แสงส่องใจ ฉบับที่ ๔๕๘

 

 sungaracha

 sangharaja-section

 เทศนานิพนธ์

ใน

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก

 

ในเหตุผลและเหนือเหตุผล

 

                  

--------------------------------------------

เหนือเหตุผล (จบ)

                   และได้ตรัสไว้ถึงลักษณะเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ อีก เป็นต้นว่า ลักษณะที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท คือความอาศัยกันเกิดขึ้นด้วยกัน ว่าเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เกิดสังขารเป็นต้น เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม คือเป็นความตั้งอยู่แห่งธรรม เป็นความกำหนดแน่แห่งธรรม พระตถาคตจะอุบัติขึ้นหรือไม่อุบัติขึ้น ข้อนี้ก็ตั้งอยู่ดำรงอยู่ แต่เมื่อพระตถาคตอุบัติขึ้นจึงได้ตรัสแสดงเปิดเผยกระทำให้แจ้ง ว่าเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยเกิดสังขารเป็นต้น ส่วนปฏิจจสมุปปันนธรรม คือธรรมที่อาศัยกันบังเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความสลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา

 

                   ตามที่แสดงถึงเรื่องพระนิพพานอันโยงมาถึงปฏิจจสมุปบาทอันนับเป็นธรรมที่สุดยอดในพระพุทธศาสนา ก็เพื่อที่จะให้ได้ทราบตามที่พระพุทธเจ้า และพระอาจารย์ทั้งหลายได้แสดงอธิบายไว้ และโดยเฉพาะต้องการที่จะให้เป็นที่เข้าใจว่า นิพพานนั้นเป็นยอดของพระพุทธศาสนา เป็นที่รวมของพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดย่อมเอียง เทลุ่มลาดลงไปสู่พระนิพพานทั้งนั้น อันกล่าวได้ว่าหันหน้าไปสู่ทิศทางเดียวกัน คือทิศทางแห่งนิพพาน

 

                   เพราะฉะนั้น แม้ว่าจะยังไม่ได้ไปถึงนิพพาน แต่เมื่อมาปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ชื่อว่าได้ปฏิบัติหันหน้าไปสู่นิพพานทั้งนั้น นิพพานจะยังอยู่ไกลหรือใกล้ก็ตาม แต่ก็หันหน้าไปสู่นิพพาน และเมื่อได้ปฏิบัติไปก็ชื่อว่าได้เดินใกล้นิพพานเข้าไปทุกที

 

                   เพราะฉะนั้นจึงเป็นข้อที่ควรทราบ และก็ไม่ใช่เป็นข้อที่ควรคิดว่าเหลือวิสัยที่จะได้จะถึง หรือเอื้อมไม่ถึง ดังที่ได้ปรารภกล่าวมาแล้วข้างต้น ก็เหมือนอย่างขึ้นบันได คือเหมือนอย่างการเดินขึ้นไปโดยลำดับ การปฏิบัตินี้เองจะได้ส่งให้ใกล้เข้าไป และความที่จะได้บรรลุสันติสุข คือความสุขสงบเย็นจากการปฏิบัติธรรม ก็ชื่อว่าเป็นผลที่แผ่ออกมาจากนิพพานทั้งนั้น เช่นเดียวกับความร้อนที่ทุกคนได้ ก็เนื่องมาจากดวงอาทิตย์ทั้งนั้น

 

                   ฉะนั้น เมื่อเข้ามาปฏิบัติธรรม ก็ชื่อว่านำตนเข้ามาอยู่ในขอบเขตรัศมีของนิพพาน จึงย่อมได้รับความสงบ ความเย็นจากนิพพานอยู่ด้วยกันทั้งนั้น และเมื่อแสดงเรื่องนิพพาน ก็ทำให้ต้องแสดงเรื่องเหตุผลและธรรมที่อยู่เหนือเหตุผล ในการแสดงธรรมที่เป็นเหตุผลนั้น ก็หมายถึงปฏิจจสมุปบาททั้ง ๒ สาย แล้วจึงจะมาถึงธรรมที่อยู่เหนือเหตุผล คือนิพพาน ก็ขอให้ท่านทั้งหลายได้หมั่นพิจารณาทบทวน และจะได้ความเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้นด้วยตนเอง

 

 

 

------------------------

 

 

และได้ตรัสไว้ถึงลักษณะเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ อีก เป็นต้นว่า ลักษณะที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท คือความอาศัยกันเกิดขึ้นด้วยกัน ว่าเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เกิดสังขารเป็นต้น เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม คือเป็นความตั้งอยู่แห่งธรรม เป็นความกำหนดแน่แห่งธรรม พระตถาคตจะอุบัติขึ้นหรือไม่อุบัติขึ้น ข้อนี้ก็ตั้งอยู่ดำรงอยู่ แต่เมื่อพระตถาคตอุบัติขึ้นจึงได้ตรัสแสดงเปิดเผยกระทำให้แจ้ง ว่าเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยเกิดสังขารเป็นต้น ส่วนปฏิจจสมุปปันนธรรม คือธรรมที่อาศัยกันบังเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความสลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา

                   ตามที่แสดงถึงเรื่องพระนิพพานอันโยงมาถึงปฏิจจสมุปบาทอันนับเป็นธรรมที่สุดยอดในพระพุทธศาสนา ก็เพื่อที่จะให้ได้ทราบตามที่พระพุทธเจ้า และพระอาจารย์ทั้งหลายได้แสดงอธิบายไว้ และโดยเฉพาะต้องการที่จะให้เป็นที่เข้าใจว่า นิพพานนั้นเป็นยอดของพระพุทธศาสนา เป็นที่รวมของพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดย่อมเอียง เทลุ่มลาดลงไปสู่พระนิพพานทั้งนั้น อันกล่าวได้ว่าหันหน้าไปสู่ทิศทางเดียวกัน คือทิศทางแห่งนิพพาน

                   เพราะฉะนั้น แม้ว่าจะยังไม่ได้ไปถึงนิพพาน แต่เมื่อมาปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ชื่อว่าได้ปฏิบัติหันหน้าไปสู่นิพพานทั้งนั้น นิพพานจะยังอยู่ไกลหรือใกล้ก็ตาม แต่ก็หันหน้าไปสู่นิพพาน และเมื่อได้ปฏิบัติไปก็ชื่อว่าได้เดินใกล้นิพพานเข้าไปทุกที

                   เพราะฉะนั้นจึงเป็นข้อที่ควรทราบ และก็ไม่ใช่เป็นข้อที่ควรคิดว่าเหลือวิสัยที่จะได้จะถึง หรือเอื้อมไม่ถึง ดังที่ได้ปรารภกล่าวมาแล้วข้างต้น ก็เหมือนอย่างขึ้นบันได คือเหมือนอย่างการเดินขึ้นไปโดยลำดับ การปฏิบัตินี้เองจะได้ส่งให้ใกล้เข้าไป และความที่จะได้บรรลุสันติสุข คือความสุขสงบเย็นจากการปฏิบัติธรรม ก็ชื่อว่าเป็นผลที่แผ่ออกมาจากนิพพานทั้งนั้น เช่นเดียวกับความร้อนที่ทุกคนได้ ก็เนื่องมาจากดวงอาทิตย์ทั้งนั้น

                   ฉะนั้น เมื่อเข้ามาปฏิบัติธรรม ก็ชื่อว่านำตนเข้ามาอยู่ในขอบเขตรัศมีของนิพพาน จึงย่อมได้รับความสงบ ความเย็นจากนิพพานอยู่ด้วยกันทั้งนั้น และเมื่อแสดงเรื่องนิพพาน ก็ทำให้ต้องแสดงเรื่องเหตุผลและธรรมที่อยู่เหนือเหตุผล ในการแสดงธรรมที่เป็นเหตุผลนั้น ก็หมายถึงปฏิจจสมุปบาททั้ง ๒ สาย แล้วจึงจะมาถึงธรรมที่อยู่เหนือเหตุผล คือนิพพาน ก็ขอให้ท่านทั้งหลายได้หมั่นพิจารณาทบทวน และจะได้ความเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้นด้วยตนเอง

 

------------------------